์News

์News

ยางพันธุ์ 251 10 ไร่ ที่บุรีรัมย์ ได้ผลผลิต 6 ตัน/ปี


เทคนิคปลูกยางพันธุ์ 251 10 ไร่ ที่บุรีรัมย์ ได้ผลผลิต 6 ตัน/ปี

เรื่อง : พิมพ์ใจ พิสุทธิ์จริยานันท์

            พื้นที่ที่ถูกตีตราว่า “แห้งแล้ง” อย่างภาคอีสาน ปลูกพืชเกษตรได้อย่างพืชไร่ อย่าง มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย และนาข้าว
            แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า “บุรีรัมย์” หนึ่งในจังหวัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ อีสานตอนใต้ จะสามารถปลูกยางได้ดี แม้จะมีปริมาณฝนเฉลี่ยเพียง 1,062 ถึง 1,470 มม./ปีก็ตาม
            ที่สำคัญหากมีการดูแลเอาใจใส่อย่างถูกต้อง สามารถให้ผลผลิตสูงกว่าพื้นที่สมบูรณ์อย่างภาคใต้ด้วยซ้ำไป...!!!
            นี่ไม่ใช่การกล่าวอ้างแบบลอยๆ แต่มีตัวอย่างให้เห็นแล้วในพื้นที่ อ.แคนดง จ.บุรีรัมย์
            เกษตรกรหัวก้าวหน้ารายหนึ่งเลือกปลูกยางพันธุ์ RRIT 251 บนเนื้อที่เพียง 10 ไร่ หลังจากการเปิดกรีดเป็นเวลา 5 ปี ปรากฏว่าปีล่าสุดให้ผลผลิตสูงถึง 650 กก./ไร่/ปี สร้างความมหัศจรรย์ให้แก่วงการสวนยาง เพราะปริมาณน้ำยางสูงเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ เท่าที่มีการเก็บข้อมูลมา
           ถึงขนาดที่กรมวิชาการเกษตรยึดเป็นแปลงตัวอย่างของยางพันธุ์นี้ทีเดียว
            และยังเป็นแปลงตัวอย่างของเกษตรกรรายใหม่ๆ ที่ต้องการปลูกยางในภาคอีสานอีกด้วย
            สวนยางที่ประสบความสำเร็จดังกล่าวเป็นของ วิชิต ลี้ประเสริฐ หรือ “เสี่ยต๋อง” อดีตชาวไร่อ้อยรายใหญ่บุรีรัมย์ แต่ปัจจุบันเป็นเจ้าของสวนยาง 700 ไร่ และยังดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการเครือข่ายเกษตรกรด้านยางพาราครบวงจร จังหวัดบุรีรัมย์ ที่จัดตั้งโดยองค์การสวนยาง
            วิชิตเริ่มต้นปลูกยางตั้งแต่เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ประกอบไปด้วยพันธุ์ PBM 24 RRIT 251 และ RRIT 235 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เขาพิจารณาแล้วว่าให้ผลผลิตสูง และสามารถปลูกในพื้นที่ภาคอีสานได้
            “ปลูกยางพันธุ์ต้องดี” เขาบอก
            จะเห็นได้ว่าพันธุ์ยางที่เขาเลือกปลูกไม่มีพันธุ์ RRIM 600 เลย นั่นเป็นเพราะเขาศึกษาและค้นคว้าข้อมูลเรื่องสายพันธุ์มาเป็นอย่างดี และพบว่ายางพันธุ์ดังกล่าวแม้จะได้รับความนิยมปลูกว่า 80% ประเทศ แต่กลับให้ผลผลิตน้อย
            “ผมจะคัดเลือกปลูกเฉพาะพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง” วิชิตย้ำ
             นอกจากพันธุ์ยางดีแล้ว ดินยังเป็นปัจจัยที่เขาให้ความสำคัญ ด้วยเหตุนี้หลังการปลูกยางจึงต้องมีการปลูกพืชบำรุงดิน เพื่อเพิ่มธาตุอาหารโดยไม่เพิ่มต้นทุน
            พืชที่เลือกปลูกคือ ซีรูเลียม และมูคูน่า พืชในตระกูลถั่ว เป็นต้น
            การปลูกพืชบำรุงดินเริ่มตั้งแต่ยางปีแรก เขาลงทุนซื้อเมล็ดพันธุมูคูน่ามาในราคากิโลกรัมละ 2,000 บาท แตเปอรเซ็นตการงอกต่ำมาก จึงทดลองตัดเถาประมาณ 2 ข้อไปชำ ปรากฏวาไดผลดีกวา 
             ระยะปลูกระหวางตน ๑๕ เมตร ปลูกกึ่งกลางระหวางแถวยาง รองเวนร่องเพียง 2 เดือนเศษ ก็เจริญเติบโตไดไกลถึง 10 เมตร แมาจะปลูกปลายฝนในช่วงอากาศแลงก็ตามหลังปลูกใหช้า 2 ครั้ง และใสปุ๋ยบํารุงสูตร 30-18-18 เพียงครั้งเดียวเทานั้น
            การบํารุงรักษางายชวง 3 เดือนแรก ใหถากวัชพืชรอบๆ หลุมปลูก จะชวยใหมูคูน่าเติบโตไดดีขึ้น หากไมมีฝนหลังปลูก
          หากรดน้ำได้ รดเพียงครั้งเดียวก็เพียงพอ และอาจใสปุยบํารุงชวย หลังจากปลูก ๑๒ เดือนเนื่องจากมูคูนาตอบสนองตอปุยไดดีมาก
            มูคูน่าปลูกงาย ใชนพันธุอย ระบบรากลึก ชวยพลิกความอุดมสมบูรณดินจากชั้นลางขึ้นมายังชั้น
บน ทั้งชวยใหดินชั้นลางที่แนนทึบโปรงขึ้น ทนสภาพแลง ไดนานถึง 4เดือนและสามารถขึ้นไดดีในสภาพรมเงา
            มูคูน่ายังมีเถาแข็งแรง สามารถคลุมพื้นที่ไดหนา 1เมตร จึงควบคุมวัชพืชไดดีโดยเฉพาะหญาคา และไมพุมเตี้ย
            ประโยชน์เด่นอีกอย่างมันสามารถตรึงไนโตรเจนไดสูงถึงรอยละ 70 ของปริมาณที่พืชใชกับมีแบคทีเรียที่ยอยสลายฟอสเฟต จึงชวยเพิ่มความอุดมสมบูรณดินไดสูง
            ใหปริมาณซากหรือมวลชีวภาพสูง คลุมดินไดหนาถึง 40 ซ.ม. สูงกวาพืชคลุมชนิดอื่น ประมาณ 3 เทา หลังปลูก 2 ปในพื้นที่ สภาพดินทั่วไป 1 ไรใหน้ำหนักเถาแหง 0.9  ตัน รากและปมราก  0.4 ตัน ตนและใบ 0.48 ตน รวมมวลชีวภาพทั้งหมด 1.78 ตัน ซึ่งประกอบดวยฟอสฟอรัส 3.04 กก. โพแทสเซียม 24.48 กก.และแมกนีเซียม 2.88 กก. 
             แตหากปลูกในพื้นที่ดินมีความอุดมสมบูรณสูง จะไดมวลชีวภาพทั้งหมดเพิ่มเปน 3.04 ตัน
            นอกจากนั้นแล้วชวยลดอุณหภูมิดิน และกักเก็บความชื้นไวในดินไดนานกวาพืชคลุมดินตัวอื่น เนื่องจากคลุมดินไดหนาและแนน ทั้งยังใชแรงงาน และสารเคมีนอย เนื่องจากสามารถควบคุมวัชพืชไดเร็ว และป้องกันการชะลาง พังทลายของดินไดมีประสิทธิภาพ ดวยระบบรากที่ลึกและแข็งแรง
            ซีรูเลียม (Calopogonium Caeruleum) เปนพืชคลุมดินตระกูลถั่วประเภทเถาเลื้อย อายุขามปลําตนมีขนเห็นไมชัด รากสวนใหญเปนรากฝอยเกาะผิวดิน ยกเวนรากแกวอยูในดินลึก ประมาณ 30-50 เซนติเมตร ลําตน เจริญเติบโตเปนเถาเลื้อยบนดิน สวนของลําตนที่สัมผัสกับผิวดินจะแตกรากใกลอใบ เปนชนิดรากฝอยเกาะยึดผิวดิน ใบ มีสีเขียวเขมเปนมันคอนขางหนาคลายใบโพธิ์ เมล็ด มีขนาดใหญเปลือกหุมเมล็ดหนา
            ซีรูเลียมเปนพืชวันสั้น เริ่มออกดอกเมื่อเริ่มเขาฤดูแลง และอากาศเย็น เปนพืชคลุมที่ทนตอโรคและแมลง ทนตอสภาพรมเงาและความแหงแลง ใบจึงมีสีเขียวตลอดทั้งปโอกาสที่จะเปนสาเหตุใหไฟไหมสวนยางไดยาก คลุมไดหนาแนนและคลุมวัชพืชไดนานหลายปใหซากพืชสูงกวาพืชคลุมดินชนิดอื่น จึงเหมาะที่จะนํามาปลูกเปนพืชคลุมดินในสวนยางมากกวาพืชคลุมดินชนิดอื่น
            พอต้นยางเข้าปีที่ 4-5 ต้นยางจะเริ่มทึบจนต้นมันเติบโตไม่ได้ เม็ดเก็บมาขายได้
            “ประโยชน์ของพืชคลุมดินคือ กำจัดวัชพืช ช่วยรักษาความชื้นในดิน เพิ่มอินทรียวัตถุ ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์ ตรึงไนโตรเจนมาเก็บไว้ที่ราก เพราะเป็นพืชตระกูลถั่ว จะมีปมสำหรับเก็บไนโตรเจน เท่ากับเรามี “โรงงานปุ๋ย” อยู่ในสวนยางประหยัดปุ๋ย ลดการกำจัดหญ้า”
            อย่างไรก็ตามวิชิตยอมรับว่า แม้จะมีการบำรุงดิน เพิ่มธาตุอาหารอย่างดี ก็ยังจำเป็นต้องพึ่งปุ๋ยเคมี โดยยึดตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ปริมาณการใส่อย่างน้อยไร่ละ 1-1.5 กระสอบ หรือเกือบๆ 1 กิโลกรัม/ต้น/ครั้ง ใส่ปีละ 2 ครั้ง ช่วงต้นฝนและกลางฝน
            ปุ๋ยที่ใช้มี 2 สูตร ช่วงยางเล็กจะใช้สูตร 20-10-12 และช่วงยางกรีดใช้สูตร 20-8-20
            “เทคนิคในการเพิ่มการเจริญเติบโตผมยังเพิ่มปุ๋ย 21-0-0 เข้าไปด้วยเพื่อเพิ่มธาตุไนโตรเจน ผสมสัดส่วน 2 : 1 เช่น ปุ๋ย 20-8-20 สองกระสอบ สูตร 21-0-0 หนึ่งกระสอบ โดยเฉพาะยางกรีดไนโตรเจนต้องสูง เพราะมันสูญเสียไปเยอะ”
            ปัจจุบันวิชิตมีสวนยางเปิดกรีดแล้ว 500 ไร่ และยังไม่พร้อมกรีดอีก 200 ไร่ รวม 700 ไร่ ปริมาณน้ำยางเฉลี่ยวันละ 2 ตันแห้ง น้ำยางที่ได้จากสวนทุกวันจะถูกนำมาทำยางแผ่นดิบ ผ่านกระบวกการอบพลังงานแสงอาทิตย์
            “ปีที่แล้วปิดบัญชีไปได้ผลผลิตรวม 199 ตัน กรีด 105 วัน เฉลี่ยวันละเกือบ 2 ตัน” วิชิตเปิดเผย

ยางพันธุ์ 251 10 ไร่ ผลผลิตมากกว่า 6 ตัน/ปี
            วิชิตนำทีมงานยางเศรษฐกิจไปดูแปลงยางพันธุ์ 251 ที่เริ่มปลูกเมื่อ เดือนกรกฎาคม 2543 เนื้อที่ 10 ไร่ 720 ต้น ระยะปลูก 3X7 เมตร เริ่มต้นเปิดกรีดเมื่อเดือนเมษายน 2550 ระบบกรีดแบบครึ่งต้น วันเว้นวัน
            “เพราะพันธุ์นี้ผลผลิตมันสูงอยู่แล้ว” เขาให้เหตุผล
            ปัจจุบันกรีดเข้าปีที่ 5 แล้วแต่หน้ายางแรกยังไม่หมด เขาบอกว่าหน้าแรกน่าจะได้ถึง 6 ปี แสดงว่ากว่าจะกรีดรอบต้นใช้เวลา 12 ปี ก่อนจะวนได้อีกรอบ
            สาเหตุที่หน้ายางหมดช้าส่วนหนึ่งเป็นเพราะใช้ระบบกรีดแบบวันเว้นวัน แต่เนื่องจากเป็นพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตสูง ผลผลิตจึงเท่ากับระบบ 2 วัน เว้น 1 วัน
            “ต้นใหญ่ๆ ต้องใช้ถ้วยยางขนาด 1.5 ลิตร บางต้นต้องใช้ 2 ถ้วย”
             ปริมาณผลผลิตเขามีการเก็บข้อมูลทุกปี ปีที่ 1 ปริมาณน้ำยางเฉลี่ย 300 กก./ไร่/ปี ปีที่ 2 450 กก.ปีที่ 3 580 กก. ปีที่ 4 647 กก. ปีที่ 5 คาดว่าจะได้ 650 กก.
            “ปริมาณน้ำยางจะให้ผลผลิตสูงสุดเมื่อกรีดเข้าปีที่ 4-5 พอเข้าปีที่ 6 ก็จะเริ่มลดลง แต่แปลงนี้อาจจะนานถึงปีที่ 7 ก็ยังไม่ลดลง เพราะดูแลดี” สมชาติ เกษร ผู้ช่วย สกย.จ.บุรีรัมย์ ที่เดินทางมาด้วย คาดการณ์อย่างนั้น
            ปัจจุบันสวนยางของวิชิตเป็นตัวอย่างของเกษตรกรที่ปลูกพันธุ์ตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร จนประสบความสำเร็จ ได้ผลผลิตมากกว่าผลผลิตเฉลี่ยของกรมวิชาการเกษตรเสียอีก กลายเป็นแปลงตัวอย่างของเกษตรกรรายอื่นๆ
            “เกษตรกรแถบนี้เขาปลูกแต่ พันธุ์ 251”
          ส่วนแปลงยางพันธุ์อื่นๆ ของเขาก็ได้ผลผลิตสูงเช่นกัน อย่างพันธุ์ PBM 24 ผลผลิตสูงสุดเคยได้มากกว่า 580 กก./ไร่/ปี
            นอกจากนี้แล้วเขายังนำพันธุ์ยางใหม่ๆ ที่ให้ผลผลิตสูงมาทดลองปลูก โดยเฉพาะพันธุ์ 408 หรือ พันธุ์เฉลิมพระเกียรติ 984 พันธุ์ใหม่ของสถาบันวิจัยยาง ปัจจุบันอายุประมาณ 5 ปี คาดว่าอีกไม่เกิน 2 ปี จะสามารถเปิดกรีดได้
             “ข้อสำคัญอีกหนึ่งอย่างคือเกษตรกรต้องเปิดกรีดต้นยางที่ได้ขนาด เพราะต้นยางที่จะให้ผลผลิตสูงต้นต้องใหญ่ แม้เราบำรุงดีขนาดไหน แต่ถ้าต้นไม่ได้ขนาดน้ำยางก็น้อยอยู่ดี” นี่เป็นปัญหาสำคัญของยางการปลูกยางภาคอีสาน
            จากการที่ทำแล้วประสบความสำเร็จก็เป็นแปลงตัวอย่างให้เกษตรกรมาดู แล้วนำไปเป็นแบบอย่าง พัฒนาสวนของตัวเอง          
         “เมื่อก่อนยุคเริ่มต้นของยางในบุรีรัมย์ เกษตรกรยังไม่มีความรู้ต้นยางจึงขาดความสมบูรณ์ และเสียหายเยอะ แต่วันนี้เขามีบทเรียนมีตัวอย่าง นำกลับไปพัฒนาการจัดการให้ดีขึ้น ยางยุคหลังๆ จึงสมบูรณ์และผลผลิตสูง”
            ในพื้นที่ อ.แคนดง ตอนนี้นอกจากข้าวที่ยังเป็นพืชหลักแล้ว ก็มียางขึ้นมาเป็นตัวรองที่โตอย่างรวดเร็ว ส่วนอ้อยลดลงอย่างเห็นได้ชัด 
            “ทำสวนยางสบายกว่าไร่อ้อย ไม่ลำบากในการจัดการโดยเฉพาะแรงงานหายาก จัดการยาก ยางจึงดีกว่าอ้อย ผลตอบแทนสูงกว่า การจัดการง่ายกว่า สวนยังเย็นสบาย เป็นการสร้างพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น จากไร่ที่เคยร้อนแลดูแห้งแล้ง วันนี้กลับชุ่มชื่น เหมือนมีป่าเพิ่มขึ้น”
            ภาคอีสานจึงไม่ใช่ข้อจำกัดเรื่องการปลูกยางอีกต่อไป วิชิตบอกว่าสำคัญอยู่ที่การจัดการเป็นสำคัญ
            เป็นไปได้สูงทีเดียวที่ยางจะพลิกอีสาน จาก “ความแห้งแล้ง” เป็น “ความชุ่มชื้น” จาก “ความยากจน” จะเป็น “ความมั่งคั่ง”
            “แน่นอนอยู่แล้ว” ประธานคณะกรรมการเครือข่ายเกษตรกรด้านยางพาราครบวงจร จ.บุรีรัมย์ให้ความเห็นทิ้งท้ายไว้อย่างนั้น
ขอขอบคุณ
            วิชิต ลี้ประเสริฐ
           30 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
            โทรศัพท์ 08-7259-5252
            สมชาย เกสร
            สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จ.บุรีรัมย์ โทรศัพท์ 0-4461-4080


นิตยสารยางเศรษฐกิจ ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2555


ไม่มีความคิดเห็น

Random Posts

randomposts