ยาง
เมืองพระยาแล เร่งวันโต
ขยายพื้นที่ปลูกใหม่กว่า 50,000 ไร่
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
ถึงแม้วันนี้พื้นที่ปลูกยางจะเกิดขึ้นพร้อมๆ
กับการเหือดหายของป่า
แต่ก็คงยากที่จะนำเรื่องนี้มาตีเพื่อ “เตะตัดขา”
การเติบโตของพื้นที่ปลูกยาง
เพราะวันนี้ยางก็เหมือนกลอง “ยิ่งตี
ยิ่งดัง”...!!!
จนดูกลายเป็นเรื่องยากที่จะหยุด และยากพอๆ กับ “เอามือปิดแผ่นฟ้า”...???
โดยเฉพาะพื้นที่ใหม่ผืนใหญ่อย่าง “ภาคอีสาน”
คำถามคือ เหตุใดยางจึงดังกระหึ่มไทยเช่นนี้...???
ใช่ไม่ใช่...จริงไม่จริง...เพราะทุกวันนี้ไม่มีพืชเกษตรตัวไหนให้ผลตอบแทนคุ้มค่าเท่ายาง...!!!
ให้ผลตอบแทนมากชนิดพลิกชีวิตเกษตรกรแบบหน้ามือเป็นหลังมือ
ชัยภูมิ
ก็เป็นจังหวัดหนึ่งของภาคอีสานที่ถูกเพาะพันธุ์พื้นที่ปลูกยางอย่างก้าวกระโดด ปี 2551 มีพื้นที่ปลูกยางกว่า กว่า
31,431 ไร่
2 ปีหลังจากนั้นปรากฏว่าเพื่อที่ปลูกยางเพิ่มเป็น
50,000 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกยางเล็ก 43,087 ไร่ พื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว 4,733 ไร่ รวมผลผลิต
1,384 ตัน/ปี มีเกษตรกรยึดอาชีพนี้ 3,000 ราย
ส่วนใหญ่พื้นที่ปลูกกระจุกตัวอยู่ใน อ.คอนสาร
และเกษตรกรสมบูรณ์ สองอำเภอนี้รวมกันกินพื้นที่กว่า 25,000 ไร่
อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวเป็นข้อมูลของศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยาง
จ.ชัยภูมิ แต่ในความเป็นจริงพื้นที่ปลูกน่าจะสูงกว่านี้มาก
แต่อย่างน้อยนี่ก็คงเป็นภาพที่สะท้อนอย่างมีนัยว่า
เพราะเหตุใดพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง และพื้นไร่หลายตัวในพื้นที่ชัยภูมิจึงลดลง
พร้อมกับการโตของยาง
นั่นเพราะยางมีอนาคต ฝากผีฝากไข้ได้มั่งคงกว่า...!!!
สกู๊ปพิเศษฉบับนี้ “ยางเศรษฐกิจ”
นำไปเจาะลึกแนวทางการผลิตยางของเกษตรกรเมืองพระยาแล พาไปเกษตรกร 250 ราย ในหมู่บ้านทิกแห้ง ปลูกยาง
80% ของคนในหมู่บ้าน
จนสามารถพลิกชีวิตจากหมู่บ้านที่ยากจนที่สุดติดชาร์ตระดับจังหวัด
จนเมื่อหันมาปลูกยางภาพความยากจนจึงถูกสลัดท้ายจนสิ้นซาก
เจาะลึกการลงทุนสวนยางครบวงจรของ “นายหัว”
ปักษ์ใต้ 7,000 ไร่ ใน
อ.ภักดีชุมพล และใกล้เคียง การผลิตเริ่มตั้งแต่กล้ายาง การจัดการสวนยางภาคอีสาน
การเสริมเสริมเกษตรกรปลูกยาง ทั้งส่งเสริมเองและจับมือ องค์การท้องถิ่น เป็นต้น
สุดท้ายพาไปชาสวนยางยุคบุกเบิกของ อ.เมือง
โดยมีต้นแบบมาจากบุรีรัมย์ ทำสวนยางเพียงแค่ 90 ไร่ แต่ได้เงินล้าน/ปี
[ยางเศรษฐกิจ] <<<ฉบับ 14/2555>>>
ไม่มีความคิดเห็น