คำแถลงข่าว
โดย สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(สร.กสย.)
เรื่อง ปัญหาร่าง พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย
ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ
18
กันยายน 2555 ณ อาคาร 50 ปี สกย. กรุงเทพฯ
------------------------------------------------------------------
พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย
เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ หลายสมัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา แต่ในที่สุด ก็ไม่บรรลุผลจนถึงปัจจุบันได้มีการนำเสนอร่างพ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทยหลายฉบับเข้าสู่การพิจารณา
โดยทุกฉบับ ที่มีผู้นำเสนอนั้น การยางแห่งประเทศไทยเป็นองค์กรประเภทรัฐวิสาหกิจ
ซึ่งสามารถทำหน้าที่บริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบครบวงจร
โดยรวมภารกิจของ 3 หน่วยงาน ได้แก่
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) และสถาบันวิจัยยาง
(สวย.) เข้ามาอยู่ในชื่อ “การยางแห่งประเทศไทย” (กยท.) ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านวาระ 1
ของการประชุมสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ต่อมา สภาฯ ได้ตั้งกรรมาธิการขึ้นมา 1 ชุด
เพื่อทำหน้าที่พิจารณาเป็นรายมาตรา จนถึงขณะนี้ได้พิจารณาถึงมาตรา 16 ปัญหา คือ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางได้ทราบข้อมูลมาว่าในการพิจารณามาตรา7
นายวิทย์ ประทักษ์ใจ ผอ.สกย. ได้นำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมาธิการให้เปลี่ยนรูปแบบองค์กรจากรัฐวิสาหกิจเป็นองค์การมหาชน ซึ่งในที่สุด ผลการประชุมคณะกรรมาธิการเมื่อวันที่
9 สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการได้ลงมติให้ กยท. เป็นองค์การมหาชน
ซึ่งส่งผลกระทบต่อพี่น้องชาวสวนยางกว่า 6 ล้านคน
พนักงานและลูกจ้าง ในส่วนของ สกย. กว่า 2,000 คน และพนักงาน ลูกจ้างขององค์การ สวนยางกว่า 900 คน
นายวิทย์ ประทักษ์ใจ
หากย้อนกลับไปดูในข้อกฎหมาย การจัดทำ พ.ร.บ. หรือ พ.ร.ฎ. นั้น จะต้องมีการจัดทำความเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ในภารกิจที่จะจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน โดยเสนอหลักฐานของการสำรวจความคิดเห็น หรือการจัดประชุมสัมมนา หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงถึงความเห็นที่เป็นทางการของผู้มีส่วนได้เสีย จึงทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสหภาพแรงงานฯ ในฐานะตัวแทนพนักงานกับนายวิทย์ ประทักษ์ใจ (ผอ.สกย.) และนอกจากนี้ ในเรื่องของการบริหารจัดการองค์กร นายวิทย์ ประทักษ์ใจ ยังสร้างความล้มเหลวในอีกหลายประเด็น ดังนี้
หากย้อนกลับไปดูในข้อกฎหมาย การจัดทำ พ.ร.บ. หรือ พ.ร.ฎ. นั้น จะต้องมีการจัดทำความเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ในภารกิจที่จะจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน โดยเสนอหลักฐานของการสำรวจความคิดเห็น หรือการจัดประชุมสัมมนา หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงถึงความเห็นที่เป็นทางการของผู้มีส่วนได้เสีย จึงทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสหภาพแรงงานฯ ในฐานะตัวแทนพนักงานกับนายวิทย์ ประทักษ์ใจ (ผอ.สกย.) และนอกจากนี้ ในเรื่องของการบริหารจัดการองค์กร นายวิทย์ ประทักษ์ใจ ยังสร้างความล้มเหลวในอีกหลายประเด็น ดังนี้
1.
นำเสนอแต่งตั้งพนักงานระดับ
9 ต่อที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ ไม่โปร่งใส ไม่เป็นธรรม ไม่เป็น ไปตามระเบียบ หลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยนำเสนอข้อมูลเท็จ
เสนอบุคคลที่ขาดคุณสมบัติต่อคณะกรรมการสรรหาฯ และ ก.ส.ย.
เป็นผลให้มีการแต่งตั้งบุคคลที่ขาดคุณสมบัติเข้ามาดำรงตำแหน่ง
2.
นายวิทย์ฯ
ได้ออกหนังสือสั่งการลดสภาพการจ้างเรื่องค่ารักษาพยาบาล ตามข้อบังคับฯ
ว่าด้วยเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
พ.ศ. 2543 แต่ฝ่ายเดียว
โดยไม่ได้รับความยินยอมจากพนักงาน
ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
3.
ในฐานะผู้นำสูงสุดขององค์กร นายวิทย์ฯ
ไม่เคยให้ความสำคัญกับขวัญและกำลังใจของพนักงานจังหวัดชายแดนใต้ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบจากการก่อการร้าย
ทั้งกรณีที่สำนักงานฯ ถูกเผา วางระเบิด ถูกยิงจากผู้ก่อการร้าย ไม่เคยเดินทางไปดูแลเยี่ยมปลอบขวัญพนักงานแม้แต่ครั้งเดียว
อีกทั้งไม่เร่งรัดติดตามผลักดันเงินเสี่ยงภัย
ทั้งที่พนักงานควรจะได้รับตั้งแต่เดือนตุลาคม
2553 โดยนายวิทย์ฯ ไม่นำเสนอเรื่องให้
กสย. พิจารณาในขณะนั้น
4.
นายวิทย์ฯ สร้างปัญหาให้กับองค์กร
ในเรื่องความไม่โปร่งใสในการบริหารจัดการองค์กรจนปัจจุบันได้มีคำสั่ง จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ดำเนินการสอบข้อเท็จจริงและหาผู้รับผิดทางละเมิดในประเด็นดังต่อไปนี้
4.1 ความไม่โปร่งใสในการจัดจ้างทำป้ายพร้อมกรอบไวนิลและตู้กล่องไฟในทุกสำนักงานจังหวัด
4.2 ความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อรถยนต์โดยสารขนาด
12 ที่นั่ง จำนวน 4 คัน
4.3 ความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อรถยนต์โดยสารขนาด
11 ที่นั่ง เพื่อทำรถรับรอง ซึ่งขัดกับมติ ค.ร.ม.
5. นายวิทย์ฯ ได้นำรถยนต์สำนักงานฯ เลขทะเบียน ศข 4702 ไปใช้ส่วนตัว จนเกิดความเสียหายตั้งแต่
พฤศจิกายน 2554 จนถึงปัจจุบัน แล้วไม่แสดงความรับผิดชอบ ทั้ง ๆ
ที่ดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดขององค์กร แต่กระทำพฤติกรรมที่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับขององค์กร
ถือได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในฐานะผู้นำองค์กร
6.
นายวิทย์ฯ ในฐานะผู้นำสูงสุดขององค์กร ขาดความโปร่งใสในการบริหารจัดการจัดซื้อปุ๋ยเคมี
จำนวน 30,000 ตัน ซึ่งสำนักงาน ปปช. ได้มีหนังสือให้ทำการชี้แจงข้อเท็จจริง
ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง
7. อนุมัติจ่ายเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่งของผู้บริหาร
สกย.
โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและยังให้ข้อมูลที่เป็นเท็จต่อคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางในคราวประชุมครั้งที่
3/2553 วันที่ 27
พฤษภาคม 2553 ว่าการอนุมัติเงินค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นอำนาจของ สกย.
8. ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบโครงการปลูกยาง 8 แสนไร่
แต่ไม่สามารถทำให้โครงการดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์เป็นผลให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆโดยไม่เกิดประโยชน์
รวมทั้งต้องเสียเวลาในการปลูกยางพาราออกไปอีกหลายปี
นอกจากนี้ นายวิทย์ ประทักษ์ใจ ยังขาดคุณสมบัติในการสมัครเพื่อคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่ง
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ข้อ 2.2.1
ตามประกาศคณะกรรมการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง
รับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์ การทำสวนยาง ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวเป็นสาระสำคัญที่ สกย.
ได้กำหนดขึ้นเป็นครั้งแรก กล่าวคือ
ก่อนมาสมัครผอ.สกย.นายวิทย์ดำรงตำแหน่ง
ผู้อำนวยการสำนักงานสันนิบาตสหกรณ์
ซึ่งสันนิบาตสหกรณ์ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐทั้งประเภท ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ
องค์การมหาชน
หรือหน่วยงานอื่นของรัฐแต่เป็นองค์กรเอกชนโดยมีรายได้ของกิจการไม่ถึง 200 ล้านบาทต่อปี ซึ่งขาดคุณสมบัติตามที่กล่าวมา
สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ในฐานะเป็นองค์กรซึ่งเป็นตัวแทนพนักงาน สกย. ทุกคน
จะต้องปกป้องเงินทุกบาททุกสตางค์ของพี่น้องชาวสวนยาง
และคุ้มครองพิทักษ์สิทธิประโยชน์พนักงานให้ได้รับ ความเป็นธรรม
จึงขอเรียกร้องให้นายวิทย์ ประทักษ์ใจ
แสดงความรับผิดชอบในการกระทำผิดตามข้อบังคับฯ
ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของผู้อำนวยการและพนักงาน สกย. พ.ศ. 2553
“การยางแห่งประเทศไทย
ควรเป็นรัฐวิสาหกิจเท่านั้น
เพื่อรองรับการให้บริการพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางอย่างครบวงจร”
คำแถลงข่าว
โดย สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(สร.กสย.)
เรื่อง ปัญหาร่าง พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย
ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ
18
กันยายน 2555 ณ อาคาร 50 ปี สกย. กรุงเทพฯ
------------------------------------------------------------------
ตั้งแต่เกิดวิกฤต 2
ประการ สร.กสย.ได้ติดตามข้อมูล ตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวเพื่อรักษาผลประโยชน์ของ
สกย. ตามที่กฎหมายให้อำนาจ
ขณะเดียวกันในฐานะที่เป็นพนักงานสกย.เรามีความเป็นห่วงชาวสวนยางซึ่งสกย.ทำงานผูกพันกับชาวสวนยางเหมือนที่น้องมามากกว่า
50 ปีเรามีความจริงใจให้กับพี่น้องชาวเกษตรกรที่จะได้รับผลกระทบในวงกว้างจากการบริหารงาน
สกย.ที่ผิดพลาดของนายวิทย์ ประทักษ์ใจ
ในเรื่องดังกล่าวนี้
สร.กสย.ได้ดำเนินการ ดังนี้
1.
ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายณัฐวุฒิ
ใสยเกื้อ) ในฐานะประธานกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางขอให้พิจารณาทบทวนร่าง
พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ....ที่มิให้ กยท. เป็นรัฐวิสาหกิจ
ไม่ให้อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายแรงงาน
และให้พิจารณาความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งผอ.สกย.ของนายวิทย์ฯ
2.
ได้ยื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมาย พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ... สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาทบทวนการแก้ไขร่างชี้แจงให้พนักงานพ.ร.บ.
การยางแห่งประเทศไทย มาตรา 7 และเพิ่มเติมมาตรา 8/1
3.
ได้ชี้แจงให้พนักงานและลูกจ้างของสกย.ทั่วประเทศทราบถึงผลกระทบที่จะได้รับจาก การปรับเปลี่ยนแก้ร่างกฎหมาย
4.
ได้ทำความเข้าใจกับเกษตรกรชาวสวนยางในเวทีเสวนาให้รับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กร
กยท.
5. สร.กสย. ได้พยายามเจรจากับผอ.สกย. (นายวิทย์)
แล้วไม่เกิดผล เนื่องจาก นายวิทย์ไม่มี ความจริงใจ ปกปิดข้อมูล
ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จแก่พนักงานลูกจ้าง
ทั้งนี้พยายามแยกพนักงาน ลูกจ้างออกเป็น 2 ฝ่าย
จากเหตุข้างต้น
สร.กสย.จำเป็นต้องเคลื่อนไหวเพื่อรักษาสถานะองค์กรให้เป็นที่พึ่งของพี่น้องชาวสวนยาง
6 ล้านคนทั่วประเทศ โดยปัญหานี้จะคลี่คลายได้นั้นมี 2 กรณี คือ
1. นายวิทย์ ประทักษ์ใจ ต้องลาออกเท่านั้น
2. ต้องแก้ไขมาตรา
7 กลับไปเป็นดังเดิม และตัดมาตรา 8/1 ทิ้ง
อนึ่ง สร.กสย.
ไม่ได้คัดค้านการจัดตั้ง กยท. แต่คัดค้านการจัดตั้งการยางแห่งประเทศไทยในรูปแบบองค์การมหาชน
และเฉพาะบางมาตราที่มีผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยาง พนักงาน และ ลูกจ้าง
ขอขอบคุณ และขอความร่วมมือ
เพื่อนสื่อมวลชนให้ช่วยกันเผยแพร่ข้อเท็จจริงให้ทุกฝ่ายได้รับทราบ
เพราะหากเรื่องนี้มีผลออกมา จะเกิดความเสียหาย
ไม่มีความคิดเห็น