์News

์News

เรียกน้ำยาง ฉบับ 14/2555

เรียกน้ำยาง ฉบับ 14/2555




นิตยสารยางเศรษฐกิจ ฉบับ 14/2555
___________________________________________________________________
เรียกน้ำยาง
เรื่อง : อินทรีทนง

นิตยสารยางเศรษฐกิจ ฉบับที่ 14 ประจำเดือนพฤษภาคม 2555
            เรื่องร้อนๆ ในวงการยางยังคงอัดแน่นอยู่ในคอลัมน์นี้เหมือนเดิม...!!!
***ได้รับสัญญาณไฟไปแล้วครึ่งตัว สำหรับ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย...???
 หลังจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ “ฉบับร่าง” ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำเสนอไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนในสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น
คาดการณ์ว่าน่าจะผ่านฉลุย
            พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นการรวมอำนาจการบริหารจัดการของ 2 องค์กรยางรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) และ องค์การสวนยาง กับอีก 1 หน่วยงานรายการคือ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร รวมทั้ง 3 หน่วยงานเป็นหน่วยงานเดียวชื่อ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
            ทั้งนี้เพื่อให้การกำหนดนโยบายตลอดจนการดูแลบริหารจัดการยางพาราให้มีเอกภาพมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากที่ 3 หน่วยงานแยกกันเดินแต่มีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ พัฒนาอุตสาหกรรมยางไทย
            ส่วนเนื้อหาสาระของร่าง กยท.  “อินทรีทนง” หยิบประเด็นหลักๆ ดังต่อไปนี้
            กำหนดให้ กยท. เป็นนิติบุคคล พร้อมกับทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการยางพาราของประเทศนี้ทั้งระบบและครบวงจร
บริหารจัดการเกี่ยวกับการเงินกองทุนพัฒนายางพารา ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น
             กำหนดให้เกษตรกรชาวสวนยางที่ประสงค์จะขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทนตาม พ.ร.บ.นี้ ให้ยื่นคำขอตามแบบและวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด และในกรณีที่ผู้ขอรับมีการปลูกแทนเป็นผู้ทำสวนยางในที่ดินเช่า ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เช่าและผู้ให้เช่า
            กำหนดให้มีการตั้ง “กองทุนพัฒนายางพารา” ขึ้น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนายางพารา โดยการกำหนดให้บุคคลซึ่งส่งออกยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียค่าธรรมเนียมให้ (กยท.) และให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งก็คือการจัดเก็บเงินเซสส์นั่นเอง
            ทั้งนี้ยังมีบทเฉพาะกาล กำหนดให้โอนบรรดากิจการ เงิน ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน ภาระผูกพันและงบประมาณของ 3 หน่วยงานเดิมรวมทั้งพนักงานและลูกจ้าง มาเป็นของ กยท. ทั้งหมด
            นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมต.ช่วยเกษตรฯ ออกมาให้ข่าวว่าองค์กรยางแห่งนี้จะดำเนินงานอย่างอิสระเพื่อให้การผลิตและการใช้ยางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับบอกว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมยางทั้งระบบ และเขาเองจะดันให้เป็นรูปธรรมเต็มตัว เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายเพิ่มรายได้จากยางพาราของประเทศปีละ 1 ล้านล้านบาท ในปี 2556
            แม้จะมีการพูดกันในวงกว้างว่านี่คือการ “ชุบมือเปิด” ของ “ร.ม.ต.เต้น” หลังจากที่มีการร่างและเสนอ พ.ร.บ.นี้กันมานานตั้งแต่รัฐบาลทักษิณ หาใช่เป็นแนวคิดที่ไหลมาจากมันสมองของเขาแต่อย่างใด
            แต่ถ้ามองกันแบบไม่รักหรือเกลียดชัง ก็ต้องยอมรับว่าเป็นผลงานของณัฐวุฒิ ในมิติของการเอาจริงเอาจังในเรื่องการผลักดันจนขึ้นฝั่งได้สำเร็จ หลังจากที่ทุลักทุเลมาโดยตลอด
จนมีการคาดการณ์กันว่า พ.ร.บ.การยางฯ ชาตินี้ก็ไม่เกิด...!!!
จนที่สุดร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวก็ผ่านการอนุมัติจาก ครม. ซึ่งขั้นตอนต่อไปคือการเข้าพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีการคาดเดาว่าคงผ่านได้ไม่ยากนัก เพราะรัฐบาลมีเสียงท่วมท้น
จึงช่วยไม่ได้ที่ณัฐวุฒิจะหยิบยกเรื่องนี้เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของเขา...ใช่ไม่ใช่...
            แต่ปัญหาใหญ่ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือ องค์กรที่ใหญ่ขึ้นอย่างนี้ มีงบประมาณแต่ละปีมหาศาล โดยเฉพาะรายได้จากหลายทาง เช่น เงินเซสส์ปีละเป็นหมื่นล้าน และธุรกิจอุตสาหกรรมยางหลักหมื่นล้าน/ปี  จะเป็น "บ่อเงินบ่อทอง" ของนักการเมืองหรือเปล่า...???
            และต้องไม่ลืมว่าองค์กรแห่งนี้อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของฝั่งพรรคเพื่อไทยเพื่อทะลวงฐานเสียงที่เป็น “ปมด้อย” มาโดยตลอดอย่าง ภาคใต้
            นี่คือเรื่องที่เกษตรกรกังวลมากที่สุด

***ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asaen Economics Community) หรือ AEC ชื่อนี้ได้ยินค่อนข้างหนาหูในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เพราะเครื่องมือทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนนี้จะมีผลในปี 2558 นี้
            เมื่อถึงตอนนี้ 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียนจะมีระบบเศรษฐกิจเป็นแผ่นเดียวกัน ภาษีกลายเป็นศูนย์ ซึ่งหมายถึงการแข่งขันและการลงทุนในแต่ละประเทศจะง่ายขึ้น
            คำถามก็คือ ประเทศไทยพร้อมแล้วหรือยังสำหรับการแข่งขันนี้...???
            นายสุรเกียรติ เสถียรไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบอกว่า น่าเสียดายที่ประเทศไทยตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้น้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอีก 9 ประเทศ
            ขณะที่นายภูมิธรรม เวชยชัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมให้ความเห็นว่า สถานการณ์ปัจจุบันกำลังสะท้อนอาการป่วยของสังคมไทย ทำให้ไม่ได้ขยับหรือเตรียมพร้อมกับการรวมประชาคมอาเซียน ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญมาก
            ขณะที่เมื่อย่อให้แคบลงมาที่อุตสาหกรรมยางไทยจะได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน...???
            นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ แสดงความกังวลอยู่เรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับการจัดทำยุทธศาสตร์และโรดแม็ปด้านยางพาราของ AEC
            เพราะผู้ร่างโรดแม็ปแทนที่จะเป็นประเทศไทย ผู้ซึ่งผลิตและส่งออกยางมากเป็นเบอร์ 1 ของโลก แต่ไทยกลับรับหน้าที่ทำแผนการท่องเที่ยวและการบิน ปล่อยให้ประเทศมาเลเซียเป็นผู้จัดทำโรดแม็ปด้านยาง ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นเพียงผู้แปรรูปยางเท่านั้น วัตถุดิบส่วนใหญ่ต้องอาศัยจากไทยและอินโดนีเซีย
            การให้ประเทศผู้ใช้ทำโรดแม็บเรื่องยาง โดยที่ผู้ผลิตไม่เข้าไปมีส่วนร่วมเลย จะทำให้เราเสียเปรียบในอนาคตหรือไม่...???
            นายอุทัยย้ำว่าเรื่องนี้หน่วยงานที่เกี่ยวของไทยต้อง “เสนอหน้า” เข้าไปมีส่วนร่วมโดยด่วน
            ก่อนที่จะสายเกินแก้...!!!

*** ขณะที่กลุ่มเกษตรกรในประเทศหลายภูมิภาคก็เริ่มตื่นตัวเรื่อง AEC ไม่น้อยเหมือนกัน
            อย่าง จ.ระยองเป็นต้น...???
            จังหวัดนี้แม้จะมีชื่อเสียงเรื่องการผลิตผลไม้ระดับประเทศ แต่เรื่องยางก็เด่นเช่นกัน เพราะเป็นแหล่งปลูกยางมากที่สุดของภาคตะวันออก
            ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกยาง 744,708 ไร่ มีสถาบันเกษตรกรที่เป็นการรวมตัวกันของเกษตรกรร้อยละ 44% ปริมาณการรวบรวมยาง 17,779 ตัน มูลค่า 1,962 ล้านบาท
            เมื่อเร็วๆ นี้จึงมีการจัดงานสัมมนาขึ้นในหัวข้อ อนาคตยางพาราระยองผ่านช่องทาง AEC เพื่อเพิ่มความรู้เรื่องตลาดยางพารา เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมงานกว่า 26 แห่ง รวม 213 คน
            เรียกว่าทันยุคทันการณ์กันเลยทีเดียว
            ผลของการสัมมนาสรุปแนวทางของกลุ่มเกษตรกรเพื่อยืนหยัดสู้ AEC ได้ กลุ่มเกษตรกรต้องรวมตัวทำตลาดยางในจังหวัดให้มีความเข้มแข็ง
พร้อมๆ กับการเล่นบทผู้แปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า คืออาวุธเพียงชิ้นเดียวที่จะนำไปสู้รบกับ AEC

***เป็นข่าวเล็กๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์ แต่เป็นปัญหาใหญ่ของชาวสวนยาง จ.นราธิวาส...???
            ลำพังแค่เรื่องปัญหาการก่อการร้ายในพื้นที่ ซึ่งนราธิวาสจัดอยู่ใน “พื้นที่สีแดง” ของการก่อการร้ายก็ประสาทจะรับประทานอยู่แล้ว...!!!
            ยังมาเจอปัญหาการส่งมอบปุ๋ยจาก สกย. ล่าช้ากระทืบซ้ำเข้าให้อีก...!!!
            เรื่องนี้แดงขึ้นมาก็เมื่อ “ม็อบปุ๋ยยาง” ที่นำโดย นายแวบือราเฮง แวดือราโอ๊ะ ประธานกลุ่มจ่ายปุ๋ย สกย.นราธิวาส นำตัวแทนกลุ่มผู้จ่ายปุ๋ย 13 อำเภอ รวม 21 กลุ่ม และชาวสวนยางที่ได้รับความเดือดร้อนกว่า 200 คน ชุมนุมกันหน้าสำนักงาน สกย.จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2555 ยื่นหนังสือร้องทุกข์กรณีปุ๋ยถึงมือเกษตรกรล่าช้าถึง รมต.เกษตรฯ
            หัวหน้าม็อบปุ๋ยสะท้อนความเดือนร้อนของชาวสวนยางว่า ปุ๋ยที่ต้องส่งให้ตัวแทนกลุ่มผู้จ่ายปุ๋ย เพื่อกระจายให้ชาวสวนยาง 13 อำเภอ ถึงวันนี้ผ่านไป 1 ปีแล้วยังไม่ถึงมือเกษตรกรเลย ทั้งๆ ที่ถึงฤดูกาลใส่ปุ๋ยแล้ว
ขืนรออีก ต้นยางคงอดปุ๋ย น้ำยางแห้งกันพอดี เสียโอกาสทางเศรษฐกิจมหาศาล
            พร้อมกับขอให้มีการผ่อนปรนให้เกษตรกรสามารถหาซื้อปุ๋ยเพื่อบำรุงต้นยางเองได้
            เรื่องนี้เป็นปัญหาเดียวกับกลุ่มเกษตรกรหลายจังหวัดในภาคใต้ เพราะการส่งมอบปุ๋ยเกิดความล่าช้าไม่ทันต่อการบำรุงของเกษตร เมื่อปีที่แล้ว
            จึงต้องย้อนกลับไปดูว่าเกิดจากปัญหาอะไร...???
            สกย.ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการจ่ายปุ๋ยให้เกษตรกรสวนสงเคราะห์จากที่เคยให้กลุ่มเกษตรจัดซื้อปุ๋ยเอง มาเป็น สกย.จัดหาให้ผ่านระบบการประมูล
แต่มีข่าวสีเทาๆ เมื่อปีที่แล้วว่า บริษัทที่ประมูลได้มีปัญหาเรื่องคุณภาพปุ๋ยไม่เป็นไปตามที่กำหนด และยังมีการส่งมอบปุ๋ยล่าช้า โดยอ้างอุทกภัยภาคใต้ในช่วงนั้น 
            แต่จนถึงวันนี้แล้วก็ยังพบปัญหาส่งมอบปุ๋ยล่าช้าเหมือนเดิม
            ตั้งข้อสันนิษฐานง่ายๆ ว่า บริษัทดังกล่าวน่ามีปัญหาแล้ว...!!!
 เรื่องนี้ สกย.ต้องทำให้กระจ่างเพราะเกษตรกรได้รับความเดือนร้อนจำนวนมาก
แต่ได้ข่าวมาว่าการประมูลปุ๋ยปีนี้ ยังตกเป็นของบริษัทเดิม ปริมาณ 31,000 ตัน มูลค่า 600 ล้านบาท ซึ่งราคาดังกล่าวสูงกว่าครั้งแรก ตันละ 3,000 บาท
ถ้าเป็นอย่างนี้คงยากจะให้ชาวสวนยางทั้งประเทศเข้าใจเป็นอื่นไม่ได้ ว่ามีการ “ฮั๊ว” กัน เหมือนที่นายเพิก เลิศวังพง ออกมาประจานว่ามีการล็อกปริษัทผู้ประมูลตั้งแต่ประเภทปุ๋ย และบอร์ด กสย.บางรายชงใส่พานเข้าไป
“อินทรีทนง” ขออย่าให้เป็นอย่างนั้นเลย  เพราะชาวบ้านเขาจะเดือนร้อน...!!!

***นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ถือเป็นผู้หลักผู้ใหญ่แห่งวงการยางที่มักจะออกมาเตือน และแฉเรื่องต่างๆ ในวงการยางที่สีเทาๆ เสมอ อย่างเรื่อง เงินเซสส์ เป็นต้น
            ล่าสุดออกมาชำแระกลยุทธ์การขนยางหนีภาษีเงินเซสส์ตามชายแดนอย่างหมดเปลือก...???
            เพราะด้วยพิษสงของ “ภาษีพิเศษ” หรือ เงินเซสส์ที่ของประเทศไทยเก็บสูงที่สุดในโลก คือ 5 บาท/ กิโล ซึ่งทำให้พ่อค้าส่งออกอ่อนแอหนักเมื่อต้องแข่งขันกับต่างประเทศ
จึงเกิดขบวนการขนยางออกต่างประเทศโดยเลี่ยงเงินเซสส์ โดยเฉพาะชายแดนประเทศมาเลย์...!!!
            นายอุทัยแฉว่ามีการขนยางผ่านช่องทางทุกรูปแบบเข้ามาเลย์ ตั้งแต่กองทัพมด โดยใช้มอเตอร์ไซค์ขนยางแผ่นดิบครั้งละ 100 กิโล ขับทะลุข้ามแดนเข้ามาเลย์โดยไม่เสียภาษี ได้เงินเที่ยวละ 500 บาท สูงกว่าค่าแรง/วันของไทยเสียอีก
ถ้าวันหนึ่งขน 10 เที่ยวก็จะได้เงิน 5,000 บาทเลยทีเดียว
            แต่นั่นเป็นแค่กองทัพมด เพราะมีพ่อค้ารายใหญ่เล่นสต็อกยางไว้ตามโกดังชายฝั่งทะเล รอการขนถ่ายทางเรือสินค้ากลางทะเลออกนอกประเทศ
วิธีการอย่างนี้เป็นไปไม่ได้เลยที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะไม่รู้เห็น...!!!
            วิธีการก็คือ แจ้งการส่งออกน้ำยางจากด่านไทยเข้ามาเลย์ น้ำยาง
DRC 25-30% ทั้งๆ ที่ปริมาณจริงมี DRC 60% ทำให้เสียเงินเซสส์น้อยลง หรือไม่ก็อาศัยใช้ใบส่งออกเวียน เป็นต้น
            การทำอย่างนี้ทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เพราะผู้ส่งออกที่ทำถูกต้องถูกทางจะเสียเปรียบ ราคายางก็ต่างกันแล้ว เพราะว่าต้นทุนภาษีต่างกัน และที่สำคัญคือ ทำให้ประเทศไทยสูญเสียเงินเซสส์ไปมหาศาล
            เรื่องนี้ “อินทรีทนง” บอกได้เลยว่าผู้ส่งออกน้ำยางสดที่ตั้งอยู่บานเป็นดอกเห็ดสองข้างถนนกาญจนวนิช อ.หาดใหญ่ เขารู้ดีว่าใครทุจริตหรือไม่
            แต่ถ้าพิจารณาตามที่นายอุทัยให้ข้อมูลงานนี้รายเล็กไม่น่าจะทำแน่ น่าจะเป็นรายใหญ่ และสาวหา “พ่อค้าขี้โกง” ได้ไม่ยาก...ถ้าจำเอาจริงเอาจัง...จริงไม่จริง...

***ผลพวงจากการปรับอัตราการเก็บเงินเซสส์ตั้งแต่รัฐบาลที่แล้วยังคาราคาซังมายังรัฐบาลนี้...???
เรื่องใหญ่คือผู้ส่งออกที่ยื่นขอเงินเซสส์ยังไปไม่งินคืน จนหวั่นว่าจะถูกอม...!!!
            แม้ที่ผ่านมาจะมีการทยอยคืนเงินไปแล้วถึง 4 ครั้ง รวม 31 บริษัท เป็นเงิน 506.214 ล้านบาท แต่ก็ยังเหลือค่างเติ่งอยู่อีกตั้ง 66 บริษัท เป็นเงินรวม 1,007.861 ล้านบาท
จนบริษัทที่ได้รับผลกระทบต้องออกมาโวย เพราะกลับถูกชัดดาบ
            เรื่องนี้นายวิทย์ ประทักษ์ใจ ชี้แจงว่า การคืนเงินเซสส์มีกระบวนการยุ่งซาก การตรวจสอบจึงต้องรัดกุมและละเอียดรอบคอบ เพราะเงินเซสส์เป็นเงินของแผ่นดิน ต้องมีการตรวจสอบจาก สตง. สกย.จึงต้องทำอย่างโปร่งใส เพื่อไม่ให้ถูกตรวจสอบภายหลังหายมีปัญหา
            แต่ก็บอกว่าขณะนี้ขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องแล้วทุกสัญญา พร้อมจะคืนเงินเซสส์ ให้ผู้ส่งออกทั้งหมด รอเพียงการอนุมันติจากบอร์ด กสย.เท่านั้น  
            “คาดว่าภายในเดือนเมษายนนี้น่าจะทยอยคืนเงินส่วนที่เหลือได้”

อินทรีทนง





นิตยสารยางเศรษฐกิจ ฉบับ 14/2555
___________________________________________________________________
เรียกน้ำยาง
เรื่อง : อินทรีทนง

นิตยสารยางเศรษฐกิจ ฉบับที่ 14 ประจำเดือนพฤษภาคม 2555
            เรื่องร้อนๆ ในวงการยางยังคงอัดแน่นอยู่ในคอลัมน์นี้เหมือนเดิม...!!!
***ได้รับสัญญาณไฟไปแล้วครึ่งตัว สำหรับ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย...???
 หลังจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ “ฉบับร่าง” ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำเสนอไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนในสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น
คาดการณ์ว่าน่าจะผ่านฉลุย
            พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นการรวมอำนาจการบริหารจัดการของ 2 องค์กรยางรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) และ องค์การสวนยาง กับอีก 1 หน่วยงานรายการคือ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร รวมทั้ง 3 หน่วยงานเป็นหน่วยงานเดียวชื่อ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
            ทั้งนี้เพื่อให้การกำหนดนโยบายตลอดจนการดูแลบริหารจัดการยางพาราให้มีเอกภาพมากขึ้นกว่าเดิม หลังจากที่ 3 หน่วยงานแยกกันเดินแต่มีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือ พัฒนาอุตสาหกรรมยางไทย
            ส่วนเนื้อหาสาระของร่าง กยท.  “อินทรีทนง” หยิบประเด็นหลักๆ ดังต่อไปนี้
            กำหนดให้ กยท. เป็นนิติบุคคล พร้อมกับทำหน้าที่เป็นองค์กรกลางรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการยางพาราของประเทศนี้ทั้งระบบและครบวงจร
บริหารจัดการเกี่ยวกับการเงินกองทุนพัฒนายางพารา ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น
             กำหนดให้เกษตรกรชาวสวนยางที่ประสงค์จะขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปลูกแทนตาม พ.ร.บ.นี้ ให้ยื่นคำขอตามแบบและวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด และในกรณีที่ผู้ขอรับมีการปลูกแทนเป็นผู้ทำสวนยางในที่ดินเช่า ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เช่าและผู้ให้เช่า
            กำหนดให้มีการตั้ง “กองทุนพัฒนายางพารา” ขึ้น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนายางพารา โดยการกำหนดให้บุคคลซึ่งส่งออกยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียค่าธรรมเนียมให้ (กยท.) และให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งก็คือการจัดเก็บเงินเซสส์นั่นเอง
            ทั้งนี้ยังมีบทเฉพาะกาล กำหนดให้โอนบรรดากิจการ เงิน ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้สิน ภาระผูกพันและงบประมาณของ 3 หน่วยงานเดิมรวมทั้งพนักงานและลูกจ้าง มาเป็นของ กยท. ทั้งหมด
            นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมต.ช่วยเกษตรฯ ออกมาให้ข่าวว่าองค์กรยางแห่งนี้จะดำเนินงานอย่างอิสระเพื่อให้การผลิตและการใช้ยางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับบอกว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมยางทั้งระบบ และเขาเองจะดันให้เป็นรูปธรรมเต็มตัว เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายเพิ่มรายได้จากยางพาราของประเทศปีละ 1 ล้านล้านบาท ในปี 2556
            แม้จะมีการพูดกันในวงกว้างว่านี่คือการ “ชุบมือเปิด” ของ “ร.ม.ต.เต้น” หลังจากที่มีการร่างและเสนอ พ.ร.บ.นี้กันมานานตั้งแต่รัฐบาลทักษิณ หาใช่เป็นแนวคิดที่ไหลมาจากมันสมองของเขาแต่อย่างใด
            แต่ถ้ามองกันแบบไม่รักหรือเกลียดชัง ก็ต้องยอมรับว่าเป็นผลงานของณัฐวุฒิ ในมิติของการเอาจริงเอาจังในเรื่องการผลักดันจนขึ้นฝั่งได้สำเร็จ หลังจากที่ทุลักทุเลมาโดยตลอด
จนมีการคาดการณ์กันว่า พ.ร.บ.การยางฯ ชาตินี้ก็ไม่เกิด...!!!
จนที่สุดร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวก็ผ่านการอนุมัติจาก ครม. ซึ่งขั้นตอนต่อไปคือการเข้าพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีการคาดเดาว่าคงผ่านได้ไม่ยากนัก เพราะรัฐบาลมีเสียงท่วมท้น
จึงช่วยไม่ได้ที่ณัฐวุฒิจะหยิบยกเรื่องนี้เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของเขา...ใช่ไม่ใช่...
            แต่ปัญหาใหญ่ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือ องค์กรที่ใหญ่ขึ้นอย่างนี้ มีงบประมาณแต่ละปีมหาศาล โดยเฉพาะรายได้จากหลายทาง เช่น เงินเซสส์ปีละเป็นหมื่นล้าน และธุรกิจอุตสาหกรรมยางหลักหมื่นล้าน/ปี  จะเป็น "บ่อเงินบ่อทอง" ของนักการเมืองหรือเปล่า...???
            และต้องไม่ลืมว่าองค์กรแห่งนี้อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองของฝั่งพรรคเพื่อไทยเพื่อทะลวงฐานเสียงที่เป็น “ปมด้อย” มาโดยตลอดอย่าง ภาคใต้
            นี่คือเรื่องที่เกษตรกรกังวลมากที่สุด

***ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asaen Economics Community) หรือ AEC ชื่อนี้ได้ยินค่อนข้างหนาหูในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เพราะเครื่องมือทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนนี้จะมีผลในปี 2558 นี้
            เมื่อถึงตอนนี้ 10 ประเทศในกลุ่มอาเซียนจะมีระบบเศรษฐกิจเป็นแผ่นเดียวกัน ภาษีกลายเป็นศูนย์ ซึ่งหมายถึงการแข่งขันและการลงทุนในแต่ละประเทศจะง่ายขึ้น
            คำถามก็คือ ประเทศไทยพร้อมแล้วหรือยังสำหรับการแข่งขันนี้...???
            นายสุรเกียรติ เสถียรไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบอกว่า น่าเสียดายที่ประเทศไทยตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้น้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอีก 9 ประเทศ
            ขณะที่นายภูมิธรรม เวชยชัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมให้ความเห็นว่า สถานการณ์ปัจจุบันกำลังสะท้อนอาการป่วยของสังคมไทย ทำให้ไม่ได้ขยับหรือเตรียมพร้อมกับการรวมประชาคมอาเซียน ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญมาก
            ขณะที่เมื่อย่อให้แคบลงมาที่อุตสาหกรรมยางไทยจะได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน...???
            นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ แสดงความกังวลอยู่เรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับการจัดทำยุทธศาสตร์และโรดแม็ปด้านยางพาราของ AEC
            เพราะผู้ร่างโรดแม็ปแทนที่จะเป็นประเทศไทย ผู้ซึ่งผลิตและส่งออกยางมากเป็นเบอร์ 1 ของโลก แต่ไทยกลับรับหน้าที่ทำแผนการท่องเที่ยวและการบิน ปล่อยให้ประเทศมาเลเซียเป็นผู้จัดทำโรดแม็ปด้านยาง ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นเพียงผู้แปรรูปยางเท่านั้น วัตถุดิบส่วนใหญ่ต้องอาศัยจากไทยและอินโดนีเซีย
            การให้ประเทศผู้ใช้ทำโรดแม็บเรื่องยาง โดยที่ผู้ผลิตไม่เข้าไปมีส่วนร่วมเลย จะทำให้เราเสียเปรียบในอนาคตหรือไม่...???
            นายอุทัยย้ำว่าเรื่องนี้หน่วยงานที่เกี่ยวของไทยต้อง “เสนอหน้า” เข้าไปมีส่วนร่วมโดยด่วน
            ก่อนที่จะสายเกินแก้...!!!

*** ขณะที่กลุ่มเกษตรกรในประเทศหลายภูมิภาคก็เริ่มตื่นตัวเรื่อง AEC ไม่น้อยเหมือนกัน
            อย่าง จ.ระยองเป็นต้น...???
            จังหวัดนี้แม้จะมีชื่อเสียงเรื่องการผลิตผลไม้ระดับประเทศ แต่เรื่องยางก็เด่นเช่นกัน เพราะเป็นแหล่งปลูกยางมากที่สุดของภาคตะวันออก
            ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกยาง 744,708 ไร่ มีสถาบันเกษตรกรที่เป็นการรวมตัวกันของเกษตรกรร้อยละ 44% ปริมาณการรวบรวมยาง 17,779 ตัน มูลค่า 1,962 ล้านบาท
            เมื่อเร็วๆ นี้จึงมีการจัดงานสัมมนาขึ้นในหัวข้อ อนาคตยางพาราระยองผ่านช่องทาง AEC เพื่อเพิ่มความรู้เรื่องตลาดยางพารา เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมงานกว่า 26 แห่ง รวม 213 คน
            เรียกว่าทันยุคทันการณ์กันเลยทีเดียว
            ผลของการสัมมนาสรุปแนวทางของกลุ่มเกษตรกรเพื่อยืนหยัดสู้ AEC ได้ กลุ่มเกษตรกรต้องรวมตัวทำตลาดยางในจังหวัดให้มีความเข้มแข็ง
พร้อมๆ กับการเล่นบทผู้แปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า คืออาวุธเพียงชิ้นเดียวที่จะนำไปสู้รบกับ AEC

***เป็นข่าวเล็กๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์ แต่เป็นปัญหาใหญ่ของชาวสวนยาง จ.นราธิวาส...???
            ลำพังแค่เรื่องปัญหาการก่อการร้ายในพื้นที่ ซึ่งนราธิวาสจัดอยู่ใน “พื้นที่สีแดง” ของการก่อการร้ายก็ประสาทจะรับประทานอยู่แล้ว...!!!
            ยังมาเจอปัญหาการส่งมอบปุ๋ยจาก สกย. ล่าช้ากระทืบซ้ำเข้าให้อีก...!!!
            เรื่องนี้แดงขึ้นมาก็เมื่อ “ม็อบปุ๋ยยาง” ที่นำโดย นายแวบือราเฮง แวดือราโอ๊ะ ประธานกลุ่มจ่ายปุ๋ย สกย.นราธิวาส นำตัวแทนกลุ่มผู้จ่ายปุ๋ย 13 อำเภอ รวม 21 กลุ่ม และชาวสวนยางที่ได้รับความเดือดร้อนกว่า 200 คน ชุมนุมกันหน้าสำนักงาน สกย.จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2555 ยื่นหนังสือร้องทุกข์กรณีปุ๋ยถึงมือเกษตรกรล่าช้าถึง รมต.เกษตรฯ
            หัวหน้าม็อบปุ๋ยสะท้อนความเดือนร้อนของชาวสวนยางว่า ปุ๋ยที่ต้องส่งให้ตัวแทนกลุ่มผู้จ่ายปุ๋ย เพื่อกระจายให้ชาวสวนยาง 13 อำเภอ ถึงวันนี้ผ่านไป 1 ปีแล้วยังไม่ถึงมือเกษตรกรเลย ทั้งๆ ที่ถึงฤดูกาลใส่ปุ๋ยแล้ว
ขืนรออีก ต้นยางคงอดปุ๋ย น้ำยางแห้งกันพอดี เสียโอกาสทางเศรษฐกิจมหาศาล
            พร้อมกับขอให้มีการผ่อนปรนให้เกษตรกรสามารถหาซื้อปุ๋ยเพื่อบำรุงต้นยางเองได้
            เรื่องนี้เป็นปัญหาเดียวกับกลุ่มเกษตรกรหลายจังหวัดในภาคใต้ เพราะการส่งมอบปุ๋ยเกิดความล่าช้าไม่ทันต่อการบำรุงของเกษตร เมื่อปีที่แล้ว
            จึงต้องย้อนกลับไปดูว่าเกิดจากปัญหาอะไร...???
            สกย.ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการจ่ายปุ๋ยให้เกษตรกรสวนสงเคราะห์จากที่เคยให้กลุ่มเกษตรจัดซื้อปุ๋ยเอง มาเป็น สกย.จัดหาให้ผ่านระบบการประมูล
แต่มีข่าวสีเทาๆ เมื่อปีที่แล้วว่า บริษัทที่ประมูลได้มีปัญหาเรื่องคุณภาพปุ๋ยไม่เป็นไปตามที่กำหนด และยังมีการส่งมอบปุ๋ยล่าช้า โดยอ้างอุทกภัยภาคใต้ในช่วงนั้น 
            แต่จนถึงวันนี้แล้วก็ยังพบปัญหาส่งมอบปุ๋ยล่าช้าเหมือนเดิม
            ตั้งข้อสันนิษฐานง่ายๆ ว่า บริษัทดังกล่าวน่ามีปัญหาแล้ว...!!!
 เรื่องนี้ สกย.ต้องทำให้กระจ่างเพราะเกษตรกรได้รับความเดือนร้อนจำนวนมาก
แต่ได้ข่าวมาว่าการประมูลปุ๋ยปีนี้ ยังตกเป็นของบริษัทเดิม ปริมาณ 31,000 ตัน มูลค่า 600 ล้านบาท ซึ่งราคาดังกล่าวสูงกว่าครั้งแรก ตันละ 3,000 บาท
ถ้าเป็นอย่างนี้คงยากจะให้ชาวสวนยางทั้งประเทศเข้าใจเป็นอื่นไม่ได้ ว่ามีการ “ฮั๊ว” กัน เหมือนที่นายเพิก เลิศวังพง ออกมาประจานว่ามีการล็อกปริษัทผู้ประมูลตั้งแต่ประเภทปุ๋ย และบอร์ด กสย.บางรายชงใส่พานเข้าไป
“อินทรีทนง” ขออย่าให้เป็นอย่างนั้นเลย  เพราะชาวบ้านเขาจะเดือนร้อน...!!!

***นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ถือเป็นผู้หลักผู้ใหญ่แห่งวงการยางที่มักจะออกมาเตือน และแฉเรื่องต่างๆ ในวงการยางที่สีเทาๆ เสมอ อย่างเรื่อง เงินเซสส์ เป็นต้น
            ล่าสุดออกมาชำแระกลยุทธ์การขนยางหนีภาษีเงินเซสส์ตามชายแดนอย่างหมดเปลือก...???
            เพราะด้วยพิษสงของ “ภาษีพิเศษ” หรือ เงินเซสส์ที่ของประเทศไทยเก็บสูงที่สุดในโลก คือ 5 บาท/ กิโล ซึ่งทำให้พ่อค้าส่งออกอ่อนแอหนักเมื่อต้องแข่งขันกับต่างประเทศ
จึงเกิดขบวนการขนยางออกต่างประเทศโดยเลี่ยงเงินเซสส์ โดยเฉพาะชายแดนประเทศมาเลย์...!!!
            นายอุทัยแฉว่ามีการขนยางผ่านช่องทางทุกรูปแบบเข้ามาเลย์ ตั้งแต่กองทัพมด โดยใช้มอเตอร์ไซค์ขนยางแผ่นดิบครั้งละ 100 กิโล ขับทะลุข้ามแดนเข้ามาเลย์โดยไม่เสียภาษี ได้เงินเที่ยวละ 500 บาท สูงกว่าค่าแรง/วันของไทยเสียอีก
ถ้าวันหนึ่งขน 10 เที่ยวก็จะได้เงิน 5,000 บาทเลยทีเดียว
            แต่นั่นเป็นแค่กองทัพมด เพราะมีพ่อค้ารายใหญ่เล่นสต็อกยางไว้ตามโกดังชายฝั่งทะเล รอการขนถ่ายทางเรือสินค้ากลางทะเลออกนอกประเทศ
วิธีการอย่างนี้เป็นไปไม่ได้เลยที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะไม่รู้เห็น...!!!
            วิธีการก็คือ แจ้งการส่งออกน้ำยางจากด่านไทยเข้ามาเลย์ น้ำยาง
DRC 25-30% ทั้งๆ ที่ปริมาณจริงมี DRC 60% ทำให้เสียเงินเซสส์น้อยลง หรือไม่ก็อาศัยใช้ใบส่งออกเวียน เป็นต้น
            การทำอย่างนี้ทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เพราะผู้ส่งออกที่ทำถูกต้องถูกทางจะเสียเปรียบ ราคายางก็ต่างกันแล้ว เพราะว่าต้นทุนภาษีต่างกัน และที่สำคัญคือ ทำให้ประเทศไทยสูญเสียเงินเซสส์ไปมหาศาล
            เรื่องนี้ “อินทรีทนง” บอกได้เลยว่าผู้ส่งออกน้ำยางสดที่ตั้งอยู่บานเป็นดอกเห็ดสองข้างถนนกาญจนวนิช อ.หาดใหญ่ เขารู้ดีว่าใครทุจริตหรือไม่
            แต่ถ้าพิจารณาตามที่นายอุทัยให้ข้อมูลงานนี้รายเล็กไม่น่าจะทำแน่ น่าจะเป็นรายใหญ่ และสาวหา “พ่อค้าขี้โกง” ได้ไม่ยาก...ถ้าจำเอาจริงเอาจัง...จริงไม่จริง...

***ผลพวงจากการปรับอัตราการเก็บเงินเซสส์ตั้งแต่รัฐบาลที่แล้วยังคาราคาซังมายังรัฐบาลนี้...???
เรื่องใหญ่คือผู้ส่งออกที่ยื่นขอเงินเซสส์ยังไปไม่งินคืน จนหวั่นว่าจะถูกอม...!!!
            แม้ที่ผ่านมาจะมีการทยอยคืนเงินไปแล้วถึง 4 ครั้ง รวม 31 บริษัท เป็นเงิน 506.214 ล้านบาท แต่ก็ยังเหลือค่างเติ่งอยู่อีกตั้ง 66 บริษัท เป็นเงินรวม 1,007.861 ล้านบาท
จนบริษัทที่ได้รับผลกระทบต้องออกมาโวย เพราะกลับถูกชัดดาบ
            เรื่องนี้นายวิทย์ ประทักษ์ใจ ชี้แจงว่า การคืนเงินเซสส์มีกระบวนการยุ่งซาก การตรวจสอบจึงต้องรัดกุมและละเอียดรอบคอบ เพราะเงินเซสส์เป็นเงินของแผ่นดิน ต้องมีการตรวจสอบจาก สตง. สกย.จึงต้องทำอย่างโปร่งใส เพื่อไม่ให้ถูกตรวจสอบภายหลังหายมีปัญหา
            แต่ก็บอกว่าขณะนี้ขั้นตอนการตรวจสอบความถูกต้องแล้วทุกสัญญา พร้อมจะคืนเงินเซสส์ ให้ผู้ส่งออกทั้งหมด รอเพียงการอนุมันติจากบอร์ด กสย.เท่านั้น  
            “คาดว่าภายในเดือนเมษายนนี้น่าจะทยอยคืนเงินส่วนที่เหลือได้”

อินทรีทนง


สวนยาง...ชากังราว

สวนยาง...ชากังราว


ยางเศรษฐกิจ ฉบับ 14/2555 (พฤษภาคม)
_________________________________________
ชาวชากังราว ยึดอาชีพสวนยางสร้างอนาคตที่ดีกว่า
ผลผลิตเพิ่มกว่า 1,000 ตัน/ปี

ยางแผ่นดิบเป็นการแปรรูปน้ำยางสดเบื้องต้นที่ชาวสวนยางเมืองกำแพงเพชรนิยมผลิตมากที่สุด เพราะนอกจากจะได้ราคาสูงกว่าการทำยางก้อนถ้วยแล้ว ยังเก็บสต็อกในช่วงยางราคาผันผวนอีกด้วย


เรื่อง : พิมพ์ใจ พิสุทธิ์จริยานันท์
           
           เส้นทางของการเริ่มต้นมักจะ “ขรุขระ” เสมอ...???
            หรือไม่ก็เหมือนกับการเปิดป่าถางพง
ต้องถางทางกันอย่างยากลำบาก เพราะมี “ขวากขนาม” คอยทิ่มตำ
            แต่ถ้าอดทน มุมานะข้ามผ่านมันมาได้ ก็มักจะเจอพื้นที่ใหม่ที่เรียบรื่นเสมอ...!!!
            ตัวอย่างดังกล่าวใช้ได้ดีกับการบุกเบิกปลูกยางในพื้นที่ใหม่...???
            
           เพราะการปลูกยางในพื้นที่ใหม่ต้องเจอกับปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ตั้งแต่ความโหดหินของสภาพอากาศ ความกันดานจากองค์ความรู้จากภาครัฐและเอกชน หรือแม้กระทั่งเกษตรกรต้นแบบ และสำคัญที่สุดคือ ห่างไกลตลาดรับซื้อผลผลิต บางพื้นที่ต้องเดินทางหลายร้อยกิโลเพื่อนำยางไปขาย
            แต่ส่วนใหญ่ถ้าผ่านเส้นทางอันขรุขระเหล่านี้มาแล้ว มักจะเจอกับชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเดิมเสมอ
           
           หนึ่งในตัวอย่างที่จะขยายภาพให้เห็นชัดเจนคือ การบุกเบิกปลูกยางของชาวกำแพงเพชร หรืออาณาจักร “ชากังราว” ในประวัติศาสตร์
จรินทร์ เดชเดชะ ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางนครไตรตรึงษ์ 
และยังเป็นประธานเกษตรกรชาวสวนยางของ สกย.และ อสย. 
เขานับเป็นผู้บุกเบิกปลูกยางในกำแพงเพชรเมื่อ 24 ปีก่อน 
จนมีเกษตรกรที่ส่วนใหญ่ทำไร่มันหันมาปลูกตามจำนวนมาก
 แค่สมาชิกสหกรณ์ที่เขาเป็นประธานอยู่ก็กว่า 300 รายแล้ว
            จากการเก็บข้อมูลแบบ “มุขปาฐะ” หรือการพูดคุยกับชาวสวนยางในพื้นที่กำแพงเพชร ได้ข้อมูลว่าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างแห่งนี้เริ่มต้นปลูกยางกันตั้งแต่ปี 2531 โดยอาศัยชาวสวนยางภาคใต้เป็น “ครู”
            เมื่อพบว่าการทำสวนยางเวลา/วันในการทำงานเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่กลับมีรายได้พอๆ กับการทำไร่ อย่าง มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพด เป็นต้น ต่างกันตรงที่การทำไร่ต้องทำกันทั้งวัน ตั้งแต่เช้ายันเย็น
            “คุยกับคนใต้เขาทำยางกันห้าไร่ สิบไร่ แต่มีเงินส่งลูกเรียนสูงๆ กรีดยางวันละไม่กี่ชั่วโมง มีเวลาลงทะเลหาปลาอีกด้วย ไม่เหมือนพืชไร่ที่เราทำ ต้องทำทั้งวันและทุกวัน ได้ร้อยกว่าบาท เขาทำไม่กี่ชั่วโมงได้วันละเป็นพัน รายได้ผิดกันเยอะ”
            จรัญ เดชเดชะ เจ้าของสวนยาง 400 ไร่ เปิดกรีดแล้ว 100 กว่าไร่ ใน ต.ไตรตรึงษ์ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ให้ข้อมูลกับยางเศรษฐกิจ
ครอบครัวของเขาคือ 1 ใน 5 รายที่เริ่มต้นปลูกยางบนแผ่นดินชากังราวเมื่อปี 24 ปีที่แล้ว หลังจากที่ยึดอาชีพทำไร่อ้อยมาตั้งแต่สมัยพ่อแม่
            “ตอนปลูกยางครั้งแรก คิดว่าเอาแต่ต้นละ 50 สตางค์/วันก็พอแล้ว ปลูก 1,000 ต้นได้ 500 บาท แค่นั้นพอ”
ยางแผ่นดิบจากการรวบรวมจากสมาชิกของสหกรณ์ยางไตรตรึงษ์
 เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ปกติจะมีการรวมยางเดือนละ 1 ครั้ง 
ปริมาณไม่ต่ำกว่า 10 ตัน แต่คาดการณ์ว่าปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเพราะสวนยางพร้อมกรีดเพิ่ม

          แต่กว่าจะตัดสินใจปลูกยางได้ก็ต้องเดินทางไปทัศนะศึกษาสวนยางในภาคใต้หลายรอบ เพราะความไม่แน่ใจว่ายางจะปลูกในพื้นที่ของตัวเองได้หรือไม่
ก่อนที่จะขุดตัวอย่างดินในพื้นที่สิบกว่าจุดไปตรวจที่สุราษฎร์ธานีเพื่อกระชับความแน่ใจ
“เขาบอกว่าดินดีกว่าภาคใต้อีก” ผลตรวจวิเคราะห์จึงเป็นเหมือนการเปิด “ไฟเขียว” ให้ปลูกยางครอบครัวของจรัญปลูกยางทันที
กล้ายางสารพัดประเภททั้ง “ชำถุง” และ “ตาเขียว” ถูกขนขึ้นรถปิ๊กอัพขึ้นมาจากภาคใต้ ก่อนกระจายไปปลูกในพื้นที่ของเกษตรกรที่กล้าเป็น “หนูลองยา” 5 ราย
ส่วนของจรัญปลูกยางจำนวน 11 ไร่ ปีถัดมาปลูกเพิ่มอีก 20 กว่าไร่ 
ภายหลังการปลูกยางที่แทบจะก็อปปี้จากภาคใต้มา อย่าง การใช้พันธุ์ยาง RRIM 600 ระยะ 3X8 เมตร และใช้ต้นยางตาเขียวมาปักปลูกในหลุม ผลคือตายหมด 100% เหลือรอดเพียงต้นที่ปลูกด้วยยางชำถุงเท่านั้น  
            “ตอนนั้นไม่เป็นอะไรสักอย่าง สิ้นปีเหมือนสิ้นแรง เพราะยางไม่ค่อยโต ทำอย่างไรยางจะโต ต้องใส่ปุ๋ยสูตรอะไร ก็รวมเงินกันลงไปดูทางใต้อีก ได้ความรู้มาก็มีกำลังใจเอามาทำอีก เพราะเมื่อก่อนไม่มีโทรศัพท์ พอยางเข้าปีที่ 4 ใบเหลืองทิ้งทั้งต้น นึกว่ามันตายแน่นอนก็วิ่งไปใต้อีก” จรัญย้อนปัญหาในช่วงเริ่มต้น
            จนเมื่อต้นยางปีที่ 5-6 ก็เกิดปัญหาลูกใหญ่ เพราะยางใกล้กรีด ต้องไปขอความช่วยเหลือจากเกษตรจังหวัดเรื่องการกรีดยาง
แต่ด้วยยางเป็นพืชตัวใหม่ ไม่มีข้อมูลในสารบบของจังหวัด จึงต้องส่งเรื่องต่อไปยังกรมวิชาการเกษตรในกรุงเทพ
สวนยางอีกแปลงของจรัญในช่วงปิดหน้ายาง 3 เดือน ช่วงนี้ต้องมีการทำแนวกันไฟ 
ต้องกวาดเศษไม้ใบหญ้ามารวมกันไว้ระหว่างแถวยางเพื่อกันไป 
และเศษซากใบไม้เหล่านี้ยังรักษาความชื้นและย่อมเป็นปุ๋ยอินทรีย์ในอนาคต
“เขาก็ไม่เชื่อว่ามีคนปลูกยางที่นี่จริงๆ แรกๆ ไม่มีใครมาสนใจเลย จนหมดหนทางเราบอกเขาว่าถ้ามาดู เสียค่าเดินทางเท่าไหร่จะออกค่าใช้จ่ายให้ คือจ้างให้เขามาดูเลย”
จนท้ายที่สุดเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตรเดินทางขึ้นมาดูก่อน ในปี 2539 ขณะนั้นต้นยางอายุ 8 ปี พร้อมกรีดแล้ว เมื่อเจ้าหน้าที่เห็นว่ามีการปลูกยางจริงๆ และต้องตกใจเพราะขณะนั้นมีพื้นที่ปลูกยางพร้อมกรีดแล้ว 300 ไร่ จึงมีการจัดงบประมาณและส่งเจ้าหน้าที่มาอบรมการกรีดยางครั้งแรก โดยมีเกษตรกรมาเรียนทั้งหมด 40 คน ใช้เวลา 9 วัน
            เมื่อต้นยางพร้อม วิชากรีดยางพร้อม น้ำยางหยดแรกจึงเกิดขึ้นบนแผ่นดินกำแพงเพชร
   
         หากแต่นั้นไม่ใช่ปลายทางของการปลูกยาง เพราะยังมีปัญหาที่ใหญ่


กว่า คือ กรีดยางแล้วจะเอาไปขายที่ไหน...???
            “พอกรีดยางได้เราก็ทำยางแผ่นดิบ แล้วรวมยางกันไปขายภาคใต้ และระยอง ตอนนั้นราคากิโลละ 16 บาทเอง” แม้ระยะทางจะค่อนข้างไกล แต่นั่นเป็นตัวเลือกเพียงไม่กี่แห่งที่ใกล้ที่สุด
            อย่างไรก็ตามเมื่อนักบุกเบิกปลูกยางใน ต.ไตรตรึงษ์ 5 รายแรกเริ่มมีผลผลิต ชาวบ้านละแวกใกล้เคียงจึงเริ่มให้ความสนในปลูกยางกันบ้างปละปลาย แต่ไม่ถึงกับฮือฮา เพราะส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจกับพืชพลัดถิ่นตัวนี้ และที่สำคัญกว่านั้นน่าจะมาจากการขาดความรู้เรื่องการปลูกยาง พืชไร่จึงยังชัวร์และแน่นอนกว่า
            “ยาง16 บาท/กิโล รายได้รวมยังถือว่าดีกว่าทำมัน ตันละแค่ 600 บาท แต่ยางจากที่เราคิดว่าได้เงินต้นละ 50 สตางค์ก็คุ้มแล้ว แต่เอาจริงๆ มันได้มากกว่า 1 บาท/ต้น/วัน  ตันละเกือบ 2 หมื่นบาท” จรัญเปรียบเทียบรายได้ระหว่างมันสำปะหลังกับยาง จนเห็นภาพผลตอบแทนที่แตกต่างกัน 3 เท่าตัว
            ส่วนปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของยาง อย่าง สภาพอากาศ เป็นต้น ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการปลูกยางในกำแพงเพชรแต่อย่างใด โดยมีปริมาณน้ำฝน 900-1200 ม.ม./ปี
“อีสานน้อยกว่าเราเขายังปลูกได้เลย”
            ปัจจุบันสวนยางในพื้นที่กำแพงเพชรเริ่มก้าวเข้าสู่ยุครุ่งเรือง เพราะนับตั้งแต่โครงการยาง 1 ล้านไร่ เป็นต้นมา พื้นที่ปลูกยางก็ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
อีกทั้งบรรดา “สวนส้ม” ซึ่งส่วนใหญ่อพยพมาจากทุ่งรังสิตมาฝากฝังอนาคตไว้กับกำแพงเพชร โดยเฉพาะแถบ อ.คลองลาน ปัจจุบันเลิกปลูกไปเกือบหมด เพราะปัจจัยลบหลายอย่าง อดีตเจ้าของสวนส้มที่ปัจจุบันผันตัวเองมาปลูกยางแทน ให้ข้อมูลว่า สู้ต้นทุนปุ๋ย และยาไม่ได้ เพราะแต่ละปีต้องฉีดยาไม่ต่ำกว่า 70 กว่าครั้ง  
           
พื้นที่สวนยางและเกษตรกรโต ตั้งสหกรณ์รวมผลผลิตขายตรงโรงงาน 400 ตัน/ปี
            จากการขยายตัวของพื้นที่ปลูกยางที่มีอัตราการโตขนานไปกับเกษตรกรรายใหม่ๆ จึงมีการรวมตัวของเกษตรกรชาวสวนยางใน จ.กำแพงเพชรในรูปชอง “ชมรมผู้ปลูกยาง จ.กำแพงเพชร” เมื่อ 10 ปีที่แล้ว
6 ปีหลังจากนั้นจึงเปลี่ยนมาชื่อมาเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกยางพารากำแพงเพชร มีแกนนำ 8 คน ซึ่งแต่ละคนก็รับผิดชอบสมาชิกย่อยๆ อีก 7-8 คน
จรัญ เดชเดชะ ลูกชายของจรินทร์ เดชเดชะ
เขาเป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้เรื่องการจัดการสวนยางในพื้นที่เป็นอย่างดี
 เพราะเขาเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่การกรีดยาง 
ปัจจุบันครอบครัวของเขามีสวนยางกว่า 400 ไร่ 
            “หัวใจหลักคือการให้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการปลูกยาง และการขายยาง แนะนำถ่ายทอดกันไป” จรินทร์ เดชเดชะ ประธานสหกรณ์ เผยธุรกิจหลักๆ
            จนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ แห่งนี้เริ่มมีสมาชิกมากขึ้น พอๆ กับปริมาณยาง จึงทำการจดทะเบียนเป็นสหกรณ์กองทุนสวนยางนครไตรตรึงษ์กำแพงเพชร จำกัด มีสมาชิก 248 ราย พื้นที่เปิดกรีดมากกว่า 3,000 ไร่
อย่างไรก็ตามยังมีเกษตรกรที่ไม่ใช่สมาชิก (นอกพื้นที่) นำยางมากขายที่สหกรณ์แห่งนี้ เช่น เกษตรกรจาก จ.ตาก พิษณุโลก ลำพูน และอุทัยธานี เป็นต้น  
            จรินทร์เปิดเผยว่า ธุรกิจหลักของสหกรณ์ขณะนี้คือ การรวบรวมยางจากสมาชิกครั้งละ 1 เดือน ปริมาณการรวมแต่ละครั้ง 10 ตันขึ้นไป หรือ 400-500 ตัน/ปี
แม้ช่วงปิดหน้ายางอย่างต้นเดือนเมษายนที่ยางเศรษฐกิจลงพื้นที่เก็บข้อมูลก็ยังมีการรวมยางขาย เพราะเกษตรกรมีการเก็บสต็อกยางเพื่อเก็งตลาด
อันเป็นผลพวงติดพันมาจากช่วงยางราคาตกเมื่อปลายปีที่แล้ว เกษตรกรจึงเก็บยางเพื่อรอราคายางขึ้น ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าเมื่อเข้าฤดูปิดหน้ายาง ปริมาณยางในตลาดจะลดลง ราคายางน่าจะสูงขึ้น ทำให้เห็นได้ชัดว่าเกษตรกรมีความรู้เรื่องการบริหารจัดการผลผลิตยางค่อนข้างดี
การกรีดยางแบบผิดวิธีดูจะเป็นปัญหาพื้นฐานของสวนยางใหม่
 พื้นที่กำแพงเพชรก็เช่นเดียวกัน ทุกปีในช่วงปิดหน้ายางสหกรณ์แห่งนี้
จึงมีการอบรมเกษตรกรกรีดยางอย่างถูกวิธี 
โดยมีเจ้าหน้าที่จาก สกย.มาให้ความรู้
            “ปีที่แล้วรวมเดือนละ 1 ครั้ง แต่ปีนี้จะเพิ่มเป็นเดือนละ 2 ครั้ง เพราะปีนี้ยางจากโครงการยางล้านไร่เปิดกรีดเต็มพื้นที่ปริมาณยางจากสมาชิกน่าจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว” ประธานสหกรณ์คาดการผลผลิตยางในพื้นที่หลังเปิดกรีดปีนี้
            ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ ปริมาณยางของสหกรณ์แห่งนี้น่าจะมีมากเกือบ 1,000 ตัน/ปี

            ภายหลังการรวบรวมยางและคัดเกรด สหกรณ์จะแจ้งตัวเลขปริมาณยางในแต่ละครั้งไปยังโรงงานต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 3 โรงงาน เช่นบริษัท ใน จ.สุราษฎร์ธานี และ ระยอง เป็นต้น เพื่อให้เขาเสนอราคาซื้อ ยางทั้งหมดจะถูกขายให้กับโรงงานที่ให้ราคาสูงที่สุดในวันนั้น ซึ่งรูปแบบการซื้อขายยางของสหกรณ์แห่งนี้จึงเป็นแบบกึ่งประมูล
            “ใครให้แพง เราขายคนนั้น” ประธานสหกรณ์บอก
            ด้านคุณภาพยางแผ่นดิบของสหกรณ์แห่งนี้จะแบ่งออกเป็น 3 เกรด คือ ยางคุณภาพชั้น  3 ชั้น 4 และชั้น 5 โดยสหกรณ์จะมีเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์คัดคอยคัดเลือกยาง จึงหมดปัญหาเรื่องการคัดเกรดยาง
             “ตอนนี้สหกรณ์กำลังสร้างสำนักงานและโกดังสหกรณ์ จะเริ่มสร้างเดือนเมษายนนี้ งบประมาณ 3.5 ล้าน ได้งบประมาณจากภาครัฐเป็นหลัก”
             
            นอกจากการรวมรวบยางขาย ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็ง และอำนาจในการต่อรองราคา เพื่อไม่ให้เสียเปรียบพ่อค้าแล้ว สหกรณ์แห่งนี้ยังมีการให้ความรู้ด้านต่างๆ แก่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น การให้ความรู้เรื่องการทำแผ่นยาง การคัดเกรดยาง ฝึกกรีดยาง
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกยางกำแพงเพชร ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.ไตรตรึงษ์ อ.เมือง
 เป็นของกลุ่มเกษตรกรที่มีจรินทร์เป็นประธาน 
มีธุรกิจผลิตกล้ายางชำถุงจำหน่ายเกษตรกรในพื้นที่และใกล้เคียง 
มีกล้ายางหลักๆ 2 พันธุ์ คือ 600 และ 251 ส่วนใหญ่ถูกสั่งจอกเกือบหมดแล้ว 
เป็นภาพสะท้อนว่าพื้นที่ยางในพื้นที่กำลังขยาย
“เราทำเรื่องขอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอให้เขามาให้ความรู้สมาชิก เพิ่งมีการอยรมกรีดยางไปเมื่อเร็วๆ นี้ เพราะมีพื้นที่เปิดกรีดเพิ่มขึ้นมาก บางรุ่นไม่เพียงพอ จนสมาชิกต้องยอมออกค่าใช้จ่ายเอง อบรมครั้งหนึ่งใช้งบประมาณ 40,000 บาท”
จรินทร์ให้ข้อมูล แต่ก็อดที่จะระบายความในใจไม่ได้ว่า “งบที่ให้อบรมกรีดยางน้อยเหลือเกิน ไม่เพียงพอต่อความต้องการ แต่เงินเซสส์ที่เก็บจากเราไปกิโลละ 5 บาท มีมหาศาลทำไม่จัดสรรมาเพิ่มตรงนี้”
ทางสหกรณ์เองก็ส่งเสริมให้สมาชิกทำยางแผ่นดิบ มากกว่าการทำขี้ยาง ซึ่งมีราคาถูกกว่า และทำให้ไร้เสถียรภาพด้านการขาย เพราะไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน
ต่างจากการทำยางแผ่นที่มีราคาสูงกว่า และยังมีมาตรฐานแน่นอน และยังสามารถเก็บได้นานในช่วงที่ยางราคาตกอีกด้วย
ปัญหาหนึ่งของการปลูกยางในกำแพงเพชรคือเกษตรกรขาดความรู้เรื่องการปลูกพืชแซมที่ถูกต้อง
 อย่างในพื้นที่นิยมปลูกมันสำปะหลัง แต่ถ้าปลูกแน่นหรือชิดต้นยางมากเกินไป
 ผลก็จะเป็นอย่างในภาพ ต้นยางอายุมากกว่า 3 ปี แต่ต้นยางแคระแกร็น โตช้า เพราะถูกมันขโมยอาหาร 
สมาชิกส่วนใหญ่ในกำแพงเพชรจึงนิยมทำยางแผ่น
อย่างไรก็ตามการทำยางแผ่นมีต้นทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะต้นทุนเครื่องจักร ประมาณ 40,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ยังไม่รวมอาคาร
เกษตรกรจึงอาศัยอาศัยใช้เครื่องจักรร่วมกัน หรือไม่ก็หุ้นกันซื้อเครื่องจักร เมื่อมีปริมาณยางเยอะจึงค่อยๆ ขยับขยาย
แต่ถ้าครอบครัวไหนมีทุนก็ซื้อได้เลย
“อย่างของผมก็รวมๆ กัน 4-5 รายในกลุ่มญาติ” จรัญ ซึ่งเป็นลูกชายของจรินทร์ให้ข้อมูล

การปลูกยางของชาวชากังราว
            จรัญ เดชเดชะ นับว่าเป็นชาวสวนยางคนหนึ่งที่มีความรู้เรื่องการปลูกยางในพื้นที่ จ.กำแพงเพชร เป็นอย่างดี เขาให้ข้อมูลด้านนี้ว่า พันธุ์ยางที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุดคือ RRIM 600 ระยะการปลูกที่เหมาะสมคือ 3X7 เมตร ที่สำคัญคือต้องปลูกช่วงต้นฤดูใน
            สำหรับการปลูกยางปีแรกเกษตรกรในพื้นที่นิยมปลูกมันสำปะหลังเป็นพืชแซม ซึ่งการปลูกมันในสวนยางค่อนข้างเสี่ยงกับการเจริญเติบโตของต้นยาง ถ้าปลูกอย่างไม่ถูกต้อง
ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นคือ ปลูกมันใกล้ต้นยางเกินไป จรัญแนะนำว่า การปลูกมันแซมยางที่ถูกต้องคือ ปลูกให้ห่าง หรือไม่เกิน 3 ร่อง/แถวเท่านั้น หากปลูกถี่มากกว่านี้ต้นยางจะกระทบกระเทือนเพราะถูกแย่งน้ำและอาหาร
“มีเกษตรกรหลายรายปลูกผิดวิธี ยางตาย หรือไม่ก็ไม่โตจำนวนมาก จริงๆ เราหวังต้นยาง เราไม่ได้หวังเอามัน”
เขาบอกว่าถ้าปลูกมันร่องละ 3 แถว จะได้ผลผลิตมันไร่ละ 2 ตัน/ปี
ฝีมือการกรีดยางของจรัญ ด้วยการเรียนรู้เรื่องการทำสวนยางตั้งแต่แรก 
เขาจึงมีแปลงที่ลงมือกรีดเอง การกรีดจึงประณีตมีคุณภาพ หน้ายางไม่เสีย
 ซึ่งอนาคตจะทำให้กรีดยางได้ไม่ต่ำกว่า 30 ปี

            ส่วนอาหารต้นยางอย่างปุ๋ย ปัจจุบันมีให้เลือกหลายสูตร แต่สูตรที่นิยมใช้มากที่สุดคือ  20-10-12 ใช้ใส่ช่วงยางเล็กปีละ 2 ครั้ง ส่วนยางใหญ่หรือยางเปิดกรีดใช้สูตร 15-7-18 และ 20-8-20 เป็นต้น
            แต่การให้ปุ๋ยยางเล็กที่มีพืชแซม จรัญบอกว่ามีความละเอียดอ่อน เพราะปุ๋ยที่จะให้ต้องสัมพันธ์กับพืชแซมด้วย
“การใส่ปุ๋ยยางกับสวนยางเล็กที่ปลูกพืชแซมมีความแตกต่างกัน อย่างสวนยางที่ปลูกข้าวโพดแซม ต้องลดสูตรตัวหน้าลง เพราะปุ๋ยที่ใส่ข้าวโพดจะมียูเรีย และ 25-7-7 อยู่แล้ว ถ้าเอา 20-10-12 ไปซ้ำ เจอฝนอีก ต้นยางจะอ่อนและหักง่าย ส่วนยางที่ปลูกมันก็ต้องใส่ตัวหน้าสูงหน่อย เพราะปุ๋ยมันตัวหลังสูงอยู่แล้ว ที่ยางเสียเป็นอย่างนี้แหละเพราะใส่ปุ๋ยยางไม่ถูก ไม่ดูว่าปลูกอะไร สูตรปุ๋ยจึงไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับพืชแซมด้วย”
          บางครั้งก็ต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์สลับกับปุ๋ยเคมี 1 รอบ
            แต่ถ้าจะให้ต้นยางโตไว จรัญแนะนำว่า เมื่อถึงหน้าแล้งต้องไถพรวนดินในร่องยาง โดยเฉพาะยางเล็กช่วง 1-3 ปี ทั้งนี้เพื่อระบายความร้อนพร้อมๆ กับทำแนวกันไฟ “ถ้าไถต้นยางจะงาม”
ความแตกต่างของการปลูกสวนยางของที่นี่คงจะหนีไม่พ้นรูปแบบการจ้างแรงงานในสวนยาง ปกติจะมีการบางผลประโยชน์แบบหุ้นส่วน เช่น 60 : 40 และ 70 : 30
แต่การจ้างงานในสวนยางของที่นี่จะให้เป็นรายวันๆ ละ 250-300 บาท/วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฝีมือของแรงงานเป็นสำคัญ 
สำหรับสวนยางที่มีพื้นที่ไม่มาก เกษตรกรส่วนใหญ่จะจะใช้แรงงานภายในครอบครัว กรีดแบบ วัน เว้น วัน เพราะต้นยางยังอายุมีมาก
                       
สวนยางอายุเกือบ 8 ปีของผู้ใหญ่เล็ก แม้ต้นจะใหญ่แต่เขาก็ยังไม่เปิดกรีด โดยให้เหตุผลว่า 
“ตอนนี้มีทุนเราก็เลือกกรีดเฉพาะต้นใหญ่ๆ ได้ขนาด ไม่กรีดต้นเล็กเป็นแบบอย่างลูกบ้าน” 
ความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไปหลังปลูกยาง
“ปลูกยางไม่เหนื่อยเมื่อเทียบกับการทำพืชตัวอื่น เปิดกรีดใหม่ๆ ได้เงินพอๆ กับพืชไร่ แต่ในระยะยาวสูงกว่า ไม่เสี่ยงเรื่องโรคแมลง ปุ๋ยยาใส่น้อย เพียงปีละ 2 ครั้งเท่านั้น ใช้แรงงาน 7-8 คน ให้รายวันหรือไม่ก็เหมาเป็นแปลง ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่เคยทำงานในไร่ ถ้ามีพื้นที่ไม่มากสามารถทำกันเองในครอบครัวได้” จรัญเปรียบเทียบ
            “ดีกว่าอาชีพเกษตรอื่นทั้งหมด ขายได้ทั้งน้ำยาง และขายไม้” จรินทร์บอกอย่างนี้
           
ผู้ใหญ่บ้านปลูกยางนำร่อง 100 ไร่ เป็นตัวอย่างให้ชาวบ้าน
อีกตัวอย่างหนึ่งของการปลูกยางในกำแพงเพชรคือ เส้นทางการปลูกยางของ อรุณรัตน์ ทิวารัตนอังกูน หรือที่ชาวบ้านทรัพย์สีทองพัฒนา เรียนกันว่า “ผู้ใหญ่เล็ก” เพราะเขาเป็นพ่อบ้านหมู่ 14 ต.ไตรตรึงษ์ อ,เมือง นั่นเอง
“ผู้ใหญ่เล็ก” หรือ อรุณรัตน์ ทิวารัตนอังกูน มีสวนยาง 110 ไร่
เปิดกรีดแล้วจำนวนหนึ่ง มีรายได้จากสวนยางปีละเป็นล้านบาท
 แต่ถ้าเปิดกรีดเต็มพื้นที่เขาบอกว่ารายได้วันละ 
1-2 หมื่นบาทแน่นอน
การที่เขาทำสวนยางจึงไม่ต้องทุจริตอะไรเลย
ขณะเดียวกันยังเป็นแบบอย่างให้กับลูกบ้านอีกด้วย
ปัจจุบันลูกบ้านของเขา 
50 จาก 140 ครอบครัวหันมาทำสวนยางกันแล้ว
ปัจจุบันเขามาสวนยางในพื้นที่มากกว่ารวม 110  ไร่ และดูแลสวนยางให้กับพักพวกอีกหลายร้อยไร่ เขาบอกว่าการที่เรามีรายได้จากสวนยาง ทำให้ไม่เดือนร้อนเรื่องเงิน จึงไม่จำเป็นต้องทำอะไรที่ทุจริตเลย เพราะลำพังสวนยางที่เปิดกรีดยังไม่เต็มพื้นที่ก็มีรายได้ปีละกว่า 1 ล้านบาทแล้ว แต่ถ้ากรีดเต็มพื้นที่ได้คืนละ 1-2 หมื่นบาท
            ผู้ใหญ่เล็กนับเป็น 1 ใน 5 รายแรกที่ปลูกยางในกำแพงเพชร ตั้งแต่ ปี 2531 และความได้เปรียบของเขาคือ ความเป็นคนชุมพร ซึ่งมีความซี้กับสวนยางดี
เขาเล่าว่า “สวนยางเราจัดการง่าย เป็นที่ราบไม่เหมือนทางใต้ปลูกกันบนภูเขา ให้ปุ๋ย ตัดกิ่งกรีดยางง่าย ขับรถในสวนยางได้เลย”
ด้วยความเป็นผู้ใหญ่บ้าน เขาจึงต้องทำตัวเป็นแบบอย่างแก่ลูกบ้าน ไม่เว้นแม้กระทั่งการดูแลสวนยาง สวนยองของเขาจะเลือกกรีดเฉพาะต้นยางที่ได้ขนาดเท่านั้น เพราะตรงนี้จะเป็นตัวอย่างให้ชาวบ้าน
 “ผมก็พาเพื่อนผู้ใหญ่มาดูสวนผมให้เขาไปทำ จะได้ไปทำกันบ้าน พอทำได้ดีเข้าก็เอาไปบอกลูกบ้าน ความเป็นอยู่ก็ดีขึ้นการปลูกยางเราก็ต้องทำให้เป็นตัวอย่างกับลูกบ้าน อย่างเมื่อก่อน 6 ปี เราก็เลือกกรีดแล้ว เพราะเมื่อก่อนเรายังไม่มีทุน แต่ตอนนี้มีทุนเราก็เลือกกรีดเฉพาะต้นใหญ่ๆ ได้ขนาด ไม่กรีดต้นเล็กเป็นแบบอย่างลูกบ้าน”
ชาวบ้านมีความอบอุ่น เพราะสวนยางอยู่ใกล้ๆ กัน กรีดยางไปก็ตะโกนคุยกันได้ ไม่ต้องกลัวเรื่องโจรผู้ร้าย
ผู้ใหญ่เล็กล่าว่า มีลูกบ้านลูกบ้าน 140 ครอบครัว ปลูกยางกว่า 50 ครอบครัว ที่เหลือยังทำไร่ บ้านที่ไม่มีสวนยางก็จะ
“ชาวบ้านทำมัน ขายแรงงานในสวนมัน ตากแดดทั้งวันได้วันละ 300 เราก็อยากให้เขาทำงานที่ดีขึ้น ไม่ต้องเหนื่อย มันปลูกปีหนึ่งกว่าจะได้เงิน แต่ยางกรีดวันนี้ได้เงินพรุ่งนี้ แต่จะเหนื่อยหน่อยช่วงยางเล็ก ถ้าไม่มีเงินยืมข้างบ้านพรุ่งนี้ใช้ ขายขี้ยางจบ หรือจะรับจ้างกรีดยาง อย่างน้อยๆ ก็คืนละ 500 บาท ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น”
ดัชนีชี้วัดอย่างรถปิ๊กอัพมีกันทุกบ้าน ออกรุ่นใหม่ทั้งนั้น แม้กระทั่งผู้ใหญ่เล็กเองก็ตาม
“เมื่อก่อนผมขับอีแต๋น แต่วันนี้ อีซูซุ โฟร์วิล 4 ประตูรุ่นท็อป”


ขอขอบคุณ
จรินทร์ เดชเดชะ
อรุณรัตน์ ทิวารัตนอังกูน
จรัญ เดชเดชะ
สหกรณ์กองทุนสวนยางนครไตรตรึงษ์ กำแพงเพชร จำกัด
193/2 หมู่ 12 ต.ไตรตรึงษ์ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร โทรศัพท์ 08-1280-9731, 08-9565-2944, 08-1382-4306



ยางเศรษฐกิจ ฉบับ 14/2555 (พฤษภาคม)
_________________________________________
ชาวชากังราว ยึดอาชีพสวนยางสร้างอนาคตที่ดีกว่า
ผลผลิตเพิ่มกว่า 1,000 ตัน/ปี

ยางแผ่นดิบเป็นการแปรรูปน้ำยางสดเบื้องต้นที่ชาวสวนยางเมืองกำแพงเพชรนิยมผลิตมากที่สุด เพราะนอกจากจะได้ราคาสูงกว่าการทำยางก้อนถ้วยแล้ว ยังเก็บสต็อกในช่วงยางราคาผันผวนอีกด้วย


เรื่อง : พิมพ์ใจ พิสุทธิ์จริยานันท์
           
           เส้นทางของการเริ่มต้นมักจะ “ขรุขระ” เสมอ...???
            หรือไม่ก็เหมือนกับการเปิดป่าถางพง
ต้องถางทางกันอย่างยากลำบาก เพราะมี “ขวากขนาม” คอยทิ่มตำ
            แต่ถ้าอดทน มุมานะข้ามผ่านมันมาได้ ก็มักจะเจอพื้นที่ใหม่ที่เรียบรื่นเสมอ...!!!
            ตัวอย่างดังกล่าวใช้ได้ดีกับการบุกเบิกปลูกยางในพื้นที่ใหม่...???
            
           เพราะการปลูกยางในพื้นที่ใหม่ต้องเจอกับปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ตั้งแต่ความโหดหินของสภาพอากาศ ความกันดานจากองค์ความรู้จากภาครัฐและเอกชน หรือแม้กระทั่งเกษตรกรต้นแบบ และสำคัญที่สุดคือ ห่างไกลตลาดรับซื้อผลผลิต บางพื้นที่ต้องเดินทางหลายร้อยกิโลเพื่อนำยางไปขาย
            แต่ส่วนใหญ่ถ้าผ่านเส้นทางอันขรุขระเหล่านี้มาแล้ว มักจะเจอกับชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเดิมเสมอ
           
           หนึ่งในตัวอย่างที่จะขยายภาพให้เห็นชัดเจนคือ การบุกเบิกปลูกยางของชาวกำแพงเพชร หรืออาณาจักร “ชากังราว” ในประวัติศาสตร์
จรินทร์ เดชเดชะ ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางนครไตรตรึงษ์ 
และยังเป็นประธานเกษตรกรชาวสวนยางของ สกย.และ อสย. 
เขานับเป็นผู้บุกเบิกปลูกยางในกำแพงเพชรเมื่อ 24 ปีก่อน 
จนมีเกษตรกรที่ส่วนใหญ่ทำไร่มันหันมาปลูกตามจำนวนมาก
 แค่สมาชิกสหกรณ์ที่เขาเป็นประธานอยู่ก็กว่า 300 รายแล้ว
            จากการเก็บข้อมูลแบบ “มุขปาฐะ” หรือการพูดคุยกับชาวสวนยางในพื้นที่กำแพงเพชร ได้ข้อมูลว่าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างแห่งนี้เริ่มต้นปลูกยางกันตั้งแต่ปี 2531 โดยอาศัยชาวสวนยางภาคใต้เป็น “ครู”
            เมื่อพบว่าการทำสวนยางเวลา/วันในการทำงานเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่กลับมีรายได้พอๆ กับการทำไร่ อย่าง มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพด เป็นต้น ต่างกันตรงที่การทำไร่ต้องทำกันทั้งวัน ตั้งแต่เช้ายันเย็น
            “คุยกับคนใต้เขาทำยางกันห้าไร่ สิบไร่ แต่มีเงินส่งลูกเรียนสูงๆ กรีดยางวันละไม่กี่ชั่วโมง มีเวลาลงทะเลหาปลาอีกด้วย ไม่เหมือนพืชไร่ที่เราทำ ต้องทำทั้งวันและทุกวัน ได้ร้อยกว่าบาท เขาทำไม่กี่ชั่วโมงได้วันละเป็นพัน รายได้ผิดกันเยอะ”
            จรัญ เดชเดชะ เจ้าของสวนยาง 400 ไร่ เปิดกรีดแล้ว 100 กว่าไร่ ใน ต.ไตรตรึงษ์ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ให้ข้อมูลกับยางเศรษฐกิจ
ครอบครัวของเขาคือ 1 ใน 5 รายที่เริ่มต้นปลูกยางบนแผ่นดินชากังราวเมื่อปี 24 ปีที่แล้ว หลังจากที่ยึดอาชีพทำไร่อ้อยมาตั้งแต่สมัยพ่อแม่
            “ตอนปลูกยางครั้งแรก คิดว่าเอาแต่ต้นละ 50 สตางค์/วันก็พอแล้ว ปลูก 1,000 ต้นได้ 500 บาท แค่นั้นพอ”
ยางแผ่นดิบจากการรวบรวมจากสมาชิกของสหกรณ์ยางไตรตรึงษ์
 เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ปกติจะมีการรวมยางเดือนละ 1 ครั้ง 
ปริมาณไม่ต่ำกว่า 10 ตัน แต่คาดการณ์ว่าปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเพราะสวนยางพร้อมกรีดเพิ่ม

          แต่กว่าจะตัดสินใจปลูกยางได้ก็ต้องเดินทางไปทัศนะศึกษาสวนยางในภาคใต้หลายรอบ เพราะความไม่แน่ใจว่ายางจะปลูกในพื้นที่ของตัวเองได้หรือไม่
ก่อนที่จะขุดตัวอย่างดินในพื้นที่สิบกว่าจุดไปตรวจที่สุราษฎร์ธานีเพื่อกระชับความแน่ใจ
“เขาบอกว่าดินดีกว่าภาคใต้อีก” ผลตรวจวิเคราะห์จึงเป็นเหมือนการเปิด “ไฟเขียว” ให้ปลูกยางครอบครัวของจรัญปลูกยางทันที
กล้ายางสารพัดประเภททั้ง “ชำถุง” และ “ตาเขียว” ถูกขนขึ้นรถปิ๊กอัพขึ้นมาจากภาคใต้ ก่อนกระจายไปปลูกในพื้นที่ของเกษตรกรที่กล้าเป็น “หนูลองยา” 5 ราย
ส่วนของจรัญปลูกยางจำนวน 11 ไร่ ปีถัดมาปลูกเพิ่มอีก 20 กว่าไร่ 
ภายหลังการปลูกยางที่แทบจะก็อปปี้จากภาคใต้มา อย่าง การใช้พันธุ์ยาง RRIM 600 ระยะ 3X8 เมตร และใช้ต้นยางตาเขียวมาปักปลูกในหลุม ผลคือตายหมด 100% เหลือรอดเพียงต้นที่ปลูกด้วยยางชำถุงเท่านั้น  
            “ตอนนั้นไม่เป็นอะไรสักอย่าง สิ้นปีเหมือนสิ้นแรง เพราะยางไม่ค่อยโต ทำอย่างไรยางจะโต ต้องใส่ปุ๋ยสูตรอะไร ก็รวมเงินกันลงไปดูทางใต้อีก ได้ความรู้มาก็มีกำลังใจเอามาทำอีก เพราะเมื่อก่อนไม่มีโทรศัพท์ พอยางเข้าปีที่ 4 ใบเหลืองทิ้งทั้งต้น นึกว่ามันตายแน่นอนก็วิ่งไปใต้อีก” จรัญย้อนปัญหาในช่วงเริ่มต้น
            จนเมื่อต้นยางปีที่ 5-6 ก็เกิดปัญหาลูกใหญ่ เพราะยางใกล้กรีด ต้องไปขอความช่วยเหลือจากเกษตรจังหวัดเรื่องการกรีดยาง
แต่ด้วยยางเป็นพืชตัวใหม่ ไม่มีข้อมูลในสารบบของจังหวัด จึงต้องส่งเรื่องต่อไปยังกรมวิชาการเกษตรในกรุงเทพ
สวนยางอีกแปลงของจรัญในช่วงปิดหน้ายาง 3 เดือน ช่วงนี้ต้องมีการทำแนวกันไฟ 
ต้องกวาดเศษไม้ใบหญ้ามารวมกันไว้ระหว่างแถวยางเพื่อกันไป 
และเศษซากใบไม้เหล่านี้ยังรักษาความชื้นและย่อมเป็นปุ๋ยอินทรีย์ในอนาคต
“เขาก็ไม่เชื่อว่ามีคนปลูกยางที่นี่จริงๆ แรกๆ ไม่มีใครมาสนใจเลย จนหมดหนทางเราบอกเขาว่าถ้ามาดู เสียค่าเดินทางเท่าไหร่จะออกค่าใช้จ่ายให้ คือจ้างให้เขามาดูเลย”
จนท้ายที่สุดเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตรเดินทางขึ้นมาดูก่อน ในปี 2539 ขณะนั้นต้นยางอายุ 8 ปี พร้อมกรีดแล้ว เมื่อเจ้าหน้าที่เห็นว่ามีการปลูกยางจริงๆ และต้องตกใจเพราะขณะนั้นมีพื้นที่ปลูกยางพร้อมกรีดแล้ว 300 ไร่ จึงมีการจัดงบประมาณและส่งเจ้าหน้าที่มาอบรมการกรีดยางครั้งแรก โดยมีเกษตรกรมาเรียนทั้งหมด 40 คน ใช้เวลา 9 วัน
            เมื่อต้นยางพร้อม วิชากรีดยางพร้อม น้ำยางหยดแรกจึงเกิดขึ้นบนแผ่นดินกำแพงเพชร
   
         หากแต่นั้นไม่ใช่ปลายทางของการปลูกยาง เพราะยังมีปัญหาที่ใหญ่


กว่า คือ กรีดยางแล้วจะเอาไปขายที่ไหน...???
            “พอกรีดยางได้เราก็ทำยางแผ่นดิบ แล้วรวมยางกันไปขายภาคใต้ และระยอง ตอนนั้นราคากิโลละ 16 บาทเอง” แม้ระยะทางจะค่อนข้างไกล แต่นั่นเป็นตัวเลือกเพียงไม่กี่แห่งที่ใกล้ที่สุด
            อย่างไรก็ตามเมื่อนักบุกเบิกปลูกยางใน ต.ไตรตรึงษ์ 5 รายแรกเริ่มมีผลผลิต ชาวบ้านละแวกใกล้เคียงจึงเริ่มให้ความสนในปลูกยางกันบ้างปละปลาย แต่ไม่ถึงกับฮือฮา เพราะส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจกับพืชพลัดถิ่นตัวนี้ และที่สำคัญกว่านั้นน่าจะมาจากการขาดความรู้เรื่องการปลูกยาง พืชไร่จึงยังชัวร์และแน่นอนกว่า
            “ยาง16 บาท/กิโล รายได้รวมยังถือว่าดีกว่าทำมัน ตันละแค่ 600 บาท แต่ยางจากที่เราคิดว่าได้เงินต้นละ 50 สตางค์ก็คุ้มแล้ว แต่เอาจริงๆ มันได้มากกว่า 1 บาท/ต้น/วัน  ตันละเกือบ 2 หมื่นบาท” จรัญเปรียบเทียบรายได้ระหว่างมันสำปะหลังกับยาง จนเห็นภาพผลตอบแทนที่แตกต่างกัน 3 เท่าตัว
            ส่วนปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของยาง อย่าง สภาพอากาศ เป็นต้น ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการปลูกยางในกำแพงเพชรแต่อย่างใด โดยมีปริมาณน้ำฝน 900-1200 ม.ม./ปี
“อีสานน้อยกว่าเราเขายังปลูกได้เลย”
            ปัจจุบันสวนยางในพื้นที่กำแพงเพชรเริ่มก้าวเข้าสู่ยุครุ่งเรือง เพราะนับตั้งแต่โครงการยาง 1 ล้านไร่ เป็นต้นมา พื้นที่ปลูกยางก็ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
อีกทั้งบรรดา “สวนส้ม” ซึ่งส่วนใหญ่อพยพมาจากทุ่งรังสิตมาฝากฝังอนาคตไว้กับกำแพงเพชร โดยเฉพาะแถบ อ.คลองลาน ปัจจุบันเลิกปลูกไปเกือบหมด เพราะปัจจัยลบหลายอย่าง อดีตเจ้าของสวนส้มที่ปัจจุบันผันตัวเองมาปลูกยางแทน ให้ข้อมูลว่า สู้ต้นทุนปุ๋ย และยาไม่ได้ เพราะแต่ละปีต้องฉีดยาไม่ต่ำกว่า 70 กว่าครั้ง  
           
พื้นที่สวนยางและเกษตรกรโต ตั้งสหกรณ์รวมผลผลิตขายตรงโรงงาน 400 ตัน/ปี
            จากการขยายตัวของพื้นที่ปลูกยางที่มีอัตราการโตขนานไปกับเกษตรกรรายใหม่ๆ จึงมีการรวมตัวของเกษตรกรชาวสวนยางใน จ.กำแพงเพชรในรูปชอง “ชมรมผู้ปลูกยาง จ.กำแพงเพชร” เมื่อ 10 ปีที่แล้ว
6 ปีหลังจากนั้นจึงเปลี่ยนมาชื่อมาเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกยางพารากำแพงเพชร มีแกนนำ 8 คน ซึ่งแต่ละคนก็รับผิดชอบสมาชิกย่อยๆ อีก 7-8 คน
จรัญ เดชเดชะ ลูกชายของจรินทร์ เดชเดชะ
เขาเป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้เรื่องการจัดการสวนยางในพื้นที่เป็นอย่างดี
 เพราะเขาเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่การกรีดยาง 
ปัจจุบันครอบครัวของเขามีสวนยางกว่า 400 ไร่ 
            “หัวใจหลักคือการให้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการปลูกยาง และการขายยาง แนะนำถ่ายทอดกันไป” จรินทร์ เดชเดชะ ประธานสหกรณ์ เผยธุรกิจหลักๆ
            จนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ แห่งนี้เริ่มมีสมาชิกมากขึ้น พอๆ กับปริมาณยาง จึงทำการจดทะเบียนเป็นสหกรณ์กองทุนสวนยางนครไตรตรึงษ์กำแพงเพชร จำกัด มีสมาชิก 248 ราย พื้นที่เปิดกรีดมากกว่า 3,000 ไร่
อย่างไรก็ตามยังมีเกษตรกรที่ไม่ใช่สมาชิก (นอกพื้นที่) นำยางมากขายที่สหกรณ์แห่งนี้ เช่น เกษตรกรจาก จ.ตาก พิษณุโลก ลำพูน และอุทัยธานี เป็นต้น  
            จรินทร์เปิดเผยว่า ธุรกิจหลักของสหกรณ์ขณะนี้คือ การรวบรวมยางจากสมาชิกครั้งละ 1 เดือน ปริมาณการรวมแต่ละครั้ง 10 ตันขึ้นไป หรือ 400-500 ตัน/ปี
แม้ช่วงปิดหน้ายางอย่างต้นเดือนเมษายนที่ยางเศรษฐกิจลงพื้นที่เก็บข้อมูลก็ยังมีการรวมยางขาย เพราะเกษตรกรมีการเก็บสต็อกยางเพื่อเก็งตลาด
อันเป็นผลพวงติดพันมาจากช่วงยางราคาตกเมื่อปลายปีที่แล้ว เกษตรกรจึงเก็บยางเพื่อรอราคายางขึ้น ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าเมื่อเข้าฤดูปิดหน้ายาง ปริมาณยางในตลาดจะลดลง ราคายางน่าจะสูงขึ้น ทำให้เห็นได้ชัดว่าเกษตรกรมีความรู้เรื่องการบริหารจัดการผลผลิตยางค่อนข้างดี
การกรีดยางแบบผิดวิธีดูจะเป็นปัญหาพื้นฐานของสวนยางใหม่
 พื้นที่กำแพงเพชรก็เช่นเดียวกัน ทุกปีในช่วงปิดหน้ายางสหกรณ์แห่งนี้
จึงมีการอบรมเกษตรกรกรีดยางอย่างถูกวิธี 
โดยมีเจ้าหน้าที่จาก สกย.มาให้ความรู้
            “ปีที่แล้วรวมเดือนละ 1 ครั้ง แต่ปีนี้จะเพิ่มเป็นเดือนละ 2 ครั้ง เพราะปีนี้ยางจากโครงการยางล้านไร่เปิดกรีดเต็มพื้นที่ปริมาณยางจากสมาชิกน่าจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว” ประธานสหกรณ์คาดการผลผลิตยางในพื้นที่หลังเปิดกรีดปีนี้
            ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ ปริมาณยางของสหกรณ์แห่งนี้น่าจะมีมากเกือบ 1,000 ตัน/ปี

            ภายหลังการรวบรวมยางและคัดเกรด สหกรณ์จะแจ้งตัวเลขปริมาณยางในแต่ละครั้งไปยังโรงงานต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 3 โรงงาน เช่นบริษัท ใน จ.สุราษฎร์ธานี และ ระยอง เป็นต้น เพื่อให้เขาเสนอราคาซื้อ ยางทั้งหมดจะถูกขายให้กับโรงงานที่ให้ราคาสูงที่สุดในวันนั้น ซึ่งรูปแบบการซื้อขายยางของสหกรณ์แห่งนี้จึงเป็นแบบกึ่งประมูล
            “ใครให้แพง เราขายคนนั้น” ประธานสหกรณ์บอก
            ด้านคุณภาพยางแผ่นดิบของสหกรณ์แห่งนี้จะแบ่งออกเป็น 3 เกรด คือ ยางคุณภาพชั้น  3 ชั้น 4 และชั้น 5 โดยสหกรณ์จะมีเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์คัดคอยคัดเลือกยาง จึงหมดปัญหาเรื่องการคัดเกรดยาง
             “ตอนนี้สหกรณ์กำลังสร้างสำนักงานและโกดังสหกรณ์ จะเริ่มสร้างเดือนเมษายนนี้ งบประมาณ 3.5 ล้าน ได้งบประมาณจากภาครัฐเป็นหลัก”
             
            นอกจากการรวมรวบยางขาย ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็ง และอำนาจในการต่อรองราคา เพื่อไม่ให้เสียเปรียบพ่อค้าแล้ว สหกรณ์แห่งนี้ยังมีการให้ความรู้ด้านต่างๆ แก่สมาชิกอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น การให้ความรู้เรื่องการทำแผ่นยาง การคัดเกรดยาง ฝึกกรีดยาง
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกยางกำแพงเพชร ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.ไตรตรึงษ์ อ.เมือง
 เป็นของกลุ่มเกษตรกรที่มีจรินทร์เป็นประธาน 
มีธุรกิจผลิตกล้ายางชำถุงจำหน่ายเกษตรกรในพื้นที่และใกล้เคียง 
มีกล้ายางหลักๆ 2 พันธุ์ คือ 600 และ 251 ส่วนใหญ่ถูกสั่งจอกเกือบหมดแล้ว 
เป็นภาพสะท้อนว่าพื้นที่ยางในพื้นที่กำลังขยาย
“เราทำเรื่องขอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอให้เขามาให้ความรู้สมาชิก เพิ่งมีการอยรมกรีดยางไปเมื่อเร็วๆ นี้ เพราะมีพื้นที่เปิดกรีดเพิ่มขึ้นมาก บางรุ่นไม่เพียงพอ จนสมาชิกต้องยอมออกค่าใช้จ่ายเอง อบรมครั้งหนึ่งใช้งบประมาณ 40,000 บาท”
จรินทร์ให้ข้อมูล แต่ก็อดที่จะระบายความในใจไม่ได้ว่า “งบที่ให้อบรมกรีดยางน้อยเหลือเกิน ไม่เพียงพอต่อความต้องการ แต่เงินเซสส์ที่เก็บจากเราไปกิโลละ 5 บาท มีมหาศาลทำไม่จัดสรรมาเพิ่มตรงนี้”
ทางสหกรณ์เองก็ส่งเสริมให้สมาชิกทำยางแผ่นดิบ มากกว่าการทำขี้ยาง ซึ่งมีราคาถูกกว่า และทำให้ไร้เสถียรภาพด้านการขาย เพราะไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน
ต่างจากการทำยางแผ่นที่มีราคาสูงกว่า และยังมีมาตรฐานแน่นอน และยังสามารถเก็บได้นานในช่วงที่ยางราคาตกอีกด้วย
ปัญหาหนึ่งของการปลูกยางในกำแพงเพชรคือเกษตรกรขาดความรู้เรื่องการปลูกพืชแซมที่ถูกต้อง
 อย่างในพื้นที่นิยมปลูกมันสำปะหลัง แต่ถ้าปลูกแน่นหรือชิดต้นยางมากเกินไป
 ผลก็จะเป็นอย่างในภาพ ต้นยางอายุมากกว่า 3 ปี แต่ต้นยางแคระแกร็น โตช้า เพราะถูกมันขโมยอาหาร 
สมาชิกส่วนใหญ่ในกำแพงเพชรจึงนิยมทำยางแผ่น
อย่างไรก็ตามการทำยางแผ่นมีต้นทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะต้นทุนเครื่องจักร ประมาณ 40,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ยังไม่รวมอาคาร
เกษตรกรจึงอาศัยอาศัยใช้เครื่องจักรร่วมกัน หรือไม่ก็หุ้นกันซื้อเครื่องจักร เมื่อมีปริมาณยางเยอะจึงค่อยๆ ขยับขยาย
แต่ถ้าครอบครัวไหนมีทุนก็ซื้อได้เลย
“อย่างของผมก็รวมๆ กัน 4-5 รายในกลุ่มญาติ” จรัญ ซึ่งเป็นลูกชายของจรินทร์ให้ข้อมูล

การปลูกยางของชาวชากังราว
            จรัญ เดชเดชะ นับว่าเป็นชาวสวนยางคนหนึ่งที่มีความรู้เรื่องการปลูกยางในพื้นที่ จ.กำแพงเพชร เป็นอย่างดี เขาให้ข้อมูลด้านนี้ว่า พันธุ์ยางที่เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุดคือ RRIM 600 ระยะการปลูกที่เหมาะสมคือ 3X7 เมตร ที่สำคัญคือต้องปลูกช่วงต้นฤดูใน
            สำหรับการปลูกยางปีแรกเกษตรกรในพื้นที่นิยมปลูกมันสำปะหลังเป็นพืชแซม ซึ่งการปลูกมันในสวนยางค่อนข้างเสี่ยงกับการเจริญเติบโตของต้นยาง ถ้าปลูกอย่างไม่ถูกต้อง
ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นคือ ปลูกมันใกล้ต้นยางเกินไป จรัญแนะนำว่า การปลูกมันแซมยางที่ถูกต้องคือ ปลูกให้ห่าง หรือไม่เกิน 3 ร่อง/แถวเท่านั้น หากปลูกถี่มากกว่านี้ต้นยางจะกระทบกระเทือนเพราะถูกแย่งน้ำและอาหาร
“มีเกษตรกรหลายรายปลูกผิดวิธี ยางตาย หรือไม่ก็ไม่โตจำนวนมาก จริงๆ เราหวังต้นยาง เราไม่ได้หวังเอามัน”
เขาบอกว่าถ้าปลูกมันร่องละ 3 แถว จะได้ผลผลิตมันไร่ละ 2 ตัน/ปี
ฝีมือการกรีดยางของจรัญ ด้วยการเรียนรู้เรื่องการทำสวนยางตั้งแต่แรก 
เขาจึงมีแปลงที่ลงมือกรีดเอง การกรีดจึงประณีตมีคุณภาพ หน้ายางไม่เสีย
 ซึ่งอนาคตจะทำให้กรีดยางได้ไม่ต่ำกว่า 30 ปี

            ส่วนอาหารต้นยางอย่างปุ๋ย ปัจจุบันมีให้เลือกหลายสูตร แต่สูตรที่นิยมใช้มากที่สุดคือ  20-10-12 ใช้ใส่ช่วงยางเล็กปีละ 2 ครั้ง ส่วนยางใหญ่หรือยางเปิดกรีดใช้สูตร 15-7-18 และ 20-8-20 เป็นต้น
            แต่การให้ปุ๋ยยางเล็กที่มีพืชแซม จรัญบอกว่ามีความละเอียดอ่อน เพราะปุ๋ยที่จะให้ต้องสัมพันธ์กับพืชแซมด้วย
“การใส่ปุ๋ยยางกับสวนยางเล็กที่ปลูกพืชแซมมีความแตกต่างกัน อย่างสวนยางที่ปลูกข้าวโพดแซม ต้องลดสูตรตัวหน้าลง เพราะปุ๋ยที่ใส่ข้าวโพดจะมียูเรีย และ 25-7-7 อยู่แล้ว ถ้าเอา 20-10-12 ไปซ้ำ เจอฝนอีก ต้นยางจะอ่อนและหักง่าย ส่วนยางที่ปลูกมันก็ต้องใส่ตัวหน้าสูงหน่อย เพราะปุ๋ยมันตัวหลังสูงอยู่แล้ว ที่ยางเสียเป็นอย่างนี้แหละเพราะใส่ปุ๋ยยางไม่ถูก ไม่ดูว่าปลูกอะไร สูตรปุ๋ยจึงไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับพืชแซมด้วย”
          บางครั้งก็ต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์สลับกับปุ๋ยเคมี 1 รอบ
            แต่ถ้าจะให้ต้นยางโตไว จรัญแนะนำว่า เมื่อถึงหน้าแล้งต้องไถพรวนดินในร่องยาง โดยเฉพาะยางเล็กช่วง 1-3 ปี ทั้งนี้เพื่อระบายความร้อนพร้อมๆ กับทำแนวกันไฟ “ถ้าไถต้นยางจะงาม”
ความแตกต่างของการปลูกสวนยางของที่นี่คงจะหนีไม่พ้นรูปแบบการจ้างแรงงานในสวนยาง ปกติจะมีการบางผลประโยชน์แบบหุ้นส่วน เช่น 60 : 40 และ 70 : 30
แต่การจ้างงานในสวนยางของที่นี่จะให้เป็นรายวันๆ ละ 250-300 บาท/วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฝีมือของแรงงานเป็นสำคัญ 
สำหรับสวนยางที่มีพื้นที่ไม่มาก เกษตรกรส่วนใหญ่จะจะใช้แรงงานภายในครอบครัว กรีดแบบ วัน เว้น วัน เพราะต้นยางยังอายุมีมาก
                       
สวนยางอายุเกือบ 8 ปีของผู้ใหญ่เล็ก แม้ต้นจะใหญ่แต่เขาก็ยังไม่เปิดกรีด โดยให้เหตุผลว่า 
“ตอนนี้มีทุนเราก็เลือกกรีดเฉพาะต้นใหญ่ๆ ได้ขนาด ไม่กรีดต้นเล็กเป็นแบบอย่างลูกบ้าน” 
ความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไปหลังปลูกยาง
“ปลูกยางไม่เหนื่อยเมื่อเทียบกับการทำพืชตัวอื่น เปิดกรีดใหม่ๆ ได้เงินพอๆ กับพืชไร่ แต่ในระยะยาวสูงกว่า ไม่เสี่ยงเรื่องโรคแมลง ปุ๋ยยาใส่น้อย เพียงปีละ 2 ครั้งเท่านั้น ใช้แรงงาน 7-8 คน ให้รายวันหรือไม่ก็เหมาเป็นแปลง ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่เคยทำงานในไร่ ถ้ามีพื้นที่ไม่มากสามารถทำกันเองในครอบครัวได้” จรัญเปรียบเทียบ
            “ดีกว่าอาชีพเกษตรอื่นทั้งหมด ขายได้ทั้งน้ำยาง และขายไม้” จรินทร์บอกอย่างนี้
           
ผู้ใหญ่บ้านปลูกยางนำร่อง 100 ไร่ เป็นตัวอย่างให้ชาวบ้าน
อีกตัวอย่างหนึ่งของการปลูกยางในกำแพงเพชรคือ เส้นทางการปลูกยางของ อรุณรัตน์ ทิวารัตนอังกูน หรือที่ชาวบ้านทรัพย์สีทองพัฒนา เรียนกันว่า “ผู้ใหญ่เล็ก” เพราะเขาเป็นพ่อบ้านหมู่ 14 ต.ไตรตรึงษ์ อ,เมือง นั่นเอง
“ผู้ใหญ่เล็ก” หรือ อรุณรัตน์ ทิวารัตนอังกูน มีสวนยาง 110 ไร่
เปิดกรีดแล้วจำนวนหนึ่ง มีรายได้จากสวนยางปีละเป็นล้านบาท
 แต่ถ้าเปิดกรีดเต็มพื้นที่เขาบอกว่ารายได้วันละ 
1-2 หมื่นบาทแน่นอน
การที่เขาทำสวนยางจึงไม่ต้องทุจริตอะไรเลย
ขณะเดียวกันยังเป็นแบบอย่างให้กับลูกบ้านอีกด้วย
ปัจจุบันลูกบ้านของเขา 
50 จาก 140 ครอบครัวหันมาทำสวนยางกันแล้ว
ปัจจุบันเขามาสวนยางในพื้นที่มากกว่ารวม 110  ไร่ และดูแลสวนยางให้กับพักพวกอีกหลายร้อยไร่ เขาบอกว่าการที่เรามีรายได้จากสวนยาง ทำให้ไม่เดือนร้อนเรื่องเงิน จึงไม่จำเป็นต้องทำอะไรที่ทุจริตเลย เพราะลำพังสวนยางที่เปิดกรีดยังไม่เต็มพื้นที่ก็มีรายได้ปีละกว่า 1 ล้านบาทแล้ว แต่ถ้ากรีดเต็มพื้นที่ได้คืนละ 1-2 หมื่นบาท
            ผู้ใหญ่เล็กนับเป็น 1 ใน 5 รายแรกที่ปลูกยางในกำแพงเพชร ตั้งแต่ ปี 2531 และความได้เปรียบของเขาคือ ความเป็นคนชุมพร ซึ่งมีความซี้กับสวนยางดี
เขาเล่าว่า “สวนยางเราจัดการง่าย เป็นที่ราบไม่เหมือนทางใต้ปลูกกันบนภูเขา ให้ปุ๋ย ตัดกิ่งกรีดยางง่าย ขับรถในสวนยางได้เลย”
ด้วยความเป็นผู้ใหญ่บ้าน เขาจึงต้องทำตัวเป็นแบบอย่างแก่ลูกบ้าน ไม่เว้นแม้กระทั่งการดูแลสวนยาง สวนยองของเขาจะเลือกกรีดเฉพาะต้นยางที่ได้ขนาดเท่านั้น เพราะตรงนี้จะเป็นตัวอย่างให้ชาวบ้าน
 “ผมก็พาเพื่อนผู้ใหญ่มาดูสวนผมให้เขาไปทำ จะได้ไปทำกันบ้าน พอทำได้ดีเข้าก็เอาไปบอกลูกบ้าน ความเป็นอยู่ก็ดีขึ้นการปลูกยางเราก็ต้องทำให้เป็นตัวอย่างกับลูกบ้าน อย่างเมื่อก่อน 6 ปี เราก็เลือกกรีดแล้ว เพราะเมื่อก่อนเรายังไม่มีทุน แต่ตอนนี้มีทุนเราก็เลือกกรีดเฉพาะต้นใหญ่ๆ ได้ขนาด ไม่กรีดต้นเล็กเป็นแบบอย่างลูกบ้าน”
ชาวบ้านมีความอบอุ่น เพราะสวนยางอยู่ใกล้ๆ กัน กรีดยางไปก็ตะโกนคุยกันได้ ไม่ต้องกลัวเรื่องโจรผู้ร้าย
ผู้ใหญ่เล็กล่าว่า มีลูกบ้านลูกบ้าน 140 ครอบครัว ปลูกยางกว่า 50 ครอบครัว ที่เหลือยังทำไร่ บ้านที่ไม่มีสวนยางก็จะ
“ชาวบ้านทำมัน ขายแรงงานในสวนมัน ตากแดดทั้งวันได้วันละ 300 เราก็อยากให้เขาทำงานที่ดีขึ้น ไม่ต้องเหนื่อย มันปลูกปีหนึ่งกว่าจะได้เงิน แต่ยางกรีดวันนี้ได้เงินพรุ่งนี้ แต่จะเหนื่อยหน่อยช่วงยางเล็ก ถ้าไม่มีเงินยืมข้างบ้านพรุ่งนี้ใช้ ขายขี้ยางจบ หรือจะรับจ้างกรีดยาง อย่างน้อยๆ ก็คืนละ 500 บาท ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น”
ดัชนีชี้วัดอย่างรถปิ๊กอัพมีกันทุกบ้าน ออกรุ่นใหม่ทั้งนั้น แม้กระทั่งผู้ใหญ่เล็กเองก็ตาม
“เมื่อก่อนผมขับอีแต๋น แต่วันนี้ อีซูซุ โฟร์วิล 4 ประตูรุ่นท็อป”


ขอขอบคุณ
จรินทร์ เดชเดชะ
อรุณรัตน์ ทิวารัตนอังกูน
จรัญ เดชเดชะ
สหกรณ์กองทุนสวนยางนครไตรตรึงษ์ กำแพงเพชร จำกัด
193/2 หมู่ 12 ต.ไตรตรึงษ์ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร โทรศัพท์ 08-1280-9731, 08-9565-2944, 08-1382-4306


Random Posts

randomposts