์News

์News

กลยุทธ์ทำเงินจาก "ยางเครป" เพิ่มมูลค่า 2 เท่า

กลยุทธ์ทำเงินจาก "ยางเครป" เพิ่มมูลค่า 2 เท่า

เป็นไปได้ไหม...???
               ถ้าจะทำให้ชาวสวนยางภาคอีสานและภาคเหนือ จดทะเบียน “หย่าร้าง” กับการทำยางก้อนถ้วย...???
               เพราะพิสูจน์กันแล้วว่าการผลิตและขายยางประเภทนี้ เกษตรกรเสียเปรียบทุกทาง
               โดยเฉพาะเมื่อมองในมิติของความเที่ยงตรงและเป็นธรรมด้านการซื้อขาย
               เมื่อยางก้อนถ้วยยังซื้อขาย “ยางเปียก” หรือยางที่มีน้ำปะปนอยู่ในเนื้อยางมาก เป็นจุดอ่อนให้เกิดการซื้อขายแบบกดราคา โดยพ่อค้าคนกลาง
               และแม้กระทั่งตัวพ่อค้าเองก็ยังถูกกดราคาจากโรงงานหรือผู้ผลิตยางแท่งไม่ต่างกัน...!!!
               เมื่อโรงงานกดราคาซื้อยางพ่อค้า พ่อค้าจึงต้องกลับมา “กดราคา” กับเกษตรกร เพื่อให้ตัวเองมีกำไร
               ไม่ว่าเกษตรกรหรือพ่อค้า จึงตกอยู่บนที่นั่งเดียวกัน...!!!
               การทำยางก้อนถ้วยจึงถูก “ตะลุมบอน” ไปด้วยปัญหาด้านการตลาด
               หากแต่จะมีทางใดที่จะ “ปลดโซ่” ให้เกษตรกรหลุดพ้นจากความไม่เป็นธรรมด้านการซื้อขาย ภายใต้เงื่อนไขที่เกษตรกรยังคงผลิตยางก้อนถ้วยตามถนัดและความชำนาญ...???
               เพราะการจะให้เกษตรกรโยกย้ายไปผลิตยางประเภทอื่น เพื่อเพิ่มมูลค่า คงทำได้ยากพอๆ กับการเปลี่ยนให้คนไทยกิน “ขนมปัง” เป็นอาหารหลักแทน “ข้าว” อย่างงัยอย่างงั้น
               ทางออกเดียวที่พอจะเป็น “แสงไฟ” ให้กับปัญหานี้ มีชื่อของ “ยางเครป” เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นยางที่แปรรูปมาจากยางก้อนถ้วย
               เมื่อการผลิตยางเครป ยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขของเกษตรกรที่ยัง “เสพติด” การผลิตยางก้อนถ้วย จึงเป็นแนวทางที่น่าศึกษายิ่ง
               เพียงแต่การผลิตยางเครป ยังเป็นจุดอ่อนสำหรับเกษตรกรรายย่อย เพราะการลงทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเครื่องจักรและโรงเรือน
               อีกทั้งยังมีความซับซ้อนเรื่องการผันผวนของราคายาง ที่มีผลต่อต้นทุนการผลิตยางเครป ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อกำไรและขาดทุน เกษตรกรจำนวนมากจึงขาดทุนและเจ๊งกับการทำยางเครปมานักต่อนัก จนเผลอสรุปว่าเป็นแนวทางที่ไม่น่าลงทุน
               ที่สำคัญไปกว่านั้น โรงงานผลิตยางแท่งส่วนใหญ่ยังไม่รับซื้อยางเครป เพราะถูกปรักปรำว่าเป็นยางไม่มีคุณภาพ
               ไม่ใช่เฉพาะเกษตรกรรายย่อยเท่านั้นที่ล้มเหลวกับการทำยางเครป แม้กระทั่งพ่อค้ายางที่หันมาแปรรูปยางก้อนถ้วยเป็นยางเครปเอง ก็ยังเจ๊งกับการลงทุนไม่ต่างกัน เพราะขาดกลยุทธ์ด้านการบริหารการผลิตและการตลาด
               แต่ท่ามกลางความล้มเหลวของการทำยางเครป ยางเศรษฐกิจกลับค้นพบความสำเร็จจากผู้ผลิตกลุ่มหนึ่ง ที่มีกลยุทธ์ในการบริหารการผลิตและการตลาด จนสามารถยืดหยัดทำกำไรกับการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่ายาง ซึ่งน่าจะเป็น “ครู” แก่ผู้ที่จะทำธุรกิจยางเครป  
               เพราะยางเศรษฐกิจเชื่อว่า ยางเครป จะโตในอีสานไม่ช้าก็เร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มของพ่อค้า และลานรับซื้อยาง และอาจรวมไปถึงสถาบันเกษตรกร
            เนื้อหาและรายละเอียดติดตามได้ที่หน้าใน นิตยสารยางเศรษฐกิจ 

ฉบับ 32 เดือนพฤศจิกายน 2556




เป็นไปได้ไหม...???
               ถ้าจะทำให้ชาวสวนยางภาคอีสานและภาคเหนือ จดทะเบียน “หย่าร้าง” กับการทำยางก้อนถ้วย...???
               เพราะพิสูจน์กันแล้วว่าการผลิตและขายยางประเภทนี้ เกษตรกรเสียเปรียบทุกทาง
               โดยเฉพาะเมื่อมองในมิติของความเที่ยงตรงและเป็นธรรมด้านการซื้อขาย
               เมื่อยางก้อนถ้วยยังซื้อขาย “ยางเปียก” หรือยางที่มีน้ำปะปนอยู่ในเนื้อยางมาก เป็นจุดอ่อนให้เกิดการซื้อขายแบบกดราคา โดยพ่อค้าคนกลาง
               และแม้กระทั่งตัวพ่อค้าเองก็ยังถูกกดราคาจากโรงงานหรือผู้ผลิตยางแท่งไม่ต่างกัน...!!!
               เมื่อโรงงานกดราคาซื้อยางพ่อค้า พ่อค้าจึงต้องกลับมา “กดราคา” กับเกษตรกร เพื่อให้ตัวเองมีกำไร
               ไม่ว่าเกษตรกรหรือพ่อค้า จึงตกอยู่บนที่นั่งเดียวกัน...!!!
               การทำยางก้อนถ้วยจึงถูก “ตะลุมบอน” ไปด้วยปัญหาด้านการตลาด
               หากแต่จะมีทางใดที่จะ “ปลดโซ่” ให้เกษตรกรหลุดพ้นจากความไม่เป็นธรรมด้านการซื้อขาย ภายใต้เงื่อนไขที่เกษตรกรยังคงผลิตยางก้อนถ้วยตามถนัดและความชำนาญ...???
               เพราะการจะให้เกษตรกรโยกย้ายไปผลิตยางประเภทอื่น เพื่อเพิ่มมูลค่า คงทำได้ยากพอๆ กับการเปลี่ยนให้คนไทยกิน “ขนมปัง” เป็นอาหารหลักแทน “ข้าว” อย่างงัยอย่างงั้น
               ทางออกเดียวที่พอจะเป็น “แสงไฟ” ให้กับปัญหานี้ มีชื่อของ “ยางเครป” เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นยางที่แปรรูปมาจากยางก้อนถ้วย
               เมื่อการผลิตยางเครป ยังอยู่ภายใต้เงื่อนไขของเกษตรกรที่ยัง “เสพติด” การผลิตยางก้อนถ้วย จึงเป็นแนวทางที่น่าศึกษายิ่ง
               เพียงแต่การผลิตยางเครป ยังเป็นจุดอ่อนสำหรับเกษตรกรรายย่อย เพราะการลงทุนค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเครื่องจักรและโรงเรือน
               อีกทั้งยังมีความซับซ้อนเรื่องการผันผวนของราคายาง ที่มีผลต่อต้นทุนการผลิตยางเครป ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อกำไรและขาดทุน เกษตรกรจำนวนมากจึงขาดทุนและเจ๊งกับการทำยางเครปมานักต่อนัก จนเผลอสรุปว่าเป็นแนวทางที่ไม่น่าลงทุน
               ที่สำคัญไปกว่านั้น โรงงานผลิตยางแท่งส่วนใหญ่ยังไม่รับซื้อยางเครป เพราะถูกปรักปรำว่าเป็นยางไม่มีคุณภาพ
               ไม่ใช่เฉพาะเกษตรกรรายย่อยเท่านั้นที่ล้มเหลวกับการทำยางเครป แม้กระทั่งพ่อค้ายางที่หันมาแปรรูปยางก้อนถ้วยเป็นยางเครปเอง ก็ยังเจ๊งกับการลงทุนไม่ต่างกัน เพราะขาดกลยุทธ์ด้านการบริหารการผลิตและการตลาด
               แต่ท่ามกลางความล้มเหลวของการทำยางเครป ยางเศรษฐกิจกลับค้นพบความสำเร็จจากผู้ผลิตกลุ่มหนึ่ง ที่มีกลยุทธ์ในการบริหารการผลิตและการตลาด จนสามารถยืดหยัดทำกำไรกับการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่ายาง ซึ่งน่าจะเป็น “ครู” แก่ผู้ที่จะทำธุรกิจยางเครป  
               เพราะยางเศรษฐกิจเชื่อว่า ยางเครป จะโตในอีสานไม่ช้าก็เร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มของพ่อค้า และลานรับซื้อยาง และอาจรวมไปถึงสถาบันเกษตรกร
            เนื้อหาและรายละเอียดติดตามได้ที่หน้าใน นิตยสารยางเศรษฐกิจ 

ฉบับ 32 เดือนพฤศจิกายน 2556




Random Posts

randomposts