ปัญหาอันดับ 1 ของสวนยางเมืองปราสาทหิน
เรื่อง
: พิมพ์ใจ
พิสุทธิ์จริยานันท์
ยางเศรษฐกิจฉบับที่แล้ว (10) ทีมงานได้นำเสนอคอลัมน์เด่นจากปกเรื่อง
“หน้ายางตานึ่ง พัง 60,000
ล้านบาท/ปี”
สร้างความตื่นตะลึงให้แก่แฟนๆ
ที่ติดตามนิตยสารอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนักลงทุนสวนยางรายใหม่
ยิ่งเมื่อดูตัวเลขความเสียหาย 15-20% ของพื้นที่สวนตกเป็นอาณานิคมของอาการนี้
ยิ่งเพิ่มเครื่องหมายคำถามว่านี่คือวิกฤติของสวนยางในอนาคตหรือไม่...???
คงต้องบอกการตามตรงว่าตัวเลขความเสียหาย
60,000 ล้าน อาจไม่ใช่ตัวเลขความเสียหายที่แท้จริง...!!!
หากแต่มันเป็นเพียงตัวเลขประเมินต่ำสุดเท่านั้น
เพราะเมื่อ "แกะรอย" ความเสียหายกันจริงๆ ตัวเลขความเสียหายน่าจะอยู่ในระดับแสนล้าน...!!!
ทั้งนี้เป็นที่สงสัยว่าเหตุใด "ยางเศรษฐกิจ" จึงกล้านำเสนอข้อมูลด้านลบเช่นนี้...???
ตอบก็ได้ว่าเราต้องการนำเสนอเพื่อกระตุ้นเตือนให้เกิดความตระหนักกับเม็ดเงินที่ต้องสูญเสียไป
เพื่อนำสู่การหาวิธีป้องกันและแก้ไขอย่างจริงจัง
อย่างน้อยๆ
ก็เพื่อช่วยลดตัวเลขความเสียหายลงให้มากที่สุด
สวนยางแห่งหนึ่งที่มีอาหารเปลือกยางแห้งทั้งแถว |
แม้จะมีผลิตภัณฑ์นับร้อยยี่ห้อจะอวดสรรพคุณ แต่ปัญหาก็ยังไม่ทุเลาเบาบาง...!!!
ก่อนที่ทีมงานยางเศรษฐกิจตกลงปลงใจบรรจุ "หน้ายางตายนึ่ง" เป็นคอลัมน์ประจำนับจากนี้เป็นต้นไป...!!!
เช่นเดียวกับฉบับนี้ผู้เขียนและทีมงานเดินทางต่อมายังจังหวัดบุรีรัมย์
เพื่อจัดทำและเก็บข้อมูลเรื่องทิศทางยางพาราบุรีรัมย์
เพียงแค่แหล่งข่าวช่วงแรกก็เจอปัญหาใหญ่ของเขาแล้ว
นั่นก็คือ หน้ายางตายนึ่ง...!!!
ชาติ มีหนองหว้า ประสบกับหน้ายางตายนึ่งในสวน 10% |
แม้ว่าสวนยางของเขาวันนี้จะมีอายุกว่า 20 ปีแล้ว โกยเงินจากน้ำยางมากนักต่อนักแล้ว
แต่ผลผลิตคงจะสูงกว่านี้ถ้าต้นยางจำนวน 10% ของสวนให้น้ำยางได้เป็นปกติ...???
เพราะถูกหน้ายางเปลือกแห้ง
หรือหน้ายางตายเล่นงาน...!!!
“เสียหายเยอะ”
เขายอมรับโดยดุษฎี
ชาติไม่อาจจะจำได้ว่าต้องยางมีอาการต้นยางไม่มีน้ำยางเมื่อไหร่
แต่เขาพอจะทราบได้ด้วยสมมุติฐานว่ามาจากการบกพร่องเรื่องการจัดการในช่วงแรกเริ่มของการปลูกยาง
เขายอมรับว่าการปลูกยางในยุคเริ่มต้นของประสบการณ์
ปล่อยทิ้งปล่อยขว้าง
เหตุเพราะเขาต้องนำเวลาที่มีอยู่ไปใช้จ่ายกับการทำไร่อ้อยและมันสำปะหลัง เพราะพืชทั้ง 2 ตัวลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนในเร็ววัน
“ปุ๋ยที่เขาให้มาใส่ต้นยาง เราก็เอาไปใส่มันสำปะหลัง ไม่ใส่ยางเลย” เขายอมรับว่านี่คือการทรยศสวนยาง
ผิดกับต้นยางที่ต้องใช้เวลาอย่างน้อยๆ
ก็ 7
ปีกว่าจะกรีดยางและมีรายได้
เมื่อคิดอย่างนั้นหน้าที่ดูแลสวนยางจึงตกอยู่กับเทวดาไป...???
ปุ๋ยไม่เคยใส่
หญ้าไม่เคยกำจัด ดินไม่เคยไถพรวน เป็นผลให้ต้นยางแคระแกร็นโตช้า ต้องใช้เวลาปีที่ 9 จึงจะกรีดได้
ไม่เพียงเท่านั้นด้วยทักษะการกรีดยางทั้งของคนงานและตัวเขาเองยังไม่ช่ำชองเท่าไรนัก
หน้ายางจึงเสียไปมาก
และแม้เมื่อต้นยางให้น้ำยางแล้ว
เขาก็ยังขาดการดูแลเฉกเช่นที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ เพราะช่วงนั้นยางราคาถูก กิโลกรัมละ19 บาทเท่านั้น ไม่ชวนให้ลงทุนปุ๋ย
เหล่านี้น่าจะเป็นเหตุผลรวมๆ
ที่ทำให้สวนยางของชาติมีอาการยางตายนึ่งถึง 10% และเชื่อว่าถ้ายังไม่มีมาตรการสำหรับป้องกันละรักษาปริมาณจะสูงขึ้นกว่าเดิมแน่นอน
ต้นยางตายนึ่งที่ถูกปล่อยทิ้งจนเปลือกแตกล่อน ไม่สามารถให้น้ำยางได้ปกติ |
สุดท้ายคงต้องรอวันโค่นทิ้งก่อนกำหนดเป็นแน่...!!!
แนวทางในการแก้ไขเท่าที่พูดคุยกับเขาคือ
หยุดการกรีดยางต้นนั้นไปเสีย ปล่อยให้มันพักฟื้นตัว และใส่ปุ๋ยบำรุงอย่างต่อเนื่อง
เขายืนยันว่ามันจะกลับมาให้น้ำยางอีกครั้ง
แต่เขาก็ไม่กล้ายืนยันว่ามันจะตลอดไปหรือไม่...!!!
ปัญหาที่เกิดกับประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางนิคมบ้านกรวด
เป็นตัวอย่างหนึ่งของการปลูกยางในภาคอีสานในยุคเริ่มต้น
เพราะยางคือพืช
“อาคันตุกะ” แปลกหน้าแปลกถิ่น เข้าใจกันว่าปลูกได้แต่ในภาคใต้เท่านั้น
จนเมื่อมีการทดลองนำมาปลูกในภาคอีสาน
โดยมีสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตรหนุนหลัง
เมื่อการทดลองในพื้นที่ หนองคาย บุรีรัมย์ และสุรินทร์ได้ผล
เกษตรกรที่ต้องกล้ำกลืนอยู่กับข้าวและพืชไร่ อย่าง มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพด
เป็นต้น จึงหันมาปลูกกัน ตามคำแนะนำและการส่งเสริมจากรัฐบาลในยุคสมัยต่างๆ
ในช่วงกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา
เช่น โครงการปลูกยางระยะที่ 1-2 และโครงการยางล้านไร่
เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีโครงการจากการส่งเสริมของหน่วยงานท้องถิ่น
แน่นอนว่าเกษตรกรที่จับเสียบขุดมัน
มือถือคันไถและเคียวเกี่ยวข้าวมาครึ่งค่อนชีวิต
เมื่อต้องหันมาปลูกยางจึงไม่ต่างอะไรกับเด็กที่ต้องมานั่งท่อง ก.ไก่ อีกครั้ง
ประกอบกับหลายโครงการของรัฐบาล จัดสรรกล้ายางให้เกษตรกรปลูกยางเดียว
การลงทุนที่เหลือเป็นความรับผิดชอบของผู้ปลูก
เมื่อไม่มีใจ การเอาจริงเอาใจก็แห้งแล้ง
ทุนจะซื้อปุ๋ยใส่ก็ไม่มี
เพราะเมื่อลงทุนใส่ไปผลตอบแทนหรือรายได้ต้องรอไปมากกว่าครึ่งทศวรรษ
ด้วยเหตุปัจจัยรุมเร้าอย่างนี้การปลูกยางของชาวอีสานจึงเป็นไปแบบมะงุมมะงาหรา
ปลูกตามมีตามเกิด เมื่อให้ผลตอบแทนจึงจะเอาจริงเอาจัง
ขณะที่ระบบการกรีดก็มีปัญหา เมื่อขาดแคลนรายได้
เพื่อความอยู่รอดของครอบครัวจึงต้อง "ข่มขืน" ต้นยางตั้งแต่เล็ก
สภาพต้นยางที่ถูกปู้ยี่ปู้ยำ กรีดแบบทุกทิศทุกทาง จนแทบจะไม่มีผลผลิตเลย |
ภาพที่เห็นคือหน้ายางเสียหาย หมดไว
เมื่อครบรอบไม่สามารถที่จะกลับมากรีดหน้าแรกได้
เมื่อระยะปกติไม่ได้ก็ต้อง "เล่นของสูง" กรีดยางหน้าสูง กรีดกิ่ง
กรีดแบบทุกทิศทุกทางเพื่อนำน้ำยางไปแลกเงินเลี้ยงชีพ
ต้นยางจึงหมดน้ำยางเร็วกว่าวัย ทั้งๆ
ที่ต้นยังเล็ก จากที่อยู่ได้มากกว่า 20 ปี อาจจะเหลือน้อยกว่านั้น
นี่เองที่ทำให้ชาวสวนยางหลายพื้นที่ในบุรีรัมย์
และอีสาน ประสบปัญหาเรื่องหน้ายางตายนึ่งมาก
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์
ปราชญ์แห่งวงการยางเคยประเมินความเสียหายจากการกรีดยางเล็กสูงถึง 2 แสนล้านบาท/ปี
ประหยัด เทพคุ้ม กรรมการสหกรณ์กองทุนสวนยางโนนสุวรรณ จำกัด จ.บุรีรัมย์ บอกเลยว่า ปัญหาที่สวนยางในพื้นที่ อ.โนนสุวรรณ ประสบมากที่สุด คือ "หน้ายางตายนึ่ง"
“ถ้ายาตัวไหนรักษาได้ดังแน่” เขาการันตี
เพราะมันยังเป็น “หนามยอกอก”
ทิ่มอุตสาหกรรมยาง...???
อย่างก็ตามพบว่าแนวโน้มการดูแลสวนยางอย่างเอาใจใส่ของเกษตรกรในอีสานมีการพัฒนาขึ้น
โดยเฉพาะกับเกษตรกรรายที่ปลูกยางมาเป็นเวลามาระยะหนึ่ง
เพราะเขาจะมองเห็นความผิดพลาดในการปลูกเลี้ยงที่นำมาซึ่งความเสียหาย
การดูแลสวนยางจะมีการลงทุนมากขึ้น
อย่างการใส่ปุ๋ยตามฤดูกาล การกำจัดวัชพืช
เกษตรกรหัวก้าวหน้าปลูกพืชแซมเพื่อบำรุงดิน แทนการปลูกมันสำปะหลังแซมสวนยาง
เพราะมันเป็นพืชที่ดูดน้ำมากและเร็วทำให้หน้าดินแห้งสูญเสียน้ำ กระทบตรงกับต้นยาง
ปัญหาหน้ายางตายนึ่งกับเกษตรกรอีสาน "หน้าเก่า" จึงมีแนวโน้มปริมาณน้อยลง
ต้นยางเล็กที่เปิดกรีดเร็ว มีแนวโน้มประสบอาการหน้ายางตายสูงในอนาคต |
ปัญหาเหล่านี้คือจุดเริ่มต้นของการสะสมของการเกิดหน้ายางตายนึ่งในอนาคต...!!!
อาการของต้นยางหน้าตายที่พบในพื้นที่บุรีรัมย์
พบตั้งแต่ต้นยางที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป
อาการพบตั้งแต่ต้นหน้ายางหน้า 2
กรีดแล้วไม่มีน้ำยาง จนเจ้าของต้องทำการกรีดยางหน้าสูงเหนือรอยกรีดปกติ
บางสวนหน้าตายสนิททั้งหน้ายางปกติและยางหน้าสูง
เห็นได้จากร่องรอยคมมีดที่กรีด จนต้องปล่อยทิ้งเพราะไม่คุ้มค่าแก่การกรีด
ขณะที่บางสวนเห็นได้ชัดว่าสวนยางถูกปล่อยทิ้งอย่างไม่ใยดี
เพราะมีต้นหน้ายางตายมากกว่า 20% เมื่อต้นยางที่กรีดได้เหลือน้อย น้ำยางแต่ละต้นก็ออกไม่เต็มที่ ปริมาณน้ำยางน้อย
เงินลงทุนในการใส่ปุ๋ย จึงถูกตัดขาดไปโดยปริยาย
เมื่อดูแนวโน้มการเกิดขึ้นของอาการหน้ายางตายพบว่ามีแนวโน้มสูง
โดยเฉพาะเกษตรกรที่เกิดขึ้นจากโครงการยางล้านไร่...???
เพราะโครงการดังกล่าวเป็นการแจกต้นกล้าอย่างเดียว
ไม่มีค่าปุ๋ยเหมือนโครงการอื่นๆ
พฤติกรรมการปล่อยทิ้งและ "รักแกต้นยาง" จึงขยายตัวมากยิ่งขึ้น
สวนยางยุคใหม่ในอีสาน เริ่มมีการดูแลอย่างดีตั้งแต่เล็ก ดังตัวอย่างในภาพ เป็นต้น |
เพราะผลผลิตต่อไร่ของสวนยางน้อยลง
นั่นหมายถึงต้นทุนที่สูงขึ้น
หน่วยงานรัฐและเอกชนที่อวดอ้างว่าป้องกันและรักษาได้จริงควรลงไป "สำแดงฤทธิ์"
ก่อนที่จะสายเกินแก้...!!!
***คอลัมน์ "หน้ายางตายนึ่ง" เปิดกว้างสำหรับเทคนิคการป้องกันและกำจัดหน้ายางตายนึ่งจากทุกภาคส่วน ติดต่อยางเศรษฐกิจ โทรศัพท์ 08-6335-2703
จาก นิตยสารยางเศรษฐกิจ ฉบับ 11 เดือนกุมภาพันธ์ 2555 หน้า 84-87
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบปุ๋ยขี้โม้ไบโอพลัส
ตอบลบอินทรีย์ฮอร์โมนสำหรับพืช สูตรเข้มข้น ช่วยแก้ปัญหายางหน้าตายหาย 100%
ช่วยแก้ปัญหาหน้ายางตายนึ่ง ช่วยกำจัดเชื้อราในท่อน้ำยาง ทำให้น้ำยางไหลดี
ช่วยบำรุงต้นยาง ,ข้าว,มัน,ข้าวโพด,อ้อย,ปาล์ม,และพืชผักทุกชนิด ให้ได้ผลผลิตมาก
ช่วยป้องกันแมลงและศัตรูพืช ด้วยวิธธรรมชาติ ไม่มีสารเคมี
ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี 50-80%
ไม่มีสารเคมี ไม่เป็นอันตราย
วิธีใช้
1 ฝาต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นที่ลำต้นและใบ
7วันต่อครั้ง ให้ครบ4ครั้ง
หลังจากนั้นให้ฉีด เดือนละ1ครั้ง
ตอนนี้กำลังเป็นที่ต้องการของเกษตรกรเพราะใช้แล้วได้ผล 100% หากไม่ได้ผลเราคืนเงิน 200%ครับ
ติดต่อกลับมาที่ โทรศัพท์ 095-742-3495 คุณ ณัฐวุธ aekkasarn@gmail.com ครับ
เชิญชมวีดีโอผลงานการแก้หน้ายางตายนึ่ง ตามลิ้งค์ด้านล่างครับ
ตอบลบhttp://www.youtube.com/watch?v=S9vmfKePDX4
http://www.youtube.com/watch?v=qllRWe8QLEA
ขอบคุณข้อมูลดีๆ ครับ
ตอบลบจะเข้ามาอ่านบ่อยๆ เพื่อนำเอาความรู้นี้ไปเผยแพร่ต่ออีกทีครับ ที่
http://para-buy.blogspot.com/
เล่าเรื่องของคนทำสวนยาง ครับ