์News

์News
บทความใหม่/feature

ปาล์มน้ำมัน

ปาล์มน้ำมัน/module

ยางพารา

ยางพารา/column
adv/http://www.mogflat.blogspot.com|https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi8OfLRJdd3q-OAmBEdQh0c8-KYsngb-8bnuJOVW8F7pQyQkTv95K1rm8OBMEp49uKvWplKg6InFY41T-9MKGlXk0s4V5kc46LPKW2zMozGqp0Er7Ls9Hybm0vztR7GJ5JluPmdsUTf64s/s1600/adv-3.jpg

NEWS

News/style
adv/http://www.mogflat.blogspot.com|https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi8OfLRJdd3q-OAmBEdQh0c8-KYsngb-8bnuJOVW8F7pQyQkTv95K1rm8OBMEp49uKvWplKg6InFY41T-9MKGlXk0s4V5kc46LPKW2zMozGqp0Er7Ls9Hybm0vztR7GJ5JluPmdsUTf64s/s1600/adv-3.jpg

เคทนิค

เทคนิค/style

วิชาการ

ยางพารา/carousel

แนะนะ

ปาล์มน้ำมัน/box

Recent Posts

สวนปาล์มคุณภาพ ผลผลิตสูง ของชายวัยเกษียณ อ.พรพันธุ์ศักดิ์ พาหะมาก

สวนปาล์มคุณภาพ ผลผลิตสูง ของชายวัยเกษียณ อ.พรพันธุ์ศักดิ์ พาหะมาก

ปัญหาของคนรับราชการ คือเกษียณแล้วจะไปทำอะไร...???
แต่สำหรับ อ.พรพันธุ์ศักดิ์พาหะมาก ข้าราชการสายการศึกษาใน จ.สุราษฎร์ธานี คิดและวางแผนไว้ตั้งแต่ก่อนเกษียณ 12 ปี ว่าจะทำสวนปาล์มน้ำมัน พร้อมๆ กับเริ่มลงมือทำนับจากนั้น
ปัจจุบันหลังจากเกษียณอายุเมื่อปีที่แล้ว จึงไม่ใครถามเขาเลยว่าหลังเกษียณแล้วทำอะไร

วันนี้ อ.พรพันธุ์ศักดิ์ เรียกตัวเองว่า “ชาวสวนปาล์ม” เต็มตัว แม้จะมีคนเรียกว่าอาจารย์ก็ตาม ที่สำคัญไม่ใช่เป็นแค่ชาวสวนปาล์มที่มีสวนปาล์มเท่านั้น


หากแต่เป็นสวนปาล์มคุณภาพ ให้ผลผลิตสูง เพราะพื้นที่สวนปาล์ม 3 แปลงพื้นที่แค่ 40 กว่าไร่ แต่ได้ผลผลิตมากกว่าสวนปาล์มทั่วไป มากกว่า 2 เท่า ซึ่งทั้งหมดไม่ได้มาจาก“ฟ้าประทาน” แต่มาจาก “หลักคิด” และ “ลงมือทำ” อย่างมุ่งมั่นจริงจัง

ภาพที่พวกเรายางปาล์มออนไลน์เห็น อ.พรพันธุ์ศักดิ์ ดูไม่เหมือนชายวัยเกษียณเลยแต่เหมือนคนหนุ่มที่ยังสนุกและมีพลังในการทำและพัฒนาสวนปาล์มต่างหาก

เราจะพาไปทำความรู้จักชายวัยเกษียณ ที่มีพลังเหมือนหนุ่มคนนี้ พร้อมเรียนรู้การทำปาล์มคุณภาพได้ผลผลิตสูง แม้เนื้อหาจะยาวสักหน่อยแต่รับรองเลยว่าจะเป็นการอ่านที่คุ้มค่าที่สุดเรื่องหนึ่งทีเดียว 
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
วางแผนทำสวนปาล์ม ปูทางสู่ชาวสวนปาล์มหลังเกษียณ
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ผมรับราชการสายการศึกษา ตำแหน่งสุดท้ายผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศฯ สำนักงานเขตการศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 เกษียณเมื่อกันยายน 2559 รับราชการมา 40 กว่าปี วันหนึ่งมาคิดว่าถ้าอยู่อย่างนี้รอวันเกษียณ ถึงวันนั้นจะไปทำอะไร ผมเลยคิดว่าจะสร้างงานเองเพื่อรองรับหลังเกษียณดีกว่า


สภาพพื้นที่สุราษฎร์ แถบท่าฉาง
พุนพิน เป็นที่ลุ่ม ส่วนใหญ่ปลูกปาล์มกัน เลยคิดว่าน่าจะปลูกปาล์ม เพราะดูแลไม่ยากนัก
ไม่ต้องทำงานทุกวัน ตัดทุกๆ 15 วัน ทั้งปี
เหมาะกับเวลาราชการในช่วงที่ยังไม่ออกมาทำเต็มตัว ทิ้ง 15 วัน 30 วัน ไม่มีปัญหา เลยซื้อที่แปลงหนึ่งเริ่มปลูกปาล์ม
ปี 2548 ตอนนั้นในหัวไม่มีความรู้เรื่องปาล์มน้ำมันต้องเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด เรียนรู้จากสวนของจริงเลย
ทำไมต้นปาล์มมันผอม ใบบาง ก้านใบเล็ก ใครมาขายปุ๋ยเราไม่รู้ก็ซื้อมาใช้ ใส่ก็น้อย
เพราะไม่รู้ว่ามันต้องการเท่าไหร่ ปาล์ม 5 ปีแรก ต้นกิ่ว เอวคอด
ไม่ต่างจากคนเป็นโปลิโอ เพราะขาดสารอาหาร ใช้เวลาเป็น 10 ปีนะ
กว่าจะรู้ว่าปาล์มต้องการอะไร ตอนแรกเรียนรู้จากการถาม มีคนแนะนำบ้าง
พอไม่รู้เราก็เชื่อ หลังจากนั้นเราค่อยๆ ค้นหาความรู้ ค้นหาความจริง
และสังเกตจากการปฏิบัติ

จนเมื่อเริ่มต้นปลูกปาล์มน้ำมันใหม่อีกแปลง
ทีนี้เริ่มตั้งแต่เลือกสายพันธุ์ใหม่ๆ เป็นพันธุ์คอมแพคให้ผลผลิตสูง จากนั้นพยายามศึกษาธรรมชาติของปาล์มพันธุ์นี้
เลยรู้ว่ามันต้องการอาหารสมบูรณ์ ขาดน้ำไม่ได้นาน ขาดปุ๋ยไม่ได้

ตอนหลังปลูกอีกแปลงหาพันธุ์ที่ดีกว่าคอมแพคอีก
มีคนแนะนำ คอมแพคเนื้อเยื่อ “พันธุ์ทอร์นาโด” ศึกษาอยู่พักใหญ่
แล้วก็ตัดสินใจจอง ราคาต้นละ 450 บาท เป็นต้นพันธุ์ที่โคลนนิ่งมาจากตาดอกของต้นปาล์มอายุ
9 ปี คัดเลือกต้นสมบูรณ์ที่สุด ผลผลิตดกที่สุด
ลูกที่ได้จะมีลักษณะใกล้เคียงเหมือนต้นแม่ ต้นปาล์มจะโตสม่ำเสมอ ปัจจุบันแปลงนี้
อายุ 5 ปี 8 เดือน ให้ผลผลิตสูงมาก
 
ปาล์มพันธุ์ คอมแพคเนื้อเยื่อ “พันธุ์ทอร์นาโด” 
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
การดูแลยึดวิชาการเป็นฐาน และปรับตามผลผลิต
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
การดูแลสวนปาล์มอาศัยตามหลักวิชาการเป็นฐาน
และจากการเรียนรู้สังเกตภายในสวน อย่างปาล์มออกลูกดก
เราจะใส่ปุ๋ยตามหลักวิชาการมันน้อยไป เราต้องชดเชยปุ๋ยให้ไปเลี้ยงทะลายเพิ่ม
และชดเชยปุ๋ยที่ออกไปกับทะลายที่ตัดขาย

ต้นไหนมีดอกมากใส่มาก ถ้าใส่ขาดอีกไม่นาน
3-4 เดือนจะไม่ออกดอกตัวเมีย มีแต่ตัวผู้ เพราะอาหารที่สะสมในต้นถูกนำไปเลี้ยงทะลายจนหมด
ตาดอกมันกำลังกำหนดเพศอาจจะเป็นตัวเมีย แต่พอถึงเวลาที่ช่อดอกแทงออกมาอาหารไม่พอ
มันก็จะเปลี่ยนเป็นตัวผู้ เพราะอาหารไม่พอ ต้นปาล์มมันก็ปรับตัว ถ้าดูแลดี น้ำ
ปุ๋ย ความชื้นเพียงพอ มันจะเปลี่ยนเป็นเพศเมีย และแทงช่อดอกตัวเมียออกมา

อย่างเมื่อปลายปี 57 ต่อกับต้นปี 58
ประมาณ 5 เดือน เกิดแล้งจัด ปรากฏว่าปาล์มออกดอกตัวผู้ 2 ชั้น 16 ดอก ทุกต้น แต่หลังจากได้รับน้ำเมื่อเดือน
พ.ค.59 ตอนนี้มันเริ่มออกดอกตัวเมียแล้ว

ผมจะชอบสังเกตการแทงดอกของต้นปาล์ม
สังเกตที่กาบทางใบ ผมจะจดวันที่ดอกผสมเกสรไว้ ดูจากดอกที่ออกมาเกสรสีขาวมันยังไม่ผสม
แต่พอเริ่มเป็นสีชมพูแสดงว่าผสมแล้ว
ผมอยากรู้ว่าดอกที่ผสมแล้วกี่วันจึงจะตัดทะลายได้ จากสถิติจากดอกที่ผสมแล้วจนตัดทะลายได้
ถ้าปาล์มเล็กประมาณ 3 เดือนครึ่ง ส่วนปาล์มใหญ่ไม่เกิน 5 เดือนกว่าๆ ไม่เกิน 6
เดือน
 
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ใส่ปุ๋ยตามหลักวิชาการ ตามช่วงอายุ และตามผลผลิต เฉลี่ย 15-18 กก./ต้น/ปี
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ปุ๋ย เป็นอาหารที่สำคัญของต้นปาล์ม
หลักการใส่ปุ๋ยผมใช้ 2 หลัก คือ ตามที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดตามอายุปาล์มเป็นฐาน
และเพิ่มตามผลผลิตที่ออกมา ถ้าปาล์มออกออกทะลายมาดกเราก็ใส่เพิ่มเข้าไปไม่ต้องไปเสียดาย



ในช่วงที่ปาล์มให้ผลผลิต ผมจะปุ๋ยแบ่งใส่เป็นชุดๆ
ละทุกๆ  4 เดือน โดยใช้แม่ปุ๋ย ไนโตรเจน สูตร
21-0-0, ฟอสฟอรัส สูตร 18-46-0 และ 0-3-0  สองตัวนี้ใส่ต้นละครึ่งกิโล
ส่วนโปแตสเซียม 0-0-60 ใส่ต้นละ 1 กิโลแมกนีเซียม ครึ่ง กก. และ โบรอน ต้นละ 100
กรัม

โบรอน ถ้าตามหลักวิชาการเขาให้ใส่
100 กรัม/ต้น/ปี แต่ไม่พอเลยเพิ่มเป็น  200
ก็ยังไม่พอ มานึกว่าผลผลิตออกเยอะมันใช้สารอาหารเยอะ สารอาหารหายไปจากดินเยอะ ผมจึงต้องใส่เพิ่มขึ้นเป็น
400 กรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 2-3 ครั้ง ใส่บริเวณโคนต้น

สรุปปีหนึ่งเฉลี่ยปุ๋ยทุกตัวใส่ต้นละ
15-18 กก./ปี

ทางใบ 1 ไร่จะให้น้ำหนักประมาณ 1 ตันครึ่ง และมีปุ๋ยเคมีตกค้างที่เป็น N P K ประมาณ 1 กระสอบ และเป็นอินทรีย์บำรุงดิน 
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ทางใบปาล์ม ปุ๋ยอินทรีย์ฟรีๆ มีธาตุอาหารสูง
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
การตัดแต่งทางใบจะทำปีละ 2-3 ครั้ง
และตามโอกาสที่ดูว่าทางใบเหลือมากเกิน แต่หลักๆ จะเหลือทางใบไว้ใต้ทะลาย  2 ทาง คือ ทางรองทะลายและทางรับน้ำ แต่ปาล์มใหญ่อายุ
10 ปีขึ้นไป ไว้ทางเดียวได้ก็ได้ ปาล์มเล็กทำไมต้องไว้ 2 ทาง
เพราะทางล่างมันยังสร้างอาหารได้อยู่ เพื่อเลี้ยงลำต้นและทะลาย ถ้าไม่มีทางรับน้ำจะทำให้น้ำหนักทะลายลดลงประมาณ
5 กก. และทะลายด้านบนจะเล็กลงเรื่อยๆ ดอกผู้จะออกมาเร็วเพราะธาตุอาหารลดลง



ทางใบไหนที่ควรเอาออก ก็เลือกทางใบที่ไม่ได้รับแสง
เนื่องจากทางที่รับแสงจะช่วยปรุงอาหาร แต่ทางที่ไม่ได้รับแสง มันจะกินอาหารแทนที่จะช่วยกลับกลายเป็นภาระของต้น
พวกนี้ต้องเอาออก ทุกครั้งที่มีการตัดทะลายแล้วตัดแต่งทางไปในตัวจะดีและประหยัดมาก
แต่ส่วนใหญ่จะแยกตัด เวลาตัดทางใบก็ตัดมาปูในพื้นสวน ตัดส่วนหนามตรงโคนทางกองไว้ข้างๆ

ผมเริ่มใช้ทางใบปูมา 5 ปีแล้ว  เมื่อก่อนกองซ้อนกันกลางแถวปาล์มหรือตามริมคูน้ำ
มารู้ทีหลังว่าซ้อนเป็นกองไม่ได้ประโยชน์ แต่พอปูมันจะย่อยเร็ว
อินทรียวัตถุจะกระจายทั่วพื้นที่ เวลาหน้าแล้ง ยังมีความชื้นตลอด เวลาใส่ปุ๋ยฝนตกมาก็ไม่ไหลไปตามน้ำ
จะอยู่ในบริเวณนั้นๆ

จริงๆ ในตัวทางใบมันก็มีปุ๋ยเคมีตกค้างอยู่
ทางใบ 1 ไร่จะให้น้ำหนักประมาณ 1 ตันครึ่ง ให้ธาตุอาหารที่เป็น
N P K ประมาณ 1 กระสอบ ตรงนี้เราได้กลับมาฟรีๆ  ตอนนี้ผมไม่ต้องใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์เลย
ปรับปรุงดินไปในตัวด้วย ในสวนปาล์มแปลงหนึ่งเป็นดินเปรี้ยว ไม่มีอินทรียวัตถุ ผมให้คนงานสับทางใบใส่ที่พื้น
2-3 ปี
ย่อยกลายเป็นอินทรียวัตถุทำให้ดินดีขึ้น เป็นอินทรียวัตถุที่หาง่าย ราคาถูก
แต่นี่ของฟรีๆ
น้ำเป็นปัจจัยสำคุณอันดับต้นๆ ที่มีผลต่อผลผลิต หน้าแล้ง อ.พรพันธุ์ศักดิ์ ให้น้ำ 200 ลิตร/ต้น/วัน ด้วยระบบสายน้ำพุ่ง
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ลงทุนระบบน้ำ 3 แสน แต่เพิ่มผลผลิตคุ้มค่า คืนทุนไว
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ช่วงปี 2557-2558
เป็นช่วงที่สวนปาล์มเจอภัยแล้งหนักๆ ต้นปาล์มเสียหาย ผลผลิตลดลง
สวนปาล์มในสุราษฎร์ฯ ได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด เลยกลับมาคิดว่าต้องมีระบบน้ำแล้ว ปี
2559 เลยลงทุนทำระบบน้ำ ทำแทงค์เก็บน้ำขนาด 12 คิว (12,000 ลิตร) ราคา180,000
ตัวระบบเครื่องสูบน้ำ 12,000 บาท รวมท่อน้ำ อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ถึง 300,000 บาท ค่าแรงเราทำเอง



ผมทดลองให้น้ำมาทุกระบบแล้วแต่มาลงตัวที่ระบบสายน้ำพุ่ง
ยี่ห้อ
HURL ลองใช้แล้วรูมันไม่ตัน
น้ำพุ่งแรงวงกว้าง 3 เมตร ม้วนหนึ่งยาว 100 เมตร (เส้นละ 600 บาท) เราวางท่อเมนในสวน จากนั้นต่อสายน้ำพุ่งจากท่อเมนวางตรงกลางแถวต้นปาล์ม
น้ำพุ่งขึ้นบนและด้านข้างสูง 3 เมตร ปาล์มเล็กเส้นหนึ่งใช้ได้ 2 แถวพอดี ปาล์มใหญ่ต้องใช้
2 เส้น  ให้น้ำต้นปาล์มประมาณ 200 ลิตร/ต้น/วัน

เราเรียนรู้ว่าปาล์มขาดน้ำไม่ได้
ขาดเมื่อไหร่ตาดอกที่อยู่ในต้นจะเปลี่ยนเป็นดอกผู้ ถ้ามีน้ำพอมันจะเป็นเมีย
ตรงนี้ผมจึงยอมลงทุนระบบน้ำ เพราะมันคุ้มค่า เพราะปกติปาล์ม 1 ทางใบจะออก 1 ทะลายๆ
หนึ่ง 20 กิโล ปาล์ม 1 รอบมีดอก 8 ดอก สองรอบ 16 ดอก เท่ากับน้ำหนัก 320 กิโล/ต้น
ถ้าปาล์มกก.ละ 5 บาท เท่ากับเงิน 1,600 บาท ไร่หนึ่งมีต้นปาล์ม 22 ต้น น้ำหนักเท่าไหร่
7,040 กก. คิดเป็นเงิน 35,200 บาท/ไร่  

ผมจะไม่ยอมทนว่าปีนี้อากาศจะเป็นยังไง
ปาล์มจะขาดน้ำมั้ย จะได้ทะลายเท่าไหร่ จะไม่รอ ลงทุนระบบน้ำเรากำหนดได้
เลยไม่กลัวปาล์มเสียหายจากแล้ง ลงทุน อุปกรณ์ทั้งหมดไม่ถึง 300,000 บาท ขายปาล์ม
2-3 รอบก็คืนทุนแล้ว แล้วทำไมเราต้องไปรอฝน กังวลว่าจะตกไม่ตก ฝนไม่เป็นปัญหาของผมแล้ว
ตรงไหนขาดเราก็หามาเติม

ปาล์มขาดน้ำ เท่ากับขาดปุ๋ยด้วย
เพราะน้ำเป็นตัวละลายปุ๋ย และสำเลียงธาตุอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของต้น หน้าแล้งนี่ผมใส่ปุ๋ยได้เลย
และน้ำมันพุ่งเหมือนฝนเลย มีความชื้นสัมพัทธ์ความชื้นในอากาศมีผลต่อการพัฒนาตาดอก
ผสมเกสร มันช่วยเพิ่มความชื้นในสวนปาล์มได้ ถ้าเราไม่มีความรู้ต้องศึกษา
และต้องกล้าลงทุน เพราะผลตอบแทนที่จะได้กลับมา คุ้มค่า

แต่ที่ควบคุมไม่ได้ก็คือ แดด ไม่พอ
ปาล์มเรามันจะสังเคราะห์แสงไม่ได้ เพราะปาล์มต้องการแสงแดดวันละ 5 ชั่วโมง ปีละ
18,000 ชั่วโมง ปาล์มจะชอบอากาศแบบฝนตกแดดออก
 
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ผลผลิตสูงกว่าสวนปาล์มทั่วไปมากกว่า 1 เท่า
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ผลผลิตที่ได้ ทั้ง 3 แปลง รวมกัน 40
กว่าไร่ แบ่งเป็น ปาล์มอายุ 10 ปี ปี 2558 ได้ผลผลิตเฉลี่ย 6.3 ตัน/ไร่/ปี ปีที่แล้ว
(2559) 5.9 ตัน/ไร่/ปี สูงกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ยของประเทศเท่าตัว



แปลงคอมแพคทอร์นาโด เมื่อปี 2558
ผลผลิตเฉลี่ย 7.36 ตัน/ไร่/ปี เป็นปีแรกที่ให้ผลผลิต คนตัดเกือบร้อง ไร่หนึ่งตัดได้เกือบ
1 ตัน/รอบตัด  มาปี 2559 ลดลงมาหน่อยเหลือ 7.01
ตัน/ไร่/ปี ซึ่งแปลงนี้ผมเริ่มให้อาหารให้น้ำสมบูรณ์เมื่อปีที่แล้ว ปีหน้า (2561) น่าจะผลผลิตสูงกว่านี้

อีกแปลงพันธุ์คอมแพค ปี2559
ได้ผลผลิต 5.04 ตัน/ไร่/ปี แปลงนี้ไม่มีระบบน้ำใช้วิธีสูบน้ำอย่างเดียว
พื้นที่ไม่อำนวย แต่ผลผลิตก็ยังสูง  

ผมมีพื้นที่น้อยจึงต้องมาคิดวางแผนว่าทำอย่างไรให้ได้ผลผลิตสูง
ถ้าเทียบกับผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศไม่ถึง 3 ตัน/ไร่/ปี เท่ากับผลผลิตของเราสูงมากกว่า
1 เท่าตัว  แสดงว่าน้ำและความชื้นมีผลกับผลผลิตมาก
ฟังธงได้เลยว่าน้ำเป็นปัจจัยที่มีผลต่อผลผลิต เพราะมันเป็นตัวกำหนดเพศ
ละลายและลำเลียงปุ๋ย ธาตุอาหาร แต่เกษตรกรปลูกปาล์มแต่ไม่มีน้ำ และขาดเรื่องการจัดการปุ๋ยที่เหมาะสม
 
สวนปาล์มคุณภาพ ผลผลิตสูงกว่าทั่วไปมากกว่า 1 เท่า และเน้นตัดปาล์มสุก 
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ย 3.40 บาท/กก.ปาล์ม
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
เมื่อนำผลผลิตมาคำนวณกับต้นทุนทั้งหมด
ได้ตัวเลขเฉลี่ย 3.40 บาท/กก.ปาล์ม  ของผมจะสูงหน่อย
เพราะผมคิดต้นทุนนวมทั้งหมด ซึ่งต้นทุนของแต่ละสวนที่ไม่เท่ากัน ของผมมี ปุ๋ย
แรงงานใส่ปุ๋ย เก็บเกี่ยว บรรทุก ตัดแต่งทางใบ ตัดหญ้า ระบบน้ำ ค่าไฟ ผู้ดูแลสวน
เป็นต้นทุนพื้นฐาน มีต้นทุนแฝง อื่นๆ อีกหลายตัว
ซึ่งเป็นต้นทุนทางธุรกิจที่เกษตรกรต้องจดบันทึก และให้ความสำคัญ



━━━━━━━━━━━━━━━━━
อ.พรพันธุ์ศักดิ์ ยังคงสนุกและมุ่งมั่นกับการทำสวนปาล์ม
โดยมีเป้าทำปาล์มให้ได้ผลผลิตสูงมากขึ้นกว่าเดิม เป็นการเริ่มต้นงานใหม่ที่ท้าทายชายวัยเกษียณ
แต่พลังในตัวกลับพุ่งพล่านราวกับคนหนุ่ม แต่สิ่งที่เราได้จากเขาก็คือ
แนวทางการทำสวนปาล์มแปลงเล็กถ้ามีการจัดการที่เหมาะสม จะได้ผลผลิตสูง
โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ปลูกมากมาย หัวใจสำคัญของการทำสวนปาล์มที่ถูกย้ำมากที่สุดก็คือ การให้น้ำ
ถ้ามีน้ำ ชาวสวนปาล์มก็ไม่จำเป็นต้อง “คุกเข่า” ให้ฟ้าฝนอีกต่อไป
 
อ.พรพันธุ์ศักดิ์ พาหะมาก
ขอขอบคุณ

อ.พรพันธุ์ศักดิ์ พาหะมาก

377 หมู่ 1 ถ.หนองน้ำส้ม ต.ท่าฉาง อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี 84150 โทรศัพท์
086-832-6397 




Advertising

ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703
ปัญหาของคนรับราชการ คือเกษียณแล้วจะไปทำอะไร...???
แต่สำหรับ อ.พรพันธุ์ศักดิ์พาหะมาก ข้าราชการสายการศึกษาใน จ.สุราษฎร์ธานี คิดและวางแผนไว้ตั้งแต่ก่อนเกษียณ 12 ปี ว่าจะทำสวนปาล์มน้ำมัน พร้อมๆ กับเริ่มลงมือทำนับจากนั้น
ปัจจุบันหลังจากเกษียณอายุเมื่อปีที่แล้ว จึงไม่ใครถามเขาเลยว่าหลังเกษียณแล้วทำอะไร

วันนี้ อ.พรพันธุ์ศักดิ์ เรียกตัวเองว่า “ชาวสวนปาล์ม” เต็มตัว แม้จะมีคนเรียกว่าอาจารย์ก็ตาม ที่สำคัญไม่ใช่เป็นแค่ชาวสวนปาล์มที่มีสวนปาล์มเท่านั้น


หากแต่เป็นสวนปาล์มคุณภาพ ให้ผลผลิตสูง เพราะพื้นที่สวนปาล์ม 3 แปลงพื้นที่แค่ 40 กว่าไร่ แต่ได้ผลผลิตมากกว่าสวนปาล์มทั่วไป มากกว่า 2 เท่า ซึ่งทั้งหมดไม่ได้มาจาก“ฟ้าประทาน” แต่มาจาก “หลักคิด” และ “ลงมือทำ” อย่างมุ่งมั่นจริงจัง

ภาพที่พวกเรายางปาล์มออนไลน์เห็น อ.พรพันธุ์ศักดิ์ ดูไม่เหมือนชายวัยเกษียณเลยแต่เหมือนคนหนุ่มที่ยังสนุกและมีพลังในการทำและพัฒนาสวนปาล์มต่างหาก

เราจะพาไปทำความรู้จักชายวัยเกษียณ ที่มีพลังเหมือนหนุ่มคนนี้ พร้อมเรียนรู้การทำปาล์มคุณภาพได้ผลผลิตสูง แม้เนื้อหาจะยาวสักหน่อยแต่รับรองเลยว่าจะเป็นการอ่านที่คุ้มค่าที่สุดเรื่องหนึ่งทีเดียว 
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
วางแผนทำสวนปาล์ม ปูทางสู่ชาวสวนปาล์มหลังเกษียณ
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ผมรับราชการสายการศึกษา ตำแหน่งสุดท้ายผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศฯ สำนักงานเขตการศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1 เกษียณเมื่อกันยายน 2559 รับราชการมา 40 กว่าปี วันหนึ่งมาคิดว่าถ้าอยู่อย่างนี้รอวันเกษียณ ถึงวันนั้นจะไปทำอะไร ผมเลยคิดว่าจะสร้างงานเองเพื่อรองรับหลังเกษียณดีกว่า


สภาพพื้นที่สุราษฎร์ แถบท่าฉาง
พุนพิน เป็นที่ลุ่ม ส่วนใหญ่ปลูกปาล์มกัน เลยคิดว่าน่าจะปลูกปาล์ม เพราะดูแลไม่ยากนัก
ไม่ต้องทำงานทุกวัน ตัดทุกๆ 15 วัน ทั้งปี
เหมาะกับเวลาราชการในช่วงที่ยังไม่ออกมาทำเต็มตัว ทิ้ง 15 วัน 30 วัน ไม่มีปัญหา เลยซื้อที่แปลงหนึ่งเริ่มปลูกปาล์ม
ปี 2548 ตอนนั้นในหัวไม่มีความรู้เรื่องปาล์มน้ำมันต้องเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด เรียนรู้จากสวนของจริงเลย
ทำไมต้นปาล์มมันผอม ใบบาง ก้านใบเล็ก ใครมาขายปุ๋ยเราไม่รู้ก็ซื้อมาใช้ ใส่ก็น้อย
เพราะไม่รู้ว่ามันต้องการเท่าไหร่ ปาล์ม 5 ปีแรก ต้นกิ่ว เอวคอด
ไม่ต่างจากคนเป็นโปลิโอ เพราะขาดสารอาหาร ใช้เวลาเป็น 10 ปีนะ
กว่าจะรู้ว่าปาล์มต้องการอะไร ตอนแรกเรียนรู้จากการถาม มีคนแนะนำบ้าง
พอไม่รู้เราก็เชื่อ หลังจากนั้นเราค่อยๆ ค้นหาความรู้ ค้นหาความจริง
และสังเกตจากการปฏิบัติ

จนเมื่อเริ่มต้นปลูกปาล์มน้ำมันใหม่อีกแปลง
ทีนี้เริ่มตั้งแต่เลือกสายพันธุ์ใหม่ๆ เป็นพันธุ์คอมแพคให้ผลผลิตสูง จากนั้นพยายามศึกษาธรรมชาติของปาล์มพันธุ์นี้
เลยรู้ว่ามันต้องการอาหารสมบูรณ์ ขาดน้ำไม่ได้นาน ขาดปุ๋ยไม่ได้

ตอนหลังปลูกอีกแปลงหาพันธุ์ที่ดีกว่าคอมแพคอีก
มีคนแนะนำ คอมแพคเนื้อเยื่อ “พันธุ์ทอร์นาโด” ศึกษาอยู่พักใหญ่
แล้วก็ตัดสินใจจอง ราคาต้นละ 450 บาท เป็นต้นพันธุ์ที่โคลนนิ่งมาจากตาดอกของต้นปาล์มอายุ
9 ปี คัดเลือกต้นสมบูรณ์ที่สุด ผลผลิตดกที่สุด
ลูกที่ได้จะมีลักษณะใกล้เคียงเหมือนต้นแม่ ต้นปาล์มจะโตสม่ำเสมอ ปัจจุบันแปลงนี้
อายุ 5 ปี 8 เดือน ให้ผลผลิตสูงมาก
 
ปาล์มพันธุ์ คอมแพคเนื้อเยื่อ “พันธุ์ทอร์นาโด” 
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
การดูแลยึดวิชาการเป็นฐาน และปรับตามผลผลิต
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
การดูแลสวนปาล์มอาศัยตามหลักวิชาการเป็นฐาน
และจากการเรียนรู้สังเกตภายในสวน อย่างปาล์มออกลูกดก
เราจะใส่ปุ๋ยตามหลักวิชาการมันน้อยไป เราต้องชดเชยปุ๋ยให้ไปเลี้ยงทะลายเพิ่ม
และชดเชยปุ๋ยที่ออกไปกับทะลายที่ตัดขาย

ต้นไหนมีดอกมากใส่มาก ถ้าใส่ขาดอีกไม่นาน
3-4 เดือนจะไม่ออกดอกตัวเมีย มีแต่ตัวผู้ เพราะอาหารที่สะสมในต้นถูกนำไปเลี้ยงทะลายจนหมด
ตาดอกมันกำลังกำหนดเพศอาจจะเป็นตัวเมีย แต่พอถึงเวลาที่ช่อดอกแทงออกมาอาหารไม่พอ
มันก็จะเปลี่ยนเป็นตัวผู้ เพราะอาหารไม่พอ ต้นปาล์มมันก็ปรับตัว ถ้าดูแลดี น้ำ
ปุ๋ย ความชื้นเพียงพอ มันจะเปลี่ยนเป็นเพศเมีย และแทงช่อดอกตัวเมียออกมา

อย่างเมื่อปลายปี 57 ต่อกับต้นปี 58
ประมาณ 5 เดือน เกิดแล้งจัด ปรากฏว่าปาล์มออกดอกตัวผู้ 2 ชั้น 16 ดอก ทุกต้น แต่หลังจากได้รับน้ำเมื่อเดือน
พ.ค.59 ตอนนี้มันเริ่มออกดอกตัวเมียแล้ว

ผมจะชอบสังเกตการแทงดอกของต้นปาล์ม
สังเกตที่กาบทางใบ ผมจะจดวันที่ดอกผสมเกสรไว้ ดูจากดอกที่ออกมาเกสรสีขาวมันยังไม่ผสม
แต่พอเริ่มเป็นสีชมพูแสดงว่าผสมแล้ว
ผมอยากรู้ว่าดอกที่ผสมแล้วกี่วันจึงจะตัดทะลายได้ จากสถิติจากดอกที่ผสมแล้วจนตัดทะลายได้
ถ้าปาล์มเล็กประมาณ 3 เดือนครึ่ง ส่วนปาล์มใหญ่ไม่เกิน 5 เดือนกว่าๆ ไม่เกิน 6
เดือน
 
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ใส่ปุ๋ยตามหลักวิชาการ ตามช่วงอายุ และตามผลผลิต เฉลี่ย 15-18 กก./ต้น/ปี
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ปุ๋ย เป็นอาหารที่สำคัญของต้นปาล์ม
หลักการใส่ปุ๋ยผมใช้ 2 หลัก คือ ตามที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดตามอายุปาล์มเป็นฐาน
และเพิ่มตามผลผลิตที่ออกมา ถ้าปาล์มออกออกทะลายมาดกเราก็ใส่เพิ่มเข้าไปไม่ต้องไปเสียดาย



ในช่วงที่ปาล์มให้ผลผลิต ผมจะปุ๋ยแบ่งใส่เป็นชุดๆ
ละทุกๆ  4 เดือน โดยใช้แม่ปุ๋ย ไนโตรเจน สูตร
21-0-0, ฟอสฟอรัส สูตร 18-46-0 และ 0-3-0  สองตัวนี้ใส่ต้นละครึ่งกิโล
ส่วนโปแตสเซียม 0-0-60 ใส่ต้นละ 1 กิโลแมกนีเซียม ครึ่ง กก. และ โบรอน ต้นละ 100
กรัม

โบรอน ถ้าตามหลักวิชาการเขาให้ใส่
100 กรัม/ต้น/ปี แต่ไม่พอเลยเพิ่มเป็น  200
ก็ยังไม่พอ มานึกว่าผลผลิตออกเยอะมันใช้สารอาหารเยอะ สารอาหารหายไปจากดินเยอะ ผมจึงต้องใส่เพิ่มขึ้นเป็น
400 กรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 2-3 ครั้ง ใส่บริเวณโคนต้น

สรุปปีหนึ่งเฉลี่ยปุ๋ยทุกตัวใส่ต้นละ
15-18 กก./ปี

ทางใบ 1 ไร่จะให้น้ำหนักประมาณ 1 ตันครึ่ง และมีปุ๋ยเคมีตกค้างที่เป็น N P K ประมาณ 1 กระสอบ และเป็นอินทรีย์บำรุงดิน 
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ทางใบปาล์ม ปุ๋ยอินทรีย์ฟรีๆ มีธาตุอาหารสูง
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
การตัดแต่งทางใบจะทำปีละ 2-3 ครั้ง
และตามโอกาสที่ดูว่าทางใบเหลือมากเกิน แต่หลักๆ จะเหลือทางใบไว้ใต้ทะลาย  2 ทาง คือ ทางรองทะลายและทางรับน้ำ แต่ปาล์มใหญ่อายุ
10 ปีขึ้นไป ไว้ทางเดียวได้ก็ได้ ปาล์มเล็กทำไมต้องไว้ 2 ทาง
เพราะทางล่างมันยังสร้างอาหารได้อยู่ เพื่อเลี้ยงลำต้นและทะลาย ถ้าไม่มีทางรับน้ำจะทำให้น้ำหนักทะลายลดลงประมาณ
5 กก. และทะลายด้านบนจะเล็กลงเรื่อยๆ ดอกผู้จะออกมาเร็วเพราะธาตุอาหารลดลง



ทางใบไหนที่ควรเอาออก ก็เลือกทางใบที่ไม่ได้รับแสง
เนื่องจากทางที่รับแสงจะช่วยปรุงอาหาร แต่ทางที่ไม่ได้รับแสง มันจะกินอาหารแทนที่จะช่วยกลับกลายเป็นภาระของต้น
พวกนี้ต้องเอาออก ทุกครั้งที่มีการตัดทะลายแล้วตัดแต่งทางไปในตัวจะดีและประหยัดมาก
แต่ส่วนใหญ่จะแยกตัด เวลาตัดทางใบก็ตัดมาปูในพื้นสวน ตัดส่วนหนามตรงโคนทางกองไว้ข้างๆ

ผมเริ่มใช้ทางใบปูมา 5 ปีแล้ว  เมื่อก่อนกองซ้อนกันกลางแถวปาล์มหรือตามริมคูน้ำ
มารู้ทีหลังว่าซ้อนเป็นกองไม่ได้ประโยชน์ แต่พอปูมันจะย่อยเร็ว
อินทรียวัตถุจะกระจายทั่วพื้นที่ เวลาหน้าแล้ง ยังมีความชื้นตลอด เวลาใส่ปุ๋ยฝนตกมาก็ไม่ไหลไปตามน้ำ
จะอยู่ในบริเวณนั้นๆ

จริงๆ ในตัวทางใบมันก็มีปุ๋ยเคมีตกค้างอยู่
ทางใบ 1 ไร่จะให้น้ำหนักประมาณ 1 ตันครึ่ง ให้ธาตุอาหารที่เป็น
N P K ประมาณ 1 กระสอบ ตรงนี้เราได้กลับมาฟรีๆ  ตอนนี้ผมไม่ต้องใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์เลย
ปรับปรุงดินไปในตัวด้วย ในสวนปาล์มแปลงหนึ่งเป็นดินเปรี้ยว ไม่มีอินทรียวัตถุ ผมให้คนงานสับทางใบใส่ที่พื้น
2-3 ปี
ย่อยกลายเป็นอินทรียวัตถุทำให้ดินดีขึ้น เป็นอินทรียวัตถุที่หาง่าย ราคาถูก
แต่นี่ของฟรีๆ
น้ำเป็นปัจจัยสำคุณอันดับต้นๆ ที่มีผลต่อผลผลิต หน้าแล้ง อ.พรพันธุ์ศักดิ์ ให้น้ำ 200 ลิตร/ต้น/วัน ด้วยระบบสายน้ำพุ่ง
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ลงทุนระบบน้ำ 3 แสน แต่เพิ่มผลผลิตคุ้มค่า คืนทุนไว
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ช่วงปี 2557-2558
เป็นช่วงที่สวนปาล์มเจอภัยแล้งหนักๆ ต้นปาล์มเสียหาย ผลผลิตลดลง
สวนปาล์มในสุราษฎร์ฯ ได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด เลยกลับมาคิดว่าต้องมีระบบน้ำแล้ว ปี
2559 เลยลงทุนทำระบบน้ำ ทำแทงค์เก็บน้ำขนาด 12 คิว (12,000 ลิตร) ราคา180,000
ตัวระบบเครื่องสูบน้ำ 12,000 บาท รวมท่อน้ำ อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ถึง 300,000 บาท ค่าแรงเราทำเอง



ผมทดลองให้น้ำมาทุกระบบแล้วแต่มาลงตัวที่ระบบสายน้ำพุ่ง
ยี่ห้อ
HURL ลองใช้แล้วรูมันไม่ตัน
น้ำพุ่งแรงวงกว้าง 3 เมตร ม้วนหนึ่งยาว 100 เมตร (เส้นละ 600 บาท) เราวางท่อเมนในสวน จากนั้นต่อสายน้ำพุ่งจากท่อเมนวางตรงกลางแถวต้นปาล์ม
น้ำพุ่งขึ้นบนและด้านข้างสูง 3 เมตร ปาล์มเล็กเส้นหนึ่งใช้ได้ 2 แถวพอดี ปาล์มใหญ่ต้องใช้
2 เส้น  ให้น้ำต้นปาล์มประมาณ 200 ลิตร/ต้น/วัน

เราเรียนรู้ว่าปาล์มขาดน้ำไม่ได้
ขาดเมื่อไหร่ตาดอกที่อยู่ในต้นจะเปลี่ยนเป็นดอกผู้ ถ้ามีน้ำพอมันจะเป็นเมีย
ตรงนี้ผมจึงยอมลงทุนระบบน้ำ เพราะมันคุ้มค่า เพราะปกติปาล์ม 1 ทางใบจะออก 1 ทะลายๆ
หนึ่ง 20 กิโล ปาล์ม 1 รอบมีดอก 8 ดอก สองรอบ 16 ดอก เท่ากับน้ำหนัก 320 กิโล/ต้น
ถ้าปาล์มกก.ละ 5 บาท เท่ากับเงิน 1,600 บาท ไร่หนึ่งมีต้นปาล์ม 22 ต้น น้ำหนักเท่าไหร่
7,040 กก. คิดเป็นเงิน 35,200 บาท/ไร่  

ผมจะไม่ยอมทนว่าปีนี้อากาศจะเป็นยังไง
ปาล์มจะขาดน้ำมั้ย จะได้ทะลายเท่าไหร่ จะไม่รอ ลงทุนระบบน้ำเรากำหนดได้
เลยไม่กลัวปาล์มเสียหายจากแล้ง ลงทุน อุปกรณ์ทั้งหมดไม่ถึง 300,000 บาท ขายปาล์ม
2-3 รอบก็คืนทุนแล้ว แล้วทำไมเราต้องไปรอฝน กังวลว่าจะตกไม่ตก ฝนไม่เป็นปัญหาของผมแล้ว
ตรงไหนขาดเราก็หามาเติม

ปาล์มขาดน้ำ เท่ากับขาดปุ๋ยด้วย
เพราะน้ำเป็นตัวละลายปุ๋ย และสำเลียงธาตุอาหารไปยังส่วนต่างๆ ของต้น หน้าแล้งนี่ผมใส่ปุ๋ยได้เลย
และน้ำมันพุ่งเหมือนฝนเลย มีความชื้นสัมพัทธ์ความชื้นในอากาศมีผลต่อการพัฒนาตาดอก
ผสมเกสร มันช่วยเพิ่มความชื้นในสวนปาล์มได้ ถ้าเราไม่มีความรู้ต้องศึกษา
และต้องกล้าลงทุน เพราะผลตอบแทนที่จะได้กลับมา คุ้มค่า

แต่ที่ควบคุมไม่ได้ก็คือ แดด ไม่พอ
ปาล์มเรามันจะสังเคราะห์แสงไม่ได้ เพราะปาล์มต้องการแสงแดดวันละ 5 ชั่วโมง ปีละ
18,000 ชั่วโมง ปาล์มจะชอบอากาศแบบฝนตกแดดออก
 
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ผลผลิตสูงกว่าสวนปาล์มทั่วไปมากกว่า 1 เท่า
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ผลผลิตที่ได้ ทั้ง 3 แปลง รวมกัน 40
กว่าไร่ แบ่งเป็น ปาล์มอายุ 10 ปี ปี 2558 ได้ผลผลิตเฉลี่ย 6.3 ตัน/ไร่/ปี ปีที่แล้ว
(2559) 5.9 ตัน/ไร่/ปี สูงกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ยของประเทศเท่าตัว



แปลงคอมแพคทอร์นาโด เมื่อปี 2558
ผลผลิตเฉลี่ย 7.36 ตัน/ไร่/ปี เป็นปีแรกที่ให้ผลผลิต คนตัดเกือบร้อง ไร่หนึ่งตัดได้เกือบ
1 ตัน/รอบตัด  มาปี 2559 ลดลงมาหน่อยเหลือ 7.01
ตัน/ไร่/ปี ซึ่งแปลงนี้ผมเริ่มให้อาหารให้น้ำสมบูรณ์เมื่อปีที่แล้ว ปีหน้า (2561) น่าจะผลผลิตสูงกว่านี้

อีกแปลงพันธุ์คอมแพค ปี2559
ได้ผลผลิต 5.04 ตัน/ไร่/ปี แปลงนี้ไม่มีระบบน้ำใช้วิธีสูบน้ำอย่างเดียว
พื้นที่ไม่อำนวย แต่ผลผลิตก็ยังสูง  

ผมมีพื้นที่น้อยจึงต้องมาคิดวางแผนว่าทำอย่างไรให้ได้ผลผลิตสูง
ถ้าเทียบกับผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศไม่ถึง 3 ตัน/ไร่/ปี เท่ากับผลผลิตของเราสูงมากกว่า
1 เท่าตัว  แสดงว่าน้ำและความชื้นมีผลกับผลผลิตมาก
ฟังธงได้เลยว่าน้ำเป็นปัจจัยที่มีผลต่อผลผลิต เพราะมันเป็นตัวกำหนดเพศ
ละลายและลำเลียงปุ๋ย ธาตุอาหาร แต่เกษตรกรปลูกปาล์มแต่ไม่มีน้ำ และขาดเรื่องการจัดการปุ๋ยที่เหมาะสม
 
สวนปาล์มคุณภาพ ผลผลิตสูงกว่าทั่วไปมากกว่า 1 เท่า และเน้นตัดปาล์มสุก 
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ย 3.40 บาท/กก.ปาล์ม
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
เมื่อนำผลผลิตมาคำนวณกับต้นทุนทั้งหมด
ได้ตัวเลขเฉลี่ย 3.40 บาท/กก.ปาล์ม  ของผมจะสูงหน่อย
เพราะผมคิดต้นทุนนวมทั้งหมด ซึ่งต้นทุนของแต่ละสวนที่ไม่เท่ากัน ของผมมี ปุ๋ย
แรงงานใส่ปุ๋ย เก็บเกี่ยว บรรทุก ตัดแต่งทางใบ ตัดหญ้า ระบบน้ำ ค่าไฟ ผู้ดูแลสวน
เป็นต้นทุนพื้นฐาน มีต้นทุนแฝง อื่นๆ อีกหลายตัว
ซึ่งเป็นต้นทุนทางธุรกิจที่เกษตรกรต้องจดบันทึก และให้ความสำคัญ



━━━━━━━━━━━━━━━━━
อ.พรพันธุ์ศักดิ์ ยังคงสนุกและมุ่งมั่นกับการทำสวนปาล์ม
โดยมีเป้าทำปาล์มให้ได้ผลผลิตสูงมากขึ้นกว่าเดิม เป็นการเริ่มต้นงานใหม่ที่ท้าทายชายวัยเกษียณ
แต่พลังในตัวกลับพุ่งพล่านราวกับคนหนุ่ม แต่สิ่งที่เราได้จากเขาก็คือ
แนวทางการทำสวนปาล์มแปลงเล็กถ้ามีการจัดการที่เหมาะสม จะได้ผลผลิตสูง
โดยไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ปลูกมากมาย หัวใจสำคัญของการทำสวนปาล์มที่ถูกย้ำมากที่สุดก็คือ การให้น้ำ
ถ้ามีน้ำ ชาวสวนปาล์มก็ไม่จำเป็นต้อง “คุกเข่า” ให้ฟ้าฝนอีกต่อไป
 
อ.พรพันธุ์ศักดิ์ พาหะมาก
ขอขอบคุณ

อ.พรพันธุ์ศักดิ์ พาหะมาก

377 หมู่ 1 ถ.หนองน้ำส้ม ต.ท่าฉาง อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี 84150 โทรศัพท์
086-832-6397 




Advertising

ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703

1 ปี การยางแห่งประเทศไทย สู่ ความเป็น 1 ยางพาราไทย

1 ปี การยางแห่งประเทศไทย สู่ ความเป็น 1 ยางพาราไทย

hikpoh
 การยางฯ จัดงานครบรอบ 1 ปี โชว์ผลงานวิจัยต้นทาง กลางทาง และปลายทาง พร้อมชมนิทรรศการ ยางพาราทั้งระบบ ครบวงจร และช้อปผลิตภัณฑ์ยางพารา สินค้าของดีจากเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศในวันที่ 14 - 15 ก.ค. 59 นี้ ณ การยางแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ บางขุนนนท์ กรุงเทพฯ

ดร
.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการจัดตั้ง การยางแห่งประเทศไทย วางบทบาทให้เป็นองค์กรกลางรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการยางพาราของ      ทั้งประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจร บริหารจัดการเกี่ยวกับการเงินของกองทุน

ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกร   ชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
 รวมถึงการให้ความสำคัญ ด้านการส่งเสริม สนับสนุน การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา และเผยแพร่ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับยางพารา โดยจะให้ความสำคัญด้านการพัฒนางานวิจัย งานบริการ งานอุตสาหกรรม และงานด้านการตลาดควบคู่กันไปเพื่อยกระดับราคายางพาราให้มีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน

ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา กยท. ได้เร่งดำเนินภารกิจภายใต้วัตถุประสงค์การจัดตั้งองค์กรมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการส่งเสริม และให้ความช่วยเหลือเกษตรกร และผู้ประกอบการยางตามภารกิจขององค์กร ดำเนินโครงการต่างๆ ตามนโยบายของรัฐบาล ได้แก่

Advertising
ลงโฆษณา 086 335 2703
โครงการตามแนวทางพัฒนายางพาราทั้งระบบครบวงจร เช่น โครงการควบคุมปริมาณ    การผลิต ลดต้นทุนการผลิต โครงการผลิตเพื่อเสริมรายได้ในสวนยางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางเพื่อใช้ในการขยายกำลังการผลิตฯ ซึ่งดำเนินงานควบคู่ไปกับการการดำเนินงาน  ด้านการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น

รวมทั้ง โครงการเร่งด่วนที่ให้ความช่วยเหลือพี่น้องชาวสวนยางรายย่อย อาทิ สร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง โครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ



กยท. เตรียมจัดงานวันสถาปนา ภายใต้แนวคิด “1 ปี สรรสร้างความเป็น 1 ยางพาราไทย ระหว่างวันที่ 14-15 กรกฎาคม 2559 ณ การยางแห่งประเทศไทย บางขุนนนท์ กรุงเทพฯ เพื่อเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์บทบาท ภารกิจขององค์กร จากผลงานในรอบ 1 ปีของ กยท. ให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชน และยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี  กับหน่วยงานเอกชน หน่วยงานภาครัฐ เกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกร  ชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยางพารา และประการสำคัญ คือ เป็นการเปิดโอกาสในการหาช่องทางการตลาดภายในประเทศให้แก่เกษตรกร และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง

กิจกรรมภายในงานล้วนเกิดขึ้นจากความร่วมมือของพนักงานการยางแห่งประเทศไทยทั่วประเทศ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการความหลอมรวมภายในองค์กรและความร่วมมือจากสถาบันเกษตรกรที่ร่วมบูรณาการแสดงศักยภาพจากการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบกิจการยางภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การทำธุรกิจ เพื่อหาโอกาสในการสร้างทางเลือกแก่สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง       และเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย ต่อไปผู้ว่าการ การยางฯ กล่าว
นายเชาว์  ทรงอาวุธ รักษาการในตำแหน่งรองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง กล่าวถึงกิจกรรมไฮไลท์ในงานสถาปนาในครั้งนี้ เป็นการนำเสนอผลงานตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง        และปลายทาง ตลอดระยะเวลา 1 ปี สรรสร้างความเป็น 1 ให้ยางพาราไทย

ในส่วนของ เวทีสัมมนาวิชาการด้านยางพารา จะมีการนำเสนอผลงานวิจัย กยท. จากต้นทางสู่ปลายทาง ได้แก่ คำแนะนำพันธุ์ยางปี 2559 ปุ๋ยกับยางพาราการพัฒนาคุณภาพการผลิตยางแผ่นรมควันเข้าสู่มาตรฐาน GMP และ ผลงานวิจัยการผลิตผลิตภัณฑ์ยางที่สร้างมูลค่าเพิ่ม และในเสวนาวิชาการ ภายใต้หัวข้อ ฝ่าวิกฤติยางพาราไทย ทางเลือก ทางรอดของชาวสวนยาง ซึ่งจะมีผู้แทนทั้ง 3 ภาคส่วน ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ในวันที่ 14 กรกฎาคม นี้ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น


ในส่วนของนิทรรศการการสาธิต การยางแห่งประเทศไทย ได้คัดสรรผลงานจากทั่วประเทศมาไว้ในงาน ได้แก่
นิทรรศการยางพาราอย่างครบวงจร

การแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ อาทิ  การทำหมอนยางพาราจากเขต
ภาคเหนือ การผลิตยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง STR 20 ยางปูพื้นบ่อน้ำจากเขตภาคกลาง   และตะวันออก การสาธิตทำถุงมือยางจากเขตภาคใต้ตอนบน นิทรรศการหมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติจากภาคใต้ตอนกลาง  การนำเสนอการทำลูกบอลยาง ครีมหน้าด้งจากเขตภาคใต้ตอนล่าง และในส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการจัดแสดงผลงานการแปรรูปยางเครป เป็นต้น

พร้อมทั้ง เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้ศึกษาและชื่นชมพระราชกรณียกิจของในหลวง  และราชินีต่อการพัฒนา
ยางพาราไทย พร้อมทั้งแสดงความจงรักภักดีในโอกาสเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 70 ปี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบด้วย จะจัดแสดงทั้ง 2 วันจัดงาน

นอกจากนี้ ยังมีการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งเป็นของดีทั้ง 7 เขตของการยางแห่งประเทศ อาทิ หมอนยาง สัปปะรดภูแล ครีมมะขาม เสื้อผ้าพื้นเมืองภาคเหนือ ผลิตภัณฑ์ไม้สัก ผลิตภัณฑ์จากกล้วย ข้าวหอมมะลิจากสุรินทร์ และร้อยเอ็ด กระเทียมแช่น้ำผึ้ง และอาหารทะเลจากระยอง ไข่น้ำแร่ เงาะบ้านนาสาร รังนก โรตีกรอบ จากภาคใต้ เป็นต้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนรายได้จากอาชีพเสริมให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง



ที่สำคัญ ในวันที่ 15 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปีในการสถาปนาการยางแห่งประเทศไทย จะมีพิธีการเปิดป้ายขององค์กร อย่างเป็นทางการ พร้อมทั้ง มีการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่พนักงานดีเด่น รางวัลสถาบันเกษตรกรดีเด่น ประจำปี 2559 รางวัลเหล่านี้ จะเป็นการรับประกันศักยภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ไม่เพียงเท่านี้ เวทีนี้ การยางแห่งประเทศไทย ยังให้ความสำคัญกับลูกหลานชาวสวนยางทั่วประเทศ ด้วยการสนับสนุน  มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน นักศึกษา จำนวน 81 คน และโรงเรียนองค์การสวนยาง 3 แห่ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น   390,000 บาท
 งานสถาปนาในครั้งนี้ เน้นให้ความรู้ ควบคู่กับการสร้างโอกาสในการหารายได้ เพื่อต่อยอดในการพัฒนาความรู้ และก่อให้เกิดนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาอาชีพการทำสวนยาง และพัฒนาประเทศชาติต่อไป


hikpoh
 การยางฯ จัดงานครบรอบ 1 ปี โชว์ผลงานวิจัยต้นทาง กลางทาง และปลายทาง พร้อมชมนิทรรศการ ยางพาราทั้งระบบ ครบวงจร และช้อปผลิตภัณฑ์ยางพารา สินค้าของดีจากเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศในวันที่ 14 - 15 ก.ค. 59 นี้ ณ การยางแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ บางขุนนนท์ กรุงเทพฯ

ดร
.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการจัดตั้ง การยางแห่งประเทศไทย วางบทบาทให้เป็นองค์กรกลางรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการยางพาราของ      ทั้งประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจร บริหารจัดการเกี่ยวกับการเงินของกองทุน

ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกร   ชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
 รวมถึงการให้ความสำคัญ ด้านการส่งเสริม สนับสนุน การศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา และเผยแพร่ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับยางพารา โดยจะให้ความสำคัญด้านการพัฒนางานวิจัย งานบริการ งานอุตสาหกรรม และงานด้านการตลาดควบคู่กันไปเพื่อยกระดับราคายางพาราให้มีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน

ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา กยท. ได้เร่งดำเนินภารกิจภายใต้วัตถุประสงค์การจัดตั้งองค์กรมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการส่งเสริม และให้ความช่วยเหลือเกษตรกร และผู้ประกอบการยางตามภารกิจขององค์กร ดำเนินโครงการต่างๆ ตามนโยบายของรัฐบาล ได้แก่

Advertising
ลงโฆษณา 086 335 2703
โครงการตามแนวทางพัฒนายางพาราทั้งระบบครบวงจร เช่น โครงการควบคุมปริมาณ    การผลิต ลดต้นทุนการผลิต โครงการผลิตเพื่อเสริมรายได้ในสวนยางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางเพื่อใช้ในการขยายกำลังการผลิตฯ ซึ่งดำเนินงานควบคู่ไปกับการการดำเนินงาน  ด้านการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นต้น

รวมทั้ง โครงการเร่งด่วนที่ให้ความช่วยเหลือพี่น้องชาวสวนยางรายย่อย อาทิ สร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง โครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ



กยท. เตรียมจัดงานวันสถาปนา ภายใต้แนวคิด “1 ปี สรรสร้างความเป็น 1 ยางพาราไทย ระหว่างวันที่ 14-15 กรกฎาคม 2559 ณ การยางแห่งประเทศไทย บางขุนนนท์ กรุงเทพฯ เพื่อเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์บทบาท ภารกิจขององค์กร จากผลงานในรอบ 1 ปีของ กยท. ให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณชน และยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี  กับหน่วยงานเอกชน หน่วยงานภาครัฐ เกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกร  ชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยางพารา และประการสำคัญ คือ เป็นการเปิดโอกาสในการหาช่องทางการตลาดภายในประเทศให้แก่เกษตรกร และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง

กิจกรรมภายในงานล้วนเกิดขึ้นจากความร่วมมือของพนักงานการยางแห่งประเทศไทยทั่วประเทศ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการความหลอมรวมภายในองค์กรและความร่วมมือจากสถาบันเกษตรกรที่ร่วมบูรณาการแสดงศักยภาพจากการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางต่างๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบกิจการยางภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์การทำธุรกิจ เพื่อหาโอกาสในการสร้างทางเลือกแก่สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง       และเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย ต่อไปผู้ว่าการ การยางฯ กล่าว
นายเชาว์  ทรงอาวุธ รักษาการในตำแหน่งรองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง กล่าวถึงกิจกรรมไฮไลท์ในงานสถาปนาในครั้งนี้ เป็นการนำเสนอผลงานตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง        และปลายทาง ตลอดระยะเวลา 1 ปี สรรสร้างความเป็น 1 ให้ยางพาราไทย

ในส่วนของ เวทีสัมมนาวิชาการด้านยางพารา จะมีการนำเสนอผลงานวิจัย กยท. จากต้นทางสู่ปลายทาง ได้แก่ คำแนะนำพันธุ์ยางปี 2559 ปุ๋ยกับยางพาราการพัฒนาคุณภาพการผลิตยางแผ่นรมควันเข้าสู่มาตรฐาน GMP และ ผลงานวิจัยการผลิตผลิตภัณฑ์ยางที่สร้างมูลค่าเพิ่ม และในเสวนาวิชาการ ภายใต้หัวข้อ ฝ่าวิกฤติยางพาราไทย ทางเลือก ทางรอดของชาวสวนยาง ซึ่งจะมีผู้แทนทั้ง 3 ภาคส่วน ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ในวันที่ 14 กรกฎาคม นี้ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น


ในส่วนของนิทรรศการการสาธิต การยางแห่งประเทศไทย ได้คัดสรรผลงานจากทั่วประเทศมาไว้ในงาน ได้แก่
นิทรรศการยางพาราอย่างครบวงจร

การแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ อาทิ  การทำหมอนยางพาราจากเขต
ภาคเหนือ การผลิตยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง STR 20 ยางปูพื้นบ่อน้ำจากเขตภาคกลาง   และตะวันออก การสาธิตทำถุงมือยางจากเขตภาคใต้ตอนบน นิทรรศการหมู่บ้านเฉลิมพระเกียรติจากภาคใต้ตอนกลาง  การนำเสนอการทำลูกบอลยาง ครีมหน้าด้งจากเขตภาคใต้ตอนล่าง และในส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการจัดแสดงผลงานการแปรรูปยางเครป เป็นต้น

พร้อมทั้ง เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้ศึกษาและชื่นชมพระราชกรณียกิจของในหลวง  และราชินีต่อการพัฒนา
ยางพาราไทย พร้อมทั้งแสดงความจงรักภักดีในโอกาสเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 70 ปี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบด้วย จะจัดแสดงทั้ง 2 วันจัดงาน

นอกจากนี้ ยังมีการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งเป็นของดีทั้ง 7 เขตของการยางแห่งประเทศ อาทิ หมอนยาง สัปปะรดภูแล ครีมมะขาม เสื้อผ้าพื้นเมืองภาคเหนือ ผลิตภัณฑ์ไม้สัก ผลิตภัณฑ์จากกล้วย ข้าวหอมมะลิจากสุรินทร์ และร้อยเอ็ด กระเทียมแช่น้ำผึ้ง และอาหารทะเลจากระยอง ไข่น้ำแร่ เงาะบ้านนาสาร รังนก โรตีกรอบ จากภาคใต้ เป็นต้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนรายได้จากอาชีพเสริมให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง



ที่สำคัญ ในวันที่ 15 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปีในการสถาปนาการยางแห่งประเทศไทย จะมีพิธีการเปิดป้ายขององค์กร อย่างเป็นทางการ พร้อมทั้ง มีการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแก่พนักงานดีเด่น รางวัลสถาบันเกษตรกรดีเด่น ประจำปี 2559 รางวัลเหล่านี้ จะเป็นการรับประกันศักยภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ไม่เพียงเท่านี้ เวทีนี้ การยางแห่งประเทศไทย ยังให้ความสำคัญกับลูกหลานชาวสวนยางทั่วประเทศ ด้วยการสนับสนุน  มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน นักศึกษา จำนวน 81 คน และโรงเรียนองค์การสวนยาง 3 แห่ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น   390,000 บาท
 งานสถาปนาในครั้งนี้ เน้นให้ความรู้ ควบคู่กับการสร้างโอกาสในการหารายได้ เพื่อต่อยอดในการพัฒนาความรู้ และก่อให้เกิดนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาอาชีพการทำสวนยาง และพัฒนาประเทศชาติต่อไป


สวนยางอัดแก๊สเอทธิลีน Let-I ต้นยางโตไว เพื่อผลผลิต 2 เท่า ที่สุราษฎร์ฯ

สวนยางอัดแก๊สเอทธิลีน Let-I ต้นยางโตไว เพื่อผลผลิต 2 เท่า ที่สุราษฎร์ฯ

 แม้ว่าการใช้ “แก๊สเอทธิลีน” เร่งผลผลิตในต้นยาง จะมีข้อจำกัด ต้องใช้กับต้นยางอายุ 15 ปีขึ้นไป
เป็น “กฎเหล็ก”  แต่ก็มีเกษตรกรชาวสวนยาง “แหกกฎ” นำมาใช้กับต้นยางอายุน้อยกว่านั้น เช่น 11 ปี หรือเปิดกรีดมาแล้วประมาณ 4-5 ปี 

ยิ่งไปกว่านั้นยังมีเกษตรกรหลายราย “บ้าดีเดือด” ใช้กับต้นยางเปิดกรีดใหม่...!!!

ข้อมูลการใช้แก๊สเอทธิลีนกับยางเล็กหรือยางเริ่มเปิดกรีด ผู้เขียนและทีมงานยางเศรษฐกิจพยายามใช้ความระมัดระวังอย่างสูงในการนำเสนอ เพราะอาจเป็นแบบอย่างให้เกษตรกรรายอื่นนำไปทำ และนำพาความสูญเสียมาเยือน


หากแต่ทุกครั้งที่จะหยิบยกขึ้นมานำเสนอในหน้านิตยสารสิ่งที่ผู้เขียนยึดมั่นคือ ต้องเป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้าทำแล้วประสบความสำเร็จ เพิ่มผลผลิตได้จริงโดยที่ต้นยางไม่มีปัญหา พร้อมกับข้อมูลรอบด้านและขั้นตอนการทำอย่างถูกวิธี

เพราะผู้เขียนเชื่อมั่นว่า ชาวสวนยางเองมีวิจารณญาณสูงในการเก็บข้อมูล และมีการทดลองก่อนตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนก่อนนำไปใช้ ผู้เขียนจึงกล้าที่จะนำเสนอเรื่องนี้

เช่นเดียวกับฉบับนี้ ผู้เขียนเดินทางไปยัง อ.บ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อไปดูสวนยางพาราที่เริ่มใช้เอทธิลีนเพิ่มผลผลิตยางมาเป็นเวลากว่า 12 ปี จนแทบจะกลายเป็น “เพื่อนสนิท” กับการทำสวนยางระบบนี้เป็นอย่างดี มีความชำนาญจนกล้าพอที่จะใช้เอทธิลีนกับยางเพิ่งเปิดกรีด

ภาพยางต้นเริ่มเปิดกรีดตั้งแต่ อายุ 5 ปีครึ่งโดยใช้แก๊สเอทธิลีน เร่งน้ำยาง 3 เท่า 4 เท่า ทำอย่างนี้ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 คงจะทำให้จินตนาการถึงต้องยางผอมเกร็ง และโทรมจากการรีดน้ำยางอย่างหนัก 

แต่ภาพจริงต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะต้นยางที่ว่า ต้นใหญ่ ใบเขียวสมบูรณ์ ขณะที่น้ำยางออกมามากค่อนถ้วย
เมื่อเปรียบเทียบกับต้นยางที่ปลูกระยะเวลาใกล้เคียงกัน แต่ทำระบบปกติ ขนาดต้นและผลผลิตต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

นั่นหมายความว่าเอทธิลีน หาใช้สารไฮสปีดเร่งน้ำยางเพียงอย่างเดียว หากแต่มีประโยชน์ ให้คุณแก่สวนยาง ไปพร้อมๆ กัน


“ผมเริ่มทำสวนยางอัดแก๊สมา 12 ปี โดยประมาณ” สมคิด โพธิ์เพชร เจ้าของสวนยางใน จ.สุราษฎร์ธานี พูดถึงในการใช้แก๊สเอทธิลีนในสวนยาง ซึ่งสะท้อน “ชั่วโมงบิน” หรือประสบการณ์ของเขาเป็นอย่างดี

“เมื่อก่อนก็ไม่กล้าใช้ เขาบอกใช้แล้วต้นยางจะตาย เขาใช้กันตอนต้นยางใกล้โค่นเพื่อเร่งน้ำยาง” สมคิดเองก็มีจุดเริ่มต้นด้วยความกลัว เพราะคำบอกเล่าเช่นเดียวกับเกษตรกรทั่วไป
สมคิด โพธิ์เพชร เจ้าของสวนยางใน จ.สุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ 08-7465-2988
 แต่ความคิดของเขาเริ่มเปลี่ยนเมื่อได้ลองใช้แก๊สเอทธิลีนกันยางแก่ใกล้โค่น เห็นปริมาณน้ำยางที่ออกมามากกว่าปกติ ก่อนจะเริ่มศึกษาคุณสมบัติของเอทธิลีนและการใช้กับต้นยางมาอย่างต่อเนื่อง จนกล้าพอที่จะใช้กับต้นยางหนุ่มอายุ 12 ปี เปิดกรีดมาแล้ว 4-5 ปี

เขาเลือกใช้อุปกรณ์ติดตั้งเอทธิลีน และแก๊สเอทธิลีน “ยี่ห้อ เลท ไอ” เพราะมีราคาไม่สูงมาก สามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเอง เพียงแค่ตอกลงไปกับเปลือกยางและอัดแก๊สเข้าไปเท่านั้น ขณะที่อุปกรณ์ค่อนข้างทน อยู่ได้นานหลายปี

ข้อดีของการใช้เอทธิลีนกับต้นยาง เขาบอกว่าทำให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น 3 เท่า ขณะเดียวกันต้นยางกลับสมบูรณ์กว่าต้นยางในพื้นที่เดียวกัน ใบจะเขียวครึ้มทั้งสวน ขณะที่สวนใกล้เคียงที่ไม่ใช้แก๊สใบร่วงบ้าง ไม่สมบูรณ์บ้าง

“เพราะเอทธิลีนมีความจำเป็นต่อต้นยาง และสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ แต่เนื่องจากเมื่อทำเป็นสวนยางจะมีการกรีดเอาน้ำยางอย่างต่อเนื่อง จนต้นยางผลิตเอทธิลีนขึ้นมาทดแทนไม่ทัน”

แต่เมื่อมีการเติมเอทธิลีนในรูปของแก๊สเข้าไปในต้นยาง ปริมาณน้ำยางจึงสูงขึ้น เพราะระยะเวลาการไหลของน้ำยางนานขึ้น  ปริมาณน้ำยางจึงไหลเกือบเต็มถ้วย

คำถามคือต้นยางใบเยอะดีอย่างไร...???

“เมื่อต้นยางมีใบเยอะ ก็เปรียบเสมือน “โรงครัว” ปรุงอาหารของต้นยาง จากนั้นจะถูกส่งกลับไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างของต้นยาง และผลิตน้ำยางได้ปริมาณมาก”

จากการใช้เอทธิลีนกับยางแก่และยางหนึ่ง ทำให้ค้นพบว่า การใช้เอทธิลีน เมื่อก่อนอาจจะใช้ก่อนโค่น เร่งน้ำยางในช่วงลมหายในสุดท้าย แต่ปัจจุบันการใช้เอทธิลีนกลับเป็น “ยาอายุวัฒนะ” คือ ยืดอายุต้นยางเพิ่มมากขึ้น เพราะระบบกรีดในต้นยางอัดแก๊สจะใช้วิธีกรีดยางหน้าสูงและหน้าสั้น

หน้าสูงก็คือ ส่วนบนจากหน้ายางปกติ ซึ่งมีพื้นที่จำนวนมาก และเปลือกยางยังบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่เคยต้องคมมีดมาก่อน
ขณะที่ความกว้างของหน้ายางจะลดลงมาเหลือ แค่ 8 นิ้ว เท่านั้น หรือประมาณ 4-5 ส่วน ของต้น เมื่อยางหน้าสั้นลง จึงประหยัดหน้ายาง และมีเวลากรีดยาวนานขึ้น ขณะที่ปริมาณยางสูงขึ้น

“ยางหน้าสั้นยังลดความเสี่ยงเรื่องโรคหน้ายาง โดยไม่จำเป็นต้องทายาป้องกันหน้ายางหลังกีดเลย  เปลือกใหม่ที่งอกใหม่จะหนามากกว่าปกติอีกด้วย”

พื้นที่หน้ายางส่วนบนนี้น่าจะกรีดได้ไม่ต่ำกว่า 4-5 ปี

ระหว่างกรีดยางจากหน้าบน หน้ายางด้านล่างที่ผ่านการกรีดมานาน จะมีเวลาพักตัว และสร้างเปลือกยางอย่างน้อย 4-5 ปีเช่นกัน เมื่อยางหน้าบนหมด จึงลงกลับมากรีดหน้าปกติได้

อย่างส่วนยางแปลงหนึ่งของเขาที่ทีมงานมาดู เป็นยางพันธุ์ RRIM 600 อายุประมาณ 16 ปี กรีดมาร่วม 10 ปี แต่หน้ายางยังสมบูรณ์อยู่เลย เปลือกงอกใหม่เร็วและเรียบ ไม่เกิดแผลปุ่มโปนใดๆ

“ใช้แก๊สแล้วน้ำยางเพิ่ม ต้นยางสมบูรณ์ ของยังยืดอายุกรีดยางได้นาน”

ส่วนปริมาณน้ำยางที่เพิ่มสูงขึ้น เห็นได้ชัดเจนจากถ้วยรองน้ำยางที่ใช้ เป็นกระป๋อง 4 เหลี่ยม ขนาดความจุ 2 ลิตร ถ้าทำน้ำยางเก็บน้ำยางต้นหนึ่งจะได้น้ำยางประมาณ 0.5-1 ลิตร หรือครึ่งกระป๋อง แต่ถ้าทำขี้ยาง กรีดประมาณ 2-3 มีดก็เต็มถ้วย 2 ลิตรแล้ว ทั้งนี้แล้วแต่ความสมบูรณ์ของยางแต่ละต้น

ส่วนการดูแลต้นยาง สมคิดบอกว่า ไม่ได้พิเศษกว่าสวนยางทั่วไปมากนัก แค่ที่สำคัญคือ ต้องให้อย่างเคร่งครัด คือ ปีละ 2 ครั้ง โดยใช้ปุ๋ยผสมผสานระหว่างปุ๋ยเคมีกับอินทรีย์ แต่จะเน้นอินทรีย์เป็นหลัก อัตราส่วน 4 ต่อ 1 หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ 4 กระสอบ ปุ๋ยเคมี 1 กระสอบ /ไร่ ใส่ปีละ 2 ครั้ง

ขณะที่การอัดแก๊สเอทธิลีน จะอัดครั้งละ 20 ซีซี ต่อการกรีด 3 ครั้งหรือ 3 มีด ในหนึ่งเดือนมีต้นทุนเอทธิลีนเพียงเดือนละ 500 บาทเท่านั้น

“ยางแปลงนี้มีต้นยาง 700 ต้น แบ่งลูกน้องแล้วเหลือเงิน 25,000 บาท/เดือน” เขาบอกรายได้หลักหักต้นทุน

 หากแต่เขาก็หาวิธีการลดต้นทุนมาอย่างต่อเนื่อง เห็นได้ชัดเจนคือ ถุงเก็บเอทธิลีน เขาจะเปลี่ยนมาใช้หลอดไซลิงค์ หรือหลอดเข็มฉีดยา แทนถุง โดยให้เหตุผลว่า ปกติถุงเมื่อนำไปติดตั้งกับต้นยางมักจะมีปัญหา แมลงมากัดทำลายถุงจนรั่ว ต้องเปลี่ยนอยู่บ่อย จึงหันมาใช้หลอดไซลิงค์แทน เพราะแมลงกันทำลายยาก และสะดวกในการอัดแก๊สเข้าต้นตามปริมาณที่กำหนด เพราะหลอดจะมีตัวเลขวัดปริมาณชัดเจน

นอกจากข้อดีด้านความประหยัดและทนทานแล้วเมื่อใช้ไซลิงค์จะกำหนดปริมาณแก๊สได้แน่นอน ปกติแก๊ส 1 กระป๋องถ้าไม่มีเครื่องวัดอัดได้ประมาณ 100 ต้นเท่านั้น แต่เมื่อใช้ไซลิงค์อัดต้นละ 20 ซีซี จะได้ถึง 200 กว่าต้น ประหยัดและคุ้มค่าอย่างเห็นได้ชัด


“แก๊สที่อัดจากกระป๋องไปเก็บไว้ในหลอดไซลิงค์ จะค่อยๆ ซึมผ่านไปทางหัวตอก และซึมเข้าทางเปลือกยาง มันจะทำให้ท่อน้ำยางเปิด และไหนได้นานขึ้น 8-12 ชั่วโมง โดยไม่เป็นอันตรายกับต้นยาง”


แต่ปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้เทคนิคนี้เพิ่มผลผลิตยางปฏิบัติอย่างเคร่งครัดคือ เว้นระยะกรีดยางนานกว่าปกติ คือ 1 วันเว้น 2 วัน แต่ เกษตรกรมักจะ “ขาดวินัย” มักจะกรีดยางตามปกติ เพราะปัจจัยรุมล้อมรอบด้านบีบบังคับ

“เกษตรกรมักจะเข้าใจว่าหน้ายางสั้นน้ำยางจะออกเยอะได้อย่างไร จึงกรีดยาวกว่าเดิม วันกรีด ต้องหยุด 2 วัน ชาวบ้านมองว่ามันนานเกิน ก็หยุดวันเดียว ตรงนี้สำคัญมาก”

ใช้แก๊สเอทธิลีนกับต้นยางอายุ 5 ปีครึ่ง...!!!

สมคิดเล่าว่า เมื่อ 4 ปีที่แล้วเขาตัดสินใจใช้แก๊สเอทธิลีนกับต้นยางอายุ 5 ปีครึ่ง แต่อายุเท่านี้ขนาดต้นใหญ่กว่า 50 ซ.ม.ทุกต้น เพื่อทดลองว่าจะได้ผลหรือไม่


แต่จะไม่ใช่วิธีการตอกหัวอุปกรณ์ลงไปในเปลือก ใช้วิธีติดและใช้ยางในรถจักรยานรัดให้แน่น แล้วทากาวรอบๆ หัวตอกให้ติดกับต้นยาง วิธีนี้เขาบอกว่าจะช่วยให้แก๊สไม่ซึมรั่วออกมา และที่สำคัญไม่ทำให้เปลือกยางเสียหาย เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่เปลือกค่อนข้างบาง


“ตอนที่ผมตัดสินใจใช้เอทธิลีนกับต้นยางอายุ 5 ปีครึ่ง ซึ่งผ่านการตรวจของ สกย.แล้ว เขาจะให้ผมเพิ่มอีก 1 ปี ไร่ละ 1,000 บาท แต่ผมไม่เอา อยากทดลองใช้แก๊ส แต่ต้นยางผมได้ขนาด 50 ซ.ม.ทุกต้น”

เขาบอกว่าต้นยางที่จะใช้ต้องมีขนาด 50 ซ.ม.ขึ้นไป ถ้าเล็กกว่านี้ปริมาณน้ำยางที่ได้อาจจะไม่คุ้มค่ากับต้นทุนการติดตั้งเอทธิลีน


ผลลัพธ์หลังจากนั้นต้นยางก็โตปกติไม่แคระแกร็น แต่จะโตกว่าสวนยางปกติที่ปลูกเวลาใกล้เคียงกันอย่างเห็นได้ชัด เพราะการกรีดไม่จำเป็นต้องกรีดเปลือกหนา และยาว ทำอย่างนี้ต้นยางไม่ได้รับผลกระทบมาก แต่ถ้ายางเล็กแล้วกรีดครึ่งต้น อย่างไรต้นยางก็ชะงักแน่นอน ขณะที่ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันยางแปลงนี้อายุ 9 ปี
            
เมื่อพิสูจน์แล้วว่าแก๊สเอทธิลีนเพิ่มผลผลิตได้จริง แล้วต้นทุนการติดตั้งชุดอุปกรณ์ และแก๊สเอทธิลีน เป็นอย่างไร คุ้มค่าหรือไม่ สมคิดอธิบายว่า ชุดอุปกรณ์ราคาประมาณ 25 บาท แต่อยู่นานหลายปี

“อย่างของผม 10 ปี ยังใช้ได้อยู่เลย”


นอกจากนั้นยังมีถังรองน้ำยางขนาด 2 ลิตร ราคา 12 บาท  รวมต้นทุนทั้งหมดประมาณ 37 บาท /ต้น


ส่วนแก๊สเอทธิลีน เขาบอกว่าถูกมาก (กระป๋องละ 68 บาท)  ต้นทุนเพียงต้นละไม่กี่สตางค์ต่อต้น  อย่างสวนยางแปลงหนึ่ง มี ต้นยาง 700 ต้น ต้นทุนเอทธิลีนเพียงเดือนละ 500 บาท

“คุ้มค่าแน่นอน เพราะปริมาณน้ำยางออกมาอย่างน้อย 2 เท่า มากกว่าสวนยางปกติ อย่างตอนนี้ขี้ยางราคา 20 กว่าบาท ถ้าปกติยางต้นหนึ่งได้ขี้ยาง 1 กก. ขายได้เงิน 20 กว่าบาท แต่ของผมออกมา 2 กก. ได้เงิน 40 กว่าบาท จะไม่คุ้มได้อย่างไร

“ปัญหาเดียวของเขาคือ เรื่องฝน ต่อให้มีเทคนิคเพิ่มผลผลิตดีอย่างไร ได้ยางเยอะอย่างไร ราคาดีอย่างไร ฝนตกอย่างเดียวก็จบ แต่ถังรองน้ำยางขนาดใหญ่ยังพอจะช่วยได้ เพราะเมื่อฝนตกหลังจากกรีดยาง ยังจะมีน้ำยางเหลืออยู่ในถัง ช่วยได้ระดับหนึ่ง”

ข้อดีอีกอย่างของการใช้ทำสวนยางเอทธิลีน คือ ใช้คนงานน้อยลง เพราะทำขึ้นยางไม่ต้องเก็บยางทุกวัน และกรีดยางเพียงเดือนละ 10 วันเท่านั้น กรีดยางตอนเย็น 2 ทุ่มก็นอนสบายแล้ว
“สวนยาง 50 ไร่ ใช้คนแค่ 2 คนเท่านั้น ได้เงินรวมกัน 35,000 บาท สัดส่วน 70 : 30 สัดส่วนน้อยกว่าสวนยางปกติ แต่ได้ส่วนแบ่งสูงกว่า ทำงานน้อยกว่า คนงานเองก็ชอบ เขาจะมีเวลาทำงานอย่างละเอียด และไม่อยากไปทำสวนยางปกติอีกเลย”

ติดต่อสอบถามผลิตภัณฑ์ได้ที่
หจก.ไอทีรับเบอร์ โทรศัพท์ 08-1969-2908, 0-7328-6156-7

ข่าวดี ช่วงโปรโมชั่นเพื่อชาวสวนยาง อุปกรณ์ Let-I ราคาชุดละ 25 บาทเท่านั้น ฮอร์โมนเอทธิลีนกระป๋องละ 68 บาท ราคาพิเศษทั่วประเทศ
 แม้ว่าการใช้ “แก๊สเอทธิลีน” เร่งผลผลิตในต้นยาง จะมีข้อจำกัด ต้องใช้กับต้นยางอายุ 15 ปีขึ้นไป
เป็น “กฎเหล็ก”  แต่ก็มีเกษตรกรชาวสวนยาง “แหกกฎ” นำมาใช้กับต้นยางอายุน้อยกว่านั้น เช่น 11 ปี หรือเปิดกรีดมาแล้วประมาณ 4-5 ปี 

ยิ่งไปกว่านั้นยังมีเกษตรกรหลายราย “บ้าดีเดือด” ใช้กับต้นยางเปิดกรีดใหม่...!!!

ข้อมูลการใช้แก๊สเอทธิลีนกับยางเล็กหรือยางเริ่มเปิดกรีด ผู้เขียนและทีมงานยางเศรษฐกิจพยายามใช้ความระมัดระวังอย่างสูงในการนำเสนอ เพราะอาจเป็นแบบอย่างให้เกษตรกรรายอื่นนำไปทำ และนำพาความสูญเสียมาเยือน


หากแต่ทุกครั้งที่จะหยิบยกขึ้นมานำเสนอในหน้านิตยสารสิ่งที่ผู้เขียนยึดมั่นคือ ต้องเป็นเกษตรกรหัวก้าวหน้าทำแล้วประสบความสำเร็จ เพิ่มผลผลิตได้จริงโดยที่ต้นยางไม่มีปัญหา พร้อมกับข้อมูลรอบด้านและขั้นตอนการทำอย่างถูกวิธี

เพราะผู้เขียนเชื่อมั่นว่า ชาวสวนยางเองมีวิจารณญาณสูงในการเก็บข้อมูล และมีการทดลองก่อนตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนก่อนนำไปใช้ ผู้เขียนจึงกล้าที่จะนำเสนอเรื่องนี้

เช่นเดียวกับฉบับนี้ ผู้เขียนเดินทางไปยัง อ.บ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อไปดูสวนยางพาราที่เริ่มใช้เอทธิลีนเพิ่มผลผลิตยางมาเป็นเวลากว่า 12 ปี จนแทบจะกลายเป็น “เพื่อนสนิท” กับการทำสวนยางระบบนี้เป็นอย่างดี มีความชำนาญจนกล้าพอที่จะใช้เอทธิลีนกับยางเพิ่งเปิดกรีด

ภาพยางต้นเริ่มเปิดกรีดตั้งแต่ อายุ 5 ปีครึ่งโดยใช้แก๊สเอทธิลีน เร่งน้ำยาง 3 เท่า 4 เท่า ทำอย่างนี้ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 คงจะทำให้จินตนาการถึงต้องยางผอมเกร็ง และโทรมจากการรีดน้ำยางอย่างหนัก 

แต่ภาพจริงต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะต้นยางที่ว่า ต้นใหญ่ ใบเขียวสมบูรณ์ ขณะที่น้ำยางออกมามากค่อนถ้วย
เมื่อเปรียบเทียบกับต้นยางที่ปลูกระยะเวลาใกล้เคียงกัน แต่ทำระบบปกติ ขนาดต้นและผลผลิตต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

นั่นหมายความว่าเอทธิลีน หาใช้สารไฮสปีดเร่งน้ำยางเพียงอย่างเดียว หากแต่มีประโยชน์ ให้คุณแก่สวนยาง ไปพร้อมๆ กัน


“ผมเริ่มทำสวนยางอัดแก๊สมา 12 ปี โดยประมาณ” สมคิด โพธิ์เพชร เจ้าของสวนยางใน จ.สุราษฎร์ธานี พูดถึงในการใช้แก๊สเอทธิลีนในสวนยาง ซึ่งสะท้อน “ชั่วโมงบิน” หรือประสบการณ์ของเขาเป็นอย่างดี

“เมื่อก่อนก็ไม่กล้าใช้ เขาบอกใช้แล้วต้นยางจะตาย เขาใช้กันตอนต้นยางใกล้โค่นเพื่อเร่งน้ำยาง” สมคิดเองก็มีจุดเริ่มต้นด้วยความกลัว เพราะคำบอกเล่าเช่นเดียวกับเกษตรกรทั่วไป
สมคิด โพธิ์เพชร เจ้าของสวนยางใน จ.สุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ 08-7465-2988
 แต่ความคิดของเขาเริ่มเปลี่ยนเมื่อได้ลองใช้แก๊สเอทธิลีนกันยางแก่ใกล้โค่น เห็นปริมาณน้ำยางที่ออกมามากกว่าปกติ ก่อนจะเริ่มศึกษาคุณสมบัติของเอทธิลีนและการใช้กับต้นยางมาอย่างต่อเนื่อง จนกล้าพอที่จะใช้กับต้นยางหนุ่มอายุ 12 ปี เปิดกรีดมาแล้ว 4-5 ปี

เขาเลือกใช้อุปกรณ์ติดตั้งเอทธิลีน และแก๊สเอทธิลีน “ยี่ห้อ เลท ไอ” เพราะมีราคาไม่สูงมาก สามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเอง เพียงแค่ตอกลงไปกับเปลือกยางและอัดแก๊สเข้าไปเท่านั้น ขณะที่อุปกรณ์ค่อนข้างทน อยู่ได้นานหลายปี

ข้อดีของการใช้เอทธิลีนกับต้นยาง เขาบอกว่าทำให้ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น 3 เท่า ขณะเดียวกันต้นยางกลับสมบูรณ์กว่าต้นยางในพื้นที่เดียวกัน ใบจะเขียวครึ้มทั้งสวน ขณะที่สวนใกล้เคียงที่ไม่ใช้แก๊สใบร่วงบ้าง ไม่สมบูรณ์บ้าง

“เพราะเอทธิลีนมีความจำเป็นต่อต้นยาง และสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ แต่เนื่องจากเมื่อทำเป็นสวนยางจะมีการกรีดเอาน้ำยางอย่างต่อเนื่อง จนต้นยางผลิตเอทธิลีนขึ้นมาทดแทนไม่ทัน”

แต่เมื่อมีการเติมเอทธิลีนในรูปของแก๊สเข้าไปในต้นยาง ปริมาณน้ำยางจึงสูงขึ้น เพราะระยะเวลาการไหลของน้ำยางนานขึ้น  ปริมาณน้ำยางจึงไหลเกือบเต็มถ้วย

คำถามคือต้นยางใบเยอะดีอย่างไร...???

“เมื่อต้นยางมีใบเยอะ ก็เปรียบเสมือน “โรงครัว” ปรุงอาหารของต้นยาง จากนั้นจะถูกส่งกลับไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างของต้นยาง และผลิตน้ำยางได้ปริมาณมาก”

จากการใช้เอทธิลีนกับยางแก่และยางหนึ่ง ทำให้ค้นพบว่า การใช้เอทธิลีน เมื่อก่อนอาจจะใช้ก่อนโค่น เร่งน้ำยางในช่วงลมหายในสุดท้าย แต่ปัจจุบันการใช้เอทธิลีนกลับเป็น “ยาอายุวัฒนะ” คือ ยืดอายุต้นยางเพิ่มมากขึ้น เพราะระบบกรีดในต้นยางอัดแก๊สจะใช้วิธีกรีดยางหน้าสูงและหน้าสั้น

หน้าสูงก็คือ ส่วนบนจากหน้ายางปกติ ซึ่งมีพื้นที่จำนวนมาก และเปลือกยางยังบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่เคยต้องคมมีดมาก่อน
ขณะที่ความกว้างของหน้ายางจะลดลงมาเหลือ แค่ 8 นิ้ว เท่านั้น หรือประมาณ 4-5 ส่วน ของต้น เมื่อยางหน้าสั้นลง จึงประหยัดหน้ายาง และมีเวลากรีดยาวนานขึ้น ขณะที่ปริมาณยางสูงขึ้น

“ยางหน้าสั้นยังลดความเสี่ยงเรื่องโรคหน้ายาง โดยไม่จำเป็นต้องทายาป้องกันหน้ายางหลังกีดเลย  เปลือกใหม่ที่งอกใหม่จะหนามากกว่าปกติอีกด้วย”

พื้นที่หน้ายางส่วนบนนี้น่าจะกรีดได้ไม่ต่ำกว่า 4-5 ปี

ระหว่างกรีดยางจากหน้าบน หน้ายางด้านล่างที่ผ่านการกรีดมานาน จะมีเวลาพักตัว และสร้างเปลือกยางอย่างน้อย 4-5 ปีเช่นกัน เมื่อยางหน้าบนหมด จึงลงกลับมากรีดหน้าปกติได้

อย่างส่วนยางแปลงหนึ่งของเขาที่ทีมงานมาดู เป็นยางพันธุ์ RRIM 600 อายุประมาณ 16 ปี กรีดมาร่วม 10 ปี แต่หน้ายางยังสมบูรณ์อยู่เลย เปลือกงอกใหม่เร็วและเรียบ ไม่เกิดแผลปุ่มโปนใดๆ

“ใช้แก๊สแล้วน้ำยางเพิ่ม ต้นยางสมบูรณ์ ของยังยืดอายุกรีดยางได้นาน”

ส่วนปริมาณน้ำยางที่เพิ่มสูงขึ้น เห็นได้ชัดเจนจากถ้วยรองน้ำยางที่ใช้ เป็นกระป๋อง 4 เหลี่ยม ขนาดความจุ 2 ลิตร ถ้าทำน้ำยางเก็บน้ำยางต้นหนึ่งจะได้น้ำยางประมาณ 0.5-1 ลิตร หรือครึ่งกระป๋อง แต่ถ้าทำขี้ยาง กรีดประมาณ 2-3 มีดก็เต็มถ้วย 2 ลิตรแล้ว ทั้งนี้แล้วแต่ความสมบูรณ์ของยางแต่ละต้น

ส่วนการดูแลต้นยาง สมคิดบอกว่า ไม่ได้พิเศษกว่าสวนยางทั่วไปมากนัก แค่ที่สำคัญคือ ต้องให้อย่างเคร่งครัด คือ ปีละ 2 ครั้ง โดยใช้ปุ๋ยผสมผสานระหว่างปุ๋ยเคมีกับอินทรีย์ แต่จะเน้นอินทรีย์เป็นหลัก อัตราส่วน 4 ต่อ 1 หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ 4 กระสอบ ปุ๋ยเคมี 1 กระสอบ /ไร่ ใส่ปีละ 2 ครั้ง

ขณะที่การอัดแก๊สเอทธิลีน จะอัดครั้งละ 20 ซีซี ต่อการกรีด 3 ครั้งหรือ 3 มีด ในหนึ่งเดือนมีต้นทุนเอทธิลีนเพียงเดือนละ 500 บาทเท่านั้น

“ยางแปลงนี้มีต้นยาง 700 ต้น แบ่งลูกน้องแล้วเหลือเงิน 25,000 บาท/เดือน” เขาบอกรายได้หลักหักต้นทุน

 หากแต่เขาก็หาวิธีการลดต้นทุนมาอย่างต่อเนื่อง เห็นได้ชัดเจนคือ ถุงเก็บเอทธิลีน เขาจะเปลี่ยนมาใช้หลอดไซลิงค์ หรือหลอดเข็มฉีดยา แทนถุง โดยให้เหตุผลว่า ปกติถุงเมื่อนำไปติดตั้งกับต้นยางมักจะมีปัญหา แมลงมากัดทำลายถุงจนรั่ว ต้องเปลี่ยนอยู่บ่อย จึงหันมาใช้หลอดไซลิงค์แทน เพราะแมลงกันทำลายยาก และสะดวกในการอัดแก๊สเข้าต้นตามปริมาณที่กำหนด เพราะหลอดจะมีตัวเลขวัดปริมาณชัดเจน

นอกจากข้อดีด้านความประหยัดและทนทานแล้วเมื่อใช้ไซลิงค์จะกำหนดปริมาณแก๊สได้แน่นอน ปกติแก๊ส 1 กระป๋องถ้าไม่มีเครื่องวัดอัดได้ประมาณ 100 ต้นเท่านั้น แต่เมื่อใช้ไซลิงค์อัดต้นละ 20 ซีซี จะได้ถึง 200 กว่าต้น ประหยัดและคุ้มค่าอย่างเห็นได้ชัด


“แก๊สที่อัดจากกระป๋องไปเก็บไว้ในหลอดไซลิงค์ จะค่อยๆ ซึมผ่านไปทางหัวตอก และซึมเข้าทางเปลือกยาง มันจะทำให้ท่อน้ำยางเปิด และไหนได้นานขึ้น 8-12 ชั่วโมง โดยไม่เป็นอันตรายกับต้นยาง”


แต่ปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้เทคนิคนี้เพิ่มผลผลิตยางปฏิบัติอย่างเคร่งครัดคือ เว้นระยะกรีดยางนานกว่าปกติ คือ 1 วันเว้น 2 วัน แต่ เกษตรกรมักจะ “ขาดวินัย” มักจะกรีดยางตามปกติ เพราะปัจจัยรุมล้อมรอบด้านบีบบังคับ

“เกษตรกรมักจะเข้าใจว่าหน้ายางสั้นน้ำยางจะออกเยอะได้อย่างไร จึงกรีดยาวกว่าเดิม วันกรีด ต้องหยุด 2 วัน ชาวบ้านมองว่ามันนานเกิน ก็หยุดวันเดียว ตรงนี้สำคัญมาก”

ใช้แก๊สเอทธิลีนกับต้นยางอายุ 5 ปีครึ่ง...!!!

สมคิดเล่าว่า เมื่อ 4 ปีที่แล้วเขาตัดสินใจใช้แก๊สเอทธิลีนกับต้นยางอายุ 5 ปีครึ่ง แต่อายุเท่านี้ขนาดต้นใหญ่กว่า 50 ซ.ม.ทุกต้น เพื่อทดลองว่าจะได้ผลหรือไม่


แต่จะไม่ใช่วิธีการตอกหัวอุปกรณ์ลงไปในเปลือก ใช้วิธีติดและใช้ยางในรถจักรยานรัดให้แน่น แล้วทากาวรอบๆ หัวตอกให้ติดกับต้นยาง วิธีนี้เขาบอกว่าจะช่วยให้แก๊สไม่ซึมรั่วออกมา และที่สำคัญไม่ทำให้เปลือกยางเสียหาย เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่เปลือกค่อนข้างบาง


“ตอนที่ผมตัดสินใจใช้เอทธิลีนกับต้นยางอายุ 5 ปีครึ่ง ซึ่งผ่านการตรวจของ สกย.แล้ว เขาจะให้ผมเพิ่มอีก 1 ปี ไร่ละ 1,000 บาท แต่ผมไม่เอา อยากทดลองใช้แก๊ส แต่ต้นยางผมได้ขนาด 50 ซ.ม.ทุกต้น”

เขาบอกว่าต้นยางที่จะใช้ต้องมีขนาด 50 ซ.ม.ขึ้นไป ถ้าเล็กกว่านี้ปริมาณน้ำยางที่ได้อาจจะไม่คุ้มค่ากับต้นทุนการติดตั้งเอทธิลีน


ผลลัพธ์หลังจากนั้นต้นยางก็โตปกติไม่แคระแกร็น แต่จะโตกว่าสวนยางปกติที่ปลูกเวลาใกล้เคียงกันอย่างเห็นได้ชัด เพราะการกรีดไม่จำเป็นต้องกรีดเปลือกหนา และยาว ทำอย่างนี้ต้นยางไม่ได้รับผลกระทบมาก แต่ถ้ายางเล็กแล้วกรีดครึ่งต้น อย่างไรต้นยางก็ชะงักแน่นอน ขณะที่ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันยางแปลงนี้อายุ 9 ปี
            
เมื่อพิสูจน์แล้วว่าแก๊สเอทธิลีนเพิ่มผลผลิตได้จริง แล้วต้นทุนการติดตั้งชุดอุปกรณ์ และแก๊สเอทธิลีน เป็นอย่างไร คุ้มค่าหรือไม่ สมคิดอธิบายว่า ชุดอุปกรณ์ราคาประมาณ 25 บาท แต่อยู่นานหลายปี

“อย่างของผม 10 ปี ยังใช้ได้อยู่เลย”


นอกจากนั้นยังมีถังรองน้ำยางขนาด 2 ลิตร ราคา 12 บาท  รวมต้นทุนทั้งหมดประมาณ 37 บาท /ต้น


ส่วนแก๊สเอทธิลีน เขาบอกว่าถูกมาก (กระป๋องละ 68 บาท)  ต้นทุนเพียงต้นละไม่กี่สตางค์ต่อต้น  อย่างสวนยางแปลงหนึ่ง มี ต้นยาง 700 ต้น ต้นทุนเอทธิลีนเพียงเดือนละ 500 บาท

“คุ้มค่าแน่นอน เพราะปริมาณน้ำยางออกมาอย่างน้อย 2 เท่า มากกว่าสวนยางปกติ อย่างตอนนี้ขี้ยางราคา 20 กว่าบาท ถ้าปกติยางต้นหนึ่งได้ขี้ยาง 1 กก. ขายได้เงิน 20 กว่าบาท แต่ของผมออกมา 2 กก. ได้เงิน 40 กว่าบาท จะไม่คุ้มได้อย่างไร

“ปัญหาเดียวของเขาคือ เรื่องฝน ต่อให้มีเทคนิคเพิ่มผลผลิตดีอย่างไร ได้ยางเยอะอย่างไร ราคาดีอย่างไร ฝนตกอย่างเดียวก็จบ แต่ถังรองน้ำยางขนาดใหญ่ยังพอจะช่วยได้ เพราะเมื่อฝนตกหลังจากกรีดยาง ยังจะมีน้ำยางเหลืออยู่ในถัง ช่วยได้ระดับหนึ่ง”

ข้อดีอีกอย่างของการใช้ทำสวนยางเอทธิลีน คือ ใช้คนงานน้อยลง เพราะทำขึ้นยางไม่ต้องเก็บยางทุกวัน และกรีดยางเพียงเดือนละ 10 วันเท่านั้น กรีดยางตอนเย็น 2 ทุ่มก็นอนสบายแล้ว
“สวนยาง 50 ไร่ ใช้คนแค่ 2 คนเท่านั้น ได้เงินรวมกัน 35,000 บาท สัดส่วน 70 : 30 สัดส่วนน้อยกว่าสวนยางปกติ แต่ได้ส่วนแบ่งสูงกว่า ทำงานน้อยกว่า คนงานเองก็ชอบ เขาจะมีเวลาทำงานอย่างละเอียด และไม่อยากไปทำสวนยางปกติอีกเลย”

ติดต่อสอบถามผลิตภัณฑ์ได้ที่
หจก.ไอทีรับเบอร์ โทรศัพท์ 08-1969-2908, 0-7328-6156-7

ข่าวดี ช่วงโปรโมชั่นเพื่อชาวสวนยาง อุปกรณ์ Let-I ราคาชุดละ 25 บาทเท่านั้น ฮอร์โมนเอทธิลีนกระป๋องละ 68 บาท ราคาพิเศษทั่วประเทศ
adv/http://www.mogflat.blogspot.com|https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhEN-Chl_oJQy2tmBjPzYZLzH-M4GTRDqGaOG3MpH0IF7QAuxZAf8S7UK5tF_tIXeshKIUHS94QUaTh7OL5GRkuLa1WPfmAPu3lo2kyaKGLLwNo0JYAaTuq0uAYBqTuQMAAveoXlaLV5uo/s1600/adv-4.jpg
adv/http://www.mogflat.blogspot.com|https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhEN-Chl_oJQy2tmBjPzYZLzH-M4GTRDqGaOG3MpH0IF7QAuxZAf8S7UK5tF_tIXeshKIUHS94QUaTh7OL5GRkuLa1WPfmAPu3lo2kyaKGLLwNo0JYAaTuq0uAYBqTuQMAAveoXlaLV5uo/s1600/adv-4.jpg

Random Posts

randomposts