์News

์News

นิตยสารยางเศรษฐกิจ ฉบับ 12 เดือนมีนาคม 2555



สกู๊ปเด่นจากปก


เปิดแนวรบยางพารา "ภาคตะวันตก"
พร้อมปลูกยาง 1.8 ล้านไร่


สวนยาง 700 ไร่ อายุประมาณ 6-7 ปี ในอ.จอมบึง จ.เพชรบุรี ผ่านการดูแลมาเป็นอย่างดี
             เมื่อ “กฎเหล็ก” แห่งพืชเกษตรถูก “ล็อก” อยู่กับธรรมชาติ หรือดินฟ้าและอากาศเป็นหัวใจ การปลูกพืชเกษตรชนิดใดชนิดหนึ่งจึงมักจะถูกจำกัดพื้นที่
            เหมือนอย่างที่ยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง “คนใต้” จำนวนหนึ่งนำต้นยางพาราจากภาคใต้มาปลูกในหลายจังหวัดภาคอีสานและเหนือ  ซึ่งแน่นอนว่าต้อง “รบ” กับคำปรามาสกับคนในพื้นที่ว่ายางปลูกในพื้นที่อื่นไม่ได้นอกจากภาคใต้ จนถูกมองว่า “บ้า” หรือสติไม่ดี
            แต่เมื่อบทพิสูจน์ย่อมจะมีช่วงเวลาแสดงเสมอ...7 ปีหลังจากนั้น ยางในพื้นที่ปลูกใหม่เริ่มให้ผลผลิตไม่ผิดจากพื้นที่เดิม เป็นการทำลายความเชื่อเดิมๆ ลงอย่างสิ้นเชิง
ก่อนที่ภาครัฐโดยกรมวิชาการเกษตรจะเริ่มตื่นทดลองนำยางไปปลูกในพื้นที่ต่างๆ ที่ไม่ใช่ภาคใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเดินตามรอยเท้าของเกษตรกรหัวก้าวหน้าทั้งสิ้น
            จวบจนวันนี้ วันที่ราคายางสูงลิ่วเหนือพืชเกษตรอื่นๆ อย่างไม่เห็นฝุ่น เกษตรกรหัวก้าวหน้าที่ “คิดนอกกรอบ” ถูกกำนัลด้วยตัวเงิน พร้อมมุ่งหน้าโกยเงินอย่างต่อเนื่องตามแรงเติบโตของอุตสาหกรรมยางโลก
นั่นแหละจึงเกิดการตื่นตัวของเกษตรกรที่ใช้เวลาส่วนใหญ่จมปลักอยู่กับข้อจำกัดของธรรมชาติ และกฎเกณฑ์ของตลาดทุนนิยมเสรี
            ไม่แปลกใช่ไหมที่วันนี้เกษตรกรกว่า 6 ล้านคนทั่วประเทศที่เริ่ม “ตาสว่าง” หันมาลงทุนปลูกยาง พืชที่ถูกมองว่ามีอนาคตมากที่สุด
นายล้วน แซ่จิ้ว เกษตรกรที่บุกเบิกปลูกยางใน ต.องค์พระ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
เมื่อ 25 ปีที่แล้วเส้นทางการปลูกยางของเขาเต็มไปด้วยคาวมทุรกันดาน
            อย่างไรก็ตามยางพาราก็มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ปลูก ไม่สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ โดยเฉพาะที่ลุ่ม และพื้นที่แห้งแล้ง โดยเฉพาะพื้นที่แห้งแล้งน่าจะหมดสิทธิ์ที่ยางจะโต


            จนเมื่อมีการส่งเสริมปลูกยางผ่านโครงการของรัฐในหลายยุคหลายสมัยใน “อีสาน” ภูมิภาคที่ได้ชื่อว่าแห้งแล้งที่สุดของประเทศได้ ก็เท่ากับทำลายกรอบพื้นที่ปลูกยางในพื้นที่อื่นๆ เช่นกัน
            หนึ่งในนั้นคือ ภาคตะวันตก เพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี  และอาจจะรวมไปถึงอุทัยธานี ซึ่งทราบแล้วว่ากาญจนบุรี และอุทัยธานีเป็นพื้นที่ที่ปลูกยางได้ เพราะมี สกย. ตั้งสำนักงานอยู่ 
             แต่อีก 3 จังหวัดยังถูก "ล่ามโซ่" อยู่ 
              จังหวัดที่ลอยลำไปแล้วคือ ราชบุรี ถูกประกาศเป็นเขตส่งเสริมปลูกยางไปแล้ว ส่วนที่เหลืออยู่ภายใต้ยังถูก "ล็อค" จากกรมวิชาการเกษตร
            ทั้งๆ ที่เมื่อเจาะลงไปในพื้นที่แล้วพบว่ามีการปลูกยางกันอย่างแพร่หลายแล้ว โดยเฉพาะ จ.สุพรรณบุรี มีเกษตรกรรุ่นบุกเบิกนำไปปลูกใน อ.ด่านช้างมากกว่า 25 ปีแล้ว
สหกรณ์การเกษตรด้านช้าง สุพรรณบุรี กับธุรกิจใหม่รวบรวมยางแผ่นดิบจากสมาชิก
 ที่หันมาปลูกยางกันจำนวนมากแล้ว
โดยเฉพาะใน ต.องค์พระ และ ต.วังยาง คาดว่า 2-3 ปี จะเปิดเป็นตลาดประมูลได้
            ด้วยข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นเรื่องค้างคาใจ “ยางเศรษฐกิจ” อย่างยิ่ง คำถามที่ว่า พื้นที่ภาคตะวันตกปลูกยางได้หรือไม่ ปลูกแล้วผลลัพธ์เป็นอย่างไร ซึ่งสัมพันธ์กับตลาด
            ยิ่งเมื่อเห็นตัวเลขการสำรวจพื้นที่เหมาะสมแก่การปลูกยางของกรมวิชาการเกษตรที่ระบุว่า สุพรรณบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี มีพื้นที่เหมาสมปลูกยางรวมมากกว่า 1.8 ล้านไร่
            เราจึงลงพื้นที่เพื่อทำลายความสงสัย ซึ่งเชื่อเหลือเกินว่าผู้อ่านหลายรายก็คงมีความรู้สึกอย่างนั้น


ติดตามรายละเอียดได้ใน ยางเศรษฐกิจ ฉบับ 12 ฉบับครบรอบ 1 ปี 

ไม่มีความคิดเห็น

Random Posts

randomposts