นิตยสารพืชพลังงาน ฉบับ 47 กุมภาพันธ์ 2555
***
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักเศรษฐกิจการเกษตร
คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2555 จะขยายตัว 4.5 - 5.5% มูลค่า 1.34 ล้านล้านบาท
ภายใต้ข้อจำกัด
ไม่มีปัจจัยลบจากภัยธรรมชาติทุกชนิด
เหตุผลที่มีความมั่นใจกับตัวเลขดังกล่าว
ส่วนหนึ่งมาจากทิศทางราคาน้ำมัน ปี 55 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
บีบให้ทั่วโลกต้องลงมาใช้บริการพลังงานทดแทนมากขึ้น
พืชที่มีอนาคตเติบโตมากที่สุด
คือ ปาล์มน้ำมัน มีโอกาสโตถึง 6.3-7.3% เช่นเดียวกับพืชอื่นๆ อย่าง ข้าว อ้อย และยางพารา
***
เวทีเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง ประมวลองค์ความรู้ สู่ พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมันแห่งชาติ เวทีเล็กๆ
แต่ข้อมูลระดับบิ๊ก พร้อมด้วยอุณหภูมิองศาระอุ
เพราะข้อมูลที่หลุดร่วงจากโต๊ะกลมล้วนเป็นตะเกียงส่องสว่างให้แก่เกษตรกร
โดยเฉพาะเรื่องอุตสาหกรรมปลายน้ำ หรือกระบวนการหีบและรีไฟน์ เป็นเหมือน “แดนสนธยา”
ลึกลับซับซ้อนเกินกว่าที่เกษตรกรจะล่วงรู้
นายสุคนธ์
เฉลิมพิพัฒน์ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิบอร์ดปาล์มน้ำมันแห่งชาติ โยนหัวเรื่องว่า
ชาวสวนปาล์มถูกโรงงานหลอกมาตลอด...???
โดยเฉพาะประเด็นการรับซื้อของโรงงานวันนี้ไม่ได้ซื้อด้วยเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มดิบ
(CPO) แต่ซื้อด้วยน้ำหนักทะลายสด
ทำให้ราคาเกิดการบิดเบือน
วันนี้ตัวเลขเปอร์เซ็นต์น้ำมันเฉลี่ยของสมาคมโรงสกัดน้ำมันปาล์มแห่งประเทศไทยวัดได้เพียง
14-15% เท่านั้น ทั้งๆ
ที่ข้อมูลเฉลี่ยของปาล์มน้ำมันพันธุ์ลูกผสมเทเนอร่าทั่วไปอย่างน้อยๆ 25-28%
แต่ที่เปอร์เซ็นต์น้ำมันของไทยต่ำ รู้ๆ กันว่ามีปัญหาเรื่องการตัดปาล์มดิบ
โดยเฉพาะแหล่งปลูกปาล์มใหม่
และอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะเครื่องจักรการผลิตของโรงงานเก่าคร่ำครึหรือเปล่า
เปอร์เซ็นต์จึงได้หายไปขนาดนั้น
ข้อมูลที่เป็น
“แดนสนธยา” ที่ชาวสวนปาล์มเริ่มระแคะระคายมานาน แต่ไม่มีใครออกมาให้ข้อมูลเชิงประจักษ์สักที
นั่นก็คือเรื่อง “บายโปรดักส์” จากกระบวนการหีบ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันเมล็ดใน
ทะลายปาล์ม และกะลาปาล์ม เป็นต้น
กำไรส่วนเกินนี้ไม่เคยถูกระบุไปในราคาซื้อปาล์มสดจากเกษตรกรเลย
มันคือการเอาเปรียบกันเกินไป...!!!
ประเด็นหนึ่งที่นายสุคนธ์ เสนอ
ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกับที่จะนำเสนอเข้าไปใน “พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมัน” คือการตั้งกองทุนขึ้นมา
เหมือน อ้อย และ ยางพารา
ยกตัวอย่าง
พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง 2503 มีการตั้งหน่วยงานเฉพาะ
เพื่อพัฒนาเรื่องการผลิตและการตลาด เช่น สถาบันวิจัยยาง
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เป็นต้น โดยการเก็บเงินเข้ากองทุนที่เรียกว่า “เงินเซส”
โดยการเก็บเงินจากการส่งออกตามอัตราที่กำหนด อย่างเช่นกิโลกรัมละ 5 บาท
เมื่อราคายางส่งออก 100 บาทขึ้นไป เงินส่วนนี้ 85% ใช้เป็นเงินสงเคราะห์ให้กับสวนยางที่หมดสภาพเพื่อปลูกใหม่
10% เป็นงบประมาณของ สกย. และ 5% เป็นงบของสถาบันวิจัยยาง
ด้วยระบบนี้ชาวสวนยางจึงดำเนินได้ด้วยตัวเอง
ใช้บริการงบประมาณของรัฐน้อยมาก เพราะมีเงินเป็นของตนเอง
ส่วนนายสุระ
ตั๊นวิเศษ ฝ่ายส่งเสริมวิชาการ บริษัท สุขสมบูรณ์ น้ำมันปาล์ม จำกัด 1 ใน 2
โรงหีบที่กล้า “ขึ้นเขียง” ในเวทีเสวนา
เขาสะท้อนความจริง
ซึ่งเป็น “ก้าง” ขวางคุณภาพน้ำมันปาล์มไทยคือ ปัญหาเรื่องลานเท
ทุกวันนี้มีเกลื่อนกลาดจนเกินไป
เป็นผลให้เกิดการแข่งขันจนกลายเป็น “สงครามราคา”
เห็นได้จากราคาที่ลานเทรับซื้อสูงกว่าราคาหน้าโรงงาน...???
ถามว่าทำไมลานเทจึงอยู่ได้ ไม่เจ๊ง...!!!
คำตอบคือ ระบบการซื้อของโรงงานซื้อปาล์ม 2 ชนิด คือ
ปาล์มทะลายและปาล์มร่วง และราคา 2 ชนิดต่างกันครึ่งต่อครึ่ง บางช่วงปาล์มทะลายสด 7 บาท
ผลร่วง 14 บาท โดยเฉพาะโรงงานเล็กๆ
สังเกตได้จากลานเทปัจจุบันมีตะแกรงร่อนปาล์มร่วงกันทั้งนั้น
“อินทรีทนง”
ได้ยินข้อมูลแล้วทุบโต๊ะผาง เพราะเคยเห็นมาแล้วในลานเทหลายโรงใน จ.ชุมพร
ทำตะแกรงแล้วให้รถตักกระหน่ำเทลงตะแกรงอย่างแรงเพื่อให้ผลปาล์มร่วง
จนเหลือติดทะลายไม่เท่าไหร่
ยิ่งไปกว่านั้นกำลังมีการนำตะแกรงสั่นอัตโนมัติเพื่อทำให้ผลปาล์มร่วงง่ายขึ้น
แม้ปาล์มยังสุกไม่เต็มที่ก็ตาม ซ้ำด้วยการพรมน้ำเพื่อเพิ่มน้ำหนัก
แต่ทำให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันลดลง
สุระบอกว่าถ้าระบบยังอุบาทว์เช่นนี้
มีสิทธิ์เจ๊งทั้งระบบ...!!!
เขาเสนอให้รัฐวางมาตรฐานการหีบของโรงงาน โดย “ก็อปปี้” ระบบมาจากโรงงานหีบอ้อย
มีการกำหนดให้ซื้อขายอ้อยตามคุณภาพความหวาน หรือ C.C.S.
ถ้าทำต่ำกว่ามาตรฐานต้องถูกปรับตามตัวเลขที่ขาด
แต่หากสูงกว่าก็เพิ่มตามอัตราที่สูงขึ้น
*** “ก้าง”
ชิ้นหนึ่งที่ถูกมองว่าเป็นตัวขวางการเจริญเติบโตของการขยายพื้นที่ปลูกปาล์ม ยังถูก
“บอนไซ”
ให้อยู่ในภาคใต้เป็นหลัก
ขยายพันธุ์ช้ามากในภูมิภาคอื่น
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมาตรฐานที่กรมวิชาการกำหนดให้เป็นพื้นที่เหมาะสมแก่การปลูกปาล์ม
“สูงเกินไป”
สูงเสียจนทำให้เกษตรกรกลัวจนไม่กล้าลงทุน
ประวัติมันมีให้เห็นจากพื้นที่ทุ่งรังสิต
กรมวิชาการไม่รับรองเป็นพื้นที่ส่งเสริม เพราะมีน้ำมากเกินไป
และดินเสียจากการปลูกส้ม
แต่เกษตรกรหัวก้าวหน้าหลายราย
“หัวรั้น”
ปลูก รวมเนื้อที่หลายหมื่นไร่ มีโรงงานใหญ่ใน จ.ชลบุรีและ ยักษ์ใหญ่อย่าง “บางจาก” เข้าไปส่งเสริมอย่างครบวงจร
แต่กรมวิชาการก็ยังไม่ยอม
“ปลดล็อก”
ก่อนที่เกษตรกรจะเดินหน้าเต็มตัวเพื่อประกาศว่าพื้นที่ตรงนั้นสามารถปลูกปาล์มได้ดีไม่แพ้ภาคใต้
บางรายทำได้ถึง 4 ตัน/ไร่
นั่นแหละกรมวิชาการจึงหูตาสว่าง
ประกาศเป็นเขตส่งเสริม
อย่าลืมว่าเกษตรกรไทย
“มันสมอง”
เป็นเลิศ มีวิธีคิดเพื่อขจัดปัญหาที่เป็นปฏิปักษ์
วันนี้ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่มีศักยภาพ
แต่ยังถูกบล็อกจาก “โซ่ตรวน” ของกรมวิชาการเกษตร
***แต่หลายพื้นที่ก็ใส่เกียร์ห้า
เดินหน้าปลูกปาล์มอย่างเต็มที่
ดังตัวอย่างของ สภาเกษตรกรภาคอีสาน ลงมติส่งเสริมการปลูกปาล์มใน
20 จังหวัดภาคอีสาน
ทั้งนี้เพราะเล็งเห็นถึงศักยภาพของปาล์มน้ำมันที่เป็นทั้งพืชอาหารและพลังงานในตัวเดียวกัน ประกอบกับพืชเศรษฐกิจตัวอื่นประสบปัญหา เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และยาง โดยเฉพาะจากภัยธรรมชาติ
นายสมศักดิ์ คุณเงิน ประธานสภาเกษตรกร จ.ขอนแก่น บอกว่า พื้นที่ที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ปาล์มอีสานคือ ฝั่งลุ่มน้ำโขง ที่ผ่านมามีเกษตรกรนำร่องปลูกแล้วกว่า 100,000 ไร่
ทั้งนี้เพราะเล็งเห็นถึงศักยภาพของปาล์มน้ำมันที่เป็นทั้งพืชอาหารและพลังงานในตัวเดียวกัน ประกอบกับพืชเศรษฐกิจตัวอื่นประสบปัญหา เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และยาง โดยเฉพาะจากภัยธรรมชาติ
นายสมศักดิ์ คุณเงิน ประธานสภาเกษตรกร จ.ขอนแก่น บอกว่า พื้นที่ที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ปาล์มอีสานคือ ฝั่งลุ่มน้ำโขง ที่ผ่านมามีเกษตรกรนำร่องปลูกแล้วกว่า 100,000 ไร่
เป้าปีแรกจะส่งเสริมปลูกปาล์มให้ได้ 1,000,000 ไร่
ให้โควตาจังหวัดละ 50,000 ต้น และจะให้ผลผลิตในปีที่ 4
จะเริ่มเบิกฤกษ์กาฬสินธุ์เป็นจังหวัดแรก
โดยจะกำหนด “โซนนิ่ง” ในพื้นที่ลุ่มและชุ่มน้ำเป็นหลัก
ข้อมูลที่ “ล่อ”
ให้เกษตรกรที่ถูก “ความยากจนย่ำยี” หันมาปลูกปาล์ม 1 ไร่ จะมีรายได้
16,000 บาท/ปี ถ้าปลูก 10 ไร่ได้เงินอย่างน้อย
14,000 บาท/เดือน
แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องไม่ลืมว่าการปลูกปาล์มในภาคอีสานหลายพื้นที่ไม่เหมาะสม
และภาครัฐไม่ส่งเสริมเหมือนกับพืชยอดนิยมอย่าง ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง
และพืชเนื้อหอมอย่าง ยาง เป็นต้น
ปัญหาคือจะหาช่องทาง “เงินทุน”
จากไหนมาให้เกษตรกรลงทุน เพราะการขาดการส่งเสริมจากรัฐ
ก็หมายความว่าถูกตัด "ท่อน้ำเลี้ยง" จากสถาบันการเงิน
“อินทรีทนง” แนะนำว่าถ้ายังไม่มีแหล่งเงินทุนลองไปปรึกษา “บางจาก”
น่าจะช่วยได้
ที่ผ่านมาคนอีสานถูกเลี้ยงด้วย “ความยากจน”
หลายโครงการที่เกิดจากการส่งเสริมของรัฐ
ล้มเหลวเป็นที่ละเลงงบประมาณจากนักการเมือง
ขณะที่พืชที่เกษตรกรปลูกก็กลายเป็นพืช
“ของเล่นนักการเมือง” อย่าง ข้าว มัน และอ้อย เป็นต้น
อีสานจึงจมอยู่กับวิถีชีวิตที่ “ขรุขระ”
และ “ทุรกันดาน”
แต่วันนี้อีสานกำลังจะถูกพลิก และเนรเทศความยากจนออกจากพื้นที่
ด้วยพืชใหม่ที่มีอนาคต
นอกจาก “ยาง” ก็ “ปาล์ม”
นี่แหละ...
ไม่มีความคิดเห็น