์News

์News

สวนยางอัดแก๊สเอทธิลีน Let-I ต้นยางโตไว เพื่อผลผลิต 2 เท่า ที่สุราษฎร์ฯ

 แม้ว่าการใช้ “แก๊สเอทธิลีน” เร่งผลผลิตในต้นยาง จะมีข้อจำกัด ต้องใช้กับต้นยางอายุ 15 ปีขึ้นไป
เป็น “กฎเหล็ก”  แต่ก็มีเกษตรกรชาวสวนยาง “แหกกฎ” นำมาใช้กับต้นยางอายุน้อยกว่านั้น เช่น 11 ปี หรือเปิดกรีดมาแล้วประมาณ 4-5 ปี 

ยิ่งไปกว่านั้นยังมีเกษตรกรหลายราย “บ้าดีเดือด” ใช้กับต้นยางเปิดกรีดใหม่...!!!

ข้อมูลการใช้แก๊สเอทธิลีนกับยางเล็กหรือยางเริ่มเปิดกรีด ผู้เขียนและทีมงานยางเศรษฐกิจพยายามใช้ความระมัดระวังอย่างสูงในการนำเสนอ เพราะอาจเป็นแบบอย่างให้เกษตรกรรายอื่นนำไปทำ และนำพาความสูญเสียมาเยือน


หากแต่ทุกครั้งที่จะหยิบยกขึ้นมานำเสนอในหน้านิตยสารสิ่งที่ผู้เขียนยึดมั่นคือ ต้องเป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้าทำแล้วประสบความสำเร็จ เพิ่มผลผลิตได้จริงโดยที่ต้นยางไม่มีปัญหา พร้อมกับข้อมูลรอบด้านและขั้นตอนการทำอย่างถูกวิธี

เพราะผู้เขียนเชื่อมั่นว่า ชาวสวนยางเองมีวิจารณญาณสูงในการเก็บข้อมูล และมีการทดลองก่อนตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนก่อนนำไปใช้ ผู้เขียนจึงกล้าที่จะนำเสนอเรื่องนี้

เช่นเดียวกับฉบับนี้ ผู้เขียนเดินทางไปยัง อ.บ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อไปดูสวนยางพาราที่เริ่มใช้เอทธิลีนเพิ่มผลผลิตยางมาเป็นเวลากว่า 12 ปี จนแทบจะกลายเป็น “เพื่อนสนิท” กับการทำสวนยางระบบนี้เป็นอย่างดี มีความชำนาญจนกล้าพอที่จะใช้เอทธิลีนกับยางเพิ่งเปิดกรีด

ภาพยางต้นเริ่มเปิดกรีดตั้งแต่ อายุ 5 ปีครึ่งโดยใช้แก๊สเอทธิลีน เร่งน้ำยาง 3 เท่า 4 เท่า ทำอย่างนี้ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 คงจะทำให้จินตนาการถึงต้องยางผอมเกร็ง และโทรมจากการรีดน้ำยางอย่างหนัก 

แต่ภาพจริงต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะต้นยางที่ว่า ต้นใหญ่ ใบเขียวสมบูรณ์ ขณะที่น้ำยางออกมามากค่อนถ้วย
เมื่อเปรียบเทียบกับต้นยางที่ปลูกระยะเวลาใกล้เคียงกัน แต่ทำระบบปกติ ขนาดต้นและผลผลิตต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

นั่นหมายความว่าเอทธิลีน หาใช้สารไฮสปีดเร่งน้ำยางเพียงอย่างเดียว หากแต่มีประโยชน์ ให้คุณแก่สวนยาง ไปพร้อมๆ กัน


“ผมเริ่มทำสวนยางอัดแก๊สมา 12 ปี โดยประมาณ” สมคิด โพธิ์เพชร เจ้าของสวนยางใน จ.สุราษฎร์ธานี พูดถึงในการใช้แก๊สเอทธิลีนในสวนยาง ซึ่งสะท้อน “ชั่วโมงบิน” หรือประสบการณ์ของเขาเป็นอย่างดี

“เมื่อก่อนก็ไม่กล้าใช้ เขาบอกใช้แล้วต้นยางจะตาย เขาใช้กันตอนต้นยางใกล้โค่นเพื่อเร่งน้ำยาง” สมคิดเองก็มีจุดเริ่มต้นด้วยความกลัว เพราะคำบอกเล่าเช่นเดียวกับเกษตรกรทั่วไป
สมคิด โพธิ์เพชร เจ้าของสวนยางใน จ.สุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ 08-7465-2988
 แต่ความคิดของเขาเริ่มเปลี่ยนเมื่อได้ลองใช้แก๊สเอทธิลีนกันยางแก่ใกล้โค่น เห็นปริมาณน้ำยางที่ออกมามากกว่าปกติ ก่อนจะเริ่มศึกษาคุณสมบัติของเอทธิลีนและการใช้กับต้นยางมาอย่างต่อเนื่อง จนกล้าพอที่จะใช้กับต้นยางหนุ่มอายุ 12 ปี เปิดกรีดมาแล้ว 4-5 ปี

เขาเลือกใช้อุปกรณ์ติดตั้งเอทธิลีน และแก๊สเอทธิลีน “ยี่ห้อ เลท ไอ” เพราะมีราคาไม่สูงมาก สามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเอง เพียงแค่ตอกลงไปกับเปลือกยางและอัดแก๊สเข้าไปเท่านั้น ขณะที่อุปกรณ์ค่อนข้างทน อยู่ได้นานหลายปี

ข้อดีของการใช้เอทธิลีนกับต้นยาง เขาบอกว่าทำให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น 3 เท่า ขณะเดียวกันต้นยางกลับสมบูรณ์กว่าต้นยางในพื้นที่เดียวกัน ใบจะเขียวครึ้มทั้งสวน ขณะที่สวนใกล้เคียงที่ไม่ใช้แก๊สใบร่วงบ้าง ไม่สมบูรณ์บ้าง

“เพราะเอทธิลีนมีความจำเป็นต่อต้นยาง และสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ แต่เนื่องจากเมื่อทำเป็นสวนยางจะมีการกรีดเอาน้ำยางอย่างต่อเนื่อง จนต้นยางผลิตเอทธิลีนขึ้นมาทดแทนไม่ทัน”

แต่เมื่อมีการเติมเอทธิลีนในรูปของแก๊สเข้าไปในต้นยาง ปริมาณน้ำยางจึงสูงขึ้น เพราะระยะเวลาการไหลของน้ำยางนานขึ้น  ปริมาณน้ำยางจึงไหลเกือบเต็มถ้วย

คำถามคือต้นยางใบเยอะดีอย่างไร...???

“เมื่อต้นยางมีใบเยอะ ก็เปรียบเสมือน “โรงครัว” ปรุงอาหารของต้นยาง จากนั้นจะถูกส่งกลับไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างของต้นยาง และผลิตน้ำยางได้ปริมาณมาก”

จากการใช้เอทธิลีนกับยางแก่และยางหนึ่ง ทำให้ค้นพบว่า การใช้เอทธิลีน เมื่อก่อนอาจจะใช้ก่อนโค่น เร่งน้ำยางในช่วงลมหายในสุดท้าย แต่ปัจจุบันการใช้เอทธิลีนกลับเป็น “ยาอายุวัฒนะ” คือ ยืดอายุต้นยางเพิ่มมากขึ้น เพราะระบบกรีดในต้นยางอัดแก๊สจะใช้วิธีกรีดยางหน้าสูงและหน้าสั้น

หน้าสูงก็คือ ส่วนบนจากหน้ายางปกติ ซึ่งมีพื้นที่จำนวนมาก และเปลือกยางยังบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่เคยต้องคมมีดมาก่อน
ขณะที่ความกว้างของหน้ายางจะลดลงมาเหลือ แค่ 8 นิ้ว เท่านั้น หรือประมาณ 4-5 ส่วน ของต้น เมื่อยางหน้าสั้นลง จึงประหยัดหน้ายาง และมีเวลากรีดยาวนานขึ้น ขณะที่ปริมาณยางสูงขึ้น

“ยางหน้าสั้นยังลดความเสี่ยงเรื่องโรคหน้ายาง โดยไม่จำเป็นต้องทายาป้องกันหน้ายางหลังกีดเลย  เปลือกใหม่ที่งอกใหม่จะหนามากกว่าปกติอีกด้วย”

พื้นที่หน้ายางส่วนบนนี้น่าจะกรีดได้ไม่ต่ำกว่า 4-5 ปี

ระหว่างกรีดยางจากหน้าบน หน้ายางด้านล่างที่ผ่านการกรีดมานาน จะมีเวลาพักตัว และสร้างเปลือกยางอย่างน้อย 4-5 ปีเช่นกัน เมื่อยางหน้าบนหมด จึงลงกลับมากรีดหน้าปกติได้

อย่างส่วนยางแปลงหนึ่งของเขาที่ทีมงานมาดู เป็นยางพันธุ์ RRIM 600 อายุประมาณ 16 ปี กรีดมาร่วม 10 ปี แต่หน้ายางยังสมบูรณ์อยู่เลย เปลือกงอกใหม่เร็วและเรียบ ไม่เกิดแผลปุ่มโปนใดๆ

“ใช้แก๊สแล้วน้ำยางเพิ่ม ต้นยางสมบูรณ์ ของยังยืดอายุกรีดยางได้นาน”

ส่วนปริมาณน้ำยางที่เพิ่มสูงขึ้น เห็นได้ชัดเจนจากถ้วยรองน้ำยางที่ใช้ เป็นกระป๋อง 4 เหลี่ยม ขนาดความจุ 2 ลิตร ถ้าทำน้ำยางเก็บน้ำยางต้นหนึ่งจะได้น้ำยางประมาณ 0.5-1 ลิตร หรือครึ่งกระป๋อง แต่ถ้าทำขี้ยาง กรีดประมาณ 2-3 มีดก็เต็มถ้วย 2 ลิตรแล้ว ทั้งนี้แล้วแต่ความสมบูรณ์ของยางแต่ละต้น

ส่วนการดูแลต้นยาง สมคิดบอกว่า ไม่ได้พิเศษกว่าสวนยางทั่วไปมากนัก แค่ที่สำคัญคือ ต้องให้อย่างเคร่งครัด คือ ปีละ 2 ครั้ง โดยใช้ปุ๋ยผสมผสานระหว่างปุ๋ยเคมีกับอินทรีย์ แต่จะเน้นอินทรีย์เป็นหลัก อัตราส่วน 4 ต่อ 1 หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ 4 กระสอบ ปุ๋ยเคมี 1 กระสอบ /ไร่ ใส่ปีละ 2 ครั้ง

ขณะที่การอัดแก๊สเอทธิลีน จะอัดครั้งละ 20 ซีซี ต่อการกรีด 3 ครั้งหรือ 3 มีด ในหนึ่งเดือนมีต้นทุนเอทธิลีนเพียงเดือนละ 500 บาทเท่านั้น

“ยางแปลงนี้มีต้นยาง 700 ต้น แบ่งลูกน้องแล้วเหลือเงิน 25,000 บาท/เดือน” เขาบอกรายได้หลักหักต้นทุน

 หากแต่เขาก็หาวิธีการลดต้นทุนมาอย่างต่อเนื่อง เห็นได้ชัดเจนคือ ถุงเก็บเอทธิลีน เขาจะเปลี่ยนมาใช้หลอดไซลิงค์ หรือหลอดเข็มฉีดยา แทนถุง โดยให้เหตุผลว่า ปกติถุงเมื่อนำไปติดตั้งกับต้นยางมักจะมีปัญหา แมลงมากัดทำลายถุงจนรั่ว ต้องเปลี่ยนอยู่บ่อย จึงหันมาใช้หลอดไซลิงค์แทน เพราะแมลงกันทำลายยาก และสะดวกในการอัดแก๊สเข้าต้นตามปริมาณที่กำหนด เพราะหลอดจะมีตัวเลขวัดปริมาณชัดเจน

นอกจากข้อดีด้านความประหยัดและทนทานแล้วเมื่อใช้ไซลิงค์จะกำหนดปริมาณแก๊สได้แน่นอน ปกติแก๊ส 1 กระป๋องถ้าไม่มีเครื่องวัดอัดได้ประมาณ 100 ต้นเท่านั้น แต่เมื่อใช้ไซลิงค์อัดต้นละ 20 ซีซี จะได้ถึง 200 กว่าต้น ประหยัดและคุ้มค่าอย่างเห็นได้ชัด


“แก๊สที่อัดจากกระป๋องไปเก็บไว้ในหลอดไซลิงค์ จะค่อยๆ ซึมผ่านไปทางหัวตอก และซึมเข้าทางเปลือกยาง มันจะทำให้ท่อน้ำยางเปิด และไหนได้นานขึ้น 8-12 ชั่วโมง โดยไม่เป็นอันตรายกับต้นยาง”


แต่ปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้เทคนิคนี้เพิ่มผลผลิตยางปฏิบัติอย่างเคร่งครัดคือ เว้นระยะกรีดยางนานกว่าปกติ คือ 1 วันเว้น 2 วัน แต่ เกษตรกรมักจะ “ขาดวินัย” มักจะกรีดยางตามปกติ เพราะปัจจัยรุมล้อมรอบด้านบีบบังคับ

“เกษตรกรมักจะเข้าใจว่าหน้ายางสั้นน้ำยางจะออกเยอะได้อย่างไร จึงกรีดยาวกว่าเดิม วันกรีด ต้องหยุด 2 วัน ชาวบ้านมองว่ามันนานเกิน ก็หยุดวันเดียว ตรงนี้สำคัญมาก”

ใช้แก๊สเอทธิลีนกับต้นยางอายุ 5 ปีครึ่ง...!!!

สมคิดเล่าว่า เมื่อ 4 ปีที่แล้วเขาตัดสินใจใช้แก๊สเอทธิลีนกับต้นยางอายุ 5 ปีครึ่ง แต่อายุเท่านี้ขนาดต้นใหญ่กว่า 50 ซ.ม.ทุกต้น เพื่อทดลองว่าจะได้ผลหรือไม่


แต่จะไม่ใช่วิธีการตอกหัวอุปกรณ์ลงไปในเปลือก ใช้วิธีติดและใช้ยางในรถจักรยานรัดให้แน่น แล้วทากาวรอบๆ หัวตอกให้ติดกับต้นยาง วิธีนี้เขาบอกว่าจะช่วยให้แก๊สไม่ซึมรั่วออกมา และที่สำคัญไม่ทำให้เปลือกยางเสียหาย เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่เปลือกค่อนข้างบาง


“ตอนที่ผมตัดสินใจใช้เอทธิลีนกับต้นยางอายุ 5 ปีครึ่ง ซึ่งผ่านการตรวจของ สกย.แล้ว เขาจะให้ผมเพิ่มอีก 1 ปี ไร่ละ 1,000 บาท แต่ผมไม่เอา อยากทดลองใช้แก๊ส แต่ต้นยางผมได้ขนาด 50 ซ.ม.ทุกต้น”

เขาบอกว่าต้นยางที่จะใช้ต้องมีขนาด 50 ซ.ม.ขึ้นไป ถ้าเล็กกว่านี้ปริมาณน้ำยางที่ได้อาจจะไม่คุ้มค่ากับต้นทุนการติดตั้งเอทธิลีน


ผลลัพธ์หลังจากนั้นต้นยางก็โตปกติไม่แคระแกร็น แต่จะโตกว่าสวนยางปกติที่ปลูกเวลาใกล้เคียงกันอย่างเห็นได้ชัด เพราะการกรีดไม่จำเป็นต้องกรีดเปลือกหนา และยาว ทำอย่างนี้ต้นยางไม่ได้รับผลกระทบมาก แต่ถ้ายางเล็กแล้วกรีดครึ่งต้น อย่างไรต้นยางก็ชะงักแน่นอน ขณะที่ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันยางแปลงนี้อายุ 9 ปี
            
เมื่อพิสูจน์แล้วว่าแก๊สเอทธิลีนเพิ่มผลผลิตได้จริง แล้วต้นทุนการติดตั้งชุดอุปกรณ์ และแก๊สเอทธิลีน เป็นอย่างไร คุ้มค่าหรือไม่ สมคิดอธิบายว่า ชุดอุปกรณ์ราคาประมาณ 25 บาท แต่อยู่นานหลายปี

“อย่างของผม 10 ปี ยังใช้ได้อยู่เลย”


นอกจากนั้นยังมีถังรองน้ำยางขนาด 2 ลิตร ราคา 12 บาท  รวมต้นทุนทั้งหมดประมาณ 37 บาท /ต้น


ส่วนแก๊สเอทธิลีน เขาบอกว่าถูกมาก (กระป๋องละ 68 บาท)  ต้นทุนเพียงต้นละไม่กี่สตางค์ต่อต้น  อย่างสวนยางแปลงหนึ่ง มี ต้นยาง 700 ต้น ต้นทุนเอทธิลีนเพียงเดือนละ 500 บาท

“คุ้มค่าแน่นอน เพราะปริมาณน้ำยางออกมาอย่างน้อย 2 เท่า มากกว่าสวนยางปกติ อย่างตอนนี้ขี้ยางราคา 20 กว่าบาท ถ้าปกติยางต้นหนึ่งได้ขี้ยาง 1 กก. ขายได้เงิน 20 กว่าบาท แต่ของผมออกมา 2 กก. ได้เงิน 40 กว่าบาท จะไม่คุ้มได้อย่างไร

“ปัญหาเดียวของเขาคือ เรื่องฝน ต่อให้มีเทคนิคเพิ่มผลผลิตดีอย่างไร ได้ยางเยอะอย่างไร ราคาดีอย่างไร ฝนตกอย่างเดียวก็จบ แต่ถังรองน้ำยางขนาดใหญ่ยังพอจะช่วยได้ เพราะเมื่อฝนตกหลังจากกรีดยาง ยังจะมีน้ำยางเหลืออยู่ในถัง ช่วยได้ระดับหนึ่ง”

ข้อดีอีกอย่างของการใช้ทำสวนยางเอทธิลีน คือ ใช้คนงานน้อยลง เพราะทำขึ้นยางไม่ต้องเก็บยางทุกวัน และกรีดยางเพียงเดือนละ 10 วันเท่านั้น กรีดยางตอนเย็น 2 ทุ่มก็นอนสบายแล้ว
“สวนยาง 50 ไร่ ใช้คนแค่ 2 คนเท่านั้น ได้เงินรวมกัน 35,000 บาท สัดส่วน 70 : 30 สัดส่วนน้อยกว่าสวนยางปกติ แต่ได้ส่วนแบ่งสูงกว่า ทำงานน้อยกว่า คนงานเองก็ชอบ เขาจะมีเวลาทำงานอย่างละเอียด และไม่อยากไปทำสวนยางปกติอีกเลย”

ติดต่อสอบถามผลิตภัณฑ์ได้ที่
หจก.ไอทีรับเบอร์ โทรศัพท์ 08-1969-2908, 0-7328-6156-7

ข่าวดี ช่วงโปรโมชั่นเพื่อชาวสวนยาง อุปกรณ์ Let-I ราคาชุดละ 25 บาทเท่านั้น ฮอร์โมนเอทธิลีนกระป๋องละ 68 บาท ราคาพิเศษทั่วประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น

Random Posts

randomposts