์News

์News


ทิศทางยางบุรีรัมย์
            ศูนย์กลางอีสานใต้
            เรื่อง : กองบรรณาธิการ

            คงจะเป็นคำถามที่เชยเอามากๆ หากจะถามว่าภาคอีสานปลูกยางได้หรือไม่...!!!
            เพราะคำตอบถูกคลี่ของมาแล้วด้วยข้อมูลพื้นที่ปลูกยางในภาคอีสานแล้วกว่า 6 ล้านไร่
           กอรปกับหลายรัฐบาลโปรยโครงการปลูกยางไปยังพื้นที่ราบสูงแห่งนี้ เช่น โครงการปลูกยางระยะที่ 1 และ 2 โครงการยางล้านไร่ และล่าสุดโครงการปลูกยางระยะที่ 3 หรือโครงการยาง 8 แสนไร่  
           ทุกโครงการ “โฟกัส” ไปที่ภาคอีสาน
            บุรีรัมย์ คือ 1 ใน 3 จังหวัดแรกที่รากต้นยางจากภาคใต้ลงมาฝังรากลึก เป็นเสมือนห้องทดลองในการปลูกยาง ก่อนจะค่อยๆ ขยายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
 บุรีรัมย์ เป็นจังหวัดที่มีการผลิตยางแผ่นมาที่สุดในอีสาน
ขณะที่หลายแห่งทำยางแผ่นรมควัน เพื่อเพิ่มมูลค่าทั้งในรูปของสหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน
            แม้ว่าวันนี้พื้นที่ปลูกยางของบุรีรัมย์ จะไม่ใช่พื้นที่ที่ปลูกยางมากที่สุดในภูมิภาค ไม่ใช่พื้นที่ที่มีผลผลิตยางมากที่สุด แต่บุรีรัมย์ก็เป็นจังหวัดอันดับหนึ่งที่มีการผลิตยางแผ่นมากที่สุด 
           ขณะที่จังหวัดอื่นๆ นิยมการผลิตยางก้อนถ้วย  ดังตังอย่างของ หนองคาย และบึงกาฬ เกือบ 100% ทำยางก้อนถ้วย
            นั่นหมายความว่าเมื่อเทียบกันแบบไร่ต่อไร่ บุรีรัมย์ผลิตเงินได้มากกว่า
            ตัวเลขจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกยากว่า 200,000 ไร่ และยังเปิดเผยว่ายังมีพื้นที่เหมาะสมพร้อมปลูกยางอีกกว่า 800,000 ไร่ ถ้าปลูกยางได้เต็มพื้นที่บุรีรัมย์จะมีสวนยาง 1 ล้านไร่ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มตัวเลขอย่างต่อเนื่อง
          ขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 276 กก./ไร่/ปี แต่ปรากฏว่าหากมีการบริหารจัดการที่ดีสามารถได้ผลผลิตมากกว่า 600 กก./ไร่/ปี ดังตัวอย่างของเกษตรกรรายหนึ่งใน อ.แคนดง เป็นต้น
            อย่างไรก็ตามพื้นที่เกิดกรีดยางยังคงมีเพียง 90,000 ไร่เท่านั้น ผลผลิตรวม 26,455 ตัน/ปี
            แต่เมื่อหันมาดูในพื้นที่พบว่าเกษตรกรมีการรวมกลุ่มในรูปของสหกรณ์ยางกันหลายแห่ง เน้นงานด้านการรวบรวมผลผลิตในรูปของยางแผ่นดิบ และยางรมควัน ที่เหลือเป็นการผลิตยางก้อนถ้วย ก่อนจะนำขายผ่านตลาดประมูลจากของภาครัฐอย่าง ตลาดกลางยางพาราจังหวัดบุรีรัมย์ และตลาดกลางยางของ สกย. เป็นต้น
            รวมทั้งการตั้งตลาดประมูลขึ้นที่สหกรณ์แต่ละแห่ง โดยเฉพาะยางก้อนถ้วย

            ขณะเดียวสหกรณ์การเกษตรหลายแห่ง ซึ่งส่วนใหญ่เกษตรกรปลูกข้าวเป็นหลัก วันนี้หันมาเปิดตลาดรวบรวมยางและประมูลผ่านตลาดต่างๆ ดังตัวอย่างของ สหกรณ์การเกษตรแคนดง, คูเมือง และสตึก  เป็นต้น ทั้งนี้เป็นไปตามการผลิตของเกษตรกร
            ส่วนโรงงานผลิตวันนี้บุรีรัมย์มีครบถ้วน รวมมากกว่า 6 บริษัท ตั้งแต่โรงงานที่ซื้อขายน้ำยางสดเป็นหลัก ซื้อยางก้อนถ้วยเพื่อทำยางแท่ง STR 20  เป็นต้น ซึ่งแนวโน้มยางก้อนถ้วยจะได้รับความนิยมมากที่สุดถาวร
 การซื้อขายยางในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นการรวมผลผลิตกันขาย
ก่อนจะส่งเข้าตลาดประมูลกลาง ราคาจึงใกล้เคียงกับตลาดกลางของประเทศ
            วันนี้จึงพูดได้เต็มปากว่า บุรีรัมย์คือศูนย์กลางของยางภาคอีสานใต้ เป็นต้นแบบแห่งการผลิตยาง เป็นต้นแบบแห่งการผลิตยางคุณภาพและเป็นตลาดกลางของสถาบันเกษตรกรที่ต้องการขายทั้งในและนอกพื้นที่
          ส่วนรายละเอียดทั้งหมดติดตามได้ในสกู๊ป ทิศทางยางบุรีรัมย์ ศูนย์กลางอีสานใต้ 
           




            
           จาก นิตยสารยางเศรษฐกิจ ฉบับที่ 11 กุมภาพันธ์ 2555


ไม่มีความคิดเห็น

Random Posts

randomposts