์News

์News

หน้ายางตายนึ่ง ปัญหาเบอร์ 1 ของบุรีรัมย์


ภาพระบบการกรีดของชาวบุรีรัมย์
หน้ายางตายนึ่ง
        ปัญหาอันดับ 1 ของสวนยางเมืองปราสาทหิน
           
เรื่อง : พิมพ์ใจ พิสุทธิ์จริยานันท์
           
            ยางเศรษฐกิจฉบับที่แล้ว (10) ทีมงานได้นำเสนอคอลัมน์เด่นจากปกเรื่อง “หน้ายางตานึ่ง พัง 60,000 ล้านบาท/ปี” 
             สร้างความตื่นตะลึงให้แก่แฟนๆ ที่ติดตามนิตยสารอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะนักลงทุนสวนยางรายใหม่ ยิ่งเมื่อดูตัวเลขความเสียหาย 15-20% ของพื้นที่สวนตกเป็นอาณานิคมของอาการนี้ ยิ่งเพิ่มเครื่องหมายคำถามว่านี่คือวิกฤติของสวนยางในอนาคตหรือไม่...???
            คงต้องบอกการตามตรงว่าตัวเลขความเสียหาย 60,000 ล้าน อาจไม่ใช่ตัวเลขความเสียหายที่แท้จริง...!!!
            หากแต่มันเป็นเพียงตัวเลขประเมินต่ำสุดเท่านั้น 
            เพราะเมื่อ "แกะรอย" ความเสียหายกันจริงๆ ตัวเลขความเสียหายน่าจะอยู่ในระดับแสนล้าน...!!!
            ทั้งนี้เป็นที่สงสัยว่าเหตุใด "ยางเศรษฐกิจ" จึงกล้านำเสนอข้อมูลด้านลบเช่นนี้...???
            ตอบก็ได้ว่าเราต้องการนำเสนอเพื่อกระตุ้นเตือนให้เกิดความตระหนักกับเม็ดเงินที่ต้องสูญเสียไป เพื่อนำสู่การหาวิธีป้องกันและแก้ไขอย่างจริงจัง
            อย่างน้อยๆ ก็เพื่อช่วยลดตัวเลขความเสียหายลงให้มากที่สุด   
สวนยางแห่งหนึ่งที่มีอาหารเปลือกยางแห้งทั้งแถว
            ผลปรากฏว่า “หน้ายางตายนึ่ง” เป็นปัญหาอันดับต้นๆ ในการทำสวนยางที่แก้ไม่ตก 
            แม้จะมีผลิตภัณฑ์นับร้อยยี่ห้อจะอวดสรรพคุณ แต่ปัญหาก็ยังไม่ทุเลาเบาบาง...!!!
            ก่อนที่ทีมงานยางเศรษฐกิจตกลงปลงใจบรรจุ "หน้ายางตายนึ่ง" เป็นคอลัมน์ประจำนับจากนี้เป็นต้นไป...!!!
            
           เช่นเดียวกับฉบับนี้ผู้เขียนและทีมงานเดินทางต่อมายังจังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อจัดทำและเก็บข้อมูลเรื่องทิศทางยางพาราบุรีรัมย์ 
           เพียงแค่แหล่งข่าวช่วงแรกก็เจอปัญหาใหญ่ของเขาแล้ว นั่นก็คือ หน้ายางตายนึ่ง...!!!
ชาติ มีหนองหว้า ประสบกับหน้ายางตายนึ่งในสวน 10%
            ชาติ มีหนองหว้า ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางนิคมบ้านกรวด จำกัด เขานับเป็นเกษตรกรรายแรกที่หันมาปลูกยาง พันธุ์ RRIM 600 เมื่อ 20 ปีที่แล้ว
            แม้ว่าสวนยางของเขาวันนี้จะมีอายุกว่า 20 ปีแล้ว โกยเงินจากน้ำยางมากนักต่อนักแล้ว แต่ผลผลิตคงจะสูงกว่านี้ถ้าต้นยางจำนวน 10% ของสวนให้น้ำยางได้เป็นปกติ...???
            เพราะถูกหน้ายางเปลือกแห้ง หรือหน้ายางตายเล่นงาน...!!!
            “เสียหายเยอะ” เขายอมรับโดยดุษฎี
            ชาติไม่อาจจะจำได้ว่าต้องยางมีอาการต้นยางไม่มีน้ำยางเมื่อไหร่ แต่เขาพอจะทราบได้ด้วยสมมุติฐานว่ามาจากการบกพร่องเรื่องการจัดการในช่วงแรกเริ่มของการปลูกยาง
            เขายอมรับว่าการปลูกยางในยุคเริ่มต้นของประสบการณ์ ปล่อยทิ้งปล่อยขว้าง เหตุเพราะเขาต้องนำเวลาที่มีอยู่ไปใช้จ่ายกับการทำไร่อ้อยและมันสำปะหลัง เพราะพืชทั้ง 2 ตัวลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนในเร็ววัน
            “ปุ๋ยที่เขาให้มาใส่ต้นยาง เราก็เอาไปใส่มันสำปะหลัง ไม่ใส่ยางเลย” เขายอมรับว่านี่คือการทรยศสวนยาง
            ผิดกับต้นยางที่ต้องใช้เวลาอย่างน้อยๆ ก็ 7 ปีกว่าจะกรีดยางและมีรายได้ 
            เมื่อคิดอย่างนั้นหน้าที่ดูแลสวนยางจึงตกอยู่กับเทวดาไป...???
            ปุ๋ยไม่เคยใส่ หญ้าไม่เคยกำจัด ดินไม่เคยไถพรวน เป็นผลให้ต้นยางแคระแกร็นโตช้า ต้องใช้เวลาปีที่ 9 จึงจะกรีดได้
            ไม่เพียงเท่านั้นด้วยทักษะการกรีดยางทั้งของคนงานและตัวเขาเองยังไม่ช่ำชองเท่าไรนัก หน้ายางจึงเสียไปมาก
            และแม้เมื่อต้นยางให้น้ำยางแล้ว เขาก็ยังขาดการดูแลเฉกเช่นที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ เพราะช่วงนั้นยางราคาถูก กิโลกรัมละ19 บาทเท่านั้น ไม่ชวนให้ลงทุนปุ๋ย
            เหล่านี้น่าจะเป็นเหตุผลรวมๆ ที่ทำให้สวนยางของชาติมีอาการยางตายนึ่งถึง 10% และเชื่อว่าถ้ายังไม่มีมาตรการสำหรับป้องกันละรักษาปริมาณจะสูงขึ้นกว่าเดิมแน่นอน 
ต้นยางตายนึ่งที่ถูกปล่อยทิ้งจนเปลือกแตกล่อน ไม่สามารถให้น้ำยางได้ปกติ
            นั่นหมายความว่ารายได้จากสวนยางของเขาจะลดลง
            สุดท้ายคงต้องรอวันโค่นทิ้งก่อนกำหนดเป็นแน่...!!!
            แนวทางในการแก้ไขเท่าที่พูดคุยกับเขาคือ หยุดการกรีดยางต้นนั้นไปเสีย ปล่อยให้มันพักฟื้นตัว และใส่ปุ๋ยบำรุงอย่างต่อเนื่อง เขายืนยันว่ามันจะกลับมาให้น้ำยางอีกครั้ง
            แต่เขาก็ไม่กล้ายืนยันว่ามันจะตลอดไปหรือไม่...!!!
            ปัญหาที่เกิดกับประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางนิคมบ้านกรวด เป็นตัวอย่างหนึ่งของการปลูกยางในภาคอีสานในยุคเริ่มต้น
            เพราะยางคือพืช “อาคันตุกะ” แปลกหน้าแปลกถิ่น เข้าใจกันว่าปลูกได้แต่ในภาคใต้เท่านั้น
            จนเมื่อมีการทดลองนำมาปลูกในภาคอีสาน โดยมีสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตรหนุนหลัง
เมื่อการทดลองในพื้นที่ หนองคาย บุรีรัมย์ และสุรินทร์ได้ผล เกษตรกรที่ต้องกล้ำกลืนอยู่กับข้าวและพืชไร่ อย่าง มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพด เป็นต้น จึงหันมาปลูกกัน ตามคำแนะนำและการส่งเสริมจากรัฐบาลในยุคสมัยต่างๆ ในช่วงกว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เช่น โครงการปลูกยางระยะที่ 1-2 และโครงการยางล้านไร่ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีโครงการจากการส่งเสริมของหน่วยงานท้องถิ่น
แน่นอนว่าเกษตรกรที่จับเสียบขุดมัน มือถือคันไถและเคียวเกี่ยวข้าวมาครึ่งค่อนชีวิต เมื่อต้องหันมาปลูกยางจึงไม่ต่างอะไรกับเด็กที่ต้องมานั่งท่อง ก.ไก่ อีกครั้ง 
ประกอบกับหลายโครงการของรัฐบาล จัดสรรกล้ายางให้เกษตรกรปลูกยางเดียว การลงทุนที่เหลือเป็นความรับผิดชอบของผู้ปลูก
เมื่อไม่มีใจ การเอาจริงเอาใจก็แห้งแล้ง ทุนจะซื้อปุ๋ยใส่ก็ไม่มี เพราะเมื่อลงทุนใส่ไปผลตอบแทนหรือรายได้ต้องรอไปมากกว่าครึ่งทศวรรษ
ด้วยเหตุปัจจัยรุมเร้าอย่างนี้การปลูกยางของชาวอีสานจึงเป็นไปแบบมะงุมมะงาหรา ปลูกตามมีตามเกิด เมื่อให้ผลตอบแทนจึงจะเอาจริงเอาจัง
ขณะที่ระบบการกรีดก็มีปัญหา เมื่อขาดแคลนรายได้ เพื่อความอยู่รอดของครอบครัวจึงต้อง "ข่มขืน" ต้นยางตั้งแต่เล็ก 
สภาพต้นยางที่ถูกปู้ยี่ปู้ยำ กรีดแบบทุกทิศทุกทาง จนแทบจะไม่มีผลผลิตเลย
เท่านั้นไม่พอยังกรีดถี่ กรีดเข้าเนื้อผิดวิธี เรียกได้ว่าปู้ยี่ปู้ยำสารพัดจะทำ...!!!
ภาพที่เห็นคือหน้ายางเสียหาย หมดไว เมื่อครบรอบไม่สามารถที่จะกลับมากรีดหน้าแรกได้ 
เมื่อระยะปกติไม่ได้ก็ต้อง "เล่นของสูง" กรีดยางหน้าสูง กรีดกิ่ง กรีดแบบทุกทิศทุกทางเพื่อนำน้ำยางไปแลกเงินเลี้ยงชีพ
ต้นยางจึงหมดน้ำยางเร็วกว่าวัย ทั้งๆ ที่ต้นยังเล็ก จากที่อยู่ได้มากกว่า 20 ปี อาจจะเหลือน้อยกว่านั้น
นี่เองที่ทำให้ชาวสวนยางหลายพื้นที่ในบุรีรัมย์ และอีสาน ประสบปัญหาเรื่องหน้ายางตายนึ่งมาก
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ปราชญ์แห่งวงการยางเคยประเมินความเสียหายจากการกรีดยางเล็กสูงถึง 2 แสนล้านบาท/ปี

ประหยัด เทพคุ้ม กรรมการสหกรณ์กองทุนสวนยางโนนสุวรรณ จำกัด จ.บุรีรัมย์ บอกเลยว่า ปัญหาที่สวนยางในพื้นที่ อ.โนนสุวรรณ ประสบมากที่สุด คือ "หน้ายางตายนึ่ง"
“ถ้ายาตัวไหนรักษาได้ดังแน่” เขาการันตี
เพราะมันยังเป็น “หนามยอกอก” ทิ่มอุตสาหกรรมยาง...???

อย่างก็ตามพบว่าแนวโน้มการดูแลสวนยางอย่างเอาใจใส่ของเกษตรกรในอีสานมีการพัฒนาขึ้น โดยเฉพาะกับเกษตรกรรายที่ปลูกยางมาเป็นเวลามาระยะหนึ่ง เพราะเขาจะมองเห็นความผิดพลาดในการปลูกเลี้ยงที่นำมาซึ่งความเสียหาย
การดูแลสวนยางจะมีการลงทุนมากขึ้น อย่างการใส่ปุ๋ยตามฤดูกาล การกำจัดวัชพืช เกษตรกรหัวก้าวหน้าปลูกพืชแซมเพื่อบำรุงดิน แทนการปลูกมันสำปะหลังแซมสวนยาง 
เพราะมันเป็นพืชที่ดูดน้ำมากและเร็วทำให้หน้าดินแห้งสูญเสียน้ำ  กระทบตรงกับต้นยาง
ปัญหาหน้ายางตายนึ่งกับเกษตรกรอีสาน "หน้าเก่า" จึงมีแนวโน้มปริมาณน้อยลง
ต้นยางเล็กที่เปิดกรีดเร็ว มีแนวโน้มประสบอาการหน้ายางตายสูงในอนาคต
แต่ที่กำลังขยายตัวคือ “เกษตรกรหน้าใหม่” ที่เขามาปลูกยางตามกระแส และการส่งเสริมแบบหว่านของโครงการรัฐบาล ไม่มีเงินทุนในการดูแลสวนยาง การดูสวนยางก็น้อยลง ปุ๋ยยางไม่ใส่ หรือแม้กระทั่งปลูกยางในพื้นที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น
ปัญหาเหล่านี้คือจุดเริ่มต้นของการสะสมของการเกิดหน้ายางตายนึ่งในอนาคต...!!!

อาการของต้นยางหน้าตายที่พบในพื้นที่บุรีรัมย์ พบตั้งแต่ต้นยางที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป 
อาการพบตั้งแต่ต้นหน้ายางหน้า 2 กรีดแล้วไม่มีน้ำยาง จนเจ้าของต้องทำการกรีดยางหน้าสูงเหนือรอยกรีดปกติ 
บางสวนหน้าตายสนิททั้งหน้ายางปกติและยางหน้าสูง เห็นได้จากร่องรอยคมมีดที่กรีด จนต้องปล่อยทิ้งเพราะไม่คุ้มค่าแก่การกรีด
ขณะที่บางสวนเห็นได้ชัดว่าสวนยางถูกปล่อยทิ้งอย่างไม่ใยดี เพราะมีต้นหน้ายางตายมากกว่า 20% เมื่อต้นยางที่กรีดได้เหลือน้อย น้ำยางแต่ละต้นก็ออกไม่เต็มที่ ปริมาณน้ำยางน้อย เงินลงทุนในการใส่ปุ๋ย จึงถูกตัดขาดไปโดยปริยาย
เมื่อดูแนวโน้มการเกิดขึ้นของอาการหน้ายางตายพบว่ามีแนวโน้มสูง โดยเฉพาะเกษตรกรที่เกิดขึ้นจากโครงการยางล้านไร่...???
 เพราะโครงการดังกล่าวเป็นการแจกต้นกล้าอย่างเดียว ไม่มีค่าปุ๋ยเหมือนโครงการอื่นๆ พฤติกรรมการปล่อยทิ้งและ "รักแกต้นยาง" จึงขยายตัวมากยิ่งขึ้น
สวนยางยุคใหม่ในอีสาน เริ่มมีการดูแลอย่างดีตั้งแต่เล็ก ดังตัวอย่างในภาพ เป็นต้น
เป็นปัญหาที่ "ยางเศรษฐกิจ" มองว่าจะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต...!!!
 เพราะผลผลิตต่อไร่ของสวนยางน้อยลง 
นั่นหมายถึงต้นทุนที่สูงขึ้น 
หน่วยงานรัฐและเอกชนที่อวดอ้างว่าป้องกันและรักษาได้จริงควรลงไป "สำแดงฤทธิ์"
ก่อนที่จะสายเกินแก้...!!!


***คอลัมน์ "หน้ายางตายนึ่ง" เปิดกว้างสำหรับเทคนิคการป้องกันและกำจัดหน้ายางตายนึ่งจากทุกภาคส่วน ติดต่อยางเศรษฐกิจ โทรศัพท์ 08-6335-2703
จาก นิตยสารยางเศรษฐกิจ ฉบับ 11 เดือนกุมภาพันธ์ 2555 หน้า 84-87

4 ความคิดเห็น

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ปุ๋ยขี้โม้ไบโอพลัส


    อินทรีย์ฮอร์โมนสำหรับพืช สูตรเข้มข้น ช่วยแก้ปัญหายางหน้าตายหาย 100%

    ช่วยแก้ปัญหาหน้ายางตายนึ่ง ช่วยกำจัดเชื้อราในท่อน้ำยาง ทำให้น้ำยางไหลดี
    ช่วยบำรุงต้นยาง ,ข้าว,มัน,ข้าวโพด,อ้อย,ปาล์ม,และพืชผักทุกชนิด ให้ได้ผลผลิตมาก
    ช่วยป้องกันแมลงและศัตรูพืช ด้วยวิธธรรมชาติ ไม่มีสารเคมี
    ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี 50-80%
    ไม่มีสารเคมี ไม่เป็นอันตราย
    วิธีใช้

    1 ฝาต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นที่ลำต้นและใบ
    7วันต่อครั้ง ให้ครบ4ครั้ง
    หลังจากนั้นให้ฉีด เดือนละ1ครั้ง
    ตอนนี้กำลังเป็นที่ต้องการของเกษตรกรเพราะใช้แล้วได้ผล 100% หากไม่ได้ผลเราคืนเงิน 200%ครับ
    ติดต่อกลับมาที่ โทรศัพท์ 095-742-3495 คุณ ณัฐวุธ aekkasarn@gmail.com ครับ

    ตอบลบ
  3. เชิญชมวีดีโอผลงานการแก้หน้ายางตายนึ่ง ตามลิ้งค์ด้านล่างครับ

    http://www.youtube.com/watch?v=S9vmfKePDX4
    http://www.youtube.com/watch?v=qllRWe8QLEA

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณข้อมูลดีๆ ครับ

    จะเข้ามาอ่านบ่อยๆ เพื่อนำเอาความรู้นี้ไปเผยแพร่ต่ออีกทีครับ ที่

    http://para-buy.blogspot.com/

    เล่าเรื่องของคนทำสวนยาง ครับ

    ตอบลบ

Random Posts

randomposts