เมื่อ “ถนนยางพารา” ถูกมอบหมายให้เป็น “พระเอก” ในนโยบายแก้ปัญหาราคายางของรัฐบาล
ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องจึงได้รับความสนใจไปด้วย
โดยเฉพาะผู้ผลิตยางมะตอยผสมยางพารา ที่มีส่วนสำคัญในการวิจัยและพัฒนาการนายางพาราไปสู่การทำถนนซึ่งในประเทศมีอยู่เพียงไม่กี่รายเท่านั้น
หนึ่งในนั้นคือ บริษัท โซล่าแอสฟัลท์ จำกัด
บริษัทของคนไทย 100% อยู่ในอันดับต้นๆ
ที่ผ่านมาบริษัทแห่งนี้คิดค้น วิจัย และ
ผลิตผลิตภัณฑ์ยางมะตอยที่มีส่วนผสมของยางพารามากว่า 10 ปี
จนกลายเป็นที่รู้จักและยอมรับของผู้รับเหมางานทางทั่วประเทศ
อีกทั้งยังเป็นทางเลือกใหม่ให้กับประเทศไทยในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
และราคาเหมาะสม
รวมทั้งยังมีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือชาวสวนยางด้วยการ
ซื้อยางพารา (น้ำยางข้น) มากกว่า 300 ตัน/เดือน ไปผลิตยางมะตอยผสมยางพารา
และมีแนวโน้มสูงขึ้นตามการขยายตัวของนโยบายภาครัฐล่าสุด
บริษัท
โซล่าแอสฟัลท์ จำกัด กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางมะตอยผสมยางพารา
ที่มีสัดส่วนของยางพาราเพิ่มจาก 5%
เป็น 8% นั่นหมายความว่า
ในอนาคตอันใกล้ยางพาราจะถูกนำไปสร้างถนนมากขึ้นด้วย
เรื่องเด่นจากปกฉบับนี้ทีมงานจะพาท่านไปทาความรู้จักบริษัทแห่งนี้มากยิ่งขึ้น
พร้อมๆ กับเจาะลึกกระบวนการพัฒนาและผลิตยางมะตอยผสมยางพารา
ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่ออนาคตของอุตสาหกรรมยางพาราของไทยในอนาคต
คุณศิริจันทร์ จันทร์ศิริ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท โซล่า แอสฟัลท์ จำกัด
โซล่าแอสฟัลท์กำเนิดเมื่อธุรกิจยางมะตอยถูกผูกขาด
|
คุณศิริจันทร์ จันทร์ศิริ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
ให้ข้อมูลว่า บริษัท โซล่าแอสฟัลต์จากัดก่อตั้งโดย คุณสมบัติและ คุณนภา
พิษณุไวศยวาท แต่เดิมดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างงานทาง
และธุรกิจเกี่ยวเนื่องครบวงจร และมีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศ
แต่ปัญหาหนึ่งที่ผู้รับเหมางานทางประสบเสมอมาคือ
ผลิตภัณฑ์ยางมะตอยถูกผูกขาด ทำให้มีราคาค่อนข้างสูง
จึงมีผลให้งบประมาณงานทางสูงตามไปด้วย
“เมื่อก่อนยางมะตอยราคาเท่าไหร่ก็ต้องซื้อ
แพงเท่าไหร่ก็ต้องซื้อ เงื่อนไขอะไรก็ต้องซื้อ”
ทำอย่างไรให้คนในวงการก่อสร้างงานทางมีทางเลือก และซื้อผลิตภัณฑ์ยางมะตอย
ในราคาเหมาะสมมากที่สุด คือโจทย์ในขณะนั้น และการกำเนิดเกิดขึ้นของ บริษัท
โซล่าแอสฟัลท์ คือ คำตอบ เมื่อ ตระกูลพิษณุไวศยวาท
ตัดสินใจทำธุรกิจยางมะตอย ในปี พ.ศ. 2542 เพื่อให้ประเทศไทยมีทางเลือกในการใช้ผลิตภัณฑ์ยางมะตอยเพิ่มขึ้น
โดยเป็นการลงทุนของคนไทย 100% ไม่ต้องคุกเข่าให้กับผู้ผลิตรายใหญ่
บริษัท โซล่า แอสฟัลท์ จำกัด เริ่มต้นธุรกิจโดยมีพันธมิตร
ทางการค้า ที่สนับสนุนวัตถุดิบหลัก เช่น บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด,บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) และในกลุ่ม บมจ.ปตท จไกัด,
บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด
เป็นต้นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า
ผลิตภัณฑ์ยางมะตอยของ บริษัท โซล่าแอสฟัลท์ มีมากมายหลายประเภทมีกำลังการผลิตรวม 1,700 ตัน/วัน อาทิ
กลุ่มยางมะตอยน้ำ (Asphalt Emulsion) กำลังการผลิตรวม 600 ตัน/วัน แบ่งเป็น
-
แอสฟัลต์อิมัลชั่น CSS-1,
CRS-2, CMS-2h, CSS-1h
-
อิมัลซิไฟด์แอสฟัลต์ พาร์มEAP (Emulsified Asphalt Prime)
-
มอดิฟายด์แอสฟัลต์อิมัลชั่นCSS-1hP, CRS-1, CRS-1P
กลุ่มคัตแบกแอสฟัลต์(Cutback Asphalt) กำลังการผลิตรวม 300 ตัน/วัน
กลุ่มโพลิเมอร์โมดิฟายแอสฟัลต์ ได้แก่
-
PMA ก าลังการผลิต 400
ตัน/วัน
-
NRMA (ยางเอซีผสมยางพารา)
กำลังการผลิต 400 ตัน/วัน
แอสฟัลต์ซีเมนต์ (Asphalt Cement) AC 60/70
กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางมะตอยอื่น ๆ ยางมะตอยผสมเสร็จ(PREMIX) / JOINTSEALER
สารปรับแต่งคุณภาพยางแอสฟัลต์ Additive สำหรับ CSS-1hP, Rejuvenator สำหรับงานรีไซคลิ่ง
บริษัท โซล่าแอสฟัลท์ มีกำลังการผลิตยางมะตอยผสมยางพารา 700 ตัน/วันทั้งรูปแบบพาราสเลอรีซีล และ NRMA และมีแผนเพิ่มการผลิตNRMAอีก 1 เท่าตัว เพื่อรองรับความต้องการ
|
ผลิตภัณฑ์ยางมะตอยที่มีส่วนผสมยางพารา
บริษัท โซล่าแอสฟัลท์ มีการวิจัย และพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ทีมีส่วนผสมของยางพารา ให้มีคุณภาพดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง
ได้แก่
CRS-1P คือ ยางมะตอยน้ำปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ
อีกชนิดหนึ่ง สำหรับงาน Tack coat
CSS-1hP คือ ยางมะตอยน้ำที่มีส่วนผสมของยางพารา
แต่มีคุณสมบัติดีกว่า ใช้สำหรับงาน Micro-surfacing หรือ
ฉาบผิวPara Slurry Seal มีประสิทธิภาพดีกว่า
Slurry Seal ช่วยลดการลื่นไถล
ลดอุบัติเหตุที่เกิดจากการลื่นไถลบนผิวทางได้ดี และยืดอายุถนนได้นาน
แอสฟัลต์ซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ (Natural Rubber Modified Asphalt Cement : NRMA) คือ ยางมะตอยผสมยางพารา 5% และ สารผสมอื่นๆ ที่เหมาะสม เพื่อให้มีคุณสมบัติที่ดีตามข้อกำหนด
การผลิตยางมะตอยปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติที่ดีนั้น
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะต้องมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันโดยมีการกระจายตัวของเนื้อยางธรรมชาติอย่างสม่ำเสมอ
ปราศจากสิ่งปลอมปน และ ไม่แยกตัวในขณะที่ปล่อยให้เย็นและในขณะขนส่ง
ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้สามารถใช้แทนแอสฟัลต์ซีเมนต์สาหรับปูผิวทาง
ซึ่งมักจะเรียกว่า “พาราแอสฟัลต์คอนกรีต”
การใช้ยางพาราผสมยางมะตอยสามารถปรับปรุงคุณสมบัติของยางมะตอยให้ดีขึ้น
เนื่องจาก NRMA เมื่อนาไปใช้ในงานทางแล้วจะสามารถรับน้ำหนักการจราจรได้มากกว่า
ยางมะตอยปกติ ทางกรมทางหลวงจึงให้พัฒนา NRMA ขึ้นมา และนำมาใช้
ปัจจุบันมีส่วนผสมของยางพารา 5% ตามการควบคุมของกรมทางหลวง
คุณสมบัติที่ดีของยางพารา เช่น มีความยืดหยุ่นดี
ทนต่อความล้าได้ดี และมีความคงตัวสูงขึ้น ทำให้ถนนมีความคงทน
และอายุการใช้งานยาวนานขึ้น
“พาราแอสฟัลต์คอนกรีต
ผลิตเพื่อรองรับปัญหาของผิวทางที่เป็นแอสฟัลต์คอนกรีตเดิม ที่ต้องรับการจราจรคับคั่งหรือมีการรับน้ำหนักสูงๆ
จำนวนมาก แต่อาจจะติดปัญหาเรื่องงบประมาณซ่อมบำรุง จึงใช้วิธีปูทับพื้นผิวเดิม
ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่า”
กระบวนการผลิตแอสฟัลต์ซีเมนต์ปรับปรุงคุณภาพด้วยยางธรรมชาติ
(NRMA) ละเอียด
มีความเสี่ยงสูงกระบวนการผลิตที่นำยางมะตอย ผสมกับยางพารา มีความละเอียดทุกขั้นตอน
โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยในการผลิต เนื่องจากยางพาราที่นามาผลิตเป็นน้ำยางข้น 60%
เมื่อนำเข้าสู่กระบวนการผสมกับยางมะตอย
โดยใช้ความร้อนสูงเพื่อระเหยน้ำ จนเหลือแต่เนื้อยางพารา ซึ่งต้องระมัดระวังเรื่องความปลอดภัย
เพราะน้ำกับน้ามันเมื่อนามาผลิตอาจจะเกิดการระเบิดขึ้นได้
จึงต้องใช้เครื่องผสมเฉพาะ
ขณะที่การผลิตต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
การผสมต้องทำให้ยางมะตอยกับยางพาราเป็นเนื้อเดียวกันในทุกอณู (Homogenisation) ไม่แยกชั้น
และต้องมีระบบควบคุม เรื่องกลิ่นของแอมโมเนียที่อยู่ในน้ำยางข้น โดยทางบริษัทมีนโยบายดาเนินการเรื่องการกำจัดและป้องกันกลิ่นอย่างเข้มงวด
“ข้อสังเกตของยางมะตอยผสมยางพาราที่ดี มีคุณภาพ
เนื้อยางต้องมีความเนียนใส ไม่มีเส้นริ้วสีขาวของยางพารา มีความหยืดหยุ่นดี เมื่อนำไปผสมกับหินสามารถเคลือบหินได้ทั่วถึง
ไม่มียางเยิ้ม หรือมองเห็นเป็นเจล
ซึ่งผู้ใช้อาจเข้าใจว่ามีปริมาณยางพาราผสมอยู่มาก
แท้จริงแล้วมันคือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพ
ซึ่งจะส่งผลกับคุณภาพของถนนเมื่อใช้งานไปนานถนนจะทรุดตัวและเกิดการแตกร้าว”
งานก่อสร้างถนนลาดยางพาราแคปซีล
สายในควน - ช่องไม้ดำ ม.13,12 ต.เขาวิเศษ อ.วังวิเศษ
จ.ตรัง ผิวจราจรกว้าง 6 เมตร ระยะทาง 1,400 เมตร
|
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่า บริษัท
โซล่าแอสฟัลท์ ใช้ยางพาราจากทั่วประเทศ
คือ ภาคใต้ ภาคอีสานและภาคตะวันออก โดยเฉพาะยางพาราจากภาคใต้มีคุณภาพดีที่สุด
“บริษัท โซล่าแอสฟัลท์ ให้การสนับสนุนในการนำยางพาราจากภาคใต้มาใช้ในการผลิต
ผลิตภัณฑ์ยางมะตอย เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และทำให้คุณภาพถนนดียิ่งขึ้น
เป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน”
อย่างไรก็ตาม ยางพาราที่จะนามาเป็นวัตถุดิบ
ต้องมีการตรวจวัดค่าต่างๆ ตามกระบวนการของบริษัท
โดยทดสอบในห้องแล็บว่าสามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ยางมะตอยสูตรต่างๆ ได้หรือไม่
เพราะค่าทุกค่าที่กำหนด วัตถุดิบทุกตัวมีความสาคัญ
“ปริมาณการใช้ยางพาราของ โซล่าแอสฟัลท์ มากกว่า 300
ตัน/เดือน แต่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2558 – มีนาคม
2559 ที่ผ่านมาเรามีปริมาณการใช้ยางพารามากกว่า 200 ตัน/สัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงที่มีความต้องการใช้สูงมาก
ซึ่งเป็นผลจากนโยบายรัฐ”
บริษัท
โซล่าแอสฟัลท์ มีรถขนส่งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ยางมะตอยประเภทต่างๆ กว่า 80 คัน
พร้อมรับประกันสินค้าจากต้นทางสู่ปลายทาง
|
นโยบายรัฐหนุนถนนยางพารา
โซล่าแอสฟัลท์ ผลิตรองรับ 700 ตัน/วัน
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ให้ข้อมูลว่า
การใช้ยางมะตอยผสมยางพารา มีการใช้งานประเภท พาราสเลอรีซีล อยู่ก่อนแล้ว
โดยมักจะใช้ฉาบผิวในบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ทางโค้ง
หรือจุดที่มีการลื่นไถล คุณสมบัติของยางพาราจะช่วยให้การยึดเกาะถนนดี ไม่ลื่นไถล
จึงช่วยป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุได้
แต่ภายหลังจากราคายางตกต่ำ ภาครัฐมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรด้วยการน
ายางพารามาเป็นส่วนผสมในการสร้างถนนมากขึ้น
โดยผลักดันให้มีงานพาราสเลอรีซีลแทนผิวทางชนิดเดิม
“กล่มุลูกค้าของเรามีทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เช่น ตรัง
สงขลา พัทลุง สกลนคร ราชบุรี บุรีรัมย์ ขอนแก่ สกลนคร ร้อยเอ็ด มุกดาหาร
หนองบัวลำภู พิษณุโลก กำแพงเพชร และกรุงเทพ
ฯลฯ เราให้ความสำคัญต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์จนถึงมือลูกค้า เพื่อถนนที่ดีมีอายุการใช้งานยาวนาน”
ส่วนภูมิภาคที่ตื่นตัวเรื่องถนนยางพารามากที่สุด
คือ ภาคใต้ เนื่องจากมียางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลัก เมื่อเกิดปัญหาราคา จึงหาทางนำยางพาราไปใช้งาน
หนึ่งในนั้นคือ ถนนยางพารา ของ อบจ.ตรัง มีการสร้างมากที่สุด ทำให้เป็นกระแส
และเกิดการตื่นตัว โดยทำในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น พาราสเลอรีซีลและพาราแอสฟัลต์คอนกรีต
“งานพาราสเลอรีซีลใช้ในงานฉาบผิว ใช้ฉาบผิวจราจร
ลดการลื่นไถล ลดอุบัติเหตุที่เกิดจากการลื่นไถลได้ดี และยืดอายุถนนได้นาน
ส่วนผิวทางพาราแอสฟัลต์คอนกรีตจะช่วยยืดอายุการใช้งานจากเดิม 5-7 ปี อาจจะยืดไปได้ถึง 10 ปีโดยไม่ต้องซ่อม รับน้ำหนักบรรทุกได้มากขึ้น
ลดการเกิดร่องล้อ ใช้งานได้ยาวนาน และมีความปลอดภัย”
ภายในปีนี้ บริษัท โซล่าแอสฟัลท์
ยังมีโครงการขยายกำลังการผลิต NRMA
เพิ่มขึ้น1เท่าตัว หรือมากกว่า 800 ตัน/วัน เพื่อรองรับความต้องการและนโยบายของภาครัฐ
“กำลังการผลิตมาจากกฎเกณฑ์การควบคุมคุณภาพของกรมทางหลวงเป็นหลัก
เนื่องจากการผลิตแต่ละครั้งต้องส่งให้กรมทางหลวงตรวจสอบคุณภาพ ที่สำคัญทางบริษัท
ไม่มีนโยบายจำหน่ายสินค้า โดยไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากกรมทางหลวง”
เดินหน้างานวิจัย
ถนนผสมยางพารา 8%
ปัจจุบันกรมทางหลวงกำหนดมาตรฐานถนนยางพาราให้มีส่วนผสมของยางพารา
5% ซึ่งมักจะถูกมองว่าน้อยเกินไป
จึงมีนโยบายจากรัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคม
ศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มสัดส่วนผสมยางพารา เป็น 8%
สอดคล้องกับ โซล่าแอสฟัลท์ ที่มีการทำงานวิจัยและทดลองเพิ่มยางพาราเข้าไปในยางมะตอยให้ได้มากกว่า
5% มาอย่างต่อเนื่อง
ผู้บริหารบริษัทฯ จึงหยิบยกงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้นมาเป็นงานเร่งด่วน โดยคาดการณ์ว่าภายใน 3-4 เดือนข้างหน้าจะสิ้นสุดกระบวนการทดสอบคุณสมบัติครบถ้วน
และจะนำไปสู่แปลงทดสอบจริงตามภูมิภาคต่าง ๆ
“โซล่าแอสฟัลท์ ให้ความสำคัญกับปัญหาราคายางตกต่ำจึงทำงานวิจัยผสมยางพาราในยางมะตอยเพิ่มขึ้นเป็น
8% ภายในปลายปีนี้จะน่าไปทดลองในถนนสายที่กำหนดให้เป็นแปลงทดสอบ
โดยในการทดสอบจะร่วมกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อขอความร่วมมือจากหน่วยงานท้องถิ่นและผู้รับเหมา
โดยโซล่าแอสฟัลท์จะเป็นผู้สนับสนุน ผลิตภัณฑ์”
สร้างห้องแล็บมาตรฐาน
ทดสอบและ พัฒนางานถนนยางพารางาน
ถนนผสมยางพารามีรายละเอียดการทำงานแตกต่างจากถนนแบบเดิม
จึงจำเป็นต้องแนะนำและให้ความรู้กับผู้รับเหมาก่อสร้างงานทาง โซล่าแอสฟัลท์
มีทีมช่างเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้คาปรึกษา หรือแก้ไขปัญหาขณะทำงาน โดยเจ้าหน้าที่จะได้รับการฝึกอบรมเป็นอย่างดี
รวมถึงการให้คำแนะนาผู้รับเหมา ในวาระและโอกาสต่างๆ
ไม่เพียงเท่านั้น โซล่าแอสฟัลท์ ได้สร้าง ห้องปฏิบัติการแอสฟัลต์คอนกรีต
เพื่อเป็นห้องแล็บในการออกแบบ Job
Mix formula หรือ มิกซ์ดีไซน์งานถนนรูปแบบต่างๆ และเพื่อทดสอบประสิทธิภาพผิวทาง
การทดสอบก่อนการทำงานจะเป็นการช่วยให้การทำงานมีความแม่นยำ ลดความเสียหาย
รวมถึงลดต้นทุนการทำงานให้แก่ผู้รับเหมา ทั้งเวลาในการทำงานและปริมาณของวัสดุ
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ อธิบายว่า
งานพาราสเลอรีซีลและพาราแอสฟัลต์ ต้องตรวจวัดและคัดเลือกแหล่งหินที่เหมาะสมกับการใช้งาน
โดยผู้รับเหมาจะส่งตัวอย่างหินมาทดสอบหาแหล่งหินที่เหมาะสม
เพื่อให้ได้ผิวทางที่มีคุณภาพ
อีกทั้งต้องควบคุมกระบวนการทำงาน และการใช้งานที่ถููกต้อง
ผู้รับเหมาจำเป็นต้องตรวจสอบและทำการแคลลิเบรทเครื่องจักรปูผิวทาง ให้มีมาตรวัดที่พร้อมใช้งาน
เที่ยงตรงและแม่นยำ ถ้ามีความแม่นยำจะช่วยลดความเสียหายได้มาก
บริษัท
โซล่าแอสฟัลท์ ยึดคุณภาพ มาก่อนราคา
ความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
โซล่าแอสฟัลท์ จึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้ยางมะตอย
โดยมีกระบวนการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด และมีมาตรฐานระดับสูง เริ่มตั้งแต่
การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ
วัตถุดิบทุกชนิดที่ใช้ต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพให้มั่นใจว่าตรงตามมาตรฐานที่กำหนดก่อนนำไปสู่กระบวนการผลิต
ตรวจสอบคุณภาพระหว่างผลิต
เพื่อควบคุมการผลิตให้มีประสิทธิภาพและให้ได้ผลิตภัณฑ์ตรงตามมาตรฐานกำ หนด ในทุกๆ
ขั้นตอน และเพื่อความมั่นใจในคุณภาพสินค้าก่อนดำเนินการผลิตในขั้นตอนต่อไป
ตรวจสอบสินค้าสำเร็จรูป
สินค้าทุกชนิดต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพและต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดโดยกรมทางหลวง
และได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ก่อนส่งถึงผู้ใช้
“ที่ผ่านมาได้ส่วนแบ่งการตลาดเกินความคาดหวัง
ในช่วงแรก ๆ เราประสบปัญหาเรื่องความน่าเชื่อถือ เพราะเป็นบริษัทใหม่
กว่าจะได้รับการยอมรับต้องใช้เวลา และเราพยายามรักษาคุณภาพ ซึ่งเป็นหลักในการทำงานเรื่อยมา
ทั้งผลิตภัณฑ์การขนส่ง บริการ หรือ การให้คำปรึกษา จนลูกค้าเชื่อมั่นและไว้วางใจ
พร้อมกับให้โอกาสในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เรายึดหลักคุณภาพ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคา แต่คุณภาพกับราคาต้องเหมาะสมกัน
ไม่ใช่คุณภาพดีต้องราคาสูงเสมอไป โซล่าแอสฟัลท์มีมาตรฐานในการทำงานมาตรฐานเดียว
คือ คุณภาพมาก่อน”
บริษัท
โซล่าแอสฟัลท์ จำกัด ยินดีให้ผู้รับเหมางานทางทั่วประเทศเข้ามาศึกษาดูงานในห้องปฏิบัติการแอสฟัลต์คอนกรีต
เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาการสร้างถนนได้อย่างแม่นยาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
เพื่อพัฒนางานทางของประเทศให้มีมาตรฐานสูงขึ้น
คุณศิริจันทร์ จันทร์ศิริ
บริษัท โซล่าแอสฟัลท์ จำกัด
112 หมู่ 5 ต.ปากแรต อ.บ้านโป่ ง
จ.ราชบุรี 70110
ไม่มีความคิดเห็น