์News

์News

สป. เปิดเวทีเตรียมความพร้อมด้านมาตรการเชิงรุก-เชิงรับ (AEC)



สป. เปิดเวทีเตรียมความพร้อมด้านมาตรการเชิงรุก-เชิงรับ สำหรับสินค้าเกษตร (ยางพารา) เพื่อเตรียมพร้อมนำเสนอครม.เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
 นายอุทัย  สอนหลักทรัพย์   ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงินการคลัง  สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  เปิดเผยภายหลังจากกการเป็นประธานจัดงาน  การสัมมนา  มาตรการเชิงรุก-เชิงรับ สำหรับสินค้าเกษตร (ยางพารา)เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี ๒๕๕๘ 
โดยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมให้เกียรติในการเปิด เมื่อ  วันศุกร์ที่  ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๕เวลา ๑๐.๑๕ – ๑๑.๐๐ น.ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๓ สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ว่า  ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย และเป็นผู้ผลิตส่งออกอันดับหนึ่งของโลก ตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ ทำรายได้เข้าประเทศประมาณ ๖๗๘,000 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีผู้มีความรู้ ความชำนาญในการผลิตยางพารา มีประชาชนเกี่ยวข้องกับยางพาราไม่น้อยกว่า ๖ ล้านคน
 ดังนั้น การใดๆ ที่มีผลกระทบต่อการผลิตการค้ายางพาราย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ และประชาชนจำนวนมาก คณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การคลัง เห็นถึงความสำคัญของสินค้ายางพาราทั้งระบบการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ จึงได้ยกประเด็นมาศึกษานโยบายเกี่ยวกับมาตรการเชิงรุก-เชิงรับสำหรับสินค้าเกษตร (ยางพารา) เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี ๒๕๕๘  
ทั้งนี้การจัดสัมมนาดังกล่าวได้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอการศึกษา วิเคราะห์ผลกระทบและมาตรการในการดำเนินการ   รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างให้เกิดความตระหนัก ตื่นตัวในการเตรียมพร้อมเพื่อกำหนดมาตรการในการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น  และเป็นการสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างเกษตรกรผู้ประกอบการยาง อุตสาหกรรมยาง ผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการในการจัดสัมมนา  ซึ่งคาดว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการสัมมนาในครั้งนี้ คือ  นอกจากผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลจากการศึกษาและสามารถนำไปประกอบการวางแผนเพื่อรองรับผล กระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต   และรับทราบผลกระทบที่เกิดจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อสินค้าเกษตรยางพาราว่ามีความได้เปรียบในการแข่งขันเพิ่มขึ้นหรือน้อยลงอย่างไร 
รวมทั้งได้แนวทางและมาตรการในการปรับตัวเพื่อให้ภาคการเกษตรไทยสามารถดำรงสถานภาพการแข่งขันได้ไม่น้อยกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแล้ว   ภาคการเกษตรของไทยได้รับประโยชน์จากการค้าสินค้าเกษตรยางพารากับประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียนเพิ่มขึ้น และยังเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันสินค้าเกษตรยางพาราไทยในเวทีการค้าโลก เมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเริ่มมีบทบาทอย่างเต็มที่ในปี  ๒๕๕๘   อีกด้วย
ทั้งนี้จากการที่อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดี บนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน
 ปัจจุบันอาเซียนประกอบด้วยประเทศสมาชิก  ๑๐  ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม สหราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหพันธรัฐมาเลเซีย สหภาพพม่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์  สาธารณรัฐสิงคโปร์  ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 
 จากที่ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปมากทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ทำให้อาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ มากมาย เช่น โรคระบาด การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ พิบัติภัยธรรมชาติ เช่น สึนามิ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน ความเสี่ยงที่อาเซียนอาจจะไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่นๆโดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด เป็นต้น
 อาเซียนจึงต้องปรับตัวเพื่อให้รับมือกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นให้ได้  ประกอบกับ    เดือนตุลาคม ๒๕๔๖ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี ๒ เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEN Community) คือ การให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี ๒๕๖๓ และต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปี ๒๕๕๘ โดยจะเป็นประชาคมที่ประกอบด้วย ๓ เสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันคือ  ๑ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน  ๒ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ ๓ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
อุทัย สอนหลักทรัพย์
“ในมุมมองของผมคิดว่า ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการเป็นประชาคมอาเซียนมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัว กล่าวคือหากประเทศไทยสามารถปรับทันได้ก่อน เรียนรู้ที่จะใช้โอกาสจากสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ก่อน ย่อมสร้างความได้เปรียบให้กับประเทศของเรา ในทางกลับกันหากเรายังไม่ทราบ หรือไม่รู้และไม่พร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อเราอย่างหลีกหนีไม่พ้น โดยที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม 
หากไม่มีการศึกษาวิเคราะห์เพื่อกำหนดมาตรการในการพัฒนาด้านการเกษตรที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ เราอาจเป็นฝ่ายเสียประโยชน์จากการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน เมื่อได้เห็นถึงปัญหาด้านการเกษตรซึ่งอาจจะเสียเปรียบจึงได้นำมาตรการเชิงรุก  เชิงรับเพื่อนำเสนอการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อสินค้าเกษตร(ยางพารา) เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางพาราเป็นอันดับ1ของโลกมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ มีพื้นที่ปลูกยางพารา ประมาณ ๑๗ ล้านไร่  ได้ผลผลิต ๓.๓ ล้านตันต่อปี  ทำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละ ๖๗๘,๐๐๐  ล้านบาท  ซึ่งถือเป็นสินค้าเกษตรที่ทำรายได้เป็นอันดับ ๑ จึงนับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก จึงควรที่จะเร่งหามาตรการเชิงรุก-เชิงรับดังกล่าว




ไม่มีความคิดเห็น

Random Posts

randomposts