์News

์News

ตะลุยสวนยาง เวียงสา และ ภูเพียง เกษตรกรผลิตทั้งยางแผ่นรมควัน และยางก้อนถ้วย กำไรงามแม้ราคาตก

ตะลุยสวนยาง เวียงสา และ ภูเพียง เกษตรกรผลิตทั้งยางแผ่นรมควัน และยางก้อนถ้วย กำไรงามแม้ราคาตก





นิตยสารยางเศรษฐกิจ ฉบับ 22 ประจำเดือนธันวาคม 2555
            ทีมงานลงพื้นที่สำรวจการผลิตยางของเกษตรกร จ.น่าน โดยอาศัยการโฟกัสไปในพื้นที่ 2 อำเภอ คือ เวียงสาและภูเพียง
            สมศักดิ์ เฟื่องฟู เจ้าของสวนยาง ใน อ.เวียงสา จ.น่าน เขาเล่าว่าเริ่มปลูกยางตั้งแต่ปี 2543 ประมาณ 600-700 ต้น แต่ถูก “ตัวตุ่น” กัดทำลายไปจำนวนมาก และเสียหายจากไฟไหม้ จนเหลือต้นยางเพียง 280 ต้นเท่านั้น 

สมศักดิ์ เฟื่องฟู เจ้าของสวนยาง ใน อ.เวียงสา จ.น่าน เริ่มปลูกยางตั้งแต่ปี 2543 ปัจจุบันผลิตยางแผ่นได้ 20 แผ่น/วัน และยังมีสวนยางพึ่งเปิดกรีดเมื่อปลายปีที่แล้วอีกแปลง อนาคตเขาจะทำยางแผ่นดิบ เพราะได้ราคาดีกว่ายางก้อนถ้ว
            “ตอนนั้นผมปลูกข้าวโพดอยู่ แต่มีบริษัท น่านพาราวู้ด มาแนะนำให้ปลูกยาง เขาเอากล้ายางมาขายต้นละ 20 กว่าบาท มีสัญญาว่าเมื่อเปิดกรีดยางได้จึงจะเก็บเงินกล้ายาง และต้องขายน้ำยางให้เขา แต่พอกรีดได้เขากลับซื้อยางราคาถูก และโครงการของบริษัทเขาก็ล้มเลิกไป”
          สุรศักดิ์อาศัยการเรียนรู้วิธีกรีดยางจากการอบรมของบริษัทที่ส่งเสริมให้เขาปลูกยาง และผลิตเป็นยางก้อนถ้วย เพราะต้นยางยังเล็กและปริมาณน้ำยางยังน้อย แต่ตอนหลังมีคนแนะนำให้ทำเป็นยางแผ่นดิบ ซึ่งมีราคาสูงกว่ายางก้อนถ้วย แม้จะต้องทำงานหนักและเหนื่อยกว่าเดิมก็ตาม
ปัจจุบันสวนยางแปลงแรกของเขาเปิดกรีดมาได้กว่า 9 ปีแล้ว ได้ยางประมาณ 20 กว่าแผ่น/วันกรีด

ขั้นตอนการทำยางแผ่นดิบเพิ่มมูลค่า สูงกว่ายางก้อนถ้วย
เจ้าของสวนยางแห่งนี้ อธิบายขั้นตอนการผลิตยางแผ่นดิบว่า เริ่มตั้งแต่ การเก็บน้ำยางสดจากต้นยาง จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการผลิตยางแผ่น โดยนำน้ำยาง จำนวน 3 ลิตร ผสมกับน้ำสะอาด 2 ลิตรใส่ในตะกง ก่อนจะเติม “กรดฟอร์มิค” ที่ผ่านการเจือจางกับน้ำ (สัดส่วนกรดฟอร์มิค 100 ซีซี ผสมกับน้ำ 5 ลิตร)  ประมาณ 1 กระป๋องนม ผสมให้เข้ากัน  ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที น้ำยางจะจับตัวเป็นก้อน
จากนั้นนำมาทับให้เป็นแผ่นหนาประมาณ 2 นิ้ว แล้วนำเข้าเครื่องจักรรีดแบบเรียบ 2 รอบ และจักรรีดดอกอีก 1 รอบ นำไปตากให้หมาด และเก็บเข้าโรงเรือนเก็บยาง
โรงเรือนเก็บยางของสุรศักดิ์ ใช้หลังคาสังกะสี โดยมีกระเบื้องใส 2 แผ่น เพื่อให้แสงผ่านเข้าได้ภายในโรงเรือนได้ แต่ดูเหมือนว่าในโรงเรือนจะมีความชื้นสูง ยางแผ่นที่เก็บจึงเกิดเชื้อราจับเนื้อยาง เขาบอกว่าอาจจะต้องต้องเพิ่มแผ่นกระเบื้องใสเพื่อให้ปริมาณแสงเข้ามากกว่านี้
ขณะที่ สุชาตรี ทองอินทราช ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยาง จ.น่าน (ผอ.ศปจ.) ที่เดินทางไปพร้อมกับทีมงาน ยางเศรษฐกิจ แนะนำว่า “ห้องเก็บแผ่นยางต้องโปร่ง ถ้าห้องอับอย่างเดียวมันจะเก็บความชื้น ต้องทำช่องลมให้ระบายได้ด้วย แล้วแผ่นยางที่อยู่ใกล้ชิดหลังคาสังกะสีเกินไป ความชื้นจากหลังคาจะกระจายมาสู่แผ่นยางได้ง่าย ยางแผ่นควรห่างจากหลังคา 1.5 เมตร”
แม้เกษตรกรส่วนใหญ่จะเลือกทำยางก้อนถ้วยเป็นหลัก แต่สมศักดิ์ เฟื่องฟู เลือกที่จะทำงานหนักกว่าด้วยการทำยางแผ่นดิบ แต่ก็ทำให้สวนยางของเขาทำเงินมากกว่าสวนที่ทำยางก้อนถ้วยหลายเท่

ยางจะถูกเก็บไว้ในโรงเรือนประมาณ 15 วัน จนแห้ง ก่อนจะรวบรวมไปขาย 1-2 ครั้ง/เดือน ปริมาณยางแผ่นดิบส่วยใหญ่จัดอยู่ในเกรด 4 ประมาณ 400 แผ่น/เดือน โดยจะขายให้กับโครงการของ อสย. ผ่านสหกรณ์กองทุนสงเคราะห์สวนยาง จ.น่าน ทำให้ได้ราคาสูงกว่าตลาดนอกโครงการ กว่า 20 บาท/กิโลกรัม 
          สวนยางแปลงแรกเมื่อปี 2538 ของสุรศักดิ์ และเป็นสวนยางยุคแรกๆ ของ จ.น่าน ขณะนั้นราคายังไม่สูงมากนัก แต่หลังจากนั้นประมาณ 10 ปี รัฐบาลส่งเสริมการปลูกยางภาคเหนือและอีสานผ่านโครงการยาง 1 ล้านไร่ และเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ายางพารากำลังมีอนาคต โดยเฉพาะทิศทางเรื่องราคา
            สุรศักดิ์เข้าร่วมโครงการยาง 1 ล้านไร่จำนวน 6 ไร่ และส่วนหนึ่งลงทุนปลูกเพิ่มเอง ใช้ระยะการปลูก 7x3 เมตร ปัจจุบันเปิดกรีดแล้วสดๆ ร้อนๆ แต่ปริมาณยังค่อนข้างน้อยจึงต้องทำยางก้อนถ้วย หรือไม่ก็ผสมกับน้ำยางจากต้นยางใหญ่เพื่อทำยางแผ่นดิบ

การดูแลสวนยางใช้ปุ๋ยผสมเอง ได้น้ำยางเยอะกว่า
การดูแลสวนยางใน อ.เวียงสาเจ้าของสวนบอกว่าไม่ยาก และไม่เหนื่อยเหมือนกับการทำพืชไร่ สำหรับยางที่โตและเปิดกรีดแล้ว เพียงแค่ ตัดหญ้า และใส่ปุ๋ยด้วยวิธีการหว่าน ปีละ 2 ครั้ง ช่วง ต้นฝนกับปลายฝนเท่านั้น เพียงแต่เขาจะให้ความสำคัญของปุ๋ยที่ให้ต้นยางเป็นพิเศษ โดยการซื้อแม่ปุ๋ยมาผสมเองตามสูตรของกรมวิชาการเกษตรที่ สกย. แนะนำ โดยมีสูตรดังนี้
ปุ๋ยสูตร 30-5-18 สำหรับใส่ยางเปิดกรีดแล้ว
สูตรสำหรับผสมปุ๋ย 100 กิโลกรัม ใช้แม่ปุ๋ย 3 ตัวคือ 18-46-0 (ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต) 10  กิโลกรัม 46-0-0 (ยูเรีย) 60 กิโลกรัม 0-0-60 (โพแตสเซียมคลอไรด์) 30 กิโลกรัม
ปุ๋ยสูตร 20-10-12 สำหรับใส่ยางเล็กยังไม่เปิดกรีด
สูตรสำหรับผสมปุ๋ย 100 กิโลกรัม ใช้แม่ปุ๋ย 3 ตัวคือ 18-46-0 (ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต) 22 กิโลกรัม 46-0-0 (ยูเรีย) 36 กิโลกรัม 0-0-60 (โพแตสเซียมคลอไรด์) 20 กิโลกรัม และจะต้องใส่ตัวเติม เช่น ดิน ทราย เพิ่มอีก 22 กิโลกรัม แต่เขาเลือกที่จะไม่เพิ่มตัวเติม เพื่อให้ได้เนื้อปุ๋ยเต็มๆ
“ผสมปุ๋ยเองไม่เสียเวลาเท่าไหร่หรอก แต่ผลก็คือ ได้น้ำยางเพิ่มมากขึ้น เพราะตัวปุ๋ยมีเนื้อปุ๋ยล้วนๆ และยังช่วยประหยัดต้นทุน” การผสมปุ๋ยใช้เองสุรศักดิ์ทำมากว่า 2 ปี แล้ว และยังให้ปุ๋ยอินทรีย์ (ขี้วัว) เพิ่มในช่วงแล้ง ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายนอีกด้วย
โรงผลิตยางแผ่นและเก็บยางแผ่น

เมื่อสอบถามถึงรายได้ สุรศักดิ์ บอกว่า สวนยางของเขาไม่ต้องจ้างแรงงาน แต่เขากับภรรยาลงมือทำเองทุกขึ้นตอน รายได้จึงได้เต็มๆ
“กรีดยาง 3 ทุ่ม ประมาณตี 2 ก็เสร็จ กลับไปนอน เช้าประมาณ 8 โมงเช้าก็ตื่นมาเก็บยางทำยางแผ่น สายๆ หน่อยก็นำน้ำกรดไปหยอดในถ้วยยางให้แข็งตัว ทุกวันที่กรีด การกรีด 2 วัน เว้น 1 วัน สำหรับยางก้อนถ้วยประมาณ 5 มีดน้ำยางก็เต็มถ้วยก็เก็บขายได้ ทำงานในร่มไม่หนักมาก เหมือนทำงานกลางแจ้ง ตากแดด” เขาเล่าถึงขั้นตอนการทำยางแผ่นดิบ และยางก้อนถ้วย
อนาคตน้ำยางสวนยางทั้งหมดจะนำมาทำยางแผ่นดิบ เพราะได้มูลค่าสูงกว่าการทำยางก้อนถ้วย แม้ว่าเกษตรกรใน จ.น่าน จะนิยมทำยางถ้วยกว่า 80% แต่เขากลับมองว่า การทำยางก้อนถ้วยทำง่ายก็จริง แต่เวลาเก็บยางมาแล้วกลิ่นเหม็นแรงมาก ขณะที่ยางบางต้นได้น้ำยาง 1-2 วันก็เต็มถ้วย จึงต้องเก็บยางถ้วยเกือบทุกวัน จึงคิดว่าเก็บมาทำยางแผ่นดีกว่า ได้ราคาสูงกว่า
อีกทั้งเขายังทำไร่ข้าวโพดเสริมอีก 20 ไร่ จึงมีรายได้ 2 ทาง “แต่อย่างไรก็ตามยางรายได้ดีกว่าการทำไร่มาก”
ปัญหาในสวนยางที่สุรศักดิ์ประสบคือ ต้นยางแปลงแรกหลายต้นน้ำยางไม่ไหล เปลือกแข็ง หน้าแห้ง และเปลือกแตก เป็นต้น
ผอ.ศปจ.น่าน ให้ข้อมูลเรื่องการแบ่งหน้ากรีดยางว่า การกรีดยางช่วงแรกๆ เกษตรกรนิยมแบ่งหน้ายางครึ่งต้น แต่ช่วงหลังกรมวิชาการเกษตรแนะนำให้แบ่ง 3 ส่วนก็ได้ แต่ปัญหาของการกรีดยาง 3 ส่วน คือ เมื่อยางโตขึ้น พบว่าต้นยางไม่กลม เมื่อต้นไม่กลมการกรีดก็จะเข้าเนื้อไม้ได้ง่าย และมีผลต่อการขายไม้เมื่อต้นยางหมดอายุอีกด้วย

อีกทั้งการแบ่งหน้ากรีดยางกับการเว้นวันกรีดยังสำคัญมากๆ โดยเฉพาะยางหน้าแรกไม่ควรจะกรีดครึ่งต้น 2 วันเว้น 1 วัน ควรจะกรีดวันเว้นวัน ต้นยางจะไม่โทรม
ขณะที่ เกษตรกรอีกราย 3 รายในพื้นที่อำเภอเดียวกันต่างให้ข้อมูลด้านการผลิตยางไว้อย่างหลากหลาย

เจ้าของสวนยาง 1,000 ต้น เจอปัญหาปลูกยางถี่เกิน แต่รายได้ยังดี
สมาน เขื่อนทิพย์  เจ้าของสวนยางพันธุ์ RRIM 600 ประมาณ  1,000 ต้น หรือประมาณ 15 ไร่ ให้ข้อมูลว่า ตัวเองเริ่มต้นปลูกยางเมื่อ ปี 2546 ตั้งแต่ก่อนโครงการยาง 1 ล้านไร่เสียอีก แต่เขาใช้เงินลงทุนของตัวเอง เพราะเขาเคยรับจ้างกรีดยางในสวนของน้องเขย จนพอมีเงินทุนจำนวนหนึ่ง อีกทั้งยังเห็นว่าราคายางพาราไม่ผันผวนมาก แม้ราคาช่วงนี้จะยังไม่สูง แต่ก็ดีกว่าพืชไร่หลายตัวที่เกษตรกรนิยมปลูกกันในขณะนั้น จึงตัดสินใจปลูกยางเอง โดยมีพันธุ์ RRIM 600 เกือบทั้งหมด มีพันธุ์ RRIT 251 ปลูกไว้ประมาณ  50 ต้น เพราะเห็นว่าเป็นพันธุ์ที่ให้น้ำยางสูงกว่าพันธุ์ RRIM 600
สมาน เขื่อนทิพย์  เจ้าของสวนยางพันธุ์ RRIM 600 ประมาณ  1,000 ต้น หรือประมาณ 15 ไร่ เริ่มต้นปลูกยางเมื่อ ปี 2546 ตั้งแต่ก่อนโครงการยาง 1 ล้านไร่ โดยใช้เงินลงทุนของตนเอง ปัจจุบันกรีดได้ 900 ต้น ได้ยางแผ่น 18 แผ่น/วัน เพราะต้นยางของเขาค่อข้างเล็กเพราะปลูกถี่เกินไป



ความผิดพลาดในการปลูกยางของสมานมีอยู่เรื่องเดียวคือ ระยะปลูกยาง ที่เลือกปลูก 6X3 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่พ่อค้าขายกล้ายางแนะนำ บอกว่าจะได้จำนวนต้นยางต่อไร่มากขึ้น น้ำยางต่อไร่ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย แต่มารู้ความจริงก็เมื่อตอนสายไป เพราะระยะที่เขาเลือกปลูกต้นยางชิดกันเกินไป จนต้นยางรับแสงไม่เต็มที่ ต้นยางจึงมีขนาดเล็กกว่าปกติ
“ตอนนั้นไม่มีความรู้เรื่องยางเลย เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่ สกย.มาแนะนำ มาวันนี้จะตัดทิ้งก็เสียดาย”
วิธีการของเขาที่พอทำได้คือเลือกกรีดต้นที่ใหญ่ แม้จะไม่ได้ขนาดตามที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำก็ตาม แต่ก็ยังสามารถเปิดกรีดต้นยางได้ กว่า 900 ต้น นำน้ำยางสดที่ได้มาผลิตเป็นยางแผ่นดิบ ประมาณ 18-19 แผ่น/วันกรีด ทำให้ยังมีรายได้ ซึ่งเขาบอกว่าสูงกว่าพืชไร่หลายๆ ตัว

อดีตครู เกษียณตัวเองมาเป็นเจ้าของสวนยาง
            อาชีพข้าราชการครู มักจะถูกมองในแง่ดีว่า เป็นอาชีพที่มั่นคง โดยเฉพาะเมื่อต้องเกษียณอายุจะได้เงินบำนาญไปจนสิ้นลมหายใจ
            แต่ปัจจุบันความมั่นคงตรงนั้นกลับสู้ความมั่นคงกับอาชีพสวนยางไม่ได้ เพราะข้าราชการครูหลายคนเลือกที่จะเกษียณตังเองมาทำสวนยาง หรือไม่ก็ลงทุนสวนยางไว้เพื่อทำในช่วงเกษียณ เช่นเดียวกับ ชูชาติ เขื่อนเพชร อดีตครู อ.เวียงสา อายุ 54 ปี เขาเลือกที่จะลาออกจากข้าราชการครูก่อนกำหนดเมื่อปี 2549 เพื่อมาทำสวนยางจำนวน 8 ไร่
ชูชาติ เขื่อนเพชร อดีตครู อ.เวียงสา อายุ 54 ปี เขาเลือกที่จะลาออกจากข้าราชการครูก่อนกำหนดเมื่อปี 2549 เพื่อมาทำสวนยางจำนวน 8 ไร่ เขาบอกว่าเท่านี้ก็อยู่ได้เพราะลงมือทำเอง และยังมีความสุขสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย


            ชีวิตหนึ่งต้องหาอาชีพที่จะทำในบั้นปลายของชีวิต เราอายุ 50 กว่า อยู่อาชีพครูมานาน สุขภาพ ประสิทธิภาพการทำงานก็ลดลง คิดว่าแล้วเราจะทำอะไรเลี้ยงและได้เงิน ก็มาคิดว่ายางนี่แหละ
“จากนั้นก็ศึกษาหาข้อมูลก่อน จนตัดสินใจปลูก เอาเงินบำนาญมาลงทุนปลูกยาง 20,000 กว่าบาท เคยคิดว่าเงินส่วนนี้จะได้คืนไหม แต่ตอนนี้มันได้คืนมากและจะได้เพิ่มมากหลายๆ เท่า”
          สวนยางของครูชูชาติพันธุ์ RRIM 600 จำนวน 8 ไร่นั้น เขาลงมือทำเองโดยไม่ต้องจ้างแรงงานเลย ผลประโยชน์จึงได้รับอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และการทำลงมือทำงานเองยังช่วยให้สุขภาพตัวเองแข็งแรงขึ้นมาด้วย
“เมื่อก่อนเป็นครูสุขภาพไม่ค่อยดี แต่พอมาทำสวนยางเดือนเดียวหายเลย พุงก็ไม่มี เพราะเราเดินกรีดยางเก็บยาง ตอนตี 2 อากาศก็ดี ไม่ร้อน ร่างกายแข็งแรง
“ชาวบ้านถ้ารู้จักยางก็ไม่ต้องลำบาก ปลูกยางเราไม่ต้องไปนับหนึ่งใหม่เหมือนทำพืชไร่ ต้องเริ่มต้นปลูกใหม่ทุกครั้ง ใช้ทุนเยอะ ขณะที่การปลูกยางใบยางเศษกิ่งยางก็ย่อยบำรุงดิน แต่พืชไร่มีการไถตลอดหน้าดินหาย สภาพแวดล้อมก็เสีย”
ขณะเดียวกันครูชูชาติ อาศัยการทำยางก้อนถ้วย ซึ่งทำได้ง่าย โดยจะเริ่มกรีดยางช่วง 5 ทุ่ม เสร็จประมาณ ตี2 ถึง ตี 3 จากนั้นก็กลับไปนอนพักผ่อน ตื่นมาตอนสายๆ เพื่อหยอดน้ำกรดให้ยางแข็งตัว ประมาณ 4-5 มีด ก็สามารถเก็บยางขายได้แล้ว

ส่วนเวลาว่างที่เหลือก็ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เพื่อกินเองหรือเหลือก็นำไปขายเพิ่มรายได้
แต่การทำยางก้อนถ้วยเป็นที่รู้ๆ กันอยู่ว่าขายได้ราคาต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการทำยางแผ่น ปัจจุบันราคายางก้อนถ้วยในตลาดท้องถิ่นเพียงแค่ 40 กว่าบาท/กิโลกรัม แต่ครูชูชาติบอกว่าราคาแค่นี้ก็อยู่ได้แล้ว
“ราคายาง 30 บาทก็อยู่ได้ ถ้าทำเองไม่ต้องจ้าง”

ติดตามปัญหาของชาวสวนยาง อ.ภูเพียง เจอเชื้อราทำรายระบบราก และกรีดยางต้นเล็กเพราะราคายางยั่วใจ
          ทีมงานเดินทางข้ามมายัง อ.ภูเพียง อำเภอที่มีพื้นที่ปลูกยางมากอีกแห่งของ จ.น่าน เกษตรกรส่วนใหญ่ล้วนมือใหม่ทั้งสิ้น การกรีดยางก็ใหม่ถอดด้ามพอๆ กัน แน่นอนว่าองค์ความรู้เรื่องการดูแลจัดการสวนยางย่อมจะมีข้อผิดพลาดให้เห็น โดยเฉพาะเรื่องของการกรีดยางต้นเล็ก เป็นต้น
            ตัวอย่างที่สะท้อนได้ค่อนข้างชัดคือ สวนยางของ ลุงประสิทธิ์ ต๊ะนา เจ้าของสวนยาง ใน ต.น้ำแก่น อ.ภูเพียง สวนยางที่เปิดกรีดแล้วประสบปัญหาต้นยางยืนต้นตายหลายต้น ทั้งๆ ที่ผ่านมาก็ให้น้ำยางปกติ แต่น่าสังเกตว่าทุกต้นที่ตายจะอยู่ข้างๆ ตอมะม่วงพืชเจ้าของพื้นที่เดิม
ลุงประสิทธิ์ ต๊ะนา เจ้าของสวนยาง ใน ต.น้ำแก่น อ.ภูเพียง สวนยางที่เปิดกรีดแล้วประสบปัญหาต้นยางยืนต้นตายหลายต้น ทั้งๆ ที่ผ่านมาก็ให้น้ำยางปกติ แต่น่าสังเกตว่าทุกต้นที่ตายจะอยู่ข้างๆ ตอมะม่วงพืชเจ้าของพื้นที่เดิม

            “เมื่อก่อนผมทำสวนมะม่วง มะขาม ลำไย จนเมื่อมีโครงการส่งเสริมปลูกยาง 1 ล้านไร่ ลุงเข้าโครงการในปี 2549 เนื้อที่ 10 ไร่ ตอนนั้นก็นำยางมาปลูกแซมในสวนมะม่วงเลย เพราะยางตอนนั้นมันยังไม่มีรายได้ ต้องอาศัยรายได้จากมะม่วง ปีหนึ่งก็ได้เงินแสนเหมือนกันถ้าพ่อค้าจากกรุงเทพมาซื้อ แต่ถ้าขายให้พ่อค้าแถวนี้ก็ได้ไม่กี่หมื่นบาท เขากดราคา และก็ทำนาด้วย” ลุงประสิทธิ์เล่าที่มาที่ไปของสวนยาง อดีตมันคือสวนมะม่วง
            แต่เมื่อต้นยางเริ่มโตอายุประมาณ 3 ปี ถึงเวลาต้องโค่นต้นมะม่วงทิ้งให้เหลือแต่ต้นยาง จนเมื่อเข้าปีที่ 6 ต้นยางโตขึ้นแต่ก็ยังไม่ได้ขนาดพอที่จะเปิดกรีดได้ แต่ด้วยราคา 180 บาท/กิโลกรัมในช่วงนั้นกลับยั่วยวนใจให้ลงประสิทธิ์ฝืดกฎกรีดยางก่อนกำหนด
            “ตอนเปิดกรีดปีแรกยางอายุ 6 ปี มันยังเล็กอยู่ กะว่าจะไม่กรีด และราคามันยั่วใจยางก้อนถ้วยราคากิโลละ 70 กว่าบาทจึงต้องกรีด เอาเงินก่อน ต้นยางตายก็คิดว่าไม่เป็นไรเดี๋ยวปลูกใหม่”

          ผลของการกรีดยางก่อนกำหนดที่เห็นได้ชัดคือ หน้ายางเสียเกือบทุกต้น เพราะต้นยางมีขนาดเล็กและเปลือกยางบางเกินไป ประกอบกับความไม่ชำนาญการกรีดยางทำให้กรีดเข้าเนื้อไม้ จนหน้ายางเสีย
            แต่นั่นไม่เท่ากับต้นยางจำนวนหนึ่งยืนต้นตายหลายสิบต้น น่าสังเกตว่าทุกต้นที่ตายจะปลูกอยู่ใกล้ๆ กับตอมะม่วงเก่าที่กำลังผุ เจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา ที่กำลังลงพื้นที่สำรวจสวนยางของลุงประสิทธิ์ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นผลจากเชื้อราจากซากตอมะม่วงลุกลามเข้าทางรากต้นยาง เพราะปกติต้นมะม่วงจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อราอยู่แล้ว ต้นยางที่อยู่ใกล้ๆ จะค่อยๆ ตายจากรากขึ้นไป
แนวทางในการแก้ไขโดยด่วนที่นักวิชาการแนะนำคือ เร่งขุดซากต้นมะม่วงออกจากสวนยางให้เร็วที่สุด และใช้ยาเชื้อราฉีดพ่นบริเวณซากตอมะม่วงและต้นยางที่อยู่ใกล้ๆ
ขณะที่ลุงประสิทธิ์บอกว่า ลักษณะของต้นยางยืนต้นตายแบบนี้เกิดขึ้นกับสวนยางในบริเวณหมู่บ้านหลายสวน โดยเฉพาะสวนที่เป็นสวนมะม่วงเก่า และมีตอมะม่วงอยู่ แต่สวนที่โค่นมะม่วงทิ้งก่อนปลูกยางกลับไม่มีปัญหาเรื่องนี้
ส่วนรายได้จากสวนยางของลุงประสิทธิ์ หลังจากเปิดกรีดเข้าปีที่ 3 จะได้ยางก้อนถ้วย 200-300 กิโลกรัม/การเก็บขาย 1 ครั้ง หรือ 4-5 มีด (กรีด 2 วัน เว้น 1 วัน) ขายได้เงินอย่างน้อยๆ ไม่ต่ำกว่า 12,000 บาท ถ้าคำนวณเป็นเดือนประมาณ 40,000 บาท แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคายางด้วย ถ้าราคายางสูงกว่าปัจจุบันจำนวนเงินที่ได้จะสูงขึ้นตาม
ซากตอมะม่วงที่อยู่ในสวนยางทำให้ต้นยางที่อยู่ใกล้ยืนต้นตาย ใน ต.น้ำแก่น อ.ภูเพียง สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากเชื้อราจากซากตอมะม่วงลามเข้าทางรากยาง

               ปัจจุบัน ลุงประสิทธิ์มีสวนยาง 20 ไร่ เพราะลงทุนปลูกเองหลังโครงการยาง 1 ล้านไร่ อีก 10 ไร่ โดยหวังให้เป็นมรดกแก่ลูกชายที่เข้ามาทำงานอยู่ จ.สมุทรปราการกลับมานำสวนยางในอนาคต
เจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรากำลังสำรวจพื้นที่สวนยางที่ประสบปัญหาต้นยางยืนต้นตายของลุงประสิทธิ์


จากการลงพื้นที่เจาข้อมูลการผลิตและการตลาดยางพาราของ จ.น่าน ทีมงานเห็นจุดแข็งหลายๆ ด้านของพื้นที่แห่งนี้ เห็นชัดเจนที่สุดคือ เรื่องการจับมือผลึกกำลังกันรวบรวมผลผลิตเพื่อขายผ่านระบบประมูล ซึ่งเป็นการจับมือของกลุ่มเกษตรกร 55 กลุ่มในนาม สหกรณ์กองทุนสวนยาง จ.น่าน จำกัด ว่ากันว่ายาง 80% ของ จ.น่านรวมกันอยู่ ณ ที่นี้ ยางก้อนใหญ่นี้จึงดึงดูดพ่อค้าและบริษัทที่ต้องการยางก้อนถ้วย ทำให้ยางของเกษตรกรขายได้ราคาสูง แม้จะอยู่ห่างไกลจากโรงงานก็ตาม

อีกทั้งสหกรณ์ยังมีโครงการแทรกแซงยางของ อสย.เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการต่อรองกับผู้ประมูล เพราะหากพ่อค้าประมูลราคาต่ำเกินไป เกษตรกรจะไม่ขายยางให้ทันที แต่จะส่งเข้าโครงการ แม้จะมีค่าบริหารจัดการ ซึ่งช่วงปีที่ผ่านมาเครื่องมือนี้ใช้งานได้ดีทีเดียว


หากแต่นี่เป็นเครื่องมือชั่วคราวไม่จีรังยั่งยืน เพราะโครงการกำลังจะสิ้นสุดในไม่ช้านี้ สหกรณ์จึงจัดหางบประมาณจาก จ.น่าน เพื่อร่างโครงการแปรรูปยางแผ่นรมควันขึ้น งบประมาณ 20 ล้านบาท เพื่อเพิ่มมูลค่ายางของเกษตรกรในช่วงที่ยางราคาตก และในระยะยาว
นี่จึงเป็นอีกก้าวหนึ่งของความเข้มแข็งของชาวสวนยาง จ.น่าน และคืออีกพื้นที่หนึ่งที่เป็นแหล่งใหญ่ของยางพาราภาคเหนือในอนาคต
ขอขอบคุณ
สุชาตรี ทองอินทราช
นายพิมพ์ เอื้องแก้ว
 สมศักดิ์ เฟื่องฟู
ประสิทธิ์ ต๊ะนา
ภมร คำชื่น
นายสมาน เขื่อนทิพย์ 
ชูชาติ เขื่อนเพชร
:::ภาพและข้อความบนบล็อคนี้ทั้งหมดเป็นลิขสิทธิ์ของนิตยสารยางเศรษฐกิจ สงวนสิทธิ์ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์เชิงการค้า:::




นิตยสารยางเศรษฐกิจ ฉบับ 22 ประจำเดือนธันวาคม 2555
            ทีมงานลงพื้นที่สำรวจการผลิตยางของเกษตรกร จ.น่าน โดยอาศัยการโฟกัสไปในพื้นที่ 2 อำเภอ คือ เวียงสาและภูเพียง
            สมศักดิ์ เฟื่องฟู เจ้าของสวนยาง ใน อ.เวียงสา จ.น่าน เขาเล่าว่าเริ่มปลูกยางตั้งแต่ปี 2543 ประมาณ 600-700 ต้น แต่ถูก “ตัวตุ่น” กัดทำลายไปจำนวนมาก และเสียหายจากไฟไหม้ จนเหลือต้นยางเพียง 280 ต้นเท่านั้น 

สมศักดิ์ เฟื่องฟู เจ้าของสวนยาง ใน อ.เวียงสา จ.น่าน เริ่มปลูกยางตั้งแต่ปี 2543 ปัจจุบันผลิตยางแผ่นได้ 20 แผ่น/วัน และยังมีสวนยางพึ่งเปิดกรีดเมื่อปลายปีที่แล้วอีกแปลง อนาคตเขาจะทำยางแผ่นดิบ เพราะได้ราคาดีกว่ายางก้อนถ้ว
            “ตอนนั้นผมปลูกข้าวโพดอยู่ แต่มีบริษัท น่านพาราวู้ด มาแนะนำให้ปลูกยาง เขาเอากล้ายางมาขายต้นละ 20 กว่าบาท มีสัญญาว่าเมื่อเปิดกรีดยางได้จึงจะเก็บเงินกล้ายาง และต้องขายน้ำยางให้เขา แต่พอกรีดได้เขากลับซื้อยางราคาถูก และโครงการของบริษัทเขาก็ล้มเลิกไป”
          สุรศักดิ์อาศัยการเรียนรู้วิธีกรีดยางจากการอบรมของบริษัทที่ส่งเสริมให้เขาปลูกยาง และผลิตเป็นยางก้อนถ้วย เพราะต้นยางยังเล็กและปริมาณน้ำยางยังน้อย แต่ตอนหลังมีคนแนะนำให้ทำเป็นยางแผ่นดิบ ซึ่งมีราคาสูงกว่ายางก้อนถ้วย แม้จะต้องทำงานหนักและเหนื่อยกว่าเดิมก็ตาม
ปัจจุบันสวนยางแปลงแรกของเขาเปิดกรีดมาได้กว่า 9 ปีแล้ว ได้ยางประมาณ 20 กว่าแผ่น/วันกรีด

ขั้นตอนการทำยางแผ่นดิบเพิ่มมูลค่า สูงกว่ายางก้อนถ้วย
เจ้าของสวนยางแห่งนี้ อธิบายขั้นตอนการผลิตยางแผ่นดิบว่า เริ่มตั้งแต่ การเก็บน้ำยางสดจากต้นยาง จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการผลิตยางแผ่น โดยนำน้ำยาง จำนวน 3 ลิตร ผสมกับน้ำสะอาด 2 ลิตรใส่ในตะกง ก่อนจะเติม “กรดฟอร์มิค” ที่ผ่านการเจือจางกับน้ำ (สัดส่วนกรดฟอร์มิค 100 ซีซี ผสมกับน้ำ 5 ลิตร)  ประมาณ 1 กระป๋องนม ผสมให้เข้ากัน  ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที น้ำยางจะจับตัวเป็นก้อน
จากนั้นนำมาทับให้เป็นแผ่นหนาประมาณ 2 นิ้ว แล้วนำเข้าเครื่องจักรรีดแบบเรียบ 2 รอบ และจักรรีดดอกอีก 1 รอบ นำไปตากให้หมาด และเก็บเข้าโรงเรือนเก็บยาง
โรงเรือนเก็บยางของสุรศักดิ์ ใช้หลังคาสังกะสี โดยมีกระเบื้องใส 2 แผ่น เพื่อให้แสงผ่านเข้าได้ภายในโรงเรือนได้ แต่ดูเหมือนว่าในโรงเรือนจะมีความชื้นสูง ยางแผ่นที่เก็บจึงเกิดเชื้อราจับเนื้อยาง เขาบอกว่าอาจจะต้องต้องเพิ่มแผ่นกระเบื้องใสเพื่อให้ปริมาณแสงเข้ามากกว่านี้
ขณะที่ สุชาตรี ทองอินทราช ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยาง จ.น่าน (ผอ.ศปจ.) ที่เดินทางไปพร้อมกับทีมงาน ยางเศรษฐกิจ แนะนำว่า “ห้องเก็บแผ่นยางต้องโปร่ง ถ้าห้องอับอย่างเดียวมันจะเก็บความชื้น ต้องทำช่องลมให้ระบายได้ด้วย แล้วแผ่นยางที่อยู่ใกล้ชิดหลังคาสังกะสีเกินไป ความชื้นจากหลังคาจะกระจายมาสู่แผ่นยางได้ง่าย ยางแผ่นควรห่างจากหลังคา 1.5 เมตร”
แม้เกษตรกรส่วนใหญ่จะเลือกทำยางก้อนถ้วยเป็นหลัก แต่สมศักดิ์ เฟื่องฟู เลือกที่จะทำงานหนักกว่าด้วยการทำยางแผ่นดิบ แต่ก็ทำให้สวนยางของเขาทำเงินมากกว่าสวนที่ทำยางก้อนถ้วยหลายเท่

ยางจะถูกเก็บไว้ในโรงเรือนประมาณ 15 วัน จนแห้ง ก่อนจะรวบรวมไปขาย 1-2 ครั้ง/เดือน ปริมาณยางแผ่นดิบส่วยใหญ่จัดอยู่ในเกรด 4 ประมาณ 400 แผ่น/เดือน โดยจะขายให้กับโครงการของ อสย. ผ่านสหกรณ์กองทุนสงเคราะห์สวนยาง จ.น่าน ทำให้ได้ราคาสูงกว่าตลาดนอกโครงการ กว่า 20 บาท/กิโลกรัม 
          สวนยางแปลงแรกเมื่อปี 2538 ของสุรศักดิ์ และเป็นสวนยางยุคแรกๆ ของ จ.น่าน ขณะนั้นราคายังไม่สูงมากนัก แต่หลังจากนั้นประมาณ 10 ปี รัฐบาลส่งเสริมการปลูกยางภาคเหนือและอีสานผ่านโครงการยาง 1 ล้านไร่ และเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ายางพารากำลังมีอนาคต โดยเฉพาะทิศทางเรื่องราคา
            สุรศักดิ์เข้าร่วมโครงการยาง 1 ล้านไร่จำนวน 6 ไร่ และส่วนหนึ่งลงทุนปลูกเพิ่มเอง ใช้ระยะการปลูก 7x3 เมตร ปัจจุบันเปิดกรีดแล้วสดๆ ร้อนๆ แต่ปริมาณยังค่อนข้างน้อยจึงต้องทำยางก้อนถ้วย หรือไม่ก็ผสมกับน้ำยางจากต้นยางใหญ่เพื่อทำยางแผ่นดิบ

การดูแลสวนยางใช้ปุ๋ยผสมเอง ได้น้ำยางเยอะกว่า
การดูแลสวนยางใน อ.เวียงสาเจ้าของสวนบอกว่าไม่ยาก และไม่เหนื่อยเหมือนกับการทำพืชไร่ สำหรับยางที่โตและเปิดกรีดแล้ว เพียงแค่ ตัดหญ้า และใส่ปุ๋ยด้วยวิธีการหว่าน ปีละ 2 ครั้ง ช่วง ต้นฝนกับปลายฝนเท่านั้น เพียงแต่เขาจะให้ความสำคัญของปุ๋ยที่ให้ต้นยางเป็นพิเศษ โดยการซื้อแม่ปุ๋ยมาผสมเองตามสูตรของกรมวิชาการเกษตรที่ สกย. แนะนำ โดยมีสูตรดังนี้
ปุ๋ยสูตร 30-5-18 สำหรับใส่ยางเปิดกรีดแล้ว
สูตรสำหรับผสมปุ๋ย 100 กิโลกรัม ใช้แม่ปุ๋ย 3 ตัวคือ 18-46-0 (ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต) 10  กิโลกรัม 46-0-0 (ยูเรีย) 60 กิโลกรัม 0-0-60 (โพแตสเซียมคลอไรด์) 30 กิโลกรัม
ปุ๋ยสูตร 20-10-12 สำหรับใส่ยางเล็กยังไม่เปิดกรีด
สูตรสำหรับผสมปุ๋ย 100 กิโลกรัม ใช้แม่ปุ๋ย 3 ตัวคือ 18-46-0 (ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต) 22 กิโลกรัม 46-0-0 (ยูเรีย) 36 กิโลกรัม 0-0-60 (โพแตสเซียมคลอไรด์) 20 กิโลกรัม และจะต้องใส่ตัวเติม เช่น ดิน ทราย เพิ่มอีก 22 กิโลกรัม แต่เขาเลือกที่จะไม่เพิ่มตัวเติม เพื่อให้ได้เนื้อปุ๋ยเต็มๆ
“ผสมปุ๋ยเองไม่เสียเวลาเท่าไหร่หรอก แต่ผลก็คือ ได้น้ำยางเพิ่มมากขึ้น เพราะตัวปุ๋ยมีเนื้อปุ๋ยล้วนๆ และยังช่วยประหยัดต้นทุน” การผสมปุ๋ยใช้เองสุรศักดิ์ทำมากว่า 2 ปี แล้ว และยังให้ปุ๋ยอินทรีย์ (ขี้วัว) เพิ่มในช่วงแล้ง ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายนอีกด้วย
โรงผลิตยางแผ่นและเก็บยางแผ่น

เมื่อสอบถามถึงรายได้ สุรศักดิ์ บอกว่า สวนยางของเขาไม่ต้องจ้างแรงงาน แต่เขากับภรรยาลงมือทำเองทุกขึ้นตอน รายได้จึงได้เต็มๆ
“กรีดยาง 3 ทุ่ม ประมาณตี 2 ก็เสร็จ กลับไปนอน เช้าประมาณ 8 โมงเช้าก็ตื่นมาเก็บยางทำยางแผ่น สายๆ หน่อยก็นำน้ำกรดไปหยอดในถ้วยยางให้แข็งตัว ทุกวันที่กรีด การกรีด 2 วัน เว้น 1 วัน สำหรับยางก้อนถ้วยประมาณ 5 มีดน้ำยางก็เต็มถ้วยก็เก็บขายได้ ทำงานในร่มไม่หนักมาก เหมือนทำงานกลางแจ้ง ตากแดด” เขาเล่าถึงขั้นตอนการทำยางแผ่นดิบ และยางก้อนถ้วย
อนาคตน้ำยางสวนยางทั้งหมดจะนำมาทำยางแผ่นดิบ เพราะได้มูลค่าสูงกว่าการทำยางก้อนถ้วย แม้ว่าเกษตรกรใน จ.น่าน จะนิยมทำยางถ้วยกว่า 80% แต่เขากลับมองว่า การทำยางก้อนถ้วยทำง่ายก็จริง แต่เวลาเก็บยางมาแล้วกลิ่นเหม็นแรงมาก ขณะที่ยางบางต้นได้น้ำยาง 1-2 วันก็เต็มถ้วย จึงต้องเก็บยางถ้วยเกือบทุกวัน จึงคิดว่าเก็บมาทำยางแผ่นดีกว่า ได้ราคาสูงกว่า
อีกทั้งเขายังทำไร่ข้าวโพดเสริมอีก 20 ไร่ จึงมีรายได้ 2 ทาง “แต่อย่างไรก็ตามยางรายได้ดีกว่าการทำไร่มาก”
ปัญหาในสวนยางที่สุรศักดิ์ประสบคือ ต้นยางแปลงแรกหลายต้นน้ำยางไม่ไหล เปลือกแข็ง หน้าแห้ง และเปลือกแตก เป็นต้น
ผอ.ศปจ.น่าน ให้ข้อมูลเรื่องการแบ่งหน้ากรีดยางว่า การกรีดยางช่วงแรกๆ เกษตรกรนิยมแบ่งหน้ายางครึ่งต้น แต่ช่วงหลังกรมวิชาการเกษตรแนะนำให้แบ่ง 3 ส่วนก็ได้ แต่ปัญหาของการกรีดยาง 3 ส่วน คือ เมื่อยางโตขึ้น พบว่าต้นยางไม่กลม เมื่อต้นไม่กลมการกรีดก็จะเข้าเนื้อไม้ได้ง่าย และมีผลต่อการขายไม้เมื่อต้นยางหมดอายุอีกด้วย

อีกทั้งการแบ่งหน้ากรีดยางกับการเว้นวันกรีดยังสำคัญมากๆ โดยเฉพาะยางหน้าแรกไม่ควรจะกรีดครึ่งต้น 2 วันเว้น 1 วัน ควรจะกรีดวันเว้นวัน ต้นยางจะไม่โทรม
ขณะที่ เกษตรกรอีกราย 3 รายในพื้นที่อำเภอเดียวกันต่างให้ข้อมูลด้านการผลิตยางไว้อย่างหลากหลาย

เจ้าของสวนยาง 1,000 ต้น เจอปัญหาปลูกยางถี่เกิน แต่รายได้ยังดี
สมาน เขื่อนทิพย์  เจ้าของสวนยางพันธุ์ RRIM 600 ประมาณ  1,000 ต้น หรือประมาณ 15 ไร่ ให้ข้อมูลว่า ตัวเองเริ่มต้นปลูกยางเมื่อ ปี 2546 ตั้งแต่ก่อนโครงการยาง 1 ล้านไร่เสียอีก แต่เขาใช้เงินลงทุนของตัวเอง เพราะเขาเคยรับจ้างกรีดยางในสวนของน้องเขย จนพอมีเงินทุนจำนวนหนึ่ง อีกทั้งยังเห็นว่าราคายางพาราไม่ผันผวนมาก แม้ราคาช่วงนี้จะยังไม่สูง แต่ก็ดีกว่าพืชไร่หลายตัวที่เกษตรกรนิยมปลูกกันในขณะนั้น จึงตัดสินใจปลูกยางเอง โดยมีพันธุ์ RRIM 600 เกือบทั้งหมด มีพันธุ์ RRIT 251 ปลูกไว้ประมาณ  50 ต้น เพราะเห็นว่าเป็นพันธุ์ที่ให้น้ำยางสูงกว่าพันธุ์ RRIM 600
สมาน เขื่อนทิพย์  เจ้าของสวนยางพันธุ์ RRIM 600 ประมาณ  1,000 ต้น หรือประมาณ 15 ไร่ เริ่มต้นปลูกยางเมื่อ ปี 2546 ตั้งแต่ก่อนโครงการยาง 1 ล้านไร่ โดยใช้เงินลงทุนของตนเอง ปัจจุบันกรีดได้ 900 ต้น ได้ยางแผ่น 18 แผ่น/วัน เพราะต้นยางของเขาค่อข้างเล็กเพราะปลูกถี่เกินไป



ความผิดพลาดในการปลูกยางของสมานมีอยู่เรื่องเดียวคือ ระยะปลูกยาง ที่เลือกปลูก 6X3 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่พ่อค้าขายกล้ายางแนะนำ บอกว่าจะได้จำนวนต้นยางต่อไร่มากขึ้น น้ำยางต่อไร่ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย แต่มารู้ความจริงก็เมื่อตอนสายไป เพราะระยะที่เขาเลือกปลูกต้นยางชิดกันเกินไป จนต้นยางรับแสงไม่เต็มที่ ต้นยางจึงมีขนาดเล็กกว่าปกติ
“ตอนนั้นไม่มีความรู้เรื่องยางเลย เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่ สกย.มาแนะนำ มาวันนี้จะตัดทิ้งก็เสียดาย”
วิธีการของเขาที่พอทำได้คือเลือกกรีดต้นที่ใหญ่ แม้จะไม่ได้ขนาดตามที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำก็ตาม แต่ก็ยังสามารถเปิดกรีดต้นยางได้ กว่า 900 ต้น นำน้ำยางสดที่ได้มาผลิตเป็นยางแผ่นดิบ ประมาณ 18-19 แผ่น/วันกรีด ทำให้ยังมีรายได้ ซึ่งเขาบอกว่าสูงกว่าพืชไร่หลายๆ ตัว

อดีตครู เกษียณตัวเองมาเป็นเจ้าของสวนยาง
            อาชีพข้าราชการครู มักจะถูกมองในแง่ดีว่า เป็นอาชีพที่มั่นคง โดยเฉพาะเมื่อต้องเกษียณอายุจะได้เงินบำนาญไปจนสิ้นลมหายใจ
            แต่ปัจจุบันความมั่นคงตรงนั้นกลับสู้ความมั่นคงกับอาชีพสวนยางไม่ได้ เพราะข้าราชการครูหลายคนเลือกที่จะเกษียณตังเองมาทำสวนยาง หรือไม่ก็ลงทุนสวนยางไว้เพื่อทำในช่วงเกษียณ เช่นเดียวกับ ชูชาติ เขื่อนเพชร อดีตครู อ.เวียงสา อายุ 54 ปี เขาเลือกที่จะลาออกจากข้าราชการครูก่อนกำหนดเมื่อปี 2549 เพื่อมาทำสวนยางจำนวน 8 ไร่
ชูชาติ เขื่อนเพชร อดีตครู อ.เวียงสา อายุ 54 ปี เขาเลือกที่จะลาออกจากข้าราชการครูก่อนกำหนดเมื่อปี 2549 เพื่อมาทำสวนยางจำนวน 8 ไร่ เขาบอกว่าเท่านี้ก็อยู่ได้เพราะลงมือทำเอง และยังมีความสุขสุขภาพแข็งแรงอีกด้วย


            ชีวิตหนึ่งต้องหาอาชีพที่จะทำในบั้นปลายของชีวิต เราอายุ 50 กว่า อยู่อาชีพครูมานาน สุขภาพ ประสิทธิภาพการทำงานก็ลดลง คิดว่าแล้วเราจะทำอะไรเลี้ยงและได้เงิน ก็มาคิดว่ายางนี่แหละ
“จากนั้นก็ศึกษาหาข้อมูลก่อน จนตัดสินใจปลูก เอาเงินบำนาญมาลงทุนปลูกยาง 20,000 กว่าบาท เคยคิดว่าเงินส่วนนี้จะได้คืนไหม แต่ตอนนี้มันได้คืนมากและจะได้เพิ่มมากหลายๆ เท่า”
          สวนยางของครูชูชาติพันธุ์ RRIM 600 จำนวน 8 ไร่นั้น เขาลงมือทำเองโดยไม่ต้องจ้างแรงงานเลย ผลประโยชน์จึงได้รับอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และการทำลงมือทำงานเองยังช่วยให้สุขภาพตัวเองแข็งแรงขึ้นมาด้วย
“เมื่อก่อนเป็นครูสุขภาพไม่ค่อยดี แต่พอมาทำสวนยางเดือนเดียวหายเลย พุงก็ไม่มี เพราะเราเดินกรีดยางเก็บยาง ตอนตี 2 อากาศก็ดี ไม่ร้อน ร่างกายแข็งแรง
“ชาวบ้านถ้ารู้จักยางก็ไม่ต้องลำบาก ปลูกยางเราไม่ต้องไปนับหนึ่งใหม่เหมือนทำพืชไร่ ต้องเริ่มต้นปลูกใหม่ทุกครั้ง ใช้ทุนเยอะ ขณะที่การปลูกยางใบยางเศษกิ่งยางก็ย่อยบำรุงดิน แต่พืชไร่มีการไถตลอดหน้าดินหาย สภาพแวดล้อมก็เสีย”
ขณะเดียวกันครูชูชาติ อาศัยการทำยางก้อนถ้วย ซึ่งทำได้ง่าย โดยจะเริ่มกรีดยางช่วง 5 ทุ่ม เสร็จประมาณ ตี2 ถึง ตี 3 จากนั้นก็กลับไปนอนพักผ่อน ตื่นมาตอนสายๆ เพื่อหยอดน้ำกรดให้ยางแข็งตัว ประมาณ 4-5 มีด ก็สามารถเก็บยางขายได้แล้ว

ส่วนเวลาว่างที่เหลือก็ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เพื่อกินเองหรือเหลือก็นำไปขายเพิ่มรายได้
แต่การทำยางก้อนถ้วยเป็นที่รู้ๆ กันอยู่ว่าขายได้ราคาต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการทำยางแผ่น ปัจจุบันราคายางก้อนถ้วยในตลาดท้องถิ่นเพียงแค่ 40 กว่าบาท/กิโลกรัม แต่ครูชูชาติบอกว่าราคาแค่นี้ก็อยู่ได้แล้ว
“ราคายาง 30 บาทก็อยู่ได้ ถ้าทำเองไม่ต้องจ้าง”

ติดตามปัญหาของชาวสวนยาง อ.ภูเพียง เจอเชื้อราทำรายระบบราก และกรีดยางต้นเล็กเพราะราคายางยั่วใจ
          ทีมงานเดินทางข้ามมายัง อ.ภูเพียง อำเภอที่มีพื้นที่ปลูกยางมากอีกแห่งของ จ.น่าน เกษตรกรส่วนใหญ่ล้วนมือใหม่ทั้งสิ้น การกรีดยางก็ใหม่ถอดด้ามพอๆ กัน แน่นอนว่าองค์ความรู้เรื่องการดูแลจัดการสวนยางย่อมจะมีข้อผิดพลาดให้เห็น โดยเฉพาะเรื่องของการกรีดยางต้นเล็ก เป็นต้น
            ตัวอย่างที่สะท้อนได้ค่อนข้างชัดคือ สวนยางของ ลุงประสิทธิ์ ต๊ะนา เจ้าของสวนยาง ใน ต.น้ำแก่น อ.ภูเพียง สวนยางที่เปิดกรีดแล้วประสบปัญหาต้นยางยืนต้นตายหลายต้น ทั้งๆ ที่ผ่านมาก็ให้น้ำยางปกติ แต่น่าสังเกตว่าทุกต้นที่ตายจะอยู่ข้างๆ ตอมะม่วงพืชเจ้าของพื้นที่เดิม
ลุงประสิทธิ์ ต๊ะนา เจ้าของสวนยาง ใน ต.น้ำแก่น อ.ภูเพียง สวนยางที่เปิดกรีดแล้วประสบปัญหาต้นยางยืนต้นตายหลายต้น ทั้งๆ ที่ผ่านมาก็ให้น้ำยางปกติ แต่น่าสังเกตว่าทุกต้นที่ตายจะอยู่ข้างๆ ตอมะม่วงพืชเจ้าของพื้นที่เดิม

            “เมื่อก่อนผมทำสวนมะม่วง มะขาม ลำไย จนเมื่อมีโครงการส่งเสริมปลูกยาง 1 ล้านไร่ ลุงเข้าโครงการในปี 2549 เนื้อที่ 10 ไร่ ตอนนั้นก็นำยางมาปลูกแซมในสวนมะม่วงเลย เพราะยางตอนนั้นมันยังไม่มีรายได้ ต้องอาศัยรายได้จากมะม่วง ปีหนึ่งก็ได้เงินแสนเหมือนกันถ้าพ่อค้าจากกรุงเทพมาซื้อ แต่ถ้าขายให้พ่อค้าแถวนี้ก็ได้ไม่กี่หมื่นบาท เขากดราคา และก็ทำนาด้วย” ลุงประสิทธิ์เล่าที่มาที่ไปของสวนยาง อดีตมันคือสวนมะม่วง
            แต่เมื่อต้นยางเริ่มโตอายุประมาณ 3 ปี ถึงเวลาต้องโค่นต้นมะม่วงทิ้งให้เหลือแต่ต้นยาง จนเมื่อเข้าปีที่ 6 ต้นยางโตขึ้นแต่ก็ยังไม่ได้ขนาดพอที่จะเปิดกรีดได้ แต่ด้วยราคา 180 บาท/กิโลกรัมในช่วงนั้นกลับยั่วยวนใจให้ลงประสิทธิ์ฝืดกฎกรีดยางก่อนกำหนด
            “ตอนเปิดกรีดปีแรกยางอายุ 6 ปี มันยังเล็กอยู่ กะว่าจะไม่กรีด และราคามันยั่วใจยางก้อนถ้วยราคากิโลละ 70 กว่าบาทจึงต้องกรีด เอาเงินก่อน ต้นยางตายก็คิดว่าไม่เป็นไรเดี๋ยวปลูกใหม่”

          ผลของการกรีดยางก่อนกำหนดที่เห็นได้ชัดคือ หน้ายางเสียเกือบทุกต้น เพราะต้นยางมีขนาดเล็กและเปลือกยางบางเกินไป ประกอบกับความไม่ชำนาญการกรีดยางทำให้กรีดเข้าเนื้อไม้ จนหน้ายางเสีย
            แต่นั่นไม่เท่ากับต้นยางจำนวนหนึ่งยืนต้นตายหลายสิบต้น น่าสังเกตว่าทุกต้นที่ตายจะปลูกอยู่ใกล้ๆ กับตอมะม่วงเก่าที่กำลังผุ เจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา ที่กำลังลงพื้นที่สำรวจสวนยางของลุงประสิทธิ์ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นผลจากเชื้อราจากซากตอมะม่วงลุกลามเข้าทางรากต้นยาง เพราะปกติต้นมะม่วงจะเป็นแหล่งเพาะเชื้อราอยู่แล้ว ต้นยางที่อยู่ใกล้ๆ จะค่อยๆ ตายจากรากขึ้นไป
แนวทางในการแก้ไขโดยด่วนที่นักวิชาการแนะนำคือ เร่งขุดซากต้นมะม่วงออกจากสวนยางให้เร็วที่สุด และใช้ยาเชื้อราฉีดพ่นบริเวณซากตอมะม่วงและต้นยางที่อยู่ใกล้ๆ
ขณะที่ลุงประสิทธิ์บอกว่า ลักษณะของต้นยางยืนต้นตายแบบนี้เกิดขึ้นกับสวนยางในบริเวณหมู่บ้านหลายสวน โดยเฉพาะสวนที่เป็นสวนมะม่วงเก่า และมีตอมะม่วงอยู่ แต่สวนที่โค่นมะม่วงทิ้งก่อนปลูกยางกลับไม่มีปัญหาเรื่องนี้
ส่วนรายได้จากสวนยางของลุงประสิทธิ์ หลังจากเปิดกรีดเข้าปีที่ 3 จะได้ยางก้อนถ้วย 200-300 กิโลกรัม/การเก็บขาย 1 ครั้ง หรือ 4-5 มีด (กรีด 2 วัน เว้น 1 วัน) ขายได้เงินอย่างน้อยๆ ไม่ต่ำกว่า 12,000 บาท ถ้าคำนวณเป็นเดือนประมาณ 40,000 บาท แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคายางด้วย ถ้าราคายางสูงกว่าปัจจุบันจำนวนเงินที่ได้จะสูงขึ้นตาม
ซากตอมะม่วงที่อยู่ในสวนยางทำให้ต้นยางที่อยู่ใกล้ยืนต้นตาย ใน ต.น้ำแก่น อ.ภูเพียง สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากเชื้อราจากซากตอมะม่วงลามเข้าทางรากยาง

               ปัจจุบัน ลุงประสิทธิ์มีสวนยาง 20 ไร่ เพราะลงทุนปลูกเองหลังโครงการยาง 1 ล้านไร่ อีก 10 ไร่ โดยหวังให้เป็นมรดกแก่ลูกชายที่เข้ามาทำงานอยู่ จ.สมุทรปราการกลับมานำสวนยางในอนาคต
เจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรากำลังสำรวจพื้นที่สวนยางที่ประสบปัญหาต้นยางยืนต้นตายของลุงประสิทธิ์


จากการลงพื้นที่เจาข้อมูลการผลิตและการตลาดยางพาราของ จ.น่าน ทีมงานเห็นจุดแข็งหลายๆ ด้านของพื้นที่แห่งนี้ เห็นชัดเจนที่สุดคือ เรื่องการจับมือผลึกกำลังกันรวบรวมผลผลิตเพื่อขายผ่านระบบประมูล ซึ่งเป็นการจับมือของกลุ่มเกษตรกร 55 กลุ่มในนาม สหกรณ์กองทุนสวนยาง จ.น่าน จำกัด ว่ากันว่ายาง 80% ของ จ.น่านรวมกันอยู่ ณ ที่นี้ ยางก้อนใหญ่นี้จึงดึงดูดพ่อค้าและบริษัทที่ต้องการยางก้อนถ้วย ทำให้ยางของเกษตรกรขายได้ราคาสูง แม้จะอยู่ห่างไกลจากโรงงานก็ตาม

อีกทั้งสหกรณ์ยังมีโครงการแทรกแซงยางของ อสย.เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการต่อรองกับผู้ประมูล เพราะหากพ่อค้าประมูลราคาต่ำเกินไป เกษตรกรจะไม่ขายยางให้ทันที แต่จะส่งเข้าโครงการ แม้จะมีค่าบริหารจัดการ ซึ่งช่วงปีที่ผ่านมาเครื่องมือนี้ใช้งานได้ดีทีเดียว


หากแต่นี่เป็นเครื่องมือชั่วคราวไม่จีรังยั่งยืน เพราะโครงการกำลังจะสิ้นสุดในไม่ช้านี้ สหกรณ์จึงจัดหางบประมาณจาก จ.น่าน เพื่อร่างโครงการแปรรูปยางแผ่นรมควันขึ้น งบประมาณ 20 ล้านบาท เพื่อเพิ่มมูลค่ายางของเกษตรกรในช่วงที่ยางราคาตก และในระยะยาว
นี่จึงเป็นอีกก้าวหนึ่งของความเข้มแข็งของชาวสวนยาง จ.น่าน และคืออีกพื้นที่หนึ่งที่เป็นแหล่งใหญ่ของยางพาราภาคเหนือในอนาคต
ขอขอบคุณ
สุชาตรี ทองอินทราช
นายพิมพ์ เอื้องแก้ว
 สมศักดิ์ เฟื่องฟู
ประสิทธิ์ ต๊ะนา
ภมร คำชื่น
นายสมาน เขื่อนทิพย์ 
ชูชาติ เขื่อนเพชร
:::ภาพและข้อความบนบล็อคนี้ทั้งหมดเป็นลิขสิทธิ์ของนิตยสารยางเศรษฐกิจ สงวนสิทธิ์ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์เชิงการค้า:::

Random Posts

randomposts