์News

์News

เดินหน้าเร่งหาข้อสรุปแก้ไขปัญหายางพาราราคาตกต่ำ



นายอุทัย  สอนหลักทรัพย์  ประธานกรรมการที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังจากการเข้าประชุมคณะกรรมการสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่  28  มิถุนายน  2555 ณ โรงแรมรอยอลซิตี้ กรุงเทพฯ  ว่าการประชุมครั้งนี้ได้มีประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ประธานเครือข่ายชาวสวนยางครบวงจรแห่งประเทศไทย สภาเกษตรกร จังหวัดสงขลา เข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาราคายางพารา ซึ่งตกต่ำโดยสรุปผลการประชุมดังนี้
เสนอให้รัฐบาลประกันราคายาง ไม่ต่ำกว่า กก. ละ 100 บาท ถ้าราคาเกิน 100 บาท/กก. ให้ซื้อนำจนกว่าจะมีราคา กก.ละ 120 บาท จึงให้ปล่อยเป็นไปตามกลไกของตลาดให้คณะกรรมการนโยบายธรรมชาติ (กนย.) ตั้งคณะทำงานบริหารโครงการขึ้นมาคณะหนึ่งเพื่อมอบหมายให้องค์การสวนยาง (อสย.)เป็นผู้กู้เงินจากสถาบันการเงินของรัฐเพื่อนำมาแทรกแซงราคายางตามข้อ (1) ให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) รับซื้อตามจุดตลาดของ สกย. ทุกจุดตามข้อตกลงที่ กนย. กำหนดให้ อสย. จัดซื้อตามตลาดกลางยางพาราของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร
การซื้อแทรกแซงยางในครั้งนี้คณะกรรมการบริหารโครงการจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจในการซื้อ-ขายยาง โดยให้ อสย. ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการ ถ้าเกิดปัญหาขาดทุนรัฐบาลจะต้องหาเงินมาชดเชยให้ พรบ.การยางที่กำลังอยู่ในวาระ 2 ของสภาผู้แทนราษฏร ซึ่งเป็นการบริหารการเงิน CESS ที่หักมาจากเกษตรกรชาวสวนยาง กก.ละ 5 บาท (ในการส่งออก) ที่ประชุมมีความเห็นว่าคณะกรรมการนโยบายจะต้องมีเกษตรกรไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งรัฐบาลควรเพิ่มมูลค่ายางโดยสนับสนุนให้มีการแปรรูปทำผลิตภัณฑ์โดยให้เกษตรกรชาวสวนยางทำอุตสาหกรรม โดยทำผลิตภัณฑ์ยางที่ง่ายๆ โดยรัฐบาลสนับสนุนเงินทุน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาราคายางในระยะยาว
ในการทำยุทธศาสตร์ยาง (Road Map) ซึ่งประเทศมาเลเซียได้รับมอบจาก AEC ให้เป็นผู้ร่างทั้งๆ ที่ประเทศไทยมียางเป็นอันดับหนึ่งของโลก รัฐบาลควรที่จะต้องส่งผู้แทนภาครัฐ-เอกชน-เกษตรกร เข้าไปร่วมเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ของประเทศ
รัฐบาลควรที่จะต้องเร่งรัดโครงการยางพารา 800,000 ไร่ ให้แก่ผู้ที่ลงทะเบียนไว้และรอการอนุมัติของรัฐบาลมาตั้งแต่ปี 2553 โดยสูญเสียโอกาส รอรัฐบาลมา 3 ปีแล้ว แต่โครงการนี้ไม่ได้รับความสนใจจากรัฐบาล โดยขอให้รีบทบทวนโครงการนี้อย่างเร่งด่วน
นายอุทัย ได้กล่าวว่าเพิ่มเติมในที่ประชุมครั้งนี้ว่าผลจากข้อหารือดังกล่าวจะได้นำเสนอต่อครม.เร็วๆ นี้ นอกจากนี้ได้มีการพูดถึงโครงสร้างยางพาราว่ายางพาราเป็นพืชเดียวในประเทศไทยที่มีการเก็บเงิน CESS กิโลกรัมละ 5 บาท ตามพรบ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง 2503 เพื่อพึ่งพาตนเองโดยโค่นยางเก่าปลูกแทนยางใหม่ และมีส่วนที่ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายการบริหารงานทุกคนใน สกย. 10%  และอีก 5%  เพื่อสนับสนุนสถาบันวิจัยยางวิจัย ซึ่งทุกพืชพึ่งงบประมาณจากรัฐบาล โดยเฉพาะข้าวรัฐสนับสนุนทุกอย่างแม้แต่ราคาประกัน
ดังนั้นรัฐบาลควรที่จะหันมาดูแลยางซึ่งทำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับหนึ่งของสินค้าเกษตร ไม่ควรปล่อยให้มีปัญหาเรื่องราคาเช่นนี้ อีกประการหนึ่งถ้าการเสนอของสมาคมฯ ในครั้งนี้รัฐไม่รีบเข้ามาแก้ไขปัญหาจะตามมาอีก ก็คือปัญหากรณี FATF ที่ขึ้นบัญชีดำของประเทศไทย ซึ่งกระทบต่อการส่งออกยางเป็นอย่างมาก ถ้ารัฐไม่รีบแก้ไข และจะตามมาด้วยวิกฤตของยูโรโซน ซึ่งกำลังกระทบหลายประเทศ และจะลุกลามมาถึงประเทศไทย ยางพาราก็จะมีปัญหาเรื่องราคาถ้าไม่รีบแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะส่งผลกระทบอย่างแน่นอน











ไม่มีความคิดเห็น

Random Posts

randomposts