แต่ปัจจัยหลักอีกสิ่งหนึ่งที่อยู่ “เบื้องหลัง” คุณภาพของหมอนยางพารา
คือ เครื่องผสมและเครื่องฉีดโฟมยางพารา หรือในวงการเรียกว่า“เครื่องฉีดโฟม”นั่นเอง
การผสมกันระหว่างน้ำยางข้น กับสารเคมีหลายชนิด เคมีแต่ละตัวมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป การจะผสมให้เข้ากันอย่างดี
มีปริมาณแม่นยำ ผสมและตียางให้แตกตัวเป็นโฟมยาง เครื่องจักรต้องมีประสิทธิภาพสูง สามารถตีโฟมได้ละเอียดอย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งจะมีผลต่อคุณภาพของหมอนยางพาราในท้ายที่สุด
แฮนซ่า มิกเซอร์ (Hansa Mixer) คือเครื่องฉีดโฟมที่ได้รับการยอมรับจากโรงงานผลิตหมอนและที่นอนยางพาราขนาดใหญ่ของโลก
ด้วยมาตรฐานMade in Germany ขึ้นชื่อเรื่องคุณภาพความแข็งแรง และประสิทธิภาพสูงนอกจากใช้เครื่องHansaMixer ในการผสมยางในอุตสาหกรรมทำหมอนยางพาราแล้วเครื่องHansa
Mixer ยังเป็นเครื่องผสมทีมีชื่อเสียงรวมถึงอุตสาหกรรมผลิตพรม เคมี
กาว และอาหาร กว่า 2,000 บริษัท ใน 120 ประเทศทั่วโลก
คุณสุริยะพงษ์ ศรีไชยะ(PAT) กรรมการผู้จัดการ บริษัท
ยู.บี.เท็กซ์ จำกัด ตัวแทนจัดจำหน่ายHansaMixerและ RF
SYSTEMS แต่ผู้เดียวในประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า ลักษณะเด่นที่เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของเครื่องฉีดโฟมHansaคือ หัวปั่นโฟม (MIXING HEAD)ออกแบบให้สามารถปั่นโฟมได้ละเอียดเพราะหัวปั่นโฟมมีเขี้ยวสแตนเลส(Pins)จำนวนมาก ทั้งด้านนอก (Stator)และแกนกลาง (Rotor)เขี้ยวสแตนเลสแกนกลางจะหมุนสวนทางกับเขี้ยวสแตนเลสด้านนอกด้วยความเร็วสูง
ทำให้การตีหรือปั่นโฟมทำได้ทั่วถึงทุกอนู
และเมื่อปั่นด้วยความเร็วสูงจึงทำให้การผสมน้ำยาง เกิดการตีฟองให้นุ่ม ละเอียดมากและสม่ำเสมอ
ทำให้หมอนยางพารา มีคุณภาพดีขนาด Premium เนื้อหมอนจะนุ่ม
และไม่หยาบ รวมถึง มีความรวดเร็วในการผลิตด้วย
“เครื่องฉีดโฟมชนิดอื่นจะใช้ระบบ ดิส (Disk)จานแบบ 2 ฝา หมุนให้เกิดเป็นฟอง แต่เมื่อเทียบกับ Mixing Head ของ Hansa ซึ่งมี 2 หัว แต่ละหัวจะมีเขี้ยวจำนวนมากหมุนด้วยความเร็วสูง
การทำงานของเครื่องจะดึงส่วนผสมน้ำยางพาราและCOMPOUNDต่างๆ เข้ามาในเครื่องตีโฟมตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้อัตโนมัติ
อย่างง่ายดาย โดยควบคุมผ่านระบบคอมพิวเตอร์ของเครื่อง
จากนั้นหัวปั่นจะหมุนด้วยความเร็วสูงปั่นได้มากและเร็วในการผสมแต่ละรอบ
ทั้งนี้
Hansa Mixer มีกำลังการผลิตตั้งแต่
650–1,800 กก./ชั่วโมง ซึ่งจะสามารถฉีดเข้า
Moldของหมอนได้ประมาณ1,500–2,500 ใบ/วัน แต่หมอนยางพาราสำเร็จรูป ที่ผลิตได้ต่อวันนั้น จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตขึ้นต่อไป
นั่นเอง
บริษัทชั้นนำในประเทศเลือกใช้เครื่อง
HansaMixer เช่น
2.บริษัท ไทยเนเชอรัลโฟม จำกัด ผู้ผลิตหมอนและที่นอนยางพารา
3.บริษัท เลเท็กซ์ ซิสเท็มส์ จำกัด ผู้ผลิตหมอนและที่นอนยางพารา
3.บริษัท เลเท็กซ์ ซิสเท็มส์ จำกัด ผู้ผลิตหมอนและที่นอนยางพารา
4.บริษัท ไทยเซ็นทรี่ ( 1995 ) จำกัด ผู้ผลิต ท่อยาง แผ่นยาง
ผลิตภัณฑ์ยางออกกำลังกาย และหมอนยางพารา
5.บริษัท เคไอเจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ผลิตเนื้อผ้าใยสังเคราะห์
7.บริษัท แอล.ไอ.เอส. อินเตอร์เนชั่นแนล
จำกัด ผู้ผลิตพรมและแผ่นเส้นใยสังเคราะห์ ใช้ในการผลิตสินค้า
ใช้ในครัวเรือนและรถยนต์
8.บริษัท ที.ซี.เอช.ซูมิโนเอะ จำกัด ผลิตประดับยนต์
และอุปกรณ์
คุณสุริยะพงษ์กล่าวว่าในกระบวนการผลิตหมอนยางพารา กระบวนการคงรูป (วัลคาไนซ์: Vulcanized) เป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งโรงงานขนาดใหญ่ชั้นนำของโลกเช่น Latexco
, Artilatในประเทศเบลเยียม และฝรั่งเศสรวมถึง
โรงงานผลิตที่นอนยางพารารายใหญ่ใน ศรีลังกาEcotex ได้เลือกใช้ระบบ
Hansa Mixer ร่วมกับ RF Systems
Radio Frequencyเป็นกลไกซึ่งเกิดจากการแลกเปลี่ยนปะจุไฟฟ้า
จากบวกไปลบ และจากลบไปบวก สลับกันไป แบบเดียวกันกับระบบไมโครเวฟ
ต่างกันตรงที่ RF
ให้ความร้อนน้อยกว่าและควบคุมอุณหภูมิได้ง่ายกว่าไมโครเวฟ แต่ทั่วถึงกว่าในแต่ละผลิตภัณฑ์
ระบบRadio Frequencyเป็นระบบที่ใช้สายพาน
ลำเลียง หลังจากฉีดโฟมยางพาราเข้าแม่พิมพ์แล้วก็จะถูกลำเลียงมาตามสายพานเข้าสู่เตานึ่งเพื่อทำให้สุก
โดยอัตโนมัติ ทำให้ใช้ระยะเวลานึ่งให้สุกเพียงไม่เกิน 15 นาที เท่านั้น
“ระบบRF จะให้ความร้อนจากด้านในไปด้านนอกแตกต่างจาก สตีม (Steam) ที่ใช้ความร้อนจากด้านนอก
เข้าไปในตัวหมอน ดังนั้น ผิวด้านนอกที่รับความร้อนตลอดเวลา ซึ่งใช้เวลากว่าข้างในจะสุกทั่วถึงกัน
ทำให้ผิวด้านนอกจะเหมือนฟิล์มเคลือบผิว มีผลต่อการระบายอากาศของตัวหมอน
“การใช้ระบบRF
ทำให้ประหยัดพลังงานกว่าระบบอื่น เนื่องจากให้ความร้อนสม่ำเสมอและทั่วถึง ปกติในเนื้อโฟมจะมีน้ำอยู่ข้างใน
เมื่อRF ให้ความร้อนในการนึ่งสุกจาก 0-100 องศา อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน
ความร้อนซึ่งเกิดเป็นไอระเหยขึ้นในแม่พิมพ์ ทำให้ความร้อนภายในแม่พิมพ์จะสูงขึ้นถึง
160 องศา หมอนจึงสุกเร็ว
ขณะที่ใช้พลังงานเพียงแต่ 100 องศาเท่านั้น
จึงนับเป็นการประหยัดพลังงาน
“การให้พลังงานความร้อนของระบบ RF จะเกิดขึ้นต่อเมื่อมี
PRODUCTS เข้าไปอยู่ในตัวเครื่องเท่านั้นเมื่อไม่มี PRODUCTS เข้าไป ระบบก็จะไม่ทำงาน ถือเป็นการประหยัดพลังงาน ขณะที่ระบบสตีมจะใช้เชื้อเพลิงสร้างความร้อนตลอดเวลา
แม้กระทั่งช่วงที่รอการลำเลียงนำแม่พิมพ์เข้าเครื่อง พลังงานก็จะเกิดการเผาผลาญตลอดเวลาทำให้สิ้นเปลืองและใช้เวลาการทำให้สุกนานกว่าระบบ
RF หลายเท่าคุณสุริยะพงษ์เปรียบเทียบการวัลคาไนซ์ ของ 2 ระบบ
ข้อดีของระบบ
RF คือ เป็นระบบสายพานอัตโนมัติ จึงลดการใช้แรงงาน
สามารถผลิตได้ครั้งละมากๆ ภายในเวลาสั้น
และประหยัดพลังงาน
และคุณภาพหมอน สีจะเนียนเท่ากันหมดทั้งใบ แม้ว่าราคาเครื่องอบระบบ RF จะสูงกว่าระบบสตีม ประมาณ 3
เท่า แต่สามารถลดต้นทุนด้านอื่น เช่น แรงงาน พลังงาน เพิ่มผลผลิตได้มากกว่า
จึงเหมาะสำหรับโรงงานที่มีกำลังการผลิตขนาดใหญ่
ส่วนประเด็นที่เคยมีข่าวว่า
โรงงานผลิตหมอนระบบ RF ทำให้เกิดไฟไหม้
คุณสุริยะพงษ์ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า
“ไฟไหม้ไม่ได้เกิดจากระบบ,และไม่ได้ไหม้จากเนื้อหมอน เพราะในโฟมมีน้ำอยู่ข้างใน
แต่สาเหตุเกิดจากโมลด์ที่อาจมีเคมี ติดสะสมอยู่เนื่องจากทำความสะอาดไม่ดีพอ”
การจะลงทุนผลิตหมอนยางพารา
นาทีนี้คงตัดสินใจกันที่มีเงินลงทุนเพียงอย่างเดียวไม่ได้
ต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของเครื่องจักร กำลังการผลิต แรงงาน เชื้อเพลิง
การลดต้นทุน ราคา และคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เหล่านี้มีความเชื่อมโยงกันทั้งนั้น
หากเลือกคำว่าประสิทธิภาพมากกว่าราคา
ย่อมหมายถึงศักยภาพทางการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างแน่นอน
คุณสุริยะพงษ์
ศรีไชยะ
กรรมการผู้จัดการ
บริษัท
ยู.บี.เท็กซ์ จำกัด
10
ซอย สุขสวัสดิ์ 26 แยก 6-1ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140
โทรศัพท์ 0-2874-6265-6,
08-1831-3266, 08-3096-0570
โทรสาร 0-2874-6174
e-mail : ubtex@cscoms.com
หมอนที่ใส่ใจคุณ หมอนยางพารากลิ่นลาเวนเดอร์ จาก " Thai Royal Vanka "
ตอบลบ✔ ยางพาราแท้ 100%
✔ กลิ่นลาเวนเดอร์
✔ เหมาะสำหรับคนชอบนอนหงาย
✔ ช่วยลดอาการนอนกรน
✔ ลดปัญหาการนอนตกหมอน
✔ รองรับบ่าและไหล่ของคุณอย่างดี
ซื้อเลยวันนี้ หมอนหอมๆที่นอนแล้วดีรอคุณอยู่นะ Zzz..
#หมอนยางพารา #หมอนยางพารากลิ่นลาเวนเดอร์ #ลาเวนเดอร์