์News

์News

ปากกานายพายัพ ฉบับที่ 12


อีสานคือเมืองหลวง
อุตสาหกรรมยางพาราในอนาคต
            
แม้ประเด็นข่าวเล็กๆ ทางสื่อมวลชนนั่นคือ การพัฒนาผลิตชิ้นงานยางพารารองตีนตะพาบเครื่องเกี่ยวนวดข้าวของสถาบันวิจัยยางและสถาบันวิจัยเกษตร
            แต่หากมองให้ลึกไปถึงอรรถประโยชน์ของมันจะพบว่ามีคุณค่าหลายอย่าง
            เพราะวันนี้ชาวนาไทยได้ใช้เครื่องทุ่นแรงหลากหลายรูปแบบ
            โดยเฉพาะ เครื่องเกี่ยวนวดข้าว ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเพราะเกี่ยวนวดได้เร็วขึ้น
            แต่การใช้เครื่องเกี่ยวนวดต้องใช้รถบรรทุกขนส่งบนถนนลาดยางจนผิวถนนเป็นรอยเสียหาย แก้ปัญหาด้วยการใช้แผ่นยางมารองล้อตีนตะขาบ ต้องเสียค่าใช้จ่าย เสียเวลาทำงาน และเกิดความล่าช้าในการเก็บเกี่ยวผลผลิต
            การที่ 2 สถาบันได้ร่วมกันวิจัยและพัฒนาสูตรยางธรรมชาติผสมสารเคมี เพื่อให้รองรับน้ำหนักและทนต่อการใช้งานในสภาพไร่นา พร้อมทั้งนำสูตรยางที่พัฒนาไปผลิตชิ้นงานยางที่มีรูปร่างและขนาดที่เหมาะกับการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ และอัดขึ้นรูปด้วยแม่พิมพ์ที่ออกแบบและพัฒนาแล้วด้วยอุณหภูมิ 150 องศาฯ นาน 15 นาที ตีนตะขาบดังกล่าวใช้งานได้ดีกับเครื่องเกี่ยวนวดข้าว ผู้ที่สนใจโทร.0-2940-5712, 0-2940-6595
            ชาวนาที่ใช้รถเกี่ยวนวดข้าวหรือชาวสวนยางในภาคอีสานได้ประโยชน์กับเรื่องนี้โดยตรง
            คุณรัตนวิมล นารี ศุกรีเขต ผอ.ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุน ภาคที่ 3 ขอนแก่น เปิดเผยว่าอีสานตอนบนปี 54 มีนักลงทุน 59 โครงการ ขอบัตรส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมูลค่าเงินลงทุน 19,267.7 ล้านบาท มีการจ้างงาน 8,554 คน เพิ่มขึ้นกว่าปี 53
            การลงทุนด้านอุตสาหกรรมยางพาราที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอมี 3 โครงการ เพื่อรองรับวัตถุดิบในพื้นที่จังหวัดริมแม่น้ำโขงใกล้ชายแดน ได้แก่ โครงการผลิตยางแท่งและยางผสมของ MR.LULINHAN เงินลงทุน 800 ล้านบาท จ้างงาน 258 คน ที่จังหวัดนครพนม โครงการผลิตยาง STR และยางผสมของบริษัท รับเบอร์แลนด์โปรดักส์ จำกัด เงินลงทุน 1,025 ล้านบาท จ้างงาน 313 คน ที่จังหวัดมุกดาหาร และโครงการผลิตยางแท่งและยางผสมของบริษัท เซาท์แลนด์รีซอร์ซ จำกัด เงินลงทุน 996 ล้านบาท จ้างงาน 226 คน ที่บึงกาฬ
            ทั้งโรงงานยางที่เปิดดำเนินการแล้ว กำลังดำเนินการและได้รับอนุมัติโครงการในภาคอีสาน ล้วนเป็นโรงงานที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมยางพาราทั้งประเทศ
            นั่นก็เพราะโรงงานยางภาคอีสานใกล้กับตลาดยางขนาดยักษ์ของไทยนั่นคือ สาธารณรัฐประชาชนจีน
            โรงงานยางพาราในภาคใต้ไม่ใช่ตัวกำหนดราคายางในอนาคต
            ในทศวรรษหน้ายางพาราอีสานจะพลิกบทบาทมาเป็นผู้กำหนดราคายางของประเทศใช่หรือไม่...???
            อย่าลืมว่าการคมนาคมภาคอีสานเอื้ออำนวยต่อระบบโลจิสติกส์เป็นอย่างยิ่ง
            ถนนลูกรังจะหมดไปในทศวรรษหน้าแน่นอน เพราะปริมาณประชากรที่หย่อนบัตรเลือกตั้งมีมากกว่าภาคอื่นและเป็นประชากรที่มี คุณภาพ เพราะอดีตเคยไปขายแรงงานทั่วโลก แม้แต่ในประเทศก็ถูกหล่อหลอมวัฒนธรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ และกล้ายอมรับในสิ่งใหม่ๆ แม้จะถูกหลอกบ้างก็ยอมแต่ได้ประสบการณ์ที่มีคุณค่า
            ที่สำคัญ นักการเมือง อีสานทุกระดับต้องเกาะติดประชาชน ไม่มีสิทธิ เท้าลอย เหมือนภาคอื่น ทำให้นักการเมืองอีสานเข้าใจเข้าถึงประชาชน
            อีสานวันนี้ไม่เหมือนอดีตแล้วครับ

ไม่มีความคิดเห็น

Random Posts

randomposts