ชาวสวนยาง
อ.บ้านคา จ.ราชบุรี เปลี่ยนสับปะรด เป็นสวนยาง
เตรียมตั้งกลุ่มรวมยาง
เรื่อง : พิมพ์ใจ พิสุทธิ์จริยานันท์
ระยะทางจากห่างจากเมืองหลวงของประเทศ 162 กิโลเมตร ที่นี่คือ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี พื้นที่ตรงนี้เป็นแหล่งใหม่ของสวนยางพาราใกล้กรุงแห่งหนึ่ง
เกษตรกรที่เริ่มปลูกคือ “ชาวสวนยางมือใหม่” ทั้งสิ้น
ต้นทุนเพียงอย่างเดียวที่มีคือ
ความเป็นเกษตรกรชาวไร่เท่านั้น
พืชเศรษฐกิจทำเงินเบอร์ 1 ยาวนานอย่างสับปะรด
เกษตรกรที่นี่มีความช่ำชองเหมือนอยู่ในลมหายใจ
แต่สำหรับยางแล้ว คือ “คนแปลกหน้า”
แน่นอนว่าการปลูกยางจึงเป็นไปอย่างทุลักทุเล
ความผิดพลาดจึงมากกว่าถูก
เห็นได้จากเกษตรกรที่เริ่มต้นปลูกยางเมื่อปี 2547 ต้องเจอกับต้นยางตาย
จนต้องปลูกซ่อมกันถึง 4 ครั้ง
เพราะภัยแล้ง
และขาดแคลนองค์ความรู้เรื่องการปลูกยาง เป็นต้น
สับปะรดเป็นทั้งเกราะป้องกันความแห้งแล้งให้กับสวนยาง ขณะเดียวกันเมื่อมันหมดอายุจะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยพืชสด ให้กับต้นยาง ขณะเดียวกันผลผลิตของมันก็ช่วยทำเงิน ให้กับเจ้าของสวนในห้วงยามที่ยางยังไม่มีผลผลิต |
พืชไร่ที่พวกเขามีความถนัดตัวนี้
เป็น “มิตร” กับต้นยางได้อย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งๆ ที่น่าจะเป็น “ศัตรู”
แย่งชิงอาหารมากกว่า
แต่สับปะรดเป็นทั้งเกราะป้องกันความแห้งแล้ง
และอาหารของต้นยางได้นานถึง 4 ปี
สำคัญที่สุดคือมันเป็นเครื่องผลิตเงินให้กับเจ้าของสวนยางในห้วงยามที่ต้นยางยังไม่มีผลผลิต
ชาว อ.บ้านคา เข้ามีวิธีการปลูก
และดูแลสวนยางกันอย่างไร ติดตามได้บรรทัดถัดไป
กาญจนา ศิริจรรยาพงศ์ เป็นหนึ่งในเจ้าของสวนยางใน อ.บ้านคา เธอค่อยๆ
สลัดตัวเองจากชาวไร่สับปะรด 100 ไร่ ด้วยการเปลี่ยนตัวเองเป็นชาวสวนปลูกยางเมื่อปี 2547
สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ต้องเปลี่ยนพืชปลูกคือ
ภาวะราคาสับปะรดตกต่ำอย่างหนักในช่วงนั้น
ทำให้เธอและครอบครัวต้องทบทวนอาชีพของตัวเอง
ก่อนจะได้ข้อมูลจากญาติที่ทำสวนยางอยู่ทางใต้ว่า
ทำยางดีที่สุด...!!!
“เห็นทางใต้ทำกันแล้วรวย
ก็อยากจะรวยอย่างเขาบ้าง” กาญจนาให้เหตุผลง่ายๆ ตามประสาของเกษตรกรที่อยากรวยด้วยกันทุกคน
เธอจึงเริ่มศึกษาเรื่องการปลูกยางเบื้องต้นจากการถามญาติเป็นหลัก
ส่วนพื้นที่สันนิษฐานเอาเองว่า น่าจะปลูกได้...???
เพราะพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขา
มีปัญหาภัยแล้งบ้างตามสภาพของพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม “แต่เราก็จะปลูกยางช่วงต้นฝน”
สวนยางอายุ 3-4 ปี ของกาญจนา ปลูกสับปะรดแซม |
เธอบอกว่าต้นยางปีแรกต้นยางก็โตใช้ได้
แม้จะไม่มีการให้น้ำเลย อาศัยฝนฟ้าตามฤดูกาลเท่านั้น แต่ก็ถูกไฟไหม้เสียหายไป 10 ไร่
หลังจากนั้น เธอปลูกเพิ่ม 2 แปลง อีกกว่า 70 ไร่ อายุ 7 ปี และ 3-4 ปี
ปลูกสับปะรดแซมสวนยางผลผลิตไร่ละ 2 ตัน
การปลูกพืชแซมสวนยางกาญจนาทำไปพร้อมๆ
กับการปลูกยาง เธอบอกว่า พอวัดระยะปลูกเสร็จก็เอาหน่อสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียลงปลูกเลย
หรือจะปลูกสับปะรดก่อนแล้วปลูกยางทีหลังก็ได้ แต่ต้องทำแนวปลูกยางไว้ก็ได้เช่นกัน
การดูแลสวนยางในช่วงปีแรกๆ
เธอยอมรับว่าต้องพึ่งใบบุญสับปะรดเป็นหลัก อาหารที่ต้นยางได้มาจากสับปะรดเป็นหลัก
“เวลาให้ปุ๋ยสับปะรดก็จะหว่านใส่ต้นยางด้วย” สูตรปุ๋ยหลักๆ ที่ใช้ใส่สับปะรด
คือ 21-0-0 และ 15-15-15
ก่อนที่เธอจะบอกข้อดีของการปลูกสับปะรดแซมสวนยางว่ายางจะโตดีกว่าปลูกยางอย่างเดียว
“ถ้าปลูกยางอย่างเดียวไม่แซมสับปะรด ดูแลยาก
บางแปลงที่ปลูกยางอย่างเดียว ต้นยางจะโตช้า แกร็นไม่โต
แต่ถ้าปลูกสับปะรดหญ้าจะไม่ขึ้นเยอะมาก และสับปะรดยังเป็นตัวเก็บน้ำ
เก็บความชื้นหน้าดินได้ในหน้าแล้ง ยางที่ปลูกสับปะรดต้นจึงโตไวกว่าไม่ปลูก”
นอกจากนั้นแล้ว
สับปะรดยังให้ผลผลิตประมาณ 2-4 ตัน/ไร่ ขึ้นอยู่ที่การดูแลของเจ้าของ ส่วนรายได้ขึ้นอยู่กับราคาในช่วงนั้น
แต่ก็ถือว่ามีรายได้เพียงพอในช่วงที่ยางยังกรีดไม่ได้
สับปะรดที่ปลูกแซมสวนยางจะอยู่ได้ถึง
4 ปี
ต้นสับปะรดก็จะเริ่มโทรม ผลผลิตน้อย เพราะต้นยางก็เริ่มโตจนเงาบังต้นสับปะรด
ถึงเวลานั้นก็แค่ไถปั่นต้นสับปะรดทิ้งให้เป็นปุ๋ยพืชสดในสวนยาง หรือไม่ฉีดปุ๋ย
อามิ อามิ ให้ย่อยสลายกลายเป็นอินทรีย์บำรุงดินและเป็นอาหารสูตรอร่อยของต้นยาง
นอกจากปุ๋ยเคมีที่ใส่ต้นยางเป็นหลักแล้ว ยังมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อย่าง ขี้ไก่แกลบ เพื่อบำรุงดิน และยังเป็นการลดต้นทุนในช่วงที่ปุ๋ยราคาแพงอีกด้วย |
แต่ปัญหาช่วงแรกๆ
ที่เกิดขึ้นกับสวนยางคือ ต้นยางตายจำนวนมาก ส่วนหนึ่งมาจากภัยแล้ง
การดูแลสับปะรดเป็นหลัก ต้นยางเป็นรอง และถูกตัวตุ่นกินทำลาย จนต้องปลูกซ่อมใหม่ถึง
3-4 ครั้ง ต้นยางบางต้นจึงต้นเล็ก
โตไม่ทันต้นใหญ่
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสวนยางของกาญจนาทั้งหมดน่าจะมาจากบ่อปัญหาเดียวคือ
การไม่มีความรู้เรื่องการปลูกยางที่ดีพอ
เพราะเธอต้องเรียนรู้และศึกษาตามประสบการณ์ของชาวไร่สับปะรดเป็นหลัก
จนเมื่อต้นยางอายุ 5 ปี จึงเริ่มมีเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอบ้านคา
เข้ามาสำรวจ และพบว่ามีเกษตรกรจำนวนมากที่เริ่มปลูกยางจนใกล้ให้น้ำยาง
จึงมีการจัดพาเกษตรกรไปอบรมดูงานที่ อ.นาบอน จ.นครศรีธรรมราช
เมื่อต้นยางอายุ 7 ปี เธอจึงเริ่มต้นเปิดหน้ายางครั้งแรก เมื่อปลายปีที่
53 โดยได้คนกรีดส่งมาจากภาคใต้ (แบ่งรายได้ 60 : 40) แบ่งหน้ากรีด 3 ส่วน
กรีดวันเว้นวัน เพาะยางยังอายุน้อย
เจ้าของสวนเล่าย้อนว่า
“ช่วงแรกๆ ทำขี้ยางอยู่ 7 มีด ช่วงนั้นต้องรีบทำยางแผ่นเพราะราคายางสูงถึง 179
บาท/กก. ตอนนั้นดีใจมาก”
ยางแผ่นที่ผลิตได้ถูกนำไปขายที่
อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ที่นั่นมีสหกรณ์ยางซื้อขายผ่านระบบประมูล (อ่านสกู๊ป ยาง 1,000 ล้าน/ปี
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจทองผาภูมิ ฉบับ 7/2554)
“ถ้าไม่ไปที่นั่นก็ต้องไปชุมพร แต่ตอนนี้ที่
สามร้อยยอดก็มีตลาดประมูลแล้ว”
นอกจากปุ๋ยเคมีที่ใส่ต้นยางเป็นหลักแล้ว ยังมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อย่าง ขี้ไก่แกลบ
เพื่อบำรุงดิน และยังเป็นการลดต้นทุนในช่วงที่ปุ๋ยราคาแพงอีกด้วย
|
กาญจนาให้ข้อมูลว่า สวนยางแปลงแรกพื้นที่ 20 กว่าไร่ ถ้าน้ำยางออกดีๆ ทำยางแผ่นดิบได้
30 แผ่น/วัน
ขึ้นอยู่กับอากาศถ้าลมแรงก็ได้ต้องเพราะยางแห้งไว
ส่วนการขนส่งยางไปทองผาภูมิแม้จะมีระยะทางกว่า 226 กิโลเมตร
แต่อาศัยการรวมยางกับเกษตรกรในพื้นที่ อ.บ้านคา 3-4 รายขนขึ้นรถ 6 ล้อไปขายที่ทองผาภูมิ
“ครั้งล่าสุดรวมไปขายกันเกือบ 7 ตัน”
อนาคตหากมีการเปิดกรีดยางของเกษตรกรในพื้นที่มากขึ้น
จะมีการรวมกลุ่มกันรวบรวมยาง โดยปัจจุบัน สกย.กาญจนบุรี ได้เข้ามาเป็นพี่เลี้ยง
ในฐานะที่ จ.ราชบุรีเป็นหนึ่งในพื้นที่รับผิดชอบ
และได้รับการประกาศเป็นพื้นที่สงเสริมปลูกยาง
“สกย.เขาบอกว่าถ้ารวมได้ปริมาณมากจะมีเจ้าหน้าที่มาซื้อถึงที่นี่
และจะมีการรวมกลุ่มกันรวมยาง”
เมื่อถามถึงเรื่องรายได้ เจ้าของสวนยาง 100 ไร่
ปัจจุบันเปิดกรีดแล้วกว่า 30 ไร่ เผยว่า
รายได้เป็นที่น่าพอใจ แม้จะบ่นอุบว่าปุ๋ยแพงไปสักนิด แต่ก็ถือว่าตอนนี้พออยู่ได้
แต่ความเปลี่ยนแปลงหนึ่งที่เธอสังเกตได้หลังในพื้นที่เริ่มมีการปลูกยาง
และต้นยางเริ่มใหญ่ให้ผลผลิตคือ ปลูกยางฝนตกบ่อยขึ้น
ณัฐกานต์ เย็นกาย เจ้าของสวนยาง 45 ไร่ ใน ต.
โป่งกระทิง อ.บ้านคา ต้นยางอายุประมาณ 7 ปี แต่ต้นยางยังไม่พร้อมเปิดกรีด
เพราะต้นยางยังใหญ่ไม่ได้ขนาด
เธอเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนก็ปลูกสับปะรดเป็นหลัก
แต่เมื่อเห็นเพื่อนบ้านปลูกยาง ประกอบกับราคายางเริ่มสูง
รัฐบาลส่งเสริมให้ปลูกในหลายพื้นที่ จึงปลูก
“ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่ดี” ณัฐกานต์ เชื่ออย่างนั้น
อรอนงค์ ศิริจรรยาพงศ์ .เจ้าของสวนยาง 50 ไร่ กรีดไปแล้ว 10 ไร่ ที่เหลือเป็นยางอายุ 3-4
เธอบอกว่าปลูกยางที่บ้านคน
น่าจะทำได้ดี เพราะเกษตรกรตัวอย่างที่เปิดกรีดมานาน ได้ผลดีเป็นตัวอย่างอยู่แล้ว
และรายได้ก็ยังดีกว่าการปลูกสับปะรด
“ใหม่ๆ
ก็ต้องเหนื่อยหน่อยกว่าจะได้น้ำยาง 7-8 ปี มีแต่ลงทุน
และไม่มีเงินจากที่อื่นเลยเป็นเงินทุนตัวเองลงไป ตายก็ปลูกซ่อมใหม่
เมื่อก่อนอากาศร้อนไม่มีฝน แต่พอได้น้ำยางแล้วก็ชื่นใจ”
นาฏยา สุขสมัย มีสวนยาง 100 กว่าไร่ เปิดกรีดแล้ว 300
ต้น น้ำยางที่ได้นำมาผลิตเป็นยางแผ่นดิบนำไปขาย อ.ทองผาภูมิทุกๆ 1 เดือนครึ่ง
ปีแรกเธอให้ข้อมูลว่าเปิดกรีดได้ 40 มีด กรีด 2 วันเว้น 1 วัน ได้ยางแผ่นดิบเกือบ 2,000 แผ่น
“อนาคตจะปลูกยางอย่างเดียว
น่าจะดีตอนที่เราแก่ โครงการจะปลูกอีกเป็น 100 ไร่ แก่เราดูแลได้เพราะเราไม่ต้องทำเอง
ยางได้เรื่อย รายได้ต่อเนื่อง”
ศุภสิทธิ์ ณ ถลาง เจ้าของสวนยาง 30 ไร่ อายุยางเข้าปีที่ 6 และยังมีสวนผลไม้สวนผสม เช่น
ส้มโอ ขนุน มะม่วง กระท้อน มะขามเทศ ลำไย 40 ไร่ ผลไม้บางตัวสู้โรคแมลงไม่ได้ และปัญหาแรงงานก็โค่นทิ้ง อย่าง ลำไย
และมะขามเทศ แล้วปลูกยางแทน
ส่วนแปลงที่ปลูก 30 ไร่ เดิมเป็นพืชไร่ ข้าวโพด แต่เปลี่ยนมาปลูกยาง
“ทำยางน่าจะดีกว่า
แรงงานไม่ต้องจ่ายเป็นรายวัน มีการแบ่งสัดส่วนเมื่อมีรายได้ การดูแลไม่ยุ่งยาก
ไม่ต้องห่อผล ค่าแรงงานก็สูง”
ไม่มีความคิดเห็น