เรื่อง : สุขศานต์ อริยรังสฤษฏิ์
ทำสวนยาง
8 ไร่
ได้เงินวันละหมื่น เชื่อหรือไม่...???
ถ้าเป็นก่อนหน้านี้
ผู้เขียนคงไม่มีทางเชื่ออย่างแน่นอน
เพราะสวนยางแค่
8 ไร่ ได้วันละ 2-3 พันบาทก็ถือว่าเก่งแล้ว แต่นี่กลับไปเป็นหมื่น...!!!
แต่สุดท้ายผู้เขียนก็ต้องเชื่อ สามารถทำได้จริงแล้ว โดยอาศัยการใช้ “ฮอร์โมนเอทธิลีน”
หรือที่ชาวสวนยางพูดติดปากว่า “ยางอัดแก๊ส” นั่นเอง
เทคนิคที่ว่านี้คือการเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้หลายเท่าตัว
โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ปลูกเลย สวนยาง 8 ไร่ จากได้เงินวันละพัน กลายเป็นวันละหมื่น
มิหนำซ้ำงานยังเบาว่าการทำสวนยางปกติอีกด้วย
คือกรีดยางเพียง 10-11
วัน/เดือนเท่านั้น
นี่เท่ากับว่าพื้นที่ปลูกยาง
8 ไร่
แต่สามารถเพิ่มผลผลิตได้เท่ากับยางหลายสิบไร่ และยังทำงานน้อยลง
ขณะเดียวกันกลยุทธ์การเพิ่มผลผลิตในสวนยางยังไม่หมดเพียงเท่านั้น
ถ้าสวนยางที่ติดแก๊ส แล้วติดตั้งหมวกกันฝนต้นยาง สามารถกรีดยางได้แม้วันฝนตก เป็นการเพิ่มวันกรีด/ปีมากขึ้นจะสามารถเพิ่มผลผลิตยางได้เพิ่มขึ้นแค่ไหน...???
เรื่องราวของการเพิ่มผลผลิตแบบควบคู่ทั้ง
2 ชนิดนี้
เป็นอย่างไร ผู้เขียนมาคำตอบ...
สวนยางแค่
8 ไร่ แต่ได้เงินหมื่น/วัน
วิทยา ขาวเผือก เกษตรกรชาวสวนยางขนานแท้ แห่ง อ.เขาชัยสน
จ.พัทลุง เขาเริ่มต้นปลูกสร้างสวนยางยางพันธุ์ RRIM 600 พื้นที่เพียงแค่ 8 ไร่เลี้ยงครอบครัว
“ได้เงินเช้าละพัน” วิทยาเอ่ยสำเนียงปักษ์ใต้แท้ๆ
ซึ่งผลตอบแทนเพียงเท่านี้ก็ถือว่าเพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว
เดือนหนึ่งก็น่าจะได้ 20,000 – 30,000 บาท ก็ถือว่าพอสมน้ำสมเนื้อกับพื้นที่ 8 ไร่
แต่เมื่อต้นยางเข้าสู่วัยชรา
เขาเริ่มเห็นอาการผิดปกติของต้นยางที่เป็น “เครื่องพิมพ์แบงค์” มากว่า 20 ปี เพราะมันเริ่มให้น้ำยางลดลง...!!!
แต่ด้วยเพราะเขาอยู่ในย่านสวนยางที่มีการใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนกันอย่างแพร่หลาย
เขาจึงตัดสินใจไม่ยากที่จะใช้เทคนิคนี้มาช่วยเพิ่มผลผลิตที่กำลังลดลงในสวย
“สวนยางแถวนี้ทำกันมาเป็นสิบปีแล้ว ผมก็เห็นผลงานของมันแล้วว่าดี” วิทยาให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
แต่ต้องยอมรับว่ายางอัดแก๊สค่าใช้จ่ายไม่น้อยเลย
เพราะขนาดสวนเล็กของเขา ใช้เงินมากถึง 3-4 หมื่นบาท เท่ากับรายได้สวนยาง 1 เดือนเต็มๆ
“สูงแต่มันได้คุ้ม” เขาบอกอย่างนั้น
ฮอร์โมนเอทธิลีนที่วิทยาใช้ในช่วงเริ่มแรกอุปกรณ์เป็นแบบกระเปาะหรือฝาครอบ
ซึ่งให้น้ำยางเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก แต่ติดอยู่ปัญหาเดียวคือ อุปกรณ์เสียเร็ว
โดยเฉพาะอาการรั่ว ต้องลงทุนซื้อตัวใหม่ๆ หรือไม่ก็ต้องลงทุนซ่อม
และยังต้องใช้เจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญ
เขาใช้อยู่ประมาณ 6 เดือนเต็ม จนเมื่อมีอุปกรณ์ชนิดใหม่เข้ามาแนะนำ
มีลักษณะเป็น “ตัวตอก” ประกอบด้วยตัวหัวจ่าย ถุงเก็บฮอร์โมน
และสายเติมฮอร์โมน ลักษณะพิเศษของอุปกรณ์ประเภทนี้คือ ติดตั้งได้ง่าย เพียงแค่ตอกจัวหัวจ่ายเข้ากับเปลือกยางเท่านั้น
ที่สำคัญคือ วิทยาสามารถติดตั้งได้เอง โดยไม่ต้องเสียเงินจ้างผู้เชี่ยวชาญมาติดเลย
สวนยาง 8 ไร่ ใช้เวลาเพียง 2-3
ชั่วโมงก็ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว
คุณสมบัติพิเศษที่สำคัญของอุปกรณ์ยี่ห้อที่วิทยาใช้คือ
ทนทาน และมีการรับประกันความเสียหายอุปกรณ์ ถึง 5 ปี
“ลงทุนทีเดียวเสร็จเรื่อง”
เมื่อสอบถามถึงเรื่องต้นทุนอุปกรณ์ฮอร์โมนเพิ่มน้ำยาง
สามารถทำได้ 2 รูป แบบ คือ
ซื้ออุปกรณ์มาติดตั้งเอง ค่าอุปกรณ์ 55 บาท/ชุด
อีกรูปแบบคือ จ้างตัวแทนของบริษัทมาติดตั้งให้
ซึ่งจะรวมอุปกรณ์จ่ายฮอร์โมน ถังรองน้ำยาง ลวดแขวนถังนะยาง และลิ้นรองน้ำยาง ทั้งหมดตัวแทนจะติดตั้งพร้อมสรรพ
รวมทั้งการตั้งหน้ายางด้วย
เพียงแค่เจ้าของสวนถือมีดกรีดยางมาเล่มเดียวก็ทำงานได้เลย ต้นทุนประมาณ 75บาท/ต้น
ความแตกต่างของการสวนยางปกติ กับสวนยางอัดแก๊ส
คือ รูปแบบการกรีด คือ หน้ายางแคบลง เพียงแค่ 4 นิ้ว และกรีดขึ้นบน 1 วันเว้น 2 วัน เพียงแต่ต้องเติมฮอร์โมนทุกๆ 10 วัน ต้นฮอร์โมนเฉลี่ยต้นละไม่เกิน
1 บาท
ต่างจากระบบการกรีดปกติที่ต้องแบ่งเป็น 3 หน้า และกรีดแบบ 2 วันเว้น 1 วัน
ถามว่าถ้าเปลี่ยนระบบการกรีดจะทำให้น้ำยางเพิ่มขึ้นได้เหรอ...???
วิทยาบอกว่าน้ำยางเพิ่มขึ้นจริงๆ เพราะตัวฮอร์โมนเอทธิลีน
ที่ติดตั้งอยู่ห่างจากหน้ายางประมาณ 2 นิ้ว จะเป็นตัวกระตุ้นให้น้ำยางไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง
ดูได้จากปริมาณน้ำยางที่ได้ต่อวัน เช้าแรกหลังจากอัดฮอร์โมนเกือบเต็มถังน้ำยางขนาด
3 ลิตร
ผลดีที่สำคัญที่สุดคือ มีสวนยางเท่าเดิม
ทำงานน้อยลง แต่รายได้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว จากการกรีดยาง 2 วัน หยุด 1
วัน หรือ 20-22 วัน/เดือน ก็เหลือเพียง 1 วัน เว้น 2 วัน หรือเดือนละประมาณ 10-11 วันเท่านั้น
วิทยาบอกว่ายางอัดแก๊สเพิ่มน้ำยาง รายได้เพิ่ม
รายละเอียดเป็นอย่างไร ลองพิสูจน์ซิว่าจริงหรือเปล่า
เขาให้ข้อมูลว่า ปกติสวนยาง 8 ไร่ ได้น้ำยางไม่ถึง 5 แกลลอน/วันกรีด แต่หลังจากเปลี่ยนทำยางอัดแก๊สได้น้ำเพิ่มมากกว่า 10 แกลลอน
“น้ำยางออกดี เปอร์เซ็นต์น้ำยางดี น้ำยางก็ได้มากกว่า”
เมื่อถามว่าการที่น้ำยางออกมาเยอะๆ
อย่างนี้ไม่กลัวจะมีผลกระทบต่อต้นยางหรือ...??? วิทยาบอกว่า
เขาทำสวนยางอัดแก๊สมาแล้วกว่า 3 ปี ยังไม่มีปัญหากับต้นยางเลย ในทางกลับกัน ยังให้ข้อมูลตรงกันข้ามว่า ต้นยางกลับขยายตัวเร็ว
ทำให้ต้นยางโตสมบูรณ์ขึ้น ทั้งๆ ที่เป็นยางแก่อายุ 20 ปี จุดสังเกตง่ายอีกตัวคือ
หน้ายางฟื้นเร็ว ใบต้นยางก็เขียวสมบูรณ์ดี
“ใช้ฮอร์โมนมา
3 ปี แล้ว
น้ำยางยังออกดี น้ำยางสูง ยิ่งปีนี้ได้น้ำยางมากกว่าปีที่ผ่านมา” เจ้าของสวนยางอัดแก๊สเผย
ทั้งนี้การใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนในสวนยาง
เป็นเทคนิคการกระตุ้นให้น้ำยางไหลมามากเป็นพิเศษ
ดังนั้นการดูแลจึงต้องมีความพิเศษตาม อย่างแรกคือ การปรับพฤติกรรมการให้ปุ๋ย
จากปกติใส่ปีละ 2 ครั้ง
ก็เปลี่ยนมาแบ่งใส่ 3 ครั้ง/ปี หรือ ทุก 3 เดือน “ปุ๋ยก็ไม่ได้ใช้เพิ่มขึ้น แต่ใช้เท่าเดิม แต่แบ่งใส่ถี่ขึ้น”
อีกทั้งระบบการกรีด
1 วันเว้น 2 วัน ยังเป็นการพักต้นยางไม่ให้ทำงานหนักจนเกินไป
หากกรีดถี่กว่านี้ต้นยางอาจจะโทรมไว
ส่วนปัญหาเรื่องผลกระทบจากเอทธิลีนที่อาจจะได้รับผลกระทบกับเนื้อไม้ยาง
โดยเฉพาะแผลจากการตอกหัวจ่ายเข้ากับเปลือกยาง วิทยาบอกว่าไม่มีปัญหาเพราะย่านนี้เขาใช้กันมานานแล้ว
ตัดขายกันไปก็เยอะ แผลที่ตอกก็ไม่ได้เข้าเนื้อไม้ เจาะแค่เปลือก
“มันไม่มีปัญหา ไม่กลัว”
วิทยายังบอกในตอนท้ายอีกว่า
อุปกรณ์ที่ใช้อัดฮอร์โมน ตอนปิดหน้ายางยังถอดขายมือ 2 ได้อีกด้วย มีชาวสวนยางใกล้เคียงมาขอซื้อไปใช้
เพราะไม่ค่อยมีทุน ราคาประมาณ 30 บาท ซื้อมาละ 55 ขาย เท่ากับว่าเขาลงทุนเพียงครึ่งเดียว
“อยากให้เพื่อเกษตรกรลองใช้
เขาพรรค์นี้มันต้องลอง ไม่ลองไม่รู้” เจ้าของสวนยาง 8 ไร่ ใน อ.เขาชัยสน
จ.พังลุงชักชวน
ใช้ฮอร์โมนเอทธิลีน
และหมวกกันฝนในสวนยาง กำไรเพิ่มหลายต่อ
จาก อ.เขาชัยสน ผู้เดียวเดินทางลงต่อมายัง
อ.ป่าบอน ใน จ.พัทลุง เพื่อมาดูการทำสวนยางเอทธิลีนของชาวสวนที่นี่
แต่ถ้าจะมาดูแค่การทำยางเอทธิลีนอย่างเดียวก็ดูจะซ้ำซ้อน ไม่ต่างจากสวนของวิทยา
แต่ว่าที่นี่มีข้อมูลน่าสวนใจแน่นอน
ไม่อย่างนั้นคงไม่มา...???
ความพิเศษของสวนยางที่
อ.ป่าบอน คือ มีชาวสวนยางทำสวนยางติดแก๊สเพิ่มผลผลิตน้ำยาง ควบคู่กับการติดหมวกกันฝนนั่นเอง
ปกติยางติดแก๊สน้ำยางและเงินก็ได้เพิ่มหลายเท่าแล้ว
แต่นี่ยังมีการติดร่มกันฝน ทำให้สามารถกรีดยางได้แม้วันที่ฝนตก
เท่ากับได้น้ำยางเพิ่มขึ้นอีกหลายๆ เท่าตัว
สวนยางที่ผู้เขียนกำลังกล่าวถึงคือสวนยางของ
สุจิตรา จงรัตน์ เจ้าของสวนยางพันธุ์
RRIM 600 จำนวน 20 ไร่ ซึ่งเธอบอกว่าต้นยังไม่ค่อยเต็มพื้นที่นัก
เจ้าของสวนยางรายนี้ตัดสินใจใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว
ด้วยเหตุผลพื้นฐานคือ ปริมาณน้ำยางไหลออกมาน้อยลง นำมาขายได้เงินไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในครอบครัว
โดยเฉพาะภาระหนักอึ้งกับหนี้ ธ.ก.ส. ล้านกว่าบาท อีกทั้งต้นยางก็ชราภาพมากแล้ว
เพราะอายุกว่า 20 ปี
“น้ำยางที่ได้กับเงินที่ได้รับไม่พอต่อค่าใช้จ่าย
20 ไร่ ได้น้ำยางแค่ 100 กว่าโล จนมาปรึกษากับลูกว่าจะทำยังไงดี โค่นปลูกใหม่ดีมั้ย” เธอเกือบตัดสินใจอย่างนั้น
หวังนำเงินก้อนสุดท้ายจากการขายไม้ยางมาพยุงครอบครัวชั่วคราว
ก่อนที่จะเปลี่ยนความคิดได้ทัน
“เห็นว่ามีสวนยางหลายแปลงที่เขาอัดแก๊สกัน
แล้วได้น้ำยางดี ทั้งๆ ที่ต้นยางอายุเยอะ จึงสนใจไปดูตัวอย่างเขา และให้เขาเข้ามาดูที่สวนว่าทำได้มั้ย
พอเขามาดูเราก็บอกให้เขาทำให้เลย เพราะจริงๆ ตอนนั้นเราก็ตัดสินใจไว้แล้วว่าน่าจะลองดู”
แต่เธอก็ต้องยอมกัดฟันหาเงินก้อนหนึ่งเพื่อลงทุนติดตั้งอุปกรณ์
20 ไร่ ปริมาณต้นยาง 1,000 กว่าต้น ใช้เงินไปกว่า 70,000 กว่าบาท
“แต่คุ้ม พอติดแล้วน้ำยางเพิ่มสูงขึ้นเป็น 20 กว่าแกลลอน/วัน” เมื่อคำนวณเป็นน้ำหนักน้ำยาง 1 แกลลอนน้ำหนักประมาณ 40 ลิตร น้ำยางที่เธอได้ประมาณ 700-800 กิโลกรัม/วัน ขายเป็นน้ำยางสดได้เงิน
30,000 – 40,000 บาท/วันกรีด
แต่เส้นทางการกอบโกยเงินมักจะไม่ราบลื่น
เพราะมีอุปสรรค์เสมอ นั่นคือ ปัญหาเรื่องฝนโดยในช่วงที่เธอเริ่มทำสวนยางติดแก๊ส
ปริมาณฝนสูงมากกว่าหลายๆ ปีที่ผ่านมา แม้กระทั่งหน้าร้อนหน้าแล้วฝนก็ยังตกไม่ขาย
นั่นเท่ากับว่ารายได้ถูกตัดตอนไปด้วย
ก่อนที่ตัวแทนจำหน่ายที่ติดตั้งอุปกรณ์เอทธิลีน
เข้ามาแนะนำให้ติดหมวกกันฝนต้นยาง ซึ่งจะทำให้สามารถกรีดยางได้แม้วันที่ฝนตก
“ตอนหลังเจอฝนตกติดต่อกันมากจนไม่สามารถกรีดยางได้
บางทีเราตัดยางแล้วฝนเทลงมา น้ำยางก็เสียอีก น้ำยางไหลตามน้ำเต็มหน้ายางเลย
ขาวโพลนเลย ทำให้รายได้หายไปอีก พอเขามาแนะนำให้ติดร่มกันฝน จึงตัดสินใจติดตั้งเลย
เพราะจะทำให้กรีดยางได้ตามปกติ แม้วันที่ฝนตก ติดเมื่อเดือน มกราคม ปีนี้
เพราะหน้าฝนเราเสียเวลาอยู่เปล่าๆ รายได้ก็ไม่มี” สุจิตราเล่าถึงอุปสรรคการกรีดยางหน้าฝน
ซึ่งเป็นเหตุผลที่ต้องลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่กับสวนยางอีกครั้ง
“รวมค่าติดตั้งต้นละ
55 บาท ลงทุนไปอีก 5-6 หมื่นบาท แต่มันแก้ปัญหาได้ 100%”
หมวกกันฝนที่เธอพูดถึง
ผลิตจากพลาสติกหนาเกรดเดียวกับที่ใช้ทำถังรองน้ำยาง ด้วยขนาดหมวกที่กว่าจึงป้องกันน้ำฝนที่จะไหลจากต้นมาหน้ายาง
และถ้วยยางได้
“ปกติสวนยางเม็ดฝนจะไม่ได้สาดกระหน่ำแต่อย่างใด
เพราะใบยางจะบดบังอยู่แล้ว มีเพียงน้ำที่ไหลมาตามต้นยางเท่านั้น
เมื่อเราใช้ร่มกางบริเวณหน้ายางซะ ก็แก้ปัญหาได้เกือบ 100%” เธอพูดถึงประสิทธิภาพของหมวกกันฝนหลังจากลองใช้มาแล้วหลายเดือน
ลักษณะพิเศษของร่วมตัวนี้นอกจากจะหนา
มีขนาดใหญ่แล้ว ยังติดตั้งง่าย เพียงแค่นำหมวกคล้องเข้ากับต้นยางเหนือรอยกรีด
จากนั้นใช้ลวดผูกรัดเข้ากับต้นยาง
จากนั้นใช้กาวชนิดพิเศษทาบริเวณขอบหมวกกับผิดต้นยางเพื่อป้องกันน้ำไม่ให้ไหลผ่าน
กาวชนิดนี้สามารถยืดหยุ่นได้ในช่วงแดดออก พอฝนตกมันจะแข็งตัว
เหมือนเป็นการล็อกตัวร่มกับต้นยางให้แน่นจนน้ำไม่สามารถเข้าได้
“หมวกนี่เขารับประกัน
5 ปี ถ้าพังก่อน 5 ปี เขาเปลี่ยนให้”
ส่วนข้อมูลเรื่องการลงทุนเธอแจ้งว่าราคาอันละ 54 บาทรวมค่าติดตั้ง ถ้าซื้อมาติดเองจะถูกกว่านี้
รวมเป็นเงินลงทุนติดหมวกยางประมาณ 50,000-60,000 บาท “ถ้ารวมติดแก๊สกับหมวกค่าใช้จ่ายต้นหนึ่งก็ไม่เกิน
120 บาท” เจ้าของสวนบอก
สวนยาง
20 ไร่ ของสุจิตราจึงสามารถกรีดได้ตามคิวเดือนละ
10-11 วัน ทุกเดือน แม้ช่วงหน้าฝนก็ตาม
สวนยางติดเอทธิลีน และร่มกันฝนของสุจิตรา แม้อายุต้นยางจะชราภาพมากแล้ว แต่ก็ยังสามารถกรีดได้ในหน้าสูง เมื่อหน้าสูงหมด ก็ยังสามารถลงกลับมากรีดหน้าปกติได้ ว่ากันว่าถ้าดูแลรักษาดีๆ อยู่ได้มากกว่า 50 ปี |
“เป็นหนี้
ธ.ก.ส. ล้านกว่า ตอนนี้ยังใช้ไม่หมด แต่ก็พอคล่องตัวมากขึ้น มีเงินทยอยส่งหนี้และมีเงินใช้จ่าย
ลองคิดดูเมื่อก่อนได้ยางวันละ 100 กว่าโล เมื่อก่อนอาทิตย์หนึ่งได้ 3,000 บาท ไหนจะส่งลูกเรียน ส่งธนาคาร แต่เดียวนี้ 3 เช้า
หักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วได้ 30,000 บาท ยังมีรายได้จากการเก็บขี้ยางที่ติดอยู่ในถ้วยยางขาย
3 เช้าก็ได้เงินมากกว่า 5,000 บาทแล้ว แต่ถ้าช่วงยางราคาแพงจะได้มากกว่านี้อีก”
เธอพูดด้วยน้ำเสียงมีความสุข
เจ้าของยางแห่งนี่เป็นอีกรายที่บอกว่าไม่กังวลเรื่องผลกระทบกับต้นยาง
เพราะมีการดูแลจัดการสวนยางที่ดี ตามข้อกำหนดของการทำสวนยางติดแก๊ส นั่นคือ ใส่ปุ๋ยตามที่บริษัทผู้จำหน่ายเอทธิลีนแนะนำ
คือ ใส่ปุ๋ยปีละ 3 ครั้ง
ซึ่งไม่ได้เป็นการเพิ่มปริมาณปุ๋ยแต่อย่างใด
แต่ยังใช้ปุ๋ยเท่าเดิมแต่แบ่งใส่ถี่ขึ้น โดยเธอเลือกใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมี (อินทรีย์
70 เคมี 30) ใส่ 3 เดือน/ครั้ง วิธีการคำนวณง่ายๆ หากปีหนึ่งใส่ปุ๋ย 30 กระสอบ ก็เอา 30 กระสอบ นั่นแหละมาหาร 3 ส่วน หรือ ต้นหนึ่งห้ามเกินปุ๋ยเกินครึ่งกิโลกรัม
“ดูต้นยางแล้ว เขาว่ายังกรีดได้อีกหลายปี” เธอพูดตามที่ผู้เชี่ยวชาญบอก
เธอบอกว่าหลังจากเธอนำร่องติดแก๊สเอทธิลีน
และหมวกกันฝน จนประสบความสำเร็จด้านรายได้ บรรดาญาติพี่น้องของเธอจึงแห่ทำตามกันทั้งครอบครัว
ภายหลังการลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำสวนยางแบบใช้ฮอร์โมนเอทธิลีน
ควบคู่กับหมวกยาง ทำให้เห็นกลยุทธ์การเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร
โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ปลูกเลย เพียงแค่ทำสวนยางเท่าเดิมนั่นแหละ
แต่ใช้เทคนิคพิเศษเพิ่มน้ำยางเป็นเท่าตัว
ลองคิดดูสิว่าถ้าสวนยางในประเทศไทยหันมาใช้เทคนิคดังกล่าวนี้
ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาลขนาดไหน โดยเฉพาะสวนยางขนาดเล็ก
แต่อย่างไรก็ตามการติดฮอร์โมนเอทธิลีนมีข้อจำกัดหลายอย่างที่ผู้ติดตั้งจำเป็นต้องศึกษา
วิเคราะห์อย่างถีถ้วน และต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำอย่างเคร่งครัด (อ่านเรื่อง “ฮอร์โมนเอทธิลีน
ทางลัดสู่เศรษฐีสวนยาง เพิ่มผลผลิต 3-5 เท่า” ยางเศรษฐกิจ ฉบับ 2/2554 ประกอบ)
ส่วนหมวกยาง “ฮีเวียแคป” เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ผลิตเพื่อตอบสนองลูกค้ากลุ่มฮอร์โมน ซึ่งเป็นยางต้นใหญ่ จึงมีขนาดใหญ่ กำลังได้รับความนิยมมากในภาคใต้ เพราะปริมาณฝนค่อนข้างเยอะ ขณะเดียวกันกำลังจะดีไซน์หมวกรุ่นใหม่ให้เล็กลงสำหรับยางหนุ่มสาว
บริษัท ฮีเวีย เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด
20/82 หมู่ 2 ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา 90000
วุฒิชัย
พิชัยยุทธ์ 08-1543-2955
อาคม
ดิษฐสุวรรณ์ 08-1798-4060
ประวิช แก้วพยศ โทรศัพท์ 08-0599-1840
สุจิตรา จงรัตน์ โทรศัพท์ 08-9001-1074
วิทยา ขาวเผือก
การใช้ ฮอร์โมนเอทธิลีน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ยางอัดแก๊สผม อาคมการเกษตรที่เคยรับติดตั้งให้กับพี่น้องมาแล้ว16ปีเต็มๆคับ ยินดีให้คำปรึกษาครับ 0817984060
ตอบลบ