์News

์News

ปฏิวัติการกรีดยาง ด้วยเทคนิคเจาะยาง ร่วมกับ แก็สเอทธิลีน

เรื่อง : กองบรรณาธิการ นิตยสารยางเศรษฐกิจ
จาก นิตยสารยางเศรษฐกิจฉบับ 25 ประจำเดือนเมษายน 2556 
***ภาพและข้อความบนบล็อคนี้ทั้งหมดเป็นลิขสิทธิ์ของนิตยสารยางเศรษฐกิจ ไม่สงวนสิทธิ์หากจะนำไปเผยแพร่ความรู้ แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์เชิงการค้า

ยอมรับซะโดยดีว่าทุกวันนี้ “เจ้าของสวนยาง” มีปัญหาเรื่อง “แรงงานกรีดยาง”...!!!
            แรงงานกรีดยางไม่มีคุณภาพ กรีดยางหน้ายางเสีย ส่งผลระยะยาวต่อต้นยาง ซ้ำร้ายไปกว่านั้นเจ้าของสวนเข้าไปสั่งการอะไรคนกรีดยางไม่ได้...!!!
            ยังมีการจ่ายผลตอบแทนด้วยระบบ “หุ้นส่วน” ไม่ว่าจะเป็น 70 : 30, 75 : 35 และ 60:40 เป็นต้น ซึ่งถือว่าสูงมาก เพราะแรงงานกลายเป็น “ต้นทุนหลัก” สำหรับการทำสวนยาง
            แต่จะเชื่อหรือไม่ก็ตามทีว่า “การกรีดยาง” ไม่ได้เป็นวิธีเดียวสำหรับการเก็บเกี่ยวน้ำยาง แต่มีอีกวิธีหนึ่งที่ง่าย สะดวก และรวดเร็วกว่า  ขณะเดียวกันกลับได้น้ำยางมากกว่าการกรีดยาง 3-5 เท่าตัว

            ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ จะกรีดเวลาไหนก็ได้ เพราะช่วงระยะที่น้ำยางไหลตั้ง 12 ชั่วโมง
            วิธีเก็บเกี่ยวน้ำยางที่กล่าวถึงก็คือ “การเจาะยาง”...!!!
            วิธีการเพียงแค่ใช้ “ตัวเจาะ” ที่เป็นเหล็กแหลมคล้ายตะปู เจาะเข้าไปในเปลือกยาง 2-3 ซ.ม. ทำมุม 45 องศา จากนั้นใช้หลอดคล้ายหลอดนม เสียบเข้าไป เท่านั้นน้ำยางก็จะค่อยไหลเป็นน้ำลงสูงถ้วยรับน้ำยางแล้ว
เพียงแต่ถ้าต้องการเพิ่มผลผลิตน้ำยางให้สูงขึ้นต้องใช้ควบคู่กับฮอร์โมนเพิ่มน้ำยาง “เอทธิลีน” หรือที่ชาวสวนยางเรียกว่า “ยางอัดแก็ส” นั่นเอง


            จากการสืบค้นข้อมูลทางเอกสารและทางอินเตอร์เน็ต พบผู้ใช้วิธีการเจาะยางรายหนึ่งบอกเล่าประสบการณ์ผ่านกระทู้หนึ่งในโลกอินเตอร์เน็ตว่า กำลังเก็บข้อมูลการเจาะยาง ควบคู่กับ ใช้แก๊ซเอทธิลีนที่ จ.ชัยภูมิ กับสวนยาง 12 ไร่ ใช้ระบบกรีด 2 วันเว้น 1 วัน และทำแผ่นดิบ แบ่งรายได้ให้คนกรีด 50% แต่ประสบปัญหามากมากกับคนกรีด เช่น
    1. แบ่งให้คนกรีดมากเกินไป (ส่วนแบ่ง+ขี้ยาง )
    2. ฝนตกกรีดไม่ได้
    3. ราคาดี สั่งให้คนกรีดขายยาง กลับอกว่ายางไม่แห้ง (ยางที่แห้งคนกรีดขายเอาเงินเข้ากระเป๋าไปแล้ว)
    4. ฝนไม่ตก แต่คนกรีดบอกว่า หน้ายังไม่แห้ง แต่กลับกรีดบางส่วนไป
    5. เจ้าของสวนหวงหน้ายาง ไม่อยากให้บาดเข้าเนื้อไม้ วันดีคืนดี คนกรีดขอแรงพรรคพวกมาช่วยกรีด
    6. อยากยิงคนกรีดแต่กลัวติดคุก...!!!
จนเมื่อได้ศึกษาเทคนิคการเจาะยางร่วมกับเอทธิลีน ประมาณปลายปี 53 จึงใช้วิธีนี้ พร้อมกับ
    1. ไล่คนกรีดออก
     2. จาก กรีด เปลี่ยนเป็นเจาะ+ใช้แก๊ซเอทธิลีน เจาะ 1 วัน เว้น 2 วัน เดือนละ 10 วัน ไม่เว้นวันฝนตก
    3. จากแบ่งเป็น % เป็นจ้างเดือนละ 4,000.-บาท + เงินพิเศษ 2,000.-บาท รวม 6,000.-บาท
    4. จากรายได้เฉลี่ย(ทั้งปี 52) เดือนละ 6,000.-บาท เป็นเดือนละ 50,000.-บาท(บังเอิญต้นปีราคายางแพง)
    5. สุขภาพจิตดีขึ้น
            แต่ความจริงแล้วเทคนิคการเจาะยาง ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการศึกษาและทดลองให้กันมานานแล้ว ผ่านการทดลองงานวิจัยของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร พร้อมๆ กับเกษตรกรนำไปใช้ ทั้งที่ได้ผลดี และไม่ประสบความสำเร็จ
            ขณะที่งานวิจัยก็ไม่ได้ถูกต่อยอดไปสู่เกษตรกร

 งานวิจัย ชี้จัด การเจาะยาง ติดแก๊สเอทธิลีน ให้ผลผลิตกว่า 630 กิโลกรัม/ไร่/ปี
           ข้อมูลงานวิจัยเรื่อง เปรียบเทียบผลผลิตยางโดยวิธีการกรีดกับวิธีการเจาะ ในยางพันธุ์ RRIM 600 เปิดกรีดใหม่ คณะผู้วิจัยประกอบด้วย พนัส แพชนะ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการตลาดกลางยางพาราสุราษฎร์ธานี และ สมยศ สินธุระหัส เผยแพร่เมื่อปี 2552

งานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการทดลองศึกษาเปรียบเทียบกับยางพาราพันธุ์ RRIM 600 อายุ 7 ปี ระยะปลูก 2.5x8 เมตร ที่ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างเดือนตุลาคม 2542 ถึง เดือนกันยายน 2545 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธีการทดลอง คือ

1.      กรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน

2.      กรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวันร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 2.5%

3.      กรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวันร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 2.5% พร้อมพลาสติกคลุมกันฝน

4.      ใช้ระบบเจาะวันเว้นสองวัน

5.      ระบบเจาะวันเว้นสี่วันร่วมกับการใช้แก๊สเร่งน้ำยาง (เอทิลีน 68%)

ผลการทดลองพบว่าการใช้ระบบเจาะวันเว้นสองวันให้ผลผลิตสูงที่สุดคือ 8.6 กิโลกรัม/ต้น/ปี รองลงมาเป็นผลผลิตจากการใช้ระบบเจาะวันเว้นสี่วัน 7.7 กิโลกรัม/ต้น/ปี เพิ่มขึ้นเป็น 224 และ 200% ตามลำดับ

เมื่อเปรียบเทียบกับระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน รายได้สุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 132 และ 125 บาท/ต้น/ปี หรือ ประมาณ 172 และ163% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้จากระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน

งานวิจัยดังกล่าวรายงานผลว่า การเจาะยางเปนการพัฒนาวิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยางที่สําคัญขั้นหนึ่งในกระบวนการผลิตยางธรรมชาติขณะนี้ เพื่อแกญหาหลาย ๆ ประการที่กลาวมาแลวขางต

โดยเฉพาะอยางยิ่งปญหาการขาดแคลนแรงงานฝมือกรีดยาง ปญหาหนากรีดเดิมเสียหาย และจํานวนวันฝนตกที่มากเกินไป ถามีวิธีการเจาะยางที่พัฒนาใหใชไดอยางเหมาะสมและสามารถใชแรงงานทั่วไปมาเก็บผลผลิตน้ำยางไดโดยไมอใหเกิดความเสียหายตอตนยางระยะยาว แทนการใชคนกรีดแบบดั้งเดิมที่ตองอาศัยแรงงานฝมือที่มีทักษะสูงผานการฝกกรีดยางมาแลวเปนอยางดี

โดยปกติการใชเข็มเจาะเปลือกลําตนยาง น้ำยางจะไหลออกมาเพียงชั่วครูหนึ่ง แลวน้ำยางจะหยุดไหลตามกลไกของกระบวนการทางสรีรวิทยาของตนยาง ทําใหน้ำยางแข็งตัวอุดตันทอน้ำยางในระยะเวลาอันสั้น

จากการศึกษาของ Gomez ในป 1977 พบวาการเจาะยางโดยใชเข็มเจาะสามารถทําใหน้ำยางไหลไดถึง 48 ชั่วโมง เมื่อใชสารเคมีเรงน้ำยางเอทิฟอน (ethephon) บริเวณเปลือกกอนที่จะทําการเจาะ ซึ่งสารเคมีเรงน้ำยาง เอทิฟอน สามารถปลดปลอยแกสเอทิลีน (ethylene) ซึ่งมีคุณสมบัติทําใหน้ำยางแข็งตัวชา และเพิ่มแรงดันออสโมติก (osmotic pressure) ของน้ำยาง มีผลใหการไหลของน้ำยางนานกวาปกติ (ฉกรรจ, 2527; 2533)

จากการศึกษาของสถาบันวิจัยยางมาเลเซียมีระบบรีแอ็คตอริม (REACTORRIM) ซึ่งใชหลักการใหสารเคมีเรงน้ำยางในรูปของแกสปลดปลอยเขาในลําตนยางอยางตอเนื่อง โดยใชวิธีเจาะหนึ่งวันเวนสองวัน ทําใหไดผลผลิตโดยไมองใชแรงงานฝมือกรีดยางที่มีความชํานาญในการกรีดยางแตอยางใด

วิธีนี้จะชวยยืดอายุการเก็บเกี่ยวผลผลิตของตนยางไปไดอีกนาน เนื่องจากตนยางไมถูกกรีดเปลือกออกไปเหมือนการกรีดในระบบดั้งเดิม (พงษเทพ, 2538; Mohd. Raffali Mohd. Nor Ahmad Zarin bin Mat Tasi, 1995)

อีกระบบคือระบบริมโฟลว์(RRIMFLOW) เปนการพัฒนาระบบกรีดยางแบบดั้งเดิม ใหใชไดสะดวกและเหมาะสมกับการกรีดยางหนาสูง มีการแนะนําใหทดลองใชในสวนยางแกอนทําการโคน เพื่อปลูกทดแทนใหมในระยะ 5  สุดทาย

ระบบนี้ในระยะตน ๆ ไดใชวิธีการกรีดแบบดั้งเดิมดวยรอยกรีดสั้นๆ ประมาณเศษหนึ่งสวนแปดของลําต 3 วันตอครั้ง (1/8 S d/3) วมกับการใหสารเคมีเรงน้ำยางทําใหเพิ่มจํานวนตนกรีดไดถึงคนละ 750 น/วัน เปนผลใหเก็บเกี่ยวน้ำยางไดมากขึ้นอยางเปนที่นาพอใจ

ในระยะตอมาไดมีการประยุกตวิธีการกรีดรอยสั้นแบบตาง ๆ ไปเปนวิธีการเจาะแลวสอดทอขนาดเล็กปกไวในเปลือกยางใหน้ำยางไหลออกมาอยางตอเนื่องตามขบวนการของสารเคมีเรงน้ำยางที่ปลอยเขาใสในลําตนยางโดยตรง ซึ่งมีผลทําใหน้ำยางไหลออกเปนเวลานานกว 24 ชั่วโมง สามารถขยายเวลาการเก็บเกี่ยวน้ำยางไดครั้งหนึ่งในรอบ 4 วัน (1Pc d/4)


จึงทําใหสามารถลดจํานวนแรงงานตอพื้นที่ไปไดอีกเป็นจํานวนมาก จนถึงระยะลาสุดของการพัฒนาระบบริมโฟลและรีแอคโตริม การใชเข็มเจาะใหผลผลิตเปนที่พอใจของเกษตรกร

นอกจากนี้ขบวนการใหสารเคมีเรงน้ำยางโดยตรงกับลําตนยางไดมีการปรับปรุงวัสดุอุปกรณใหมีราคาตนทุนต่ำลง และมีประสิทธิภาพในการเรงน้ำยางมากขึ้น (พงษเทพ, 2538; Sivakumaran, 1996; Sivakumaran et al., 1991; 1992)

วนระบบเคตัสโฟล (CATASFLOW, CATAS: Chinese Academy of Tropical Agriculture Science) ของสถาบันวิจัยยางจีนไดมีการศึกษาระบบเจาะยางรวมกับการใหแกสเอทิลีนเขมขนกับลําตนยางโดยเจาะหนึ่งวันเวนหาวัน (1Pc d/6) เติมแก 15 วัน/ครั้ง พบวาสามารถยืดระยะเวลาการไหลของน้ำยางไดถึง 36 ชั่วโมง (Liu Shizhong et al., 1997)

วยวิธีการและแนวทางการศึกษาในวิธีการเจาะของระบบดังกลาว ไดมีบริษัทเอกชนของไทยรวมกับนักวิชาการอาวุโสในสถาบันวิจัยยางมาเลเซีย นําระบบเจาะยางที่คลายคลึงกันนี้ออกเผยแพรทดลองใชในหมูเกษตรกรชาวสวนยางบางพื้นที่ในเขตภาคใตและภาคตะวันออกของประเทศไทย

โดยเริ่มตนทําในลักษณะการเหมาสวนแลวบริษัทเจาะเอง เมื่อเกษตรกรเห็นวาบริษัทเจาะแลวใหผลผลิตสูงและวิธีการไมยุงยาก รวมทั้งบริษัทไดทุมโฆษณาทั้งในสื่อสารมวลชน และใชนักวิชาการของบริษัทแนะนําเกษตรกรโดยตรง ทําใหเกษตรกรชาวสวนยางตื่นตัว และใหความสนใจอยางมากมาย และไดมีการขอความคิดเห็นจากสถาบันวิจัยยาง เพื่อใหเกษตรกรมีทางเลือกในการเก็บผลผลิตยางตามกรรมวิธีใหม ๆ ในการเพิ่มผลผลิตและมีรายไดเพิ่มขึ้นอยางยั่งยืน

สถาบันวิจัยไดทําการทดลอง และมีการจัดทําคําแนะนําการใชแกสเรงน้ำยางในสวนยางกอนโคน และสวนยางอายุมากกว 15  แตยังไมเคยมีคําแนะนําการใชแกสเรงน้ำยางในสวนยางเปดกรีดใหมมากอน


ศูนย์วิจัยยางหนองคาย เตือน การเจาะยางร่วมกับอัดแก๊ส อาจจะทบต่อต้นยางเล็ก
ขณะเดียวกันศูนย์วิจัยยางหนองคาย เคยออกข่าวเตือนเกษตรกร ที่จะดำเนินการ เจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีน โดย นายสุรเดช ปัจฉิมกุล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยางหนองคาย ได้กล่าวว่าในช่วงที่ยางพารามีราคาสูงขึ้น มีเจ้าของสวนยางหลายรายในจังหวัดหนองคาย อุดรธานี นครพนม และสกลนคร ให้ความสนใจคิดจะเปลี่ยนจากการกรีดยางแบบเดิม มาใช้วิธีการเจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีน และได้สอบถามมายังศูนย์วิจัยยางหนองคายถึงเรื่อง ผลกระทบของการเจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีนต่อต้นยาง

เนื่องจากมีพ่อค้านำชุดเจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีนมาแนะนำและขายให้เจ้าของสวนยาง โดยพ่อค้าดังกล่าวบอกแต่เพียงข้อดี แต่ไม่บอกถึงข้อเสียหรือข้อจำกัดของการใช้ชุดเจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีน 
ศูนย์วิจัยยางหนองคาย จึงนำคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง มาเป็นข้อชี้แจงให้กับเจ้าของสวนยาง เพื่อให้เจ้าของสวนยางได้เข้าใจถึงข้อดีและข้อจำกัด และสามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาก่อนจะตัดสินใจวิธีการเจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีนแทนการกรีดยางแบบเดิม ดังนี้ 
1. โดยทั่วไปการเจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีน สถาบันวิจัยยางแนะนำสำหรับยางแก่ อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี หรือ ต้นยางก่อนโค่น 3-5 ปี หรือ ยางที่หน้ากรีดเสียหายมากไม่สามารถกรีดต่อไปได้แล้ว 
2. ต้นยางต้องสมบูรณ์ มีขนาดลำต้นโต ทรงพุ่มและใบสมบูรณ์ดี ไม่แคระแกรน 
3. การเจาะยางใช้ได้ในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก การใช้แก๊สจะได้ผลดีเมื่อความชื้นในดินสูง 
4. ต้องมีการใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เพียงพอ และเหมาะสมต่อความต้องการของต้นยาง 
5. หากเจาะลึกถึงเนื้อไม้ จะทำให้บริเวณที่ถูกเจาะเป็นแผลและมีสีคล้ำ หรือเกิดอาการปลือกบวม ทำให้เกิดสีคล้ำบนเนื้อไม้บริเวณที่เจาะได้ 
6. ต้นทุนการใช้แก๊สค่อนข้างสูง 
7. การใช้แก๊สต้องมีการเปลี่ยนถุงพลาสติกที่ใช้ใส่น้ำยางจำนวนมาก ซึ่งถุงพลาสติกเฉพาะ เหล่านี้จะก่อให้เกิดขยะที่ไม่ย่อยสลาย ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดมลภาวะต่อสภาพแวดล้อมในระยะยาวได้ 
สำหรับสวนยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงแม้จะมีฝนตกชุกและความชื้นสูงในฤดูฝนแต่ในช่วงฤดูหนาวและฤดูแล้งกลับมีความชื้นในอากาศ และในดินต่ำและเป็นเวลานานกว่า ดังนั้น การเจาะยางในช่วงฤดูแล้งหรือฤดูหนาวจึงอาจมีผลต่อต้นยาง ทำให้ต้นยางทรุดโทรมเร็ว 
อย่างไรก็ตาม วิธีการเจาะยางร่วมกับการใช้แก๊สเอทธิลีนในยางเปิดกรีดใหม่ สถาบันวิจัยยางยังไม่แนะนำให้ใช้ จำเป็นต้องศึกษาผลกระทบในระยะยาวต่อไปก่อน 
 
โกมล ไหมใจดี เกษตรกรหัวก้าวหน้า ผู้กล้าที่จะปฏิวัติการเก็บเกี่ยวน้ำยางด้วยวิธีเจาะยาง และอัดแก๊ส
สวนลุงสิน สงขลา การันตี การเจาะยาง คู่อัดแก๊สเอทธิลีน แก้ปัญหาการกรีดยาง และผลผลิตเพิ่มหลายเท่า
 ขณะที่การนำงานวิจัยเรื่องการเจาะยางไม่ได้รับการเผยแพร่และแนะนำสู่เกษตรกร แต่ก็มีเกษตรกรหัวก้าวหน้ารายหนึ่ง ใน อ.นาทวี จ.สงขลา ศึกษาและกล้าที่จะทดลองนำเทคนิคการเจาะยางมาใช้ในสวนยางควบคู่กับการใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนแล้วกว่า 3 ปี
            เกษตรกรหัวก้าวหน้ารายนี้ก็คือ นายโกมล ไหมใจดี เจ้าของสวนลุงสิน สวนยางมากกว่า 100 ไร่ หรือ 10,000 กว่าต้น เป็นยางแก่อายุกว่า 38 ปี และสวนยางเล็กอายุ 6 ปี ประมาณ 70 ไร่ ทั้งหมดติดแก๊สเอทธิลีนเพิ่มผลผลิตน้ำยางทั้งหมด...!!!
            เขาบอกว่าสนใจติดแก็สเอทธิลีนกับยางแก่ ประกอบไปด้วยพันธุ์ 600 235 และ255 เพราะหน้ายางปกติไม่มีพื้นที่กรีดแล้ว จึงต้องเปิดกรีดหน้าสูง แต่กรีดแบบยางหน้าสั้น บริเวณกรีดก็สูงกว่า 5 เมตร โดยใช้บันไดยางปีนขึ้นไปกรีด แล้วใช้เชือกโยงให้น้ำยางไหลตามเชือกมาลงถ้วยด้านโคนต้น ซึ่งเป็นเทคนิคที่ชาวสวนยางมาเลเซียเคยใช้  
            แต่ตอนหลังเขาหันมาให้ความสนใจกับการเจาะยาง แทนการกรีด แต่ก็ไม่ได้ใช้กับต้นยางแก่ เพราะสามารถจะขึ้นไปเจาะได้ ทำงานลำบาก เพราะการเจาะยางถ้วยต้องอยู่ติดกับหลอด
            แต่การเจาะยางเขาทดลองใช้กับสวนยางเล็กอายุ 6 ปี ที่เปิดกรีดได้ไม่กี่เดือน เขาบอกว่าการเจาะควรใช้กับหน้ายางที่ยังไม่เคยกรีด และยางเล็กที่ยังมีหน้ายางดีๆ ก็เหมาะที่สุด
อีกทั้งการเจาะต้นยาง ไม่จำเป็นต้องหาคนเก่งมีฝีมือ เด็ก 8 ขวบก็สามารถทำได้ เพราะในสวนลูกชายคนสวนก็ช่วยเจาะยางอยู่ เพราะแค่แทงเข้าเปลือก 45 องศา เอาหลอดเสียบเข้าแผลเจาะน้ำยางก็ไหลออกมาแล้ว
ข้อดีของการเจาะจากการทดลองมา 3 ปี คือ หน้ายางไม่เสีย ไม่มีแผล ที่สำคัญการเจาะทำเวลากลางวัน เหมือนเราเจาะแล้วใส่หลอดเข้าไปเลย ทำง่ายและรวดเร็ว

ไม่เพียงเท่านั้นในฤดูฝนก็เจาะได้เพราะหน้ายางไม่เปียก เพราะเราเอาน้ำยางอย่างเดียว แต่สำคัญว่าถ้วยรองน้ำยางต้องใหญ่ ประมาณ 3 ลิตร เพื่อว่าเวลาฝนตกน้ำยางก็ยังอยู่ไปไหลออกนอกถ้วย
เทคนิคล่าสุดในการเจ้ายางติดแก๊สคือ เขาสามารถเจาะยางเพื่อเอาน้ำยางได้แม้ในหน้าแล้ง โดยใช้วิธีการให้น้ำ ซึ่งเป็นการทดลองวิธีใหม่ในหน้าแล้งนี้
เขาเล่าวิธีการว่า ขุดเป็นร่องให้น้ำไหลไปตามร่องกลางแถวยาง ขุดให้กว้างประมาณ 25 ซ.ม. เพียงแค่ปล่อยน้ำเข้าร่องสวน เพื่อให้ใบยางแก่เร็ว น้ำยางก็จะออกตามปกติ และออกดีกว่าหน้าฝนซะอีก เดือนมีนาคมก็เริ่มเปิดกรีดแล้ว เขาบอกว่า ถ้าสวนยางเป็นพื้นที่เสมอ ติดคลอง ก็สามารถลงทุนให้น้ำได้ ต้นทุนการให้น้ำประมาณ 2,000 กว่าบาท/ไร่เท่านั้น
            ผลก็คือหน้าแล้งน้ำยางกลับเยอะกว่าหน้ากรีดปกติด้วยซ้ำไป เพราะเวลาใส่ปุ๋ยก็ใส่ไปกับน้ำเลย ยิ่งหน้าร้อนแดดจะดีต้นยางสังเคราะห์แสงดีมาก
            เขาบอกว่าการเจาะยางและติดแก๊สสามารถใช้ได้ทุกพื้นที่ที่มีสวนยาง สำคัญว่าถ้าหน้าแล้งอย่างนี้ถ้ากรีดไปก็ไม่มีน้ำยางเพราะมันแล้ง ก็ไม่น่าจะทำ แต่ถ้าไม่มีน้ำก็ไปทำฤดูเปิดกรีดปกติ จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีแหล่งน้ำ และมีการให้น้ำ    “ถ้ามีน้ำก็เริ่มเจาะได้ตั้งแต่ใบเป็นเพสลาด แล้วให้น้ำ น้ำจะเข้าไปเลี้ยงต้นให้สมบูรณ์”
ให้น้ำสวนยางหน้าแล้ง สามารถเจาะยางได้ปกติ เจ้าของสวนลุงสินบอกว่าได้น้ำยางเยอะกว่าหน้ากรีดปกติเสียอีก เพราะน้ำดี แดดดี มีระบบการเพิ่มผลผลิต และการเจาะที่ดีหน้ายางไม่เสีย

            แต่อย่างไรก็ตามเขายอมรับว่า ต้นยางแก่อัดแก๊สและกรีดหน้าสั้น จะได้น้ำยางดีกว่าการเจาะยางติดแก๊สกับยางเล็ก  เพราะอยู่ที่ความสมบูรณ์ของต้นยางต่างกัน ต้นยางแก่จะได้น้ำยางประมาณ 2 ลิตร/ต้น แต่ถ้าต้นเล็กเฉลี่ยจะได้ 300 ซีซี. แต่ถ้ายางเล็กต้นที่สมบูรณ์ใหญ่และใหญ่อาจจะได้ถึง 1 ลิตร แต่ก็จะเยอะกว่าต้นที่กรีดแบบธรรมดาไม่ติดแก๊สหลายเท่าตัว
            เกษตรกรหัวก้าวหน้ารายนี้การันตีจากประสบการณ์ว่า ยางเล็กที่อัดแก๊สไม่มีผลต่อต้นยาง เพราะแก๊สเอทธิลีนเป็นประโยชน์ต่อต้นยาง และการเจาะยางแบบติดแก็ส การเจาะจะมีการสลับเวียนจนรอบต้นไม่ได้ติดอยู่กับที่ แต่การตัดต้องซ้ำอยู่บริเวณที่เดิม ต้นยางก็ไม่มีแผลไม่การหน้ายางเสีย ต้นยางได้เติบโตตลอด

            ขนาดที่บริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศยังต้องส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้ามาดูงานในสวนยางแห่งนี้ เพื่อนำไปทดลองใช้กับสวนยางภาคเหนือและอีสาน
            อุปกรณ์การเจาะยางแบบติดแก็สเอทธิลีนประกอบด้วย ชุดอุปกรณ์อัดแก๊สเอทธิลีน ต้นทุนประมาณ 55 บาท/ต้น ถ้วยรองน้ำยางขนาด 3 ลิตร เครื่องมือเจาะต้นยางเป็นเหล็กแหลมที่ทำมาจากเหล็กกล้า ราครา 150 บาท แต่ก็สามารถดัดแปลงทำได้เองโดนใช้ตะปู 2 นิ้วผอมมาทำ และหลอดลักษณะเหมือนหลอดนม แต่มีลักษณะพิเศษตรงที่แข็งและหนากว่า ขนาดต้องเล็กกว่าเหล็กเจาะเล็กน้อย ราคากิโลกรัมละ 500 บาท (4,000 อัน) เวลาแทงเข้าไปมันจะพอดี น้ำยางไปไหลออกด้านข้างลงถ้วยยาง
            ส่วนอุปกรณ์และแก๊สเอทธิลีน เขาบอกว่าใช้ของญี่ห้อไหนก็ได้ แต่ต้องเป็นอุปกรณ์แบบ “ตัวตอก” เพราะการติดตั้งง่ายกว่า
“แต่ไม่มีใครทำเรื่องยางเจาะ เพราะแม้จะดูเหมือนทำง่าย แต่ก็มีเทคนิคอยู่เหมือนกัน แต่มันก็ไม่ยาก เพราะตำแหน่งที่เราเจาะอยู่ห่างจากตัวตอก 1-2 นิ้ว แต่เวลาทำมันจะสอนคนเจาะเอง เราจะทดลองและรู้ว่าอยู่ตรงไหนน้ำยางจะออกดี ทุกอย่างจะสอนเราเอง แต่ก็ง่ายกว่าดารตัดยางเยอะ”
            แต่อย่างไรก็ดี กลับไม่มีเกษตรกรรายใดในพื้นที่ใกล้เคียง หรืออาจะรวมถึงภาคใต้ ไม่มีใครใช้วิธีการเจาะยางติดแก๊ส  ขนาดญาติพี่น้องและสวนติดๆ กันกับสวนลุงสินเองก็ไม่มีใครกล้าทำตามเขา เพราะกลัวยางตาย และขายไม้ยางไม่ได้
“แต่ผมขายไม้ยางที่ใช้แก๊สไปแล้วแปลงหนึ่ง ประมาณ 400 ต้น ยางอายุ 35 ปี ขายได้ต้นละ 2,300 บาท หรือ 900,000 บาท และขายเป็นกิโล เพราะรู้ว่าที่ขายกิโลละกี่บาท ไม่มีปัญหาเรื่องโรงงานไม้ยางไม่ซื้อหรือ กดราคาเลย”
ด้วยระบบการเจาะยางที่ไม่เกิดแผล ต้นยางไม่ได้ระการกระทบกระเทือน ถ้ามีใช้แก็สเอทธิลีนอย่างถูกต้อง และการบริหารจัดการควบคู่ที่ดี ต้นยางไม่ต้องโค่นกันยังลูกยันหลานเลยทีเดียว

            ขณะที่เกษตรกรมาดูงานสวนลุงสินส่วนใหญ่คือคนเหนือและอีสาน เพราะเกษตรกรโซนนี้ยังกรีดยางไม่เป็นหรือกรีดไม่ชำนาญ  
“แต่คนทำก็ยังไม่เยอะมาก เพราะเป็นงานละเอียดอ่อนต้องดูแลตลอด ไม่ได้ปล่อย ต้องทำต่อเนื่อง ดูแลต่อเนื่อง ทั้งปุ๋ยและน้ำ เจ้าของสวนจะต้องขยัน”
            จะเห็นได้ว่าการเจาะยางควบคู่กับการอัดแก๊ส สามารถแก้ปัญหาเรื่องแรงงานการกรีดยาง ซึ่งกำลังจะเป็นปัญหาใหญ่กับสวนยางพารา และยังสามารถเก็บเกี่ยวน้ำยางได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะหน้ายางไม่เสียเลย
ขณะเดียวกันเอทธิลีนคือ ฮอร์โมนเพิ่มผลผลิตน้ำยาง เพียงแต่ต้องมีการดูแลต้นยางอย่างถูกเวที
การเจาะยางแทนการกรีดยางจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งของการเก็บเกี่ยวน้ำยางที่น่าสนใจยิ่งนัก
(อ่านเนื้อหาประกอบ :  ฮอร์โมนเอทธิลีน ทางลัดสู่เศรษฐีสวนยาง เพิ่มน้ำยาง 3-5 เท่า ยางเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2/2554 และ กลยุทธ์สร้างสวนยางเงินล้าน ด้วยฮอร์โมนเอทธิลีน ท็อปโฟลว์ ยางเศรษฐกิจฉบับ 5/2554)

เทคนิคการกรีดยางแก่ หน้าสูง จากมาเลย์ ใช้บันไดปีนขึ้นไปกรีดสูงกว่า 5 เมตร ให้น้ำยางไหลมาตามเชือกสู่ถ้วยยาง 


ปริมาณน้ำยางต่อวันกรีด เมื่อติดตั้งแก๊สเอทธิลีน ยิ่งต้นใหญ่น้ำยางยิ่งสูง

อุปกรณ์สำหรับเจาะเปลือกยาง แทนการกรีดยาง

วิธีการเจาะเปลือกยาง ทำมุมเจาะ 45 องศา เจาะเข้าไป 2-3 ซ.ม. เท่านั้น น้ำยางก็ไหลแล้ว
***ภาพและข้อความบนบล็อคนี้ทั้งหมดเป็นลิขสิทธิ์ของนิตยสารยางเศรษฐกิจ ไม่สงวนสิทธิ์หากจะนำไปเผยแพร่ความรู้ แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์เชิงการค้า

5 ความคิดเห็น

  1. ขอทราบว่าที่จังหวัดชัยภูมิที่ใช้วิธีนี้ เจ้าของสวนชื่ออะไร อยู่หมู่บ้านอะไร ตำบล อำเภออะไรครับ จะไปดูตัวอย่าง

    ตอบลบ
  2. ขอทราบว่าที่จังหวัดชัยภูมิที่ใช้วิธีนี้ เจ้าของสวนชื่ออะไร อยู่หมู่บ้านอะไร ตำบล อำเภออะไรครับ จะไปดูตัวอย่าง

    ตอบลบ
  3. ระยะนี้มีคนทำกันมากทุกภาคของประเทศ และมีแนวโน้มว่าระบบกรีดแบบเดิมจะหายไปในไม่ช้า เพราะแบบใหม่ถ้าทำตามระบบคือ พ่นปุ๋ยทางลำต้นทุกเดือนแทนการให้ปุ๋ยทางดินปีละ 2 ครั้ง จะทำให้ต้นสมบูรณ์ภายใน3 เดือนใบจะใหญ่ หนา เขียวเป็นมันอย่างเห็นได้ชัด ผลผลิต อย่างน้อย 2 ถึง 3 เท่าในเดือนแรก เจาะเพียง 9 ครั้ง เจาะ 1 วัน เว้น 2 วัน ถ้าเคยได้ต้นละ 7 ขึดต่อเดือนจะได้ผลผลิตเป็น 1.5-2 กก./เดือนทีเดียว ซึ่งเป็นประสบการณ์ตรงของผมที่ทำอยู่ที่อุดรธานี ขอนแก่น และเลยครับ ยินดีแลกเปลี่ยนประสบการณ์งานวิจัย 093-3252856

    ตอบลบ
  4. https://sites.google.com/site/yangthai18/yangpara

    เทคโนโลยีใหม่ ในเพิ่มปริมาณน้ำยางพารา ด้วย ฮอร์โมน จากประเทศมาเลเซีย

    เห็นผล 100% ภายใน 24 ชั่วโมง ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม รายได้เพิ่มขึ้น

    และช่วยยืดอายุต้นยางอีกนับ 10 ปี โดยการกรีดระบบสั้น ทำงานน้อยลง รายได้เพิ่มขึ้น คืนทุนภายใน 1เดือน

    ศึกษารายละเอียดได้ที่ Web นี้ คลิกที่นี้เลย http://yangthai18.googlepages.com

    สอบถามรายละเอียดได้ที่ : 087-147-4831 ทุกวัน

    Email : yangthai18@gmail.com

    เรามีชุดทดลองจำหน่าย ไม่เห็นผลยินดีคืนเงิน ใช้กันมานานมากกว่า 10 ปีแล้ว

    ตอบลบ
  5. https://sites.google.com/site/yangthai18/yangpara

    เทคโนโลยีใหม่ ในเพิ่มปริมาณน้ำยางพารา ด้วย ฮอร์โมน จากประเทศมาเลเซีย

    เห็นผล 100% ภายใน 24 ชั่วโมง ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม รายได้เพิ่มขึ้น

    และช่วยยืดอายุต้นยางอีกนับ 10 ปี โดยการกรีดระบบสั้น ทำงานน้อยลง รายได้เพิ่มขึ้น คืนทุนภายใน 1เดือน

    ศึกษารายละเอียดได้ที่ Web นี้ คลิกที่นี้เลย http://yangthai18.googlepages.com

    สอบถามรายละเอียดได้ที่ : 087-147-4831 ทุกวัน

    Email : yangthai18@gmail.com

    เรามีชุดทดลองจำหน่าย ไม่เห็นผลยินดีคืนเงิน ใช้กันมานานมากกว่า 10 ปีแล้ว

    ตอบลบ

Random Posts

randomposts