์News

์News

สหภาพแรงงาน สกย.ออกคำแถลง ขับไล่ผู้นำองค์กรพ้นตำแหน่ง หลังปกปิดนำ สกย.พ้นรัฐวิสาหกิจ และบริหารงานห่วย...!!!

สหภาพแรงงาน สกย.ออกคำแถลง ขับไล่ผู้นำองค์กรพ้นตำแหน่ง หลังปกปิดนำ สกย.พ้นรัฐวิสาหกิจ และบริหารงานห่วย...!!!


คำแถลงข่าว
โดย สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สร.กสย.)
เรื่อง ปัญหาร่าง พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ
18 กันยายน 2555  ณ อาคาร 50  ปี สกย. กรุงเทพฯ
------------------------------------------------------------------
พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ หลายสมัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา แต่ในที่สุด                ก็ไม่บรรลุผลจนถึงปัจจุบันได้มีการนำเสนอร่างพ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทยหลายฉบับเข้าสู่การพิจารณา โดยทุกฉบับ               ที่มีผู้นำเสนอนั้น   การยางแห่งประเทศไทยเป็นองค์กรประเภทรัฐวิสาหกิจ ซึ่งสามารถทำหน้าที่บริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบครบวงจร     โดยรวมภารกิจของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) และสถาบันวิจัยยาง (สวย.) เข้ามาอยู่ในชื่อ “การยางแห่งประเทศไทย” (กยท.)                   ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านวาระ 1 ของการประชุมสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ต่อมา สภาฯ ได้ตั้งกรรมาธิการขึ้นมา 1 ชุด เพื่อทำหน้าที่พิจารณาเป็นรายมาตรา จนถึงขณะนี้ได้พิจารณาถึงมาตรา 16 ปัญหา คือ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางได้ทราบข้อมูลมาว่าในการพิจารณามาตรา7 นายวิทย์  ประทักษ์ใจ ผอ.สกย. ได้นำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมาธิการให้เปลี่ยนรูปแบบองค์กรจากรัฐวิสาหกิจเป็นองค์การมหาชน  ซึ่งในที่สุด ผลการประชุมคณะกรรมาธิการเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการได้ลงมติให้ กยท. เป็นองค์การมหาชน ซึ่งส่งผลกระทบต่อพี่น้องชาวสวนยางกว่า 6 ล้านคน  พนักงานและลูกจ้าง ในส่วนของ สกย. กว่า 2,000 คน และพนักงาน ลูกจ้างขององค์การ                สวนยางกว่า 900 คน
                นายวิทย์ ประทักษ์ใจ

 หากย้อนกลับไปดูในข้อกฎหมาย การจัดทำ พ.ร.บ. หรือ พ.ร.ฎ. นั้น จะต้องมีการจัดทำความเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ในภารกิจที่จะจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน  โดยเสนอหลักฐานของการสำรวจความคิดเห็น หรือการจัดประชุมสัมมนา หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงถึงความเห็นที่เป็นทางการของผู้มีส่วนได้เสีย  จึงทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสหภาพแรงงานฯ                 ในฐานะตัวแทนพนักงานกับนายวิทย์  ประทักษ์ใจ (ผอ.สกย.)  และนอกจากนี้ ในเรื่องของการบริหารจัดการองค์กร นายวิทย์ ประทักษ์ใจ ยังสร้างความล้มเหลวในอีกหลายประเด็น ดังนี้
1.              นำเสนอแต่งตั้งพนักงานระดับ 9 ต่อที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ  ไม่โปร่งใส ไม่เป็นธรรม ไม่เป็น              ไปตามระเบียบ หลักเกณฑ์ที่กำหนด  โดยนำเสนอข้อมูลเท็จ เสนอบุคคลที่ขาดคุณสมบัติต่อคณะกรรมการสรรหาฯ และ                  ก.ส.ย. เป็นผลให้มีการแต่งตั้งบุคคลที่ขาดคุณสมบัติเข้ามาดำรงตำแหน่ง
2.              นายวิทย์ฯ ได้ออกหนังสือสั่งการลดสภาพการจ้างเรื่องค่ารักษาพยาบาล  ตามข้อบังคับฯ ว่าด้วยเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543                   แต่ฝ่ายเดียว โดยไม่ได้รับความยินยอมจากพนักงาน  ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  
3.                    ในฐานะผู้นำสูงสุดขององค์กร นายวิทย์ฯ ไม่เคยให้ความสำคัญกับขวัญและกำลังใจของพนักงานจังหวัดชายแดนใต้ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบจากการก่อการร้าย ทั้งกรณีที่สำนักงานฯ ถูกเผา วางระเบิด ถูกยิงจากผู้ก่อการร้าย ไม่เคยเดินทางไปดูแลเยี่ยมปลอบขวัญพนักงานแม้แต่ครั้งเดียว  อีกทั้งไม่เร่งรัดติดตามผลักดันเงินเสี่ยงภัย  ทั้งที่พนักงานควรจะได้รับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553  โดยนายวิทย์ฯ ไม่นำเสนอเรื่องให้ กสย. พิจารณาในขณะนั้น
          4. นายวิทย์ฯ สร้างปัญหาให้กับองค์กร ในเรื่องความไม่โปร่งใสในการบริหารจัดการองค์กรจนปัจจุบันได้มีคำสั่ง              จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ดำเนินการสอบข้อเท็จจริงและหาผู้รับผิดทางละเมิดในประเด็นดังต่อไปนี้
4.1 ความไม่โปร่งใสในการจัดจ้างทำป้ายพร้อมกรอบไวนิลและตู้กล่องไฟในทุกสำนักงานจังหวัด
4.2 ความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อรถยนต์โดยสารขนาด 12 ที่นั่ง  จำนวน 4 คัน
4.3 ความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อรถยนต์โดยสารขนาด 11 ที่นั่ง เพื่อทำรถรับรอง ซึ่งขัดกับมติ ค.ร.ม.
5. นายวิทย์ฯ ได้นำรถยนต์สำนักงานฯ เลขทะเบียน ศข 4702 ไปใช้ส่วนตัว จนเกิดความเสียหายตั้งแต่ พฤศจิกายน 2554 จนถึงปัจจุบัน แล้วไม่แสดงความรับผิดชอบ ทั้ง ๆ ที่ดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดขององค์กร แต่กระทำพฤติกรรมที่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับขององค์กร ถือได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในฐานะผู้นำองค์กร
6. นายวิทย์ฯ ในฐานะผู้นำสูงสุดขององค์กร ขาดความโปร่งใสในการบริหารจัดการจัดซื้อปุ๋ยเคมี จำนวน                    30,000 ตัน  ซึ่งสำนักงาน ปปช. ได้มีหนังสือให้ทำการชี้แจงข้อเท็จจริง  ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง
7.  อนุมัติจ่ายเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่งของผู้บริหาร สกย. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและยังให้ข้อมูลที่เป็นเท็จต่อคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางในคราวประชุมครั้งที่ 3/2553                          วันที่ 27 พฤษภาคม 2553 ว่าการอนุมัติเงินค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นอำนาจของ สกย.      
8. ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบโครงการปลูกยาง 8 แสนไร่ แต่ไม่สามารถทำให้โครงการดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์เป็นผลให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆโดยไม่เกิดประโยชน์ รวมทั้งต้องเสียเวลาในการปลูกยางพาราออกไปอีกหลายปี
          นอกจากนี้ นายวิทย์  ประทักษ์ใจ ยังขาดคุณสมบัติในการสมัครเพื่อคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ข้อ 2.2.1 ตามประกาศคณะกรรมการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์            การทำสวนยาง  ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวเป็นสาระสำคัญที่ สกย. ได้กำหนดขึ้นเป็นครั้งแรก กล่าวคือ  ก่อนมาสมัครผอ.สกย.นายวิทย์ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานสันนิบาตสหกรณ์  ซึ่งสันนิบาตสหกรณ์ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐทั้งประเภท              ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐแต่เป็นองค์กรเอกชนโดยมีรายได้ของกิจการไม่ถึง                200 ล้านบาทต่อปี  ซึ่งขาดคุณสมบัติตามที่กล่าวมา

          สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ในฐานะเป็นองค์กรซึ่งเป็นตัวแทนพนักงาน สกย.              ทุกคน จะต้องปกป้องเงินทุกบาททุกสตางค์ของพี่น้องชาวสวนยาง และคุ้มครองพิทักษ์สิทธิประโยชน์พนักงานให้ได้รับ               ความเป็นธรรม จึงขอเรียกร้องให้นายวิทย์  ประทักษ์ใจ แสดงความรับผิดชอบในการกระทำผิดตามข้อบังคับฯ ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของผู้อำนวยการและพนักงาน สกย. พ.ศ. 2553
       
             “การยางแห่งประเทศไทย ควรเป็นรัฐวิสาหกิจเท่านั้น เพื่อรองรับการให้บริการพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางอย่างครบวงจร”



คำแถลงข่าว
โดย สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สร.กสย.)
เรื่อง ปัญหาร่าง พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ
18 กันยายน 2555  ณ อาคาร 50  ปี สกย. กรุงเทพฯ
------------------------------------------------------------------
          ตั้งแต่เกิดวิกฤต 2 ประการ สร.กสย.ได้ติดตามข้อมูล ตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวเพื่อรักษาผลประโยชน์ของ สกย. ตามที่กฎหมายให้อำนาจ ขณะเดียวกันในฐานะที่เป็นพนักงานสกย.เรามีความเป็นห่วงชาวสวนยางซึ่งสกย.ทำงานผูกพันกับชาวสวนยางเหมือนที่น้องมามากกว่า 50 ปีเรามีความจริงใจให้กับพี่น้องชาวเกษตรกรที่จะได้รับผลกระทบในวงกว้างจากการบริหารงาน สกย.ที่ผิดพลาดของนายวิทย์ ประทักษ์ใจ
          ในเรื่องดังกล่าวนี้ สร.กสย.ได้ดำเนินการ ดังนี้
1. ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ)  ในฐานะประธานกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางขอให้พิจารณาทบทวนร่าง พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ....ที่มิให้ กยท. เป็นรัฐวิสาหกิจ ไม่ให้อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายแรงงาน และให้พิจารณาความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งผอ.สกย.ของนายวิทย์ฯ
2. ได้ยื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมาย พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. ... สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาทบทวนการแก้ไขร่างชี้แจงให้พนักงานพ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย มาตรา 7 และเพิ่มเติมมาตรา 8/1
3. ได้ชี้แจงให้พนักงานและลูกจ้างของสกย.ทั่วประเทศทราบถึงผลกระทบที่จะได้รับจาก                        การปรับเปลี่ยนแก้ร่างกฎหมาย
4.  ได้ทำความเข้าใจกับเกษตรกรชาวสวนยางในเวทีเสวนาให้รับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กร กยท.
5.   สร.กสย. ได้พยายามเจรจากับผอ.สกย. (นายวิทย์) แล้วไม่เกิดผล เนื่องจาก นายวิทย์ไม่มี               ความจริงใจ ปกปิดข้อมูล ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จแก่พนักงานลูกจ้าง  ทั้งนี้พยายามแยกพนักงาน ลูกจ้างออกเป็น 2 ฝ่าย
จากเหตุข้างต้น สร.กสย.จำเป็นต้องเคลื่อนไหวเพื่อรักษาสถานะองค์กรให้เป็นที่พึ่งของพี่น้องชาวสวนยาง 6 ล้านคนทั่วประเทศ โดยปัญหานี้จะคลี่คลายได้นั้นมี 2 กรณี คือ
1.       นายวิทย์  ประทักษ์ใจ ต้องลาออกเท่านั้น
2.       ต้องแก้ไขมาตรา 7 กลับไปเป็นดังเดิม และตัดมาตรา 8/1 ทิ้ง 
               อนึ่ง สร.กสย. ไม่ได้คัดค้านการจัดตั้ง กยท. แต่คัดค้านการจัดตั้งการยางแห่งประเทศไทยในรูปแบบองค์การมหาชน และเฉพาะบางมาตราที่มีผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยาง พนักงาน และ ลูกจ้าง
                ขอขอบคุณ และขอความร่วมมือ เพื่อนสื่อมวลชนให้ช่วยกันเผยแพร่ข้อเท็จจริงให้ทุกฝ่ายได้รับทราบ เพราะหากเรื่องนี้มีผลออกมา จะเกิดความเสียหาย



คำแถลงข่าว
โดย สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สร.กสย.)
เรื่อง ปัญหาร่าง พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ
18 กันยายน 2555  ณ อาคาร 50  ปี สกย. กรุงเทพฯ
------------------------------------------------------------------
พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ หลายสมัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา แต่ในที่สุด                ก็ไม่บรรลุผลจนถึงปัจจุบันได้มีการนำเสนอร่างพ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทยหลายฉบับเข้าสู่การพิจารณา โดยทุกฉบับ               ที่มีผู้นำเสนอนั้น   การยางแห่งประเทศไทยเป็นองค์กรประเภทรัฐวิสาหกิจ ซึ่งสามารถทำหน้าที่บริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบครบวงจร     โดยรวมภารกิจของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) และสถาบันวิจัยยาง (สวย.) เข้ามาอยู่ในชื่อ “การยางแห่งประเทศไทย” (กยท.)                   ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านวาระ 1 ของการประชุมสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ต่อมา สภาฯ ได้ตั้งกรรมาธิการขึ้นมา 1 ชุด เพื่อทำหน้าที่พิจารณาเป็นรายมาตรา จนถึงขณะนี้ได้พิจารณาถึงมาตรา 16 ปัญหา คือ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางได้ทราบข้อมูลมาว่าในการพิจารณามาตรา7 นายวิทย์  ประทักษ์ใจ ผอ.สกย. ได้นำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมาธิการให้เปลี่ยนรูปแบบองค์กรจากรัฐวิสาหกิจเป็นองค์การมหาชน  ซึ่งในที่สุด ผลการประชุมคณะกรรมาธิการเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2555 ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการได้ลงมติให้ กยท. เป็นองค์การมหาชน ซึ่งส่งผลกระทบต่อพี่น้องชาวสวนยางกว่า 6 ล้านคน  พนักงานและลูกจ้าง ในส่วนของ สกย. กว่า 2,000 คน และพนักงาน ลูกจ้างขององค์การ                สวนยางกว่า 900 คน
                นายวิทย์ ประทักษ์ใจ

 หากย้อนกลับไปดูในข้อกฎหมาย การจัดทำ พ.ร.บ. หรือ พ.ร.ฎ. นั้น จะต้องมีการจัดทำความเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ในภารกิจที่จะจัดตั้งเป็นองค์การมหาชน  โดยเสนอหลักฐานของการสำรวจความคิดเห็น หรือการจัดประชุมสัมมนา หรือเอกสารอื่น ๆ ที่แสดงถึงความเห็นที่เป็นทางการของผู้มีส่วนได้เสีย  จึงทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสหภาพแรงงานฯ                 ในฐานะตัวแทนพนักงานกับนายวิทย์  ประทักษ์ใจ (ผอ.สกย.)  และนอกจากนี้ ในเรื่องของการบริหารจัดการองค์กร นายวิทย์ ประทักษ์ใจ ยังสร้างความล้มเหลวในอีกหลายประเด็น ดังนี้
1.              นำเสนอแต่งตั้งพนักงานระดับ 9 ต่อที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ  ไม่โปร่งใส ไม่เป็นธรรม ไม่เป็น              ไปตามระเบียบ หลักเกณฑ์ที่กำหนด  โดยนำเสนอข้อมูลเท็จ เสนอบุคคลที่ขาดคุณสมบัติต่อคณะกรรมการสรรหาฯ และ                  ก.ส.ย. เป็นผลให้มีการแต่งตั้งบุคคลที่ขาดคุณสมบัติเข้ามาดำรงตำแหน่ง
2.              นายวิทย์ฯ ได้ออกหนังสือสั่งการลดสภาพการจ้างเรื่องค่ารักษาพยาบาล  ตามข้อบังคับฯ ว่าด้วยเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543                   แต่ฝ่ายเดียว โดยไม่ได้รับความยินยอมจากพนักงาน  ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์  
3.                    ในฐานะผู้นำสูงสุดขององค์กร นายวิทย์ฯ ไม่เคยให้ความสำคัญกับขวัญและกำลังใจของพนักงานจังหวัดชายแดนใต้ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบจากการก่อการร้าย ทั้งกรณีที่สำนักงานฯ ถูกเผา วางระเบิด ถูกยิงจากผู้ก่อการร้าย ไม่เคยเดินทางไปดูแลเยี่ยมปลอบขวัญพนักงานแม้แต่ครั้งเดียว  อีกทั้งไม่เร่งรัดติดตามผลักดันเงินเสี่ยงภัย  ทั้งที่พนักงานควรจะได้รับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553  โดยนายวิทย์ฯ ไม่นำเสนอเรื่องให้ กสย. พิจารณาในขณะนั้น
          4. นายวิทย์ฯ สร้างปัญหาให้กับองค์กร ในเรื่องความไม่โปร่งใสในการบริหารจัดการองค์กรจนปัจจุบันได้มีคำสั่ง              จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ดำเนินการสอบข้อเท็จจริงและหาผู้รับผิดทางละเมิดในประเด็นดังต่อไปนี้
4.1 ความไม่โปร่งใสในการจัดจ้างทำป้ายพร้อมกรอบไวนิลและตู้กล่องไฟในทุกสำนักงานจังหวัด
4.2 ความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อรถยนต์โดยสารขนาด 12 ที่นั่ง  จำนวน 4 คัน
4.3 ความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อรถยนต์โดยสารขนาด 11 ที่นั่ง เพื่อทำรถรับรอง ซึ่งขัดกับมติ ค.ร.ม.
5. นายวิทย์ฯ ได้นำรถยนต์สำนักงานฯ เลขทะเบียน ศข 4702 ไปใช้ส่วนตัว จนเกิดความเสียหายตั้งแต่ พฤศจิกายน 2554 จนถึงปัจจุบัน แล้วไม่แสดงความรับผิดชอบ ทั้ง ๆ ที่ดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดขององค์กร แต่กระทำพฤติกรรมที่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับขององค์กร ถือได้ว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในฐานะผู้นำองค์กร
6. นายวิทย์ฯ ในฐานะผู้นำสูงสุดขององค์กร ขาดความโปร่งใสในการบริหารจัดการจัดซื้อปุ๋ยเคมี จำนวน                    30,000 ตัน  ซึ่งสำนักงาน ปปช. ได้มีหนังสือให้ทำการชี้แจงข้อเท็จจริง  ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง
7.  อนุมัติจ่ายเงินค่าตอบแทนเหมาจ่ายแทนการจัดหารถประจำตำแหน่งของผู้บริหาร สกย. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและยังให้ข้อมูลที่เป็นเท็จต่อคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางในคราวประชุมครั้งที่ 3/2553                          วันที่ 27 พฤษภาคม 2553 ว่าการอนุมัติเงินค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นอำนาจของ สกย.      
8. ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบโครงการปลูกยาง 8 แสนไร่ แต่ไม่สามารถทำให้โครงการดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์เป็นผลให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆโดยไม่เกิดประโยชน์ รวมทั้งต้องเสียเวลาในการปลูกยางพาราออกไปอีกหลายปี
          นอกจากนี้ นายวิทย์  ประทักษ์ใจ ยังขาดคุณสมบัติในการสมัครเพื่อคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ข้อ 2.2.1 ตามประกาศคณะกรรมการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกเข้าดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์            การทำสวนยาง  ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวเป็นสาระสำคัญที่ สกย. ได้กำหนดขึ้นเป็นครั้งแรก กล่าวคือ  ก่อนมาสมัครผอ.สกย.นายวิทย์ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานสันนิบาตสหกรณ์  ซึ่งสันนิบาตสหกรณ์ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐทั้งประเภท              ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐแต่เป็นองค์กรเอกชนโดยมีรายได้ของกิจการไม่ถึง                200 ล้านบาทต่อปี  ซึ่งขาดคุณสมบัติตามที่กล่าวมา

          สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ในฐานะเป็นองค์กรซึ่งเป็นตัวแทนพนักงาน สกย.              ทุกคน จะต้องปกป้องเงินทุกบาททุกสตางค์ของพี่น้องชาวสวนยาง และคุ้มครองพิทักษ์สิทธิประโยชน์พนักงานให้ได้รับ               ความเป็นธรรม จึงขอเรียกร้องให้นายวิทย์  ประทักษ์ใจ แสดงความรับผิดชอบในการกระทำผิดตามข้อบังคับฯ ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของผู้อำนวยการและพนักงาน สกย. พ.ศ. 2553
       
             “การยางแห่งประเทศไทย ควรเป็นรัฐวิสาหกิจเท่านั้น เพื่อรองรับการให้บริการพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางอย่างครบวงจร”



คำแถลงข่าว
โดย สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สร.กสย.)
เรื่อง ปัญหาร่าง พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ
18 กันยายน 2555  ณ อาคาร 50  ปี สกย. กรุงเทพฯ
------------------------------------------------------------------
          ตั้งแต่เกิดวิกฤต 2 ประการ สร.กสย.ได้ติดตามข้อมูล ตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวเพื่อรักษาผลประโยชน์ของ สกย. ตามที่กฎหมายให้อำนาจ ขณะเดียวกันในฐานะที่เป็นพนักงานสกย.เรามีความเป็นห่วงชาวสวนยางซึ่งสกย.ทำงานผูกพันกับชาวสวนยางเหมือนที่น้องมามากกว่า 50 ปีเรามีความจริงใจให้กับพี่น้องชาวเกษตรกรที่จะได้รับผลกระทบในวงกว้างจากการบริหารงาน สกย.ที่ผิดพลาดของนายวิทย์ ประทักษ์ใจ
          ในเรื่องดังกล่าวนี้ สร.กสย.ได้ดำเนินการ ดังนี้
1. ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ)  ในฐานะประธานกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางขอให้พิจารณาทบทวนร่าง พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ....ที่มิให้ กยท. เป็นรัฐวิสาหกิจ ไม่ให้อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายแรงงาน และให้พิจารณาความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งผอ.สกย.ของนายวิทย์ฯ
2. ได้ยื่นหนังสือถึงประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมาย พ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. ... สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาทบทวนการแก้ไขร่างชี้แจงให้พนักงานพ.ร.บ. การยางแห่งประเทศไทย มาตรา 7 และเพิ่มเติมมาตรา 8/1
3. ได้ชี้แจงให้พนักงานและลูกจ้างของสกย.ทั่วประเทศทราบถึงผลกระทบที่จะได้รับจาก                        การปรับเปลี่ยนแก้ร่างกฎหมาย
4.  ได้ทำความเข้าใจกับเกษตรกรชาวสวนยางในเวทีเสวนาให้รับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กร กยท.
5.   สร.กสย. ได้พยายามเจรจากับผอ.สกย. (นายวิทย์) แล้วไม่เกิดผล เนื่องจาก นายวิทย์ไม่มี               ความจริงใจ ปกปิดข้อมูล ให้ข้อมูลอันเป็นเท็จแก่พนักงานลูกจ้าง  ทั้งนี้พยายามแยกพนักงาน ลูกจ้างออกเป็น 2 ฝ่าย
จากเหตุข้างต้น สร.กสย.จำเป็นต้องเคลื่อนไหวเพื่อรักษาสถานะองค์กรให้เป็นที่พึ่งของพี่น้องชาวสวนยาง 6 ล้านคนทั่วประเทศ โดยปัญหานี้จะคลี่คลายได้นั้นมี 2 กรณี คือ
1.       นายวิทย์  ประทักษ์ใจ ต้องลาออกเท่านั้น
2.       ต้องแก้ไขมาตรา 7 กลับไปเป็นดังเดิม และตัดมาตรา 8/1 ทิ้ง 
               อนึ่ง สร.กสย. ไม่ได้คัดค้านการจัดตั้ง กยท. แต่คัดค้านการจัดตั้งการยางแห่งประเทศไทยในรูปแบบองค์การมหาชน และเฉพาะบางมาตราที่มีผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยาง พนักงาน และ ลูกจ้าง
                ขอขอบคุณ และขอความร่วมมือ เพื่อนสื่อมวลชนให้ช่วยกันเผยแพร่ข้อเท็จจริงให้ทุกฝ่ายได้รับทราบ เพราะหากเรื่องนี้มีผลออกมา จะเกิดความเสียหาย


สหภาพแรงงานฯ สกย. กดดันไล่ วิทย์ ประทักษ์ใจ พ้น ผอ.สยก.

สหภาพแรงงานฯ สกย. กดดันไล่ วิทย์ ประทักษ์ใจ พ้น ผอ.สยก.



ชำระเงิน Cess ผ่านระบบ NSW เพิ่มช่องทางแก่ผู้ส่งออกยาง ช่วยลดต้นทุน ลดเวลา และลดโลกร้อน

ชำระเงิน Cess ผ่านระบบ NSW เพิ่มช่องทางแก่ผู้ส่งออกยาง ช่วยลดต้นทุน ลดเวลา และลดโลกร้อน





เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 สกย.เดินหน้าเป็นต้นแบบหน่วยงานรัฐแห่งแรก ทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับ 2 ธนาคารชั้นนำทั้งกรุงไทยและทีเอ็มบี นำนวัตกรรมการให้บริการรับชำระเงิน Cess ทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มช่องทางการชำระเงินแก่ผู้ส่งออกยางนอกราชอาณาจักรมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม โดยจะเปิดระบบอย่างเป็นทางการในต้นปี พ.ศ.2556 ตามโครงการพัฒนาระบบรับชำระเงินสงเคราะห์ทางอิเล็กทรอนิกส์และเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากรผ่านระบบ National Single Window (NSW) ย้ำ มั่นใจระบบนี้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และช่วยลดต้นทุน เวลาแก่ผู้ประกอบการ ตลอดจนลดโลกร้อนจากระบบไร้กระดาษ
            นายวิทย์ ประทักษ์ใจ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง กล่าวว่า สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เป็นหน่วยงานหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า-ส่งออก โดยการจัดเก็บค่าธรรมเนียมส่งยางออกนอกราชอาณาจักร หรือที่เรียกกันว่าเงินสงเคราะห์ (Cess) ที่ผ่านมา (14 พฤษภาคม 2553) สกย.ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับกรมศุลกากร ในการดำเนินการจัดตั้ง National Single Window หรือ NSW โดยให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องด้านนำเข้า-ส่งออกทั้ง 36 หน่วยงาน ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลจากแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ.2550-2554 ในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ (e-logistics) เพื่อลดต้นทุนของผู้ประกอบการในการทำธุรกรรม และพัฒนาระบบให้เป็นศูนย์กลางสำหรับการให้บริการเพื่อการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ (Single Window Entry) ที่จะเชื่อมต่อไปยัง ASEAN Single Window (ASW) กับประเทศสมาชิกในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ต่อไป
            สกย.ในฐานะที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการจัดเก็บและออกใบรับเงินสงเคราะห์ จึงเร่งผลักดันและทำโครงการพัฒนาระบบรับชำระเงินสงเคราะห์ทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในการส่งยางออกนอกราชอาณาจักร โดยได้รับความร่วมมือจากธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ NSW ให้บริการรับหักเงินสงเคราะห์ทางอิเล็กทรอนิกส์ในครั้งนี้ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ และ ทีเอ็มบี ซึ่งกระทรวงการคลังถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ตามระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เข้าร่วมเป็นธนาคารรับชำระเงินสงเคราะห์ ในการเชื่อมโยงข้อมูล และแลกเปลี่ยนข้อมูลการชำระเงินสงเคราะห์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่าง สกย. –  ผู้ส่งยางออก หรือตัวแทนออกของ ธนาคาร ผ่านระบบ NSW ของกรมศุลกากร โดยระบบ NSW จะช่วยลดระยะเวลาในการเดินเอกสาร ลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม และลดจำนวนเอกสารแบบฟอร์มที่ใช้เป็นระบบไร้กระดาษ (Paperless) ตลอดจน เป็นการเพิ่มศักยภาพในการจัดเก็บเงินสงเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ระบบการทำงานมีความรวดเร็วและป้องกันความผิดพลาดได้มากยิ่งขึ้น ตั้งแต่กระบวนการรับชำระเงินสงเคราะห์ กระบวนการตรวจสอบข้อมูลผู้ประกอบการยื่นผ่านระบบ เช่น ข้อมูลผู้ประกอบการ ข้อมูลยางพาราที่ต้องการส่งออก (ชนิดยาง น้ำหนัก พิกัดสินค้า) จำนวนเงินสงเคราะห์ที่ผู้ประกอบการต้องชำระ
            นายวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการในระยะแรก สกย. จะสามารถเปิดให้บริการรับชำระเงินสงเคราะห์ทางอิเล็กทรอนิกส์ในเวลาราชการ โดยคาดว่าจะเปิดใช้ระบบอย่างเป็นทางการในต้นปี พ.ศ. 2556  ในระหว่างนี้ อยู่ในช่วงการทดสอบระบบการให้บริการ โดยมีบริษัทผู้ส่งออกยางพาราชั้นนำร่วมนำร่องทดสอบระบบ อาทิ บ.ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) บ.สหพารารับเบอร์ จำกัด บ.โอเรียลตัล รับเบอร์ โปรดักส์ จำกัด และบ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) และในปีพ.ศ. 2557  สกย.ได้วางแผนจะเปิดให้บริการระบบตลอด 24 ชั่วโมง ทั้ง 7 วัน   
            ทั้งนี้ “สกย. ถือเป็นต้นแบบการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจรระหว่าง รัฐต่อรัฐ  รัฐต่อธุรกิจ  และธุรกิจต่อธุรกิจ ซึ่งเป็นองค์กรรัฐแห่งแรกที่ได้ดำเนินการตามหลักการของโครงการพัฒนาระบบรับชำระเงินสงเคราะห์ทางอิเล็กทรอนิกส์และเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ของกรมศุลกากรผ่านระบบ National Single Window (NSW)  ได้สำเร็จและเป็นรูปธรรม” นายวิทย์ กล่าวทิ้งท้าย

            คุณธีรินทร์  เต่าทอง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารกลุ่มรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และโครงการภาครัฐ บมจ.ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ในฐานะผู้ให้บริการทางการเงินแก่องค์กรภาครัฐทั้งหน่วยงานราชการและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ มาเป็นระยะเวลานาน ความร่วมมือกับ สกย.ในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจที่ธนาคารได้รับความไว้วางใจจาก สกย.  ด้วยความมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการส่งออกยางตามวัตถุประสงค์ของ สกย. ด้วยการพัฒนาช่องทางรับชำระเงินสงเคราะห์ ผ่านช่องทาง Electronic Banking บนระบบหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ ซึ่งเป็นบริการที่มีความปลอดภ้ยตามมาตรฐานสากล สามารถทำธุรกรรมได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนั้นธนาคารกรุงไทยได้พัฒนาเพิ่มเติมในส่วนของการเชื่อมต่อข้อมูลการชำระเงินสงเคราะห์กับ NSW ของกรมศุลกากร เพื่อให้กระบวนการดำเนินธุรกรรมชำระเงินสงเคราะห์ของผู้ส่งออกยางตั้งแต่เริ่มต้นจนจบขั้นตอนอยู่ในรูปแบบไร้เอกสารอย่างสมบูรณ์ ตั้งแต่การยื่นคำขอชำระเงิน การคำนวณเงินสงเคราะห์ การหักบัญชีผู้ส่งออกยางเพื่อชำระเงินสงเคราะห์ ตลอดจนการออกเลขที่ใบรับเงินสงเคราะห์เพื่อบันทึกลงในใบขนสินค้าเพื่อดำเนินการพิธีการศุลกากรของผู้ส่งออกยาง ช่วยลดกระบวนการทำงานทั้งระบบเพื่อแก้ปัญหาการทำงานซับซ้อนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนด้านเวลาและค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี และช่องทางดังกล่าวจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ธนาคารมุ่งมั่นในการพัฒนาเพื่อให้สามารถสนองตอบการเชื่อมต่อระบบเศรษฐกิจในระดับอาเซียน 
            นอกจากนั้น ธนาคารกรุงไทยได้เปิดให้บริการรับชำระเงินสงเคราะห์ผ่านช่องทางอื่นๆ คือ เคาน์เตอร์ธนาคาร และ Internet Banking (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) รวมถึงให้บริการรับชำระเงินสงเคราะห์ด้วยบัตร KTB e-Logistics Card ผ่านเครื่อง EDC ที่สำนักงานของ สกย. อีกด้วย  ซึ่งทั้ง 3 ช่องทางในการให้บริการ สกย. มีความประสงค์ให้เป็นทางเลือกแก่ผู้ประกอบการในการชำระเงินสงเคราะห์แก่ สกย. เพื่ออำนวยความสะดวก และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยปัจจุบัน สกย. ใช้บริการกับธนาคารกรุงไทยเป็นแห่งแรกและแห่งเดียว ธนาคารกรุงไทยขอให้คำมั่นว่า จะมุ่งมั่นพัฒนาระบบงานการทำธุรกรรมทางการเงินเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ สกย. และ ผู้ประกอบการส่งออกยางให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องตลอดไป คุณศรีประภา กล่าวทิ้งท้าย

            
  ด้านคุณวีระชัย  อมรรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจการค้าต่างประเทศ และธุรกิจหลักทรัพย์ ทีเอ็มบี กล่าวว่า จากแนวคิด Make THE Difference  ที่เป็นหลักในการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินของทีเอ็มบี เพื่อตอบโจทย์ให้กับลูกค้าทั้งลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจ ปัจจุบัน ธนาคารได้ก้าวมาสู่จุดของการมอบอำนาจทางการเงินให้กับลูกค้า (Empowering Business Customers)  ซึ่งหมายถึงธนาคารได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าได้รับความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยที่ลูกค้าสามารถเลือกผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ให้ธุรกิจของตนได้ด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ทั่วไป  เช่นเดียวกับบริการรับชำระเงินค่าธรรมเนียมการส่งยางออกนอกราชอาณาจักรทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Cess ซึ่งทีเอ็มบีเป็นแห่งแรกที่ได้ทำการศึกษาและพัฒนาโดยความร่วมมืออย่างดียิ่งของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และกรมศุลากากร เพื่อให้บริการ E-Cess ผ่านระบบ NSW ซึ่งทีเอ็มบีมีความมั่นใจว่าจะสามารถเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย เป็นต้นไป บริการดังกล่าวนี้เป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ส่งออกยางนอกราชอาณาจักร เพราะจะทำให้ผู้ส่งออกยางได้รับความสะดวก  รวดเร็ว ช่วยลดการจัดการด้านเอกสารและลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำป็นลง ธนาคารจะรับชำระค่าธรรมเนียมหรือที่เรียกว่าเงินสงเคราะห์โดยการหักเงินจากบัญชีของผู้ส่งออกยางผ่านระบบหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติของธนาคารในเวลาทำการปกติ หรือทำรายการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน และระบบจะนำเข้าบัญชีของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางต่อไป
            ความร่วมมือในครั้งนี้ นับว่าเป็นการพัฒนาด้านการบริการแบบบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้นำเข้า-ส่งออกยาง ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศให้มีความสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นการวางรากฐานทั้งเทคโนโลยี ระบบโลจิสติกส์ และการบริหาร เพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้





เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2555 สกย.เดินหน้าเป็นต้นแบบหน่วยงานรัฐแห่งแรก ทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับ 2 ธนาคารชั้นนำทั้งกรุงไทยและทีเอ็มบี นำนวัตกรรมการให้บริการรับชำระเงิน Cess ทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มช่องทางการชำระเงินแก่ผู้ส่งออกยางนอกราชอาณาจักรมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม โดยจะเปิดระบบอย่างเป็นทางการในต้นปี พ.ศ.2556 ตามโครงการพัฒนาระบบรับชำระเงินสงเคราะห์ทางอิเล็กทรอนิกส์และเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากรผ่านระบบ National Single Window (NSW) ย้ำ มั่นใจระบบนี้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ และช่วยลดต้นทุน เวลาแก่ผู้ประกอบการ ตลอดจนลดโลกร้อนจากระบบไร้กระดาษ
            นายวิทย์ ประทักษ์ใจ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง กล่าวว่า สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เป็นหน่วยงานหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า-ส่งออก โดยการจัดเก็บค่าธรรมเนียมส่งยางออกนอกราชอาณาจักร หรือที่เรียกกันว่าเงินสงเคราะห์ (Cess) ที่ผ่านมา (14 พฤษภาคม 2553) สกย.ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับกรมศุลกากร ในการดำเนินการจัดตั้ง National Single Window หรือ NSW โดยให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องด้านนำเข้า-ส่งออกทั้ง 36 หน่วยงาน ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลจากแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ.2550-2554 ในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ (e-logistics) เพื่อลดต้นทุนของผู้ประกอบการในการทำธุรกรรม และพัฒนาระบบให้เป็นศูนย์กลางสำหรับการให้บริการเพื่อการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ (Single Window Entry) ที่จะเชื่อมต่อไปยัง ASEAN Single Window (ASW) กับประเทศสมาชิกในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ต่อไป
            สกย.ในฐานะที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการจัดเก็บและออกใบรับเงินสงเคราะห์ จึงเร่งผลักดันและทำโครงการพัฒนาระบบรับชำระเงินสงเคราะห์ทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในการส่งยางออกนอกราชอาณาจักร โดยได้รับความร่วมมือจากธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ NSW ให้บริการรับหักเงินสงเคราะห์ทางอิเล็กทรอนิกส์ในครั้งนี้ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ และ ทีเอ็มบี ซึ่งกระทรวงการคลังถือหุ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ตามระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เข้าร่วมเป็นธนาคารรับชำระเงินสงเคราะห์ ในการเชื่อมโยงข้อมูล และแลกเปลี่ยนข้อมูลการชำระเงินสงเคราะห์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่าง สกย. –  ผู้ส่งยางออก หรือตัวแทนออกของ ธนาคาร ผ่านระบบ NSW ของกรมศุลกากร โดยระบบ NSW จะช่วยลดระยะเวลาในการเดินเอกสาร ลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรม และลดจำนวนเอกสารแบบฟอร์มที่ใช้เป็นระบบไร้กระดาษ (Paperless) ตลอดจน เป็นการเพิ่มศักยภาพในการจัดเก็บเงินสงเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ระบบการทำงานมีความรวดเร็วและป้องกันความผิดพลาดได้มากยิ่งขึ้น ตั้งแต่กระบวนการรับชำระเงินสงเคราะห์ กระบวนการตรวจสอบข้อมูลผู้ประกอบการยื่นผ่านระบบ เช่น ข้อมูลผู้ประกอบการ ข้อมูลยางพาราที่ต้องการส่งออก (ชนิดยาง น้ำหนัก พิกัดสินค้า) จำนวนเงินสงเคราะห์ที่ผู้ประกอบการต้องชำระ
            นายวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินการในระยะแรก สกย. จะสามารถเปิดให้บริการรับชำระเงินสงเคราะห์ทางอิเล็กทรอนิกส์ในเวลาราชการ โดยคาดว่าจะเปิดใช้ระบบอย่างเป็นทางการในต้นปี พ.ศ. 2556  ในระหว่างนี้ อยู่ในช่วงการทดสอบระบบการให้บริการ โดยมีบริษัทผู้ส่งออกยางพาราชั้นนำร่วมนำร่องทดสอบระบบ อาทิ บ.ไทยฮั้วยางพารา จำกัด (มหาชน) บ.สหพารารับเบอร์ จำกัด บ.โอเรียลตัล รับเบอร์ โปรดักส์ จำกัด และบ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) และในปีพ.ศ. 2557  สกย.ได้วางแผนจะเปิดให้บริการระบบตลอด 24 ชั่วโมง ทั้ง 7 วัน   
            ทั้งนี้ “สกย. ถือเป็นต้นแบบการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจรระหว่าง รัฐต่อรัฐ  รัฐต่อธุรกิจ  และธุรกิจต่อธุรกิจ ซึ่งเป็นองค์กรรัฐแห่งแรกที่ได้ดำเนินการตามหลักการของโครงการพัฒนาระบบรับชำระเงินสงเคราะห์ทางอิเล็กทรอนิกส์และเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ของกรมศุลกากรผ่านระบบ National Single Window (NSW)  ได้สำเร็จและเป็นรูปธรรม” นายวิทย์ กล่าวทิ้งท้าย

            คุณธีรินทร์  เต่าทอง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารกลุ่มรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และโครงการภาครัฐ บมจ.ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า ในฐานะผู้ให้บริการทางการเงินแก่องค์กรภาครัฐทั้งหน่วยงานราชการและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ มาเป็นระยะเวลานาน ความร่วมมือกับ สกย.ในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจที่ธนาคารได้รับความไว้วางใจจาก สกย.  ด้วยความมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการส่งออกยางตามวัตถุประสงค์ของ สกย. ด้วยการพัฒนาช่องทางรับชำระเงินสงเคราะห์ ผ่านช่องทาง Electronic Banking บนระบบหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ ซึ่งเป็นบริการที่มีความปลอดภ้ยตามมาตรฐานสากล สามารถทำธุรกรรมได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนั้นธนาคารกรุงไทยได้พัฒนาเพิ่มเติมในส่วนของการเชื่อมต่อข้อมูลการชำระเงินสงเคราะห์กับ NSW ของกรมศุลกากร เพื่อให้กระบวนการดำเนินธุรกรรมชำระเงินสงเคราะห์ของผู้ส่งออกยางตั้งแต่เริ่มต้นจนจบขั้นตอนอยู่ในรูปแบบไร้เอกสารอย่างสมบูรณ์ ตั้งแต่การยื่นคำขอชำระเงิน การคำนวณเงินสงเคราะห์ การหักบัญชีผู้ส่งออกยางเพื่อชำระเงินสงเคราะห์ ตลอดจนการออกเลขที่ใบรับเงินสงเคราะห์เพื่อบันทึกลงในใบขนสินค้าเพื่อดำเนินการพิธีการศุลกากรของผู้ส่งออกยาง ช่วยลดกระบวนการทำงานทั้งระบบเพื่อแก้ปัญหาการทำงานซับซ้อนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนด้านเวลาและค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี และช่องทางดังกล่าวจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ธนาคารมุ่งมั่นในการพัฒนาเพื่อให้สามารถสนองตอบการเชื่อมต่อระบบเศรษฐกิจในระดับอาเซียน 
            นอกจากนั้น ธนาคารกรุงไทยได้เปิดให้บริการรับชำระเงินสงเคราะห์ผ่านช่องทางอื่นๆ คือ เคาน์เตอร์ธนาคาร และ Internet Banking (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) รวมถึงให้บริการรับชำระเงินสงเคราะห์ด้วยบัตร KTB e-Logistics Card ผ่านเครื่อง EDC ที่สำนักงานของ สกย. อีกด้วย  ซึ่งทั้ง 3 ช่องทางในการให้บริการ สกย. มีความประสงค์ให้เป็นทางเลือกแก่ผู้ประกอบการในการชำระเงินสงเคราะห์แก่ สกย. เพื่ออำนวยความสะดวก และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยปัจจุบัน สกย. ใช้บริการกับธนาคารกรุงไทยเป็นแห่งแรกและแห่งเดียว ธนาคารกรุงไทยขอให้คำมั่นว่า จะมุ่งมั่นพัฒนาระบบงานการทำธุรกรรมทางการเงินเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ สกย. และ ผู้ประกอบการส่งออกยางให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องตลอดไป คุณศรีประภา กล่าวทิ้งท้าย

            
  ด้านคุณวีระชัย  อมรรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจการค้าต่างประเทศ และธุรกิจหลักทรัพย์ ทีเอ็มบี กล่าวว่า จากแนวคิด Make THE Difference  ที่เป็นหลักในการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินของทีเอ็มบี เพื่อตอบโจทย์ให้กับลูกค้าทั้งลูกค้ารายย่อยและลูกค้าธุรกิจ ปัจจุบัน ธนาคารได้ก้าวมาสู่จุดของการมอบอำนาจทางการเงินให้กับลูกค้า (Empowering Business Customers)  ซึ่งหมายถึงธนาคารได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าได้รับความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยที่ลูกค้าสามารถเลือกผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ให้ธุรกิจของตนได้ด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ทั่วไป  เช่นเดียวกับบริการรับชำระเงินค่าธรรมเนียมการส่งยางออกนอกราชอาณาจักรทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Cess ซึ่งทีเอ็มบีเป็นแห่งแรกที่ได้ทำการศึกษาและพัฒนาโดยความร่วมมืออย่างดียิ่งของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และกรมศุลากากร เพื่อให้บริการ E-Cess ผ่านระบบ NSW ซึ่งทีเอ็มบีมีความมั่นใจว่าจะสามารถเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย เป็นต้นไป บริการดังกล่าวนี้เป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ส่งออกยางนอกราชอาณาจักร เพราะจะทำให้ผู้ส่งออกยางได้รับความสะดวก  รวดเร็ว ช่วยลดการจัดการด้านเอกสารและลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำป็นลง ธนาคารจะรับชำระค่าธรรมเนียมหรือที่เรียกว่าเงินสงเคราะห์โดยการหักเงินจากบัญชีของผู้ส่งออกยางผ่านระบบหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติของธนาคารในเวลาทำการปกติ หรือทำรายการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน และระบบจะนำเข้าบัญชีของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางต่อไป
            ความร่วมมือในครั้งนี้ นับว่าเป็นการพัฒนาด้านการบริการแบบบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้นำเข้า-ส่งออกยาง ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศให้มีความสะดวก รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นการวางรากฐานทั้งเทคโนโลยี ระบบโลจิสติกส์ และการบริหาร เพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้

ระบบน้ำ และสับปะรด เทคนิคสู้แล้ง ของสวนยาง สามร้อยยอด

ระบบน้ำ และสับปะรด เทคนิคสู้แล้ง ของสวนยาง สามร้อยยอด


ภาพสวนยางปัจจุบัน แลดูร่มรื่นชุ่มชื้นกว่าสมัยทำไร่สับปะรด ว่ากันว่าถ้ามีการปลูกสร้างสวนยางมากๆ จะเป็นแม่เหล็กดูดความชื้นและฝน อากาศแล้งจัดอาจจะละลายหายไปจากพื้นที่แห่งนี้ก็เป็นได้

            “ทำไมประจวบฯ มันแล้งจริงๆ” เจ้าของสวนยางรายหนึ่งใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เคยรำพึงรำพันอย่างนี้ ซึ่งเป็นกระจกสะท้อนว่าที่นี่ประสบปัญหาเรื่องแล้ง...!!!
            คำถามก็คือแล้งๆ อย่างนี้แต่ทำไมสวนยางในจังหวัดที่ยาวและแคบที่สุดของประเทศจึงมีอัตราการขยายพื้นที่ปลูกอย่างรวดเร็ว...???
            หรือเกษตรกรที่นี่จะมีเทคนิคพิเศษปลูกสร้างสวนยางสู้ภัยแล้ง...!!!
            คำตอบก็คือ “ใช่” เกษตรกรที่นี่เขามีเทคนิคการสร้างสวนยางอย่างมีระบบเพื่อเอาชนะข้อจำกัดเรื่องภัยแล้งในพื้นที่ โดยเฉพาะในเขตสวนยางใหม่
            ตัวช่วยที่ถือเป็นพระเอกก็คือ ระบบน้ำ และสับปะรด...!!!
            วิธีการเขาทำกันอย่างไร ผู้เขียนมีตัวอย่างเทคนิคสู้ภัยแล้งจากเกษตรกร ในพื้นที่ อ.สามร้อยยอดมาให้ชม
           
พงศกร ปัญญาสร้างสรรค์ เจ้าของสวนยาง 250 ไร่ ใน อ.สามร้อยยอด ผู้เขียนเคยนำเสนอเทคนิคการสร้างสวนยางของเขาไปแล้ว (อ่านเทคนิคปลูกยางอินทรีย์ 250 ไร่ 4.5 ปีกรีด เตรียมโกยเงิน 75,000 บาท/วัน ฉบับ 9/1/2554) แม้จะเป็นชาวสวนยางมือใหม่ เพิ่มเปิดกรีดได้ประมาณ 2 ปีเท่านั้น แต่ด้วยการศึกษาเรื่องยางอย่างจริงจัง เขาจึงมีองค์ความรู้เกินประสบการณ์อย่างไม่น่าเชื่อ พิสูจน์ได้จากสภาพต้นยางและระบบการจัดการภายในสวน
พงศกร ปัญญาสร้างสรรค์ อดีตเจ้าของไร่สับปะรดและขนุนพันธุ์ทองสุขใจ 250 ไร่ 
แต่วันนี้พื้นที่ทั้งหมดแปรสภาพกลายเป็นสวนยางพาราทั้งหมด แต่แม้จะต้อง “ชก”
 กับสภาพอากาศแล้ง แต่เขาก็สามารถเอาชนะมันได้ ซึ่งมาจากการศึกษาและดูแลสวนยาง
อย่างเอาใจใส่ อย่าแปลกในที่องค์ความรู้เรื่องยางของเขาจะมากเกินประสบการณ์
            โดยเฉพาะเทคนิคเพื่อสู้กับข้อจำกัดของพื้นที่อย่างภัยแล้ง...!!!
            แต่ปัจจัยในการพิจารณาพื้นที่ปลูกยาง พงศกรให้ข้อมูลว่า ก่อนจะตัดสินใจปลูกต้องดูภาพรวมของสภาพพื้นที่ว่าดินมีความสมบูรณ์มากหรือน้อย ถ้าสมบูรณ์น้อยแต่พอจะฟื้นฟูดินได้หรือไม่ หรือดูง่ายๆ จากพืชหลักที่เคยปลูกอยู่ก่อนอย่าง สับปะรด ถ้าปลูกสับปะรดงาม ก็ปลูกยางได้แน่นอน
แต่หากพื้นที่ตรงไหนที่ปลูกสับปะรดได้ผลผลิตน้อยไม่งาม ก็ไม่ควรปลูกยาง เพราะต่อให้ต้นยางรอด ผลผลิตก็ได้น้อยอยู่ดี

ระบบน้ำคือหัวใจ สู้ภัยแล้งในสวนยาง
นับตั้งแต่พงศกรตัดสินใจโค่นสวนขนุน 200 ไร่ และพื้นที่ปลูกสับปะรดบางส่วนเพื่อสร้างสวนยางเมื่อ 5-6 ปีก่อน สิ่งแรกที่เขาทำคือการขุดสระกักเก็บน้ำขึ้นภายในพื้นที่ที่ 2 บ่อ ขนาด 1 ไร่(บ่อน้ำซึม) และ 10 ไร่ (บ่อน้ำฝน) เพื่อใช้ในสวนยางในช่องที่อากาศแล้งยาวๆ
แต่วันนี้สวนยาง 250 ไร่ ได้วางระบบน้ำไว้โดยรอบด้วยระบบสปริงเกลอร์ วิธีการคือ สูบน้ำจากบ่อ 10 ไร่ ซึ่งอยู่ในจุดที่ต่ำที่สุดของสวน ขึ้นมาบนเนินเขาเหนือสวนระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร แล้วปล่อยให้น้ำไหลตามแรงโน้มถ่วง โดยไม่ต้องมีแทงก์เก็บ น้ำจะไหลลงมาด้านล่างรดต้นยางตามธรรมชาติ เป็นเทคนิคที่ช่วยในการประหยัดน้ำมันปั่นเครื่องสูบน้ำได้อีกทางหนึ่ง ส่วนสวนยางที่อยู่ในพื้นที่ราบก็ใช้เครื่องสูบน้ำรดผ่านระบบสปริงเกลอร์ธรรมดา แต่เขาก็ต้องลงทุนระบบน้ำไปหลักล้านบาท
เทคนิคการให้น้ำแบบประหยัดน้ำมันของพงศกรคือ
 การสูบน้ำจากบ่อด้านล้างขึ้นตามท่อมาบริเวณเชิงเขา 
จากนั้นจะปล่อยให้น้ำไหลตามท่อน้ำลงไปลดต้นยางด้านล่าง

ช่วงเวลาของการให้น้ำสวนยางพงศกรให้ข้อมูลว่า จะให้ช่วงระหว่างฝนชุดที่ 1 กับชุดที่ 2 โดยพิจารณาว่าถ้าหมดฝนชุดที่ 1 แล้วความชื้นเริ่มจะน้อยลง แต่ฝนชุดที่ 2 ไม่มาสักที ก็ให้น้ำเพิ่มกับต้นยางเพื่อรอฝนชุดที่ 2 ทำให้น้ำปริมาณน้ำยางค่อนข้างนิ่ง แม้จะเผชิญอากาศแล้งก็ตาม
การวางระบบน้ำยังทำให้การจัดการสวนยางทำได้ง่าย โดยเฉพาะการให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำได้ด้วยในช่วงแล้งก่อนเปิดกรีด  โดยไม่ต้องใช้แรงงานมาก และยังใช้ยาฆ่าหญ้าในขั้นตอนนี้ได้ด้วย เรียกได้ว่ารดน้ำครั้งเดียวทำให้ทั้งให้น้ำ ให้ปุ๋ย และกำจัดวัชพืชในครั้งเดียว
เจ้าของสวนยาง 250 ไร่ อธิบายรายละเอียดเรื่องนี้ว่า ระบบน้ำในสวนยางจะมี 2 ระบบ คือ หัวสปริงเกลอร์ยิงไกล และสปริงเกลอร์แบบปีกผีเสื้อ ระบบหลังนี่แหละที่เข้าใช้ในสวนยางเปิดกรีด ซึ่งสปริงเกลอร์จะวางไว้ตรงกลางระหว่างแถวยาง รัศมีของน้ำจะไปไม่ถึงโคนต้นยาง ทำให้สามารถเดินทำงานได้ไม่เฉอะแฉะ และเชื้อราจากน้ำก็ไม่เกิดกับต้นยาง
ระบบน้ำสปริงเกลอร์แบบยิงไกล 3-5 เมตร 
เป็นระบบหนึ่งที่พงศกรใช้ให้น้ำในสวนยางอายุ 2-3 ปี 
ในช่วงหน้าแล้งหรือฝนทิ้งช่วงยาว

“การให้ปุ๋ยอย่างช่วงต้นฝนเราต้องการคอนโทรลให้ต้นยางแตกใบ ไม่ออกดอก ก็ใช้ปุ๋ย 46-0-0 ผสมเข้าไปกับระบบน้ำ แต่ก่อนหน้านั้นต้องอัดน้ำให้ชุ่มให้รากฝอยเริ่มแตกสมบูรณ์ เพราะธรรมชาติของต้นยางเมื่อแล้งต้นจะคิดว่าอาจจะตายจึงพยายามจะขยายพันธุ์จึงออกดอกออกลูก บางทีไม่มีใบ แตกช่อดอกเลย เพราะฉะนั้นก่อนที่ต้นยางจะแตกดอกเราต้องรีบอัดยูเรีย ต้นยางจะแตกใบ และใบชุดนี้จะไม่เจอฝนกรดให้เสียหาย และสามารถเปิดกรีดได้ก่อน”
ในทุกครั้งที่มีการให้น้ำต้นยางเขาจะผสมปุ๋ยน้ำหมักหอยเชอรี่ที่หมักกับ สารพด.2 ด้วยทุกครั้ง เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้ต้นยางอีกทาง และยังใช้ยาฆ่าหญ่าในกลุ่มพาราคว็อต (กรัมม็อกโซน) พร้อมกันได้ ซึ่งเขาบอกว่าปุ๋ยหมักเป็นตัวเพิ่มประสิทธิภาพให้ยาฆ่าหญ้าทำงานได้ดีขึ้น
“การผสมยาฆ่าหญ้าโดยทั่วไปจะใส่ 3-4 ลิตร/น้ำ 1,000 ลิตร แต่ของผมจะใส่แค่ลิตรครึ่ง แต่เราบวกหอยเชอรี่หมักไป 1 แกลลอน ตัวหอยเชอรี่หมักจะไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยาฆ่าหญ้ามากยิ่งขึ้น เหมือนหญ้าเปิดปากใบที่จะรับปุ๋ยหมัก แต่ดันไปโดนยาฆ่าหญ้า ซึ่งยาฆ่าหญ้าจะไม่มีปัญหากับรากยาง เพราะพาราควอต พอตกลงดินก็หมดฤทธิ์ เพราะเป็นยาประเภทเผาไหม้ ไม่ใช่ยาดูดซึม”

สับปะรด พืชตัวเด่น ช่วยควบคุมความชื้น และเป็นปุ๋ยให้สวนยาง
เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วกันแล้วว่าสับปะรดเป็นพืชแซมที่ดีในสวนยางในช่วงปลูกยางใหม่
แต่อายุของสับปะรดจะอยู่ได้ประมาณ 3-4 ปี ต้นก็จะเริ่มหมดอายุ ขณะเดียวกันต้นยางก็เริ่มโตจนสับปะรดถูกบดบังแสง ช่วงนี้เกษตรกรส่วนใหญ่จะไม่สนใจจะปล่อยทิ้งเพราะสับปะรดไม่ได้ผลผลิต อาจจะปั่นทิ้งให้เป็นปุ๋ยในสวนยาง
ภาพนี้เป็นเทคนิคการปลูกสับปะรดรุ่น 2 ในสวนยางอายุ 3-4 ปี จะเห็นว่าสับปะรดเป็นตัวรักษาความชื้นในดิน ขณะที่ซากสับปะรดก็ย่อยเป็นอินทรียวัตถุบำรุงดินและเป็นอาหารต้นยางไปในตัว


“ช่วงรอยต่อนี้สำคัญ” พงศกรบอกอย่างนั้น พร้อมขยายความว่า เมื่อสับปะรดหมดอายุต้นยางจะอายุประมาณ 3-4 ปี เหลือ 2-3 ปี จึงจะเปิดกรีดได้
ช่วงนี้เกษตรกรมักจะปล่อยทิ้งไม่ได้มาดูแลพัฒนาสวนยางเหมือนตอนที่มีสับปะรดอยู่ วัชพืชขึ้น ต้นยางทรุดโทรม ดินตาย ยิ่งถ้าเจออากาศแล้งด้วยแล้ว ต้นยางก็อาจตายได้
วิธีการของสวนแห่งนี้คือ ต่อยอดช่องว่างนี้ด้วยวิธีปลูกสับปะรดใหม่อีกรุ่น แต่ปลูกให้ห่างขึ้น จาก 5 แถว เหลือเพียง 3 แถว เพื่อคลุมความชื้นหน้าดินในสวนยาง ส่วนซากสับปะรดที่เหลือก็ปล่อยให้ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยบริเวณรอบๆ ต้น แต่ต้องไม่ทับถมกันแน่นจนเกิดกรดแก๊ส ต้นสับปะรดก็จะค่อยๆ ย่อยสลายไปเอง ในขณะเดียวกันยังสามารถเก็บความชื้นให้กับหน้าดินได้ และไม่มีวัชพืชขึ้น
“ตรงนี้เราไม่ได้หวังเอาผลผลิตจากสับปะรด แต่ต้องการรักษาความชื้น บำรุงดินและเพิ่มอาหารให้ต้นยาง ซากสับปะรดเราก็เร่งการย่อยโดยใช้ปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์รด ในขณะเดียวกันก็ไม่มีวัชพืชเกิด ดินดีขึ้น ดินนุ่มขึ้น มีที่อยู่อาศัยของรากฝอย
“ประเด็นหลักคือทำอย่างไรก็แล้วแต่ ให้มีพืชคลุมดินให้เยอะที่สุดเพราะบ้านเรามันแล้ง ความชื้นน้อย พอฝนตกหรือรดน้ำก็จะเก็บความชื้นไว้ได้นาน แต่ถ้าเราปล่อยโล่งๆ รดวันนี้พรุ่งนี้ก็แห้ง ไม่มีประโยชน์ กลับกับทางภาคใต้ต้องปล่อยให้โล่งเตียน เพื่อไม่ให้มีความชื้นจนเกิดไป เพราะมีความชื้นตลอด แต่ของเราต้องช่วยสะสมความชื้น”
ระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์วางตรงกลางร่องยาง ใช้ให้น้ำในช่วงรอยต่อระหว่างฝนชุดแรกกับชุดสอง ข้อดีนอกจากจะทำให้ต้นยางให้น้ำยางคงที่แล้ว เขายังให้ปุ๋ยทั้งเคมีและอินทรีย์ รวมทั้งยาฆ่าหญ้าไปพร้อมๆ กันเลย

เปิดกรีดต้นยางไม่ถึง 50 ซ.ม.แต่มีเทคนิคไม่ให้กระทบต้นยาง
ส่วนการเริ่มต้นเปิดกรีดพงศกรย้อนให้ฟังว่า การเปิดกรีดของพื้นที่นี้จะยึดเอาตามหลักของกรมวิชาการไม่ได้...!!!
 เพราะหากจะรอให้ต้นยางเส้นรอบวง 50 ซ.ม. สภาพอากาศแล้งๆ ในโซนนี้ทำให้ต้นยางโตช้า “ถ้าทำตามกรมวิชาการเกษตร รอ 8 ปีก็ไม่ได้ ที่นี่ฝนตก 4-6 เดือน ที่เหลือไม่มีฝนเลย ถ้าดูแลไม่ดีรากก็ไม่เดิน โตก็ไม่โต
“เมื่ออายุมันถึงแล้วท่อน้ำยางเปิดแล้ว แต่ขนาดลำต้นมันไม่ใหญ่เท่าที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด เราก็กรีดได้ วิธีการคือ แบ่งเป็น 3 ส่วน ช่วงที่กรีดหน้าแรก หน้าที่เหลือก็ได้เจริญเติบโตไปด้วย”
เมื่อเริ่มเปิดกรีดต้องพิจารณาว่าปริมาณน้ำยางขนาดไหน จึงจะเริ่มทำยางแผ่นได้ เขาแนะนำว่าน้ำยางต้องได้ค่าเฉลี่ย 50 ซีซี/ถ้วยจึงจะทำยางแผ่นได้  ซึ่งคำนวณจาก 70 ต้น/ไร่ ถ้าได้ต้นละ 50 ซีซี ก็จะได้น้ำยาง 3.5 ลิตร/ไร่ สามารถทำยางแผ่นได้ 1 แผ่น
การสร้างแรงงานกรีดยางเป็นงานหนึ่งที่สวนนี้ให้ความสำคัญ เพราะเป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือ ร่องรอยในภาพฟ้องได้อย่างดีว่ามีการตรวจสอบการกรีดอย่างละเอียด เพื่อให้การกรีดมีคุณภาพมากที่สุด ซึ่งจะมีผลต่อต้นยางในระยะสั้นและระยะยาว

พัฒนาฝีมือแรงงาน สร้างสวนยางเชิงคุณภาพ
ปัญหาแรงงานเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มีสำคัญในพื้นที่สวนยางใหม่ เพราะสวนยางใหม่น้ำยางย่อมน้อย ยิ่งมาเจออากาศแล้งน้ำยางจะลด เมื่อแบ่งผลประโยชน์แล้วปรากฏว่าคนงานอาจจะได้ผลตอบแทนน้อย และอยู่ไม่ได้ต้องไปหาพื้นที่อื่น
แต่ในส่วนของพงศกรเขาใช้วิธีปั้นแรงงานฝีมือของเขาเอง “ผมพยายามให้ลูกน้องกรีดยางฝีมือ เพราะต้องการสร้างแรงงานรองรับในสวน เพราะสวนยางมีปัญหาเรื่องแรงงานมาก เนื่องจากพื้นที่นี้เป็นสวนยางใหม่ ต้นยางอายุยังน้อย เฉลี่ยได้น้ำยาง 1 แผ่น หรือ 1.5 แผ่น/ไร่ น้ำยางยังน้อยเพราะสภาพอากาศและความชื้นน้อย ระยะเวลากรีดอยู่ที่ 6-8 เดือน ถ้าเราไม่เตรียมการวางแผนที่ดีจำทำให้เสียโอกาส เมื่อน้ำยางน้อยแรงงานก็จะอยู่ไม่ได้ ไม่เหมือนอยู่ทางใต้ที่ทุกอย่างเอื้ออำนวย
“แต่มีอยู่ที่นี่น้ำยางได้น้อย ส่วนแบ่งก็ได้น้อย ไหนจะต้องลงทุนปุ๋ยและอุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกับเถ้าแก่ ต้นทุนเขาสูงขึ้นแรงงานก็จะหนี ผมก็คิดว่าตราบใดที่ไม่ได้ยาง 3 แผ่น/ไร่ ผมจะไม่จ้างแรงงาน เพราะถ้าจ้างก็จะเจอสภาพแบบนี้ คนงานอยู่ไม่ได้ ที่อยู่ได้จริงๆ คือพวกมือใหม่ ตอนนี้เราจึงต้องสร้างคนของเราเอง ให้อายุต้นยางสัก 10 ปี ก็น่าจะจ้างได้”
สับปะรดกลายเป็นพระเอกประจำสวนยางของสามร้อยยอด สร้างรายได้เสริมในช่วงที่ยางยังไม่ให้ผลผลิตอย่างน้อยๆ ก็ไร่ละ 30,000 บาท เป็นพืชคลุมดินรักษาความชื้นหน้าแล้ง ช่วยไม่ให้หญ้าขึ้นในสวนยาง เมื่อย่อยสลายก็กลายเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดินและบำรุงต้นยาง นี่แหละพระเอกตัวจริง


พงศกรจะนำคนงานเก่าที่เคยทำงานในสวนขนุนและสับปะรดของเขามาฝึกและพัฒนาฝีมืองานสวนยาง จากเดิมคนงานเหล่านี้สับปะรดได้วันละ 200 บาท เมื่อนำมาฝึกก็คัดเลือกว่าคนไหนที่มีทักษะมากรีดยางและให้เขากรีดอย่างเดียว ส่วนคนที่ไม่มีฝีมือให้ทำงานเก็บน้ำยางและทำยางแผ่น ตอนบ่ายจัดการสวนยาง
“เพราะงานกรีดยางหาคนมีฝีมือยาก เราต้องให้เขากรีดยางโดยเฉพาะ ถ้ากรีดเก่งๆ ให้ 400 บาท/วัน ส่วนแรงงานเก็บและทำยางแผ่นวันละ 300 บาท 1 ครอบครัวก็ 700 บาท/วัน และเมื่อถึงวันที่น้ำยางมีปริมาณมากพอที่จะจ้างแรงงานถาวรเราก็ให้โอกาสเขาว่าจะทำระบบสัดส่วนหรือรายวัน”

ทำสวนยางให้ประสบความสำเร็จ เจ้าของสวนต้องลงมาลุยเอง
เจ้าของสวนต้องทำตัวเหมือนเจ้าของไร่สับปะรด” เจ้าของสวนยาง 250 ไร่ แนะนำ ก่อนจะขยายความหมาย ว่า เจ้าของสวนยางจะประสบความสำเร็จได้ต้องรู้วิธีการทุกอย่าง และต้องเป็นคนวางงานในสวนยาง
“เวลานี้เจ้าของสวนเหนื่อยท้อที่จะหาคนงานจึงใช้วิธีผูกมัดคนงาน ให้เขารับเหมาจัดการสวนยางไปเต็ม แต่แบ่งผลตอบแทนระบบสัดส่วน ขออย่างเดียวรู้ว่าได้กี่แผ่นเท่านั้นเอง ระบบนี้เป็นความคิดที่ผิด เพราะแรงงานที่มากรีดยางให้เราเขาจะเก็บแต่ผลประโยชน์อย่างเดียว ไม่มีการบำรุงดูแลสวนยาง เพราะเราไม่ได้วางแผนงานให้เขา
“แต่ของผมมีคนงานที่เขาปลูกมากับมือ เห็นคุณค่าของต้นยาง เราจ้างเขาตั้งแต่ปลูกถึงตอนกรีดและเราก็สอนเขา เขาจะรักต้นยางมากกว่าคนงานที่มาจากที่อื่น และถ้าการบริหารจัดการไม่ดีไม่มีการแบ่งคนงานทำหน้าที่ ให้เขารับผิดชอบทั้งหมด กรีดยาง เก็บน้ำยาง ทำยางแผ่น เสร็จก็เหนื่อยไม่มีแรงจะไปดูแลจัดการสวนยาง เมื่อธรรมชาติไม่เติมสวนยางก็เสียหายเพราะไม่ได้ดูแล”
สวนยางในยุคแรกๆ ของพงศกร ต้องเผชิญกับอากาศแล้งจัดมาหลายช่วง แต่ก็ผ่านมันมาได้ ด้วยการลงทุนวางระบบน้ำ และพืชแซมอย่างสับปะรด เป็นทั้งรายได้เสริม พืชคลุมดินรักษาความชื้น และเมื่อหมดอายุก็ย่อยสลายกลางเป็นอาหาร

“ถ้าให้ประสบความสำเร็จเจ้าของสวนต้องเข้ามาควบคุมดูแลจัดการอย่างมีระบบ ไม่ใช้ให้คนงานรับผิดชอบทั้งหมด สุดท้ายผลผลิตไม่ดีเขาก็ย้ายสวน ยิ่งถ้าเจ้าของสวนก็ทำไม่เป็นก็จบ” พงศกรย้ำ

สรุปเทคนิคการสร้างสวนยางในพื้นที่แล้ง
            1. ก่อนปลูกตัดสินใจปลูกต้องพิจารณาความสมบูรณ์ของพื้นที่ว่ามากหรือน้อย และพอฟื้นฟูดินได้หรือไม่ โดยดูจากพืชหลักที่เคยปลูกเช่น สับปะรด เป็นต้น
            2. ต้องมีแหล่งน้ำ ในช่วงหน้าแล้ง “เราไม่ได้หวังว่าจะรถให้ชุ่มเหมือนฝนตก อาศัยแค่ประคองในช่วงที่แล้งจัดๆ หรือในช่วงที่เราต้องการความชื้นเพื่อให้ปุ๋ย เพื่อให้ต้นยางดูดปุ๋ยไปเลี้ยงต้นได้ หรือในช่วงเปิดกรีดแล้วเกิดแล้ว ปริมาณน้ำยางเริ่มลด ถ้าเราปล่อยไว้เดี๋ยวใบร่วง เราก็ต้องมีน้ำให้ช่วงนี้เพื่อรอฝนชุดใหม่ ปริมาณผลผลิตจะคงที่”
            น้ำยังช่วยให้ต้นยางแตกใบอ่อนก่อน สามารถเปิดกรีดได้ก่อน และยืดเวลาการกรีดจาก 8 เดือน เป็น 10 เดือน/ปีได้
3. หาเทคนิควิธีรักษาความชื้นในสวนยางให้นานที่สุด ทีเด็ดก็คือสับปะรด
           
ขอขอบคุณ
พงศกร ปัญญาสร้างสรรค์
 ต.ไร่เก่า อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ โทรศัพท์ 08-6168-3939


วางระบบน้ำแบบน้ำหยดในช่วงยางเล็ก

สภาพความสมบูรณ์ของดินในสวนยางของพงศกร ที่เกิดจาการดูแลเป็นอย่างดี โดยมีปุ๋ยพืชสดจากสับปะรดที่เกิดการย่อยสลาย ใส่ปุ๋ยคอก ดินจึ่งนุ่มรากฝอยยางเดินสะดวก ต้นยองของเขาจึงสมบูรณ์แม้อากาศจะแล้งก็ตาม

ภาพนี้เป็นเทคนิคการปลูกสับปะรดรุ่น 2 ในสวนยางอายุ 3-4 ปี จะเห็นว่าสับปะรดเป็นตัวรักษาความชื้นในดิน ขณะที่ซากสับปะรดก็ย่อยเป็นอินทรียวัตถุบำรุงดินและเป็นอาหารต้นยางไปในตัว


สวนยางบนเนื้อที่ 250 ไร่ อายุระหว่าง 4-7 ปี อดีตพื้นที่ตรงนี้คือ ไร่สับปะรดและขนุนตามลำดับ เจ้าของสวนบกว่ายางคือพืชตัวสุดท้ายของที่นี่ เพราะให้ผลผลิตสูงกว่าพืชทุกตัวที่เคยทำมา “ยางก็โลละ 50 บาทผมก็ยังอยู่ได้” พงศกรบอกอย่างนั้น

เครื่องยนต์สำหรับสูบน้ำจากบ่อพื้นที่ 10 ไร่ เพื่อนำไปใช้รดน้ำสวนยางในช่วงอากาศร้อน และฝนทิ้งช่วง 

ภาพสวนยางในช่วงที่เพิ่งปลูกยางใหม่ เขาบอกว่าถ้าลองปล่อยให้เป็นพื้นที่ว่างๆ อย่างนี้ ถ้าเจอภาวะแล้งยาวๆ มีหวังต้นยางไม่รอดแน่ ทางแก้ก็คือ ปลูกสับปะรดเป็นพืชคลุมดิน

บ่อน้ำขนาด 10 ไร่ มีน้ำตลอดทั้งปี 
จาก "ยางเศรษฐกิจ" ฉบับที่ 17 ประจำเดือนสิงหาคม 2555

ภาพสวนยางปัจจุบัน แลดูร่มรื่นชุ่มชื้นกว่าสมัยทำไร่สับปะรด ว่ากันว่าถ้ามีการปลูกสร้างสวนยางมากๆ จะเป็นแม่เหล็กดูดความชื้นและฝน อากาศแล้งจัดอาจจะละลายหายไปจากพื้นที่แห่งนี้ก็เป็นได้

            “ทำไมประจวบฯ มันแล้งจริงๆ” เจ้าของสวนยางรายหนึ่งใน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เคยรำพึงรำพันอย่างนี้ ซึ่งเป็นกระจกสะท้อนว่าที่นี่ประสบปัญหาเรื่องแล้ง...!!!
            คำถามก็คือแล้งๆ อย่างนี้แต่ทำไมสวนยางในจังหวัดที่ยาวและแคบที่สุดของประเทศจึงมีอัตราการขยายพื้นที่ปลูกอย่างรวดเร็ว...???
            หรือเกษตรกรที่นี่จะมีเทคนิคพิเศษปลูกสร้างสวนยางสู้ภัยแล้ง...!!!
            คำตอบก็คือ “ใช่” เกษตรกรที่นี่เขามีเทคนิคการสร้างสวนยางอย่างมีระบบเพื่อเอาชนะข้อจำกัดเรื่องภัยแล้งในพื้นที่ โดยเฉพาะในเขตสวนยางใหม่
            ตัวช่วยที่ถือเป็นพระเอกก็คือ ระบบน้ำ และสับปะรด...!!!
            วิธีการเขาทำกันอย่างไร ผู้เขียนมีตัวอย่างเทคนิคสู้ภัยแล้งจากเกษตรกร ในพื้นที่ อ.สามร้อยยอดมาให้ชม
           
พงศกร ปัญญาสร้างสรรค์ เจ้าของสวนยาง 250 ไร่ ใน อ.สามร้อยยอด ผู้เขียนเคยนำเสนอเทคนิคการสร้างสวนยางของเขาไปแล้ว (อ่านเทคนิคปลูกยางอินทรีย์ 250 ไร่ 4.5 ปีกรีด เตรียมโกยเงิน 75,000 บาท/วัน ฉบับ 9/1/2554) แม้จะเป็นชาวสวนยางมือใหม่ เพิ่มเปิดกรีดได้ประมาณ 2 ปีเท่านั้น แต่ด้วยการศึกษาเรื่องยางอย่างจริงจัง เขาจึงมีองค์ความรู้เกินประสบการณ์อย่างไม่น่าเชื่อ พิสูจน์ได้จากสภาพต้นยางและระบบการจัดการภายในสวน
พงศกร ปัญญาสร้างสรรค์ อดีตเจ้าของไร่สับปะรดและขนุนพันธุ์ทองสุขใจ 250 ไร่ 
แต่วันนี้พื้นที่ทั้งหมดแปรสภาพกลายเป็นสวนยางพาราทั้งหมด แต่แม้จะต้อง “ชก”
 กับสภาพอากาศแล้ง แต่เขาก็สามารถเอาชนะมันได้ ซึ่งมาจากการศึกษาและดูแลสวนยาง
อย่างเอาใจใส่ อย่าแปลกในที่องค์ความรู้เรื่องยางของเขาจะมากเกินประสบการณ์
            โดยเฉพาะเทคนิคเพื่อสู้กับข้อจำกัดของพื้นที่อย่างภัยแล้ง...!!!
            แต่ปัจจัยในการพิจารณาพื้นที่ปลูกยาง พงศกรให้ข้อมูลว่า ก่อนจะตัดสินใจปลูกต้องดูภาพรวมของสภาพพื้นที่ว่าดินมีความสมบูรณ์มากหรือน้อย ถ้าสมบูรณ์น้อยแต่พอจะฟื้นฟูดินได้หรือไม่ หรือดูง่ายๆ จากพืชหลักที่เคยปลูกอยู่ก่อนอย่าง สับปะรด ถ้าปลูกสับปะรดงาม ก็ปลูกยางได้แน่นอน
แต่หากพื้นที่ตรงไหนที่ปลูกสับปะรดได้ผลผลิตน้อยไม่งาม ก็ไม่ควรปลูกยาง เพราะต่อให้ต้นยางรอด ผลผลิตก็ได้น้อยอยู่ดี

ระบบน้ำคือหัวใจ สู้ภัยแล้งในสวนยาง
นับตั้งแต่พงศกรตัดสินใจโค่นสวนขนุน 200 ไร่ และพื้นที่ปลูกสับปะรดบางส่วนเพื่อสร้างสวนยางเมื่อ 5-6 ปีก่อน สิ่งแรกที่เขาทำคือการขุดสระกักเก็บน้ำขึ้นภายในพื้นที่ที่ 2 บ่อ ขนาด 1 ไร่(บ่อน้ำซึม) และ 10 ไร่ (บ่อน้ำฝน) เพื่อใช้ในสวนยางในช่องที่อากาศแล้งยาวๆ
แต่วันนี้สวนยาง 250 ไร่ ได้วางระบบน้ำไว้โดยรอบด้วยระบบสปริงเกลอร์ วิธีการคือ สูบน้ำจากบ่อ 10 ไร่ ซึ่งอยู่ในจุดที่ต่ำที่สุดของสวน ขึ้นมาบนเนินเขาเหนือสวนระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร แล้วปล่อยให้น้ำไหลตามแรงโน้มถ่วง โดยไม่ต้องมีแทงก์เก็บ น้ำจะไหลลงมาด้านล่างรดต้นยางตามธรรมชาติ เป็นเทคนิคที่ช่วยในการประหยัดน้ำมันปั่นเครื่องสูบน้ำได้อีกทางหนึ่ง ส่วนสวนยางที่อยู่ในพื้นที่ราบก็ใช้เครื่องสูบน้ำรดผ่านระบบสปริงเกลอร์ธรรมดา แต่เขาก็ต้องลงทุนระบบน้ำไปหลักล้านบาท
เทคนิคการให้น้ำแบบประหยัดน้ำมันของพงศกรคือ
 การสูบน้ำจากบ่อด้านล้างขึ้นตามท่อมาบริเวณเชิงเขา 
จากนั้นจะปล่อยให้น้ำไหลตามท่อน้ำลงไปลดต้นยางด้านล่าง

ช่วงเวลาของการให้น้ำสวนยางพงศกรให้ข้อมูลว่า จะให้ช่วงระหว่างฝนชุดที่ 1 กับชุดที่ 2 โดยพิจารณาว่าถ้าหมดฝนชุดที่ 1 แล้วความชื้นเริ่มจะน้อยลง แต่ฝนชุดที่ 2 ไม่มาสักที ก็ให้น้ำเพิ่มกับต้นยางเพื่อรอฝนชุดที่ 2 ทำให้น้ำปริมาณน้ำยางค่อนข้างนิ่ง แม้จะเผชิญอากาศแล้งก็ตาม
การวางระบบน้ำยังทำให้การจัดการสวนยางทำได้ง่าย โดยเฉพาะการให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำได้ด้วยในช่วงแล้งก่อนเปิดกรีด  โดยไม่ต้องใช้แรงงานมาก และยังใช้ยาฆ่าหญ้าในขั้นตอนนี้ได้ด้วย เรียกได้ว่ารดน้ำครั้งเดียวทำให้ทั้งให้น้ำ ให้ปุ๋ย และกำจัดวัชพืชในครั้งเดียว
เจ้าของสวนยาง 250 ไร่ อธิบายรายละเอียดเรื่องนี้ว่า ระบบน้ำในสวนยางจะมี 2 ระบบ คือ หัวสปริงเกลอร์ยิงไกล และสปริงเกลอร์แบบปีกผีเสื้อ ระบบหลังนี่แหละที่เข้าใช้ในสวนยางเปิดกรีด ซึ่งสปริงเกลอร์จะวางไว้ตรงกลางระหว่างแถวยาง รัศมีของน้ำจะไปไม่ถึงโคนต้นยาง ทำให้สามารถเดินทำงานได้ไม่เฉอะแฉะ และเชื้อราจากน้ำก็ไม่เกิดกับต้นยาง
ระบบน้ำสปริงเกลอร์แบบยิงไกล 3-5 เมตร 
เป็นระบบหนึ่งที่พงศกรใช้ให้น้ำในสวนยางอายุ 2-3 ปี 
ในช่วงหน้าแล้งหรือฝนทิ้งช่วงยาว

“การให้ปุ๋ยอย่างช่วงต้นฝนเราต้องการคอนโทรลให้ต้นยางแตกใบ ไม่ออกดอก ก็ใช้ปุ๋ย 46-0-0 ผสมเข้าไปกับระบบน้ำ แต่ก่อนหน้านั้นต้องอัดน้ำให้ชุ่มให้รากฝอยเริ่มแตกสมบูรณ์ เพราะธรรมชาติของต้นยางเมื่อแล้งต้นจะคิดว่าอาจจะตายจึงพยายามจะขยายพันธุ์จึงออกดอกออกลูก บางทีไม่มีใบ แตกช่อดอกเลย เพราะฉะนั้นก่อนที่ต้นยางจะแตกดอกเราต้องรีบอัดยูเรีย ต้นยางจะแตกใบ และใบชุดนี้จะไม่เจอฝนกรดให้เสียหาย และสามารถเปิดกรีดได้ก่อน”
ในทุกครั้งที่มีการให้น้ำต้นยางเขาจะผสมปุ๋ยน้ำหมักหอยเชอรี่ที่หมักกับ สารพด.2 ด้วยทุกครั้ง เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้ต้นยางอีกทาง และยังใช้ยาฆ่าหญ่าในกลุ่มพาราคว็อต (กรัมม็อกโซน) พร้อมกันได้ ซึ่งเขาบอกว่าปุ๋ยหมักเป็นตัวเพิ่มประสิทธิภาพให้ยาฆ่าหญ้าทำงานได้ดีขึ้น
“การผสมยาฆ่าหญ้าโดยทั่วไปจะใส่ 3-4 ลิตร/น้ำ 1,000 ลิตร แต่ของผมจะใส่แค่ลิตรครึ่ง แต่เราบวกหอยเชอรี่หมักไป 1 แกลลอน ตัวหอยเชอรี่หมักจะไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยาฆ่าหญ้ามากยิ่งขึ้น เหมือนหญ้าเปิดปากใบที่จะรับปุ๋ยหมัก แต่ดันไปโดนยาฆ่าหญ้า ซึ่งยาฆ่าหญ้าจะไม่มีปัญหากับรากยาง เพราะพาราควอต พอตกลงดินก็หมดฤทธิ์ เพราะเป็นยาประเภทเผาไหม้ ไม่ใช่ยาดูดซึม”

สับปะรด พืชตัวเด่น ช่วยควบคุมความชื้น และเป็นปุ๋ยให้สวนยาง
เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วกันแล้วว่าสับปะรดเป็นพืชแซมที่ดีในสวนยางในช่วงปลูกยางใหม่
แต่อายุของสับปะรดจะอยู่ได้ประมาณ 3-4 ปี ต้นก็จะเริ่มหมดอายุ ขณะเดียวกันต้นยางก็เริ่มโตจนสับปะรดถูกบดบังแสง ช่วงนี้เกษตรกรส่วนใหญ่จะไม่สนใจจะปล่อยทิ้งเพราะสับปะรดไม่ได้ผลผลิต อาจจะปั่นทิ้งให้เป็นปุ๋ยในสวนยาง
ภาพนี้เป็นเทคนิคการปลูกสับปะรดรุ่น 2 ในสวนยางอายุ 3-4 ปี จะเห็นว่าสับปะรดเป็นตัวรักษาความชื้นในดิน ขณะที่ซากสับปะรดก็ย่อยเป็นอินทรียวัตถุบำรุงดินและเป็นอาหารต้นยางไปในตัว


“ช่วงรอยต่อนี้สำคัญ” พงศกรบอกอย่างนั้น พร้อมขยายความว่า เมื่อสับปะรดหมดอายุต้นยางจะอายุประมาณ 3-4 ปี เหลือ 2-3 ปี จึงจะเปิดกรีดได้
ช่วงนี้เกษตรกรมักจะปล่อยทิ้งไม่ได้มาดูแลพัฒนาสวนยางเหมือนตอนที่มีสับปะรดอยู่ วัชพืชขึ้น ต้นยางทรุดโทรม ดินตาย ยิ่งถ้าเจออากาศแล้งด้วยแล้ว ต้นยางก็อาจตายได้
วิธีการของสวนแห่งนี้คือ ต่อยอดช่องว่างนี้ด้วยวิธีปลูกสับปะรดใหม่อีกรุ่น แต่ปลูกให้ห่างขึ้น จาก 5 แถว เหลือเพียง 3 แถว เพื่อคลุมความชื้นหน้าดินในสวนยาง ส่วนซากสับปะรดที่เหลือก็ปล่อยให้ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยบริเวณรอบๆ ต้น แต่ต้องไม่ทับถมกันแน่นจนเกิดกรดแก๊ส ต้นสับปะรดก็จะค่อยๆ ย่อยสลายไปเอง ในขณะเดียวกันยังสามารถเก็บความชื้นให้กับหน้าดินได้ และไม่มีวัชพืชขึ้น
“ตรงนี้เราไม่ได้หวังเอาผลผลิตจากสับปะรด แต่ต้องการรักษาความชื้น บำรุงดินและเพิ่มอาหารให้ต้นยาง ซากสับปะรดเราก็เร่งการย่อยโดยใช้ปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์รด ในขณะเดียวกันก็ไม่มีวัชพืชเกิด ดินดีขึ้น ดินนุ่มขึ้น มีที่อยู่อาศัยของรากฝอย
“ประเด็นหลักคือทำอย่างไรก็แล้วแต่ ให้มีพืชคลุมดินให้เยอะที่สุดเพราะบ้านเรามันแล้ง ความชื้นน้อย พอฝนตกหรือรดน้ำก็จะเก็บความชื้นไว้ได้นาน แต่ถ้าเราปล่อยโล่งๆ รดวันนี้พรุ่งนี้ก็แห้ง ไม่มีประโยชน์ กลับกับทางภาคใต้ต้องปล่อยให้โล่งเตียน เพื่อไม่ให้มีความชื้นจนเกิดไป เพราะมีความชื้นตลอด แต่ของเราต้องช่วยสะสมความชื้น”
ระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์วางตรงกลางร่องยาง ใช้ให้น้ำในช่วงรอยต่อระหว่างฝนชุดแรกกับชุดสอง ข้อดีนอกจากจะทำให้ต้นยางให้น้ำยางคงที่แล้ว เขายังให้ปุ๋ยทั้งเคมีและอินทรีย์ รวมทั้งยาฆ่าหญ้าไปพร้อมๆ กันเลย

เปิดกรีดต้นยางไม่ถึง 50 ซ.ม.แต่มีเทคนิคไม่ให้กระทบต้นยาง
ส่วนการเริ่มต้นเปิดกรีดพงศกรย้อนให้ฟังว่า การเปิดกรีดของพื้นที่นี้จะยึดเอาตามหลักของกรมวิชาการไม่ได้...!!!
 เพราะหากจะรอให้ต้นยางเส้นรอบวง 50 ซ.ม. สภาพอากาศแล้งๆ ในโซนนี้ทำให้ต้นยางโตช้า “ถ้าทำตามกรมวิชาการเกษตร รอ 8 ปีก็ไม่ได้ ที่นี่ฝนตก 4-6 เดือน ที่เหลือไม่มีฝนเลย ถ้าดูแลไม่ดีรากก็ไม่เดิน โตก็ไม่โต
“เมื่ออายุมันถึงแล้วท่อน้ำยางเปิดแล้ว แต่ขนาดลำต้นมันไม่ใหญ่เท่าที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด เราก็กรีดได้ วิธีการคือ แบ่งเป็น 3 ส่วน ช่วงที่กรีดหน้าแรก หน้าที่เหลือก็ได้เจริญเติบโตไปด้วย”
เมื่อเริ่มเปิดกรีดต้องพิจารณาว่าปริมาณน้ำยางขนาดไหน จึงจะเริ่มทำยางแผ่นได้ เขาแนะนำว่าน้ำยางต้องได้ค่าเฉลี่ย 50 ซีซี/ถ้วยจึงจะทำยางแผ่นได้  ซึ่งคำนวณจาก 70 ต้น/ไร่ ถ้าได้ต้นละ 50 ซีซี ก็จะได้น้ำยาง 3.5 ลิตร/ไร่ สามารถทำยางแผ่นได้ 1 แผ่น
การสร้างแรงงานกรีดยางเป็นงานหนึ่งที่สวนนี้ให้ความสำคัญ เพราะเป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือ ร่องรอยในภาพฟ้องได้อย่างดีว่ามีการตรวจสอบการกรีดอย่างละเอียด เพื่อให้การกรีดมีคุณภาพมากที่สุด ซึ่งจะมีผลต่อต้นยางในระยะสั้นและระยะยาว

พัฒนาฝีมือแรงงาน สร้างสวนยางเชิงคุณภาพ
ปัญหาแรงงานเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มีสำคัญในพื้นที่สวนยางใหม่ เพราะสวนยางใหม่น้ำยางย่อมน้อย ยิ่งมาเจออากาศแล้งน้ำยางจะลด เมื่อแบ่งผลประโยชน์แล้วปรากฏว่าคนงานอาจจะได้ผลตอบแทนน้อย และอยู่ไม่ได้ต้องไปหาพื้นที่อื่น
แต่ในส่วนของพงศกรเขาใช้วิธีปั้นแรงงานฝีมือของเขาเอง “ผมพยายามให้ลูกน้องกรีดยางฝีมือ เพราะต้องการสร้างแรงงานรองรับในสวน เพราะสวนยางมีปัญหาเรื่องแรงงานมาก เนื่องจากพื้นที่นี้เป็นสวนยางใหม่ ต้นยางอายุยังน้อย เฉลี่ยได้น้ำยาง 1 แผ่น หรือ 1.5 แผ่น/ไร่ น้ำยางยังน้อยเพราะสภาพอากาศและความชื้นน้อย ระยะเวลากรีดอยู่ที่ 6-8 เดือน ถ้าเราไม่เตรียมการวางแผนที่ดีจำทำให้เสียโอกาส เมื่อน้ำยางน้อยแรงงานก็จะอยู่ไม่ได้ ไม่เหมือนอยู่ทางใต้ที่ทุกอย่างเอื้ออำนวย
“แต่มีอยู่ที่นี่น้ำยางได้น้อย ส่วนแบ่งก็ได้น้อย ไหนจะต้องลงทุนปุ๋ยและอุปกรณ์ต่างๆ ร่วมกับเถ้าแก่ ต้นทุนเขาสูงขึ้นแรงงานก็จะหนี ผมก็คิดว่าตราบใดที่ไม่ได้ยาง 3 แผ่น/ไร่ ผมจะไม่จ้างแรงงาน เพราะถ้าจ้างก็จะเจอสภาพแบบนี้ คนงานอยู่ไม่ได้ ที่อยู่ได้จริงๆ คือพวกมือใหม่ ตอนนี้เราจึงต้องสร้างคนของเราเอง ให้อายุต้นยางสัก 10 ปี ก็น่าจะจ้างได้”
สับปะรดกลายเป็นพระเอกประจำสวนยางของสามร้อยยอด สร้างรายได้เสริมในช่วงที่ยางยังไม่ให้ผลผลิตอย่างน้อยๆ ก็ไร่ละ 30,000 บาท เป็นพืชคลุมดินรักษาความชื้นหน้าแล้ง ช่วยไม่ให้หญ้าขึ้นในสวนยาง เมื่อย่อยสลายก็กลายเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดินและบำรุงต้นยาง นี่แหละพระเอกตัวจริง


พงศกรจะนำคนงานเก่าที่เคยทำงานในสวนขนุนและสับปะรดของเขามาฝึกและพัฒนาฝีมืองานสวนยาง จากเดิมคนงานเหล่านี้สับปะรดได้วันละ 200 บาท เมื่อนำมาฝึกก็คัดเลือกว่าคนไหนที่มีทักษะมากรีดยางและให้เขากรีดอย่างเดียว ส่วนคนที่ไม่มีฝีมือให้ทำงานเก็บน้ำยางและทำยางแผ่น ตอนบ่ายจัดการสวนยาง
“เพราะงานกรีดยางหาคนมีฝีมือยาก เราต้องให้เขากรีดยางโดยเฉพาะ ถ้ากรีดเก่งๆ ให้ 400 บาท/วัน ส่วนแรงงานเก็บและทำยางแผ่นวันละ 300 บาท 1 ครอบครัวก็ 700 บาท/วัน และเมื่อถึงวันที่น้ำยางมีปริมาณมากพอที่จะจ้างแรงงานถาวรเราก็ให้โอกาสเขาว่าจะทำระบบสัดส่วนหรือรายวัน”

ทำสวนยางให้ประสบความสำเร็จ เจ้าของสวนต้องลงมาลุยเอง
เจ้าของสวนต้องทำตัวเหมือนเจ้าของไร่สับปะรด” เจ้าของสวนยาง 250 ไร่ แนะนำ ก่อนจะขยายความหมาย ว่า เจ้าของสวนยางจะประสบความสำเร็จได้ต้องรู้วิธีการทุกอย่าง และต้องเป็นคนวางงานในสวนยาง
“เวลานี้เจ้าของสวนเหนื่อยท้อที่จะหาคนงานจึงใช้วิธีผูกมัดคนงาน ให้เขารับเหมาจัดการสวนยางไปเต็ม แต่แบ่งผลตอบแทนระบบสัดส่วน ขออย่างเดียวรู้ว่าได้กี่แผ่นเท่านั้นเอง ระบบนี้เป็นความคิดที่ผิด เพราะแรงงานที่มากรีดยางให้เราเขาจะเก็บแต่ผลประโยชน์อย่างเดียว ไม่มีการบำรุงดูแลสวนยาง เพราะเราไม่ได้วางแผนงานให้เขา
“แต่ของผมมีคนงานที่เขาปลูกมากับมือ เห็นคุณค่าของต้นยาง เราจ้างเขาตั้งแต่ปลูกถึงตอนกรีดและเราก็สอนเขา เขาจะรักต้นยางมากกว่าคนงานที่มาจากที่อื่น และถ้าการบริหารจัดการไม่ดีไม่มีการแบ่งคนงานทำหน้าที่ ให้เขารับผิดชอบทั้งหมด กรีดยาง เก็บน้ำยาง ทำยางแผ่น เสร็จก็เหนื่อยไม่มีแรงจะไปดูแลจัดการสวนยาง เมื่อธรรมชาติไม่เติมสวนยางก็เสียหายเพราะไม่ได้ดูแล”
สวนยางในยุคแรกๆ ของพงศกร ต้องเผชิญกับอากาศแล้งจัดมาหลายช่วง แต่ก็ผ่านมันมาได้ ด้วยการลงทุนวางระบบน้ำ และพืชแซมอย่างสับปะรด เป็นทั้งรายได้เสริม พืชคลุมดินรักษาความชื้น และเมื่อหมดอายุก็ย่อยสลายกลางเป็นอาหาร

“ถ้าให้ประสบความสำเร็จเจ้าของสวนต้องเข้ามาควบคุมดูแลจัดการอย่างมีระบบ ไม่ใช้ให้คนงานรับผิดชอบทั้งหมด สุดท้ายผลผลิตไม่ดีเขาก็ย้ายสวน ยิ่งถ้าเจ้าของสวนก็ทำไม่เป็นก็จบ” พงศกรย้ำ

สรุปเทคนิคการสร้างสวนยางในพื้นที่แล้ง
            1. ก่อนปลูกตัดสินใจปลูกต้องพิจารณาความสมบูรณ์ของพื้นที่ว่ามากหรือน้อย และพอฟื้นฟูดินได้หรือไม่ โดยดูจากพืชหลักที่เคยปลูกเช่น สับปะรด เป็นต้น
            2. ต้องมีแหล่งน้ำ ในช่วงหน้าแล้ง “เราไม่ได้หวังว่าจะรถให้ชุ่มเหมือนฝนตก อาศัยแค่ประคองในช่วงที่แล้งจัดๆ หรือในช่วงที่เราต้องการความชื้นเพื่อให้ปุ๋ย เพื่อให้ต้นยางดูดปุ๋ยไปเลี้ยงต้นได้ หรือในช่วงเปิดกรีดแล้วเกิดแล้ว ปริมาณน้ำยางเริ่มลด ถ้าเราปล่อยไว้เดี๋ยวใบร่วง เราก็ต้องมีน้ำให้ช่วงนี้เพื่อรอฝนชุดใหม่ ปริมาณผลผลิตจะคงที่”
            น้ำยังช่วยให้ต้นยางแตกใบอ่อนก่อน สามารถเปิดกรีดได้ก่อน และยืดเวลาการกรีดจาก 8 เดือน เป็น 10 เดือน/ปีได้
3. หาเทคนิควิธีรักษาความชื้นในสวนยางให้นานที่สุด ทีเด็ดก็คือสับปะรด
           
ขอขอบคุณ
พงศกร ปัญญาสร้างสรรค์
 ต.ไร่เก่า อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ โทรศัพท์ 08-6168-3939


วางระบบน้ำแบบน้ำหยดในช่วงยางเล็ก

สภาพความสมบูรณ์ของดินในสวนยางของพงศกร ที่เกิดจาการดูแลเป็นอย่างดี โดยมีปุ๋ยพืชสดจากสับปะรดที่เกิดการย่อยสลาย ใส่ปุ๋ยคอก ดินจึ่งนุ่มรากฝอยยางเดินสะดวก ต้นยองของเขาจึงสมบูรณ์แม้อากาศจะแล้งก็ตาม

ภาพนี้เป็นเทคนิคการปลูกสับปะรดรุ่น 2 ในสวนยางอายุ 3-4 ปี จะเห็นว่าสับปะรดเป็นตัวรักษาความชื้นในดิน ขณะที่ซากสับปะรดก็ย่อยเป็นอินทรียวัตถุบำรุงดินและเป็นอาหารต้นยางไปในตัว


สวนยางบนเนื้อที่ 250 ไร่ อายุระหว่าง 4-7 ปี อดีตพื้นที่ตรงนี้คือ ไร่สับปะรดและขนุนตามลำดับ เจ้าของสวนบกว่ายางคือพืชตัวสุดท้ายของที่นี่ เพราะให้ผลผลิตสูงกว่าพืชทุกตัวที่เคยทำมา “ยางก็โลละ 50 บาทผมก็ยังอยู่ได้” พงศกรบอกอย่างนั้น

เครื่องยนต์สำหรับสูบน้ำจากบ่อพื้นที่ 10 ไร่ เพื่อนำไปใช้รดน้ำสวนยางในช่วงอากาศร้อน และฝนทิ้งช่วง 

ภาพสวนยางในช่วงที่เพิ่งปลูกยางใหม่ เขาบอกว่าถ้าลองปล่อยให้เป็นพื้นที่ว่างๆ อย่างนี้ ถ้าเจอภาวะแล้งยาวๆ มีหวังต้นยางไม่รอดแน่ ทางแก้ก็คือ ปลูกสับปะรดเป็นพืชคลุมดิน

บ่อน้ำขนาด 10 ไร่ มีน้ำตลอดทั้งปี 
จาก "ยางเศรษฐกิจ" ฉบับที่ 17 ประจำเดือนสิงหาคม 2555

ชาวสวนยางตราด ลงทุนเตารมควันไฮเทค ย่นเวลา ประหยัดพลังงาน 40% เพิ่มคุณภาพยางแผ่นรมควัน

ชาวสวนยางตราด ลงทุนเตารมควันไฮเทค ย่นเวลา ประหยัดพลังงาน 40% เพิ่มคุณภาพยางแผ่นรมควัน


2 กลุ่มสัจจะพัฒนายาง เมืองตราด ลงทุนเตารมควันไฮเทค
ย่นเวลา ประหยัดพลังงาน 40% เพิ่มคุณภาพยางแผ่นรมควัน

เรื่อง : พิมพ์ใจ พิสุทธิ์จริยานันท์
ระบบสายเดินท่อยาวคดเคี้ยวแปลกตานี้คือ นวัตกรรมแห่งเตารมควันประหยัดพลังงาน แม้การลงทุน/เตาจะสูงหลักแสนเฉียดล้านบาท แต่เมื่อมองกลับไปยังผลลัพธ์ กลุ่มสัจจะแห่งนี้วิเคราะห์แล้วว่าคุ้มค่า ท่อเหล่านี้ประกอบด้วยท่อปล่อยควันเข้าเตาด้านล่าง จากนั้นด้านบนจะมีพัดลมตัวดูดควันกลับออกมาตามท่อด้านบน เพื่อนำมาหมุนเวียนกลับเข้าระบบอีกครั้ง ควันที่ถูกปล่อยออกจึงมีน้อยมาก ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยในการประหยัดฟืน และพลังงานได้กว่า 40% และยังลดเวลาการรมควันได้ 1-2 วัน อีกทั้งยังระบบตัวกรองเขม่าควัน และสะเก็ดไฟ จึงทำให้ได้แผ่นยางสวยมีคุณภาพขายได้ราคาสูง

             เชื่อเหลือเกินว่ากลุ่มสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศที่ทำธุรกิจยางแผ่นรมควันกำลังประสบปัญหาเดียวกัน...!!!
นั่นคือ “ต้นทุนการผลิต” สูงขึ้น โดยเฉพาะเชื้อเพลิงหลักอย่างไม้ยางพารา ที่มีราคาสูงขึ้น อันเนื่องมาจากราคายางเพิ่มสูง การตัดโค่นยางจึงลดน้อยลง
อีกทั้งการผลิตยางแผ่นรมควันยังต้องใช้ “แรงงานฝีมือ” ที่มีประสบการณ์และความชำนาญ ซึ่งนับวันลดน้อยลด ขณะเดียวกับปริมาณผลผลิตน้ำยางสดที่เข้าโรงรมของสถาบันเกษตรกรบางแห่งก็เพิ่มสูงขึ้น จนเกินกำลังการผลิต แน่นอนว่าย่อมส่งผลตรงกับคุณภาพยางแผ่นรมควัน ผลิตได้เกรดต่ำ เกิดความเสียหายจนเกิดการขายทุน ปิดตัวเป็นตำนานไปในที่สุด
ตาระบบเดิม เพียงแค่ใช้ฟืนสุมเข้าไปในช่องเตาเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันกลุ่มยังใช้ในช่วงยางน้อยๆ อย่างช่วงหน้าฝน เป็นต้น แต่ภายในปีนี้จะปรับปรุงเป็นเตาระบบใหม่ทั้งหมด
แต่ปัจจุบันปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวได้ถูกกำจัดออกไปแล้ว ด้วย เตาอบยางแผ่นรมควันแบบประหยัดพลังงาน” ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
คุณสมบัติของเตาดังกล่าวมีดังนี้
 1.ความปลอดภัยในการใช้เตา เพราะมีระบบป้องกันเพลิง
2.ลดการใช้เชื้อเพลิงได้มากถึง 35%
3.ยางแผ่นรมควันมีคุณภาพดีขึ้น สีสม่ำเสมอ ไม่ไหม้
4.สามารถย่นระยะเวลาในการรมยางจากเดิมต้องใช้เวลา 5 วัน ลดลงเหลือเพียง 4 วัน
5.เมื่อมีเวลามากขึ้นก็ช่วยให้สหกรณ์สามารถเปิดรับสมาชิกเข้ามาใช้บริการได้มากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งก็คือการเพิ่มกำลังการผลิตนั่นเอง
ภายในเตารมควัน ควันจะกระจายทั่วทั้งเตา ขณะเดียวกันก็มีแผงควบคุมอุณหภูมิในห้องไม่ให้ร้อนเกิดไป ยางจึงมีสีสม่ำเสมอ เป็นยางแผ่นรมควันคุณภาพ
ยางเศรษฐกิจลงพื้นที่ จ.ตราด ไปดูเจ้าเตารมควันไฮเทคตัวนี้ จากการใช้ของกลุ่มสัจจะพัฒนายาง ซึ่งเป็นโมเดลแห่งความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกร ทดแทนรูปแบบสหกรณ์ที่เคยล้มเหลวมาแล้วในอดีต วันนี้พวกเขามีเครื่องมือสร้างความเข็มแข็งจากกลุ่มสัจจะ ที่ยืนยันว่าดีกว่าสหกรณ์ และเทคนิคการผลิตยางที่ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ ขณะเดียวกันก็ลดต้นทุนได้อีกด้วย 
ติดตามเนื้อหาได้ในนิตยสารยางเศรษฐกิจ เดือนกันยนยน วางแผงแล้ววันนี้ฃ

มนตรี แพทย์นุเคราะห์ อดีตผู้บริหารสหกรณ์บ้านเขาหมากเดิม และผู้บริหารกลุ่มสัจจะพัฒนายางบ้านเขาหมากปัจจุบัน เขาผ่านการล้มเหลวของการบริหารในรูปของสหกรณ์ สะท้อนว่าระบบเดิมมีหลายขั้นตอนที่ทำให้การทำงานล่าช้า กฎบางข้อไม่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ต่างจากการบริหารแบบปัจจุบันที่สามารถตัดสินใจได้รวดเร็ว เขาสรุปง่ายๆ ว่ารูปแบบนี้เป็นแบบสหกรณ์ แต่การตัดสินใจทำอย่างเอกชน และที่สำคัญคนที่จะเข้ามาบริหารต้องมี “จิตอาสา” 

แกนนำกลุ่มสัจจะพัฒนาสวนยางบ้านท้ายวัง



2 กลุ่มสัจจะพัฒนายาง เมืองตราด ลงทุนเตารมควันไฮเทค
ย่นเวลา ประหยัดพลังงาน 40% เพิ่มคุณภาพยางแผ่นรมควัน

เรื่อง : พิมพ์ใจ พิสุทธิ์จริยานันท์
ระบบสายเดินท่อยาวคดเคี้ยวแปลกตานี้คือ นวัตกรรมแห่งเตารมควันประหยัดพลังงาน แม้การลงทุน/เตาจะสูงหลักแสนเฉียดล้านบาท แต่เมื่อมองกลับไปยังผลลัพธ์ กลุ่มสัจจะแห่งนี้วิเคราะห์แล้วว่าคุ้มค่า ท่อเหล่านี้ประกอบด้วยท่อปล่อยควันเข้าเตาด้านล่าง จากนั้นด้านบนจะมีพัดลมตัวดูดควันกลับออกมาตามท่อด้านบน เพื่อนำมาหมุนเวียนกลับเข้าระบบอีกครั้ง ควันที่ถูกปล่อยออกจึงมีน้อยมาก ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยในการประหยัดฟืน และพลังงานได้กว่า 40% และยังลดเวลาการรมควันได้ 1-2 วัน อีกทั้งยังระบบตัวกรองเขม่าควัน และสะเก็ดไฟ จึงทำให้ได้แผ่นยางสวยมีคุณภาพขายได้ราคาสูง

             เชื่อเหลือเกินว่ากลุ่มสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศที่ทำธุรกิจยางแผ่นรมควันกำลังประสบปัญหาเดียวกัน...!!!
นั่นคือ “ต้นทุนการผลิต” สูงขึ้น โดยเฉพาะเชื้อเพลิงหลักอย่างไม้ยางพารา ที่มีราคาสูงขึ้น อันเนื่องมาจากราคายางเพิ่มสูง การตัดโค่นยางจึงลดน้อยลง
อีกทั้งการผลิตยางแผ่นรมควันยังต้องใช้ “แรงงานฝีมือ” ที่มีประสบการณ์และความชำนาญ ซึ่งนับวันลดน้อยลด ขณะเดียวกับปริมาณผลผลิตน้ำยางสดที่เข้าโรงรมของสถาบันเกษตรกรบางแห่งก็เพิ่มสูงขึ้น จนเกินกำลังการผลิต แน่นอนว่าย่อมส่งผลตรงกับคุณภาพยางแผ่นรมควัน ผลิตได้เกรดต่ำ เกิดความเสียหายจนเกิดการขายทุน ปิดตัวเป็นตำนานไปในที่สุด
ตาระบบเดิม เพียงแค่ใช้ฟืนสุมเข้าไปในช่องเตาเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันกลุ่มยังใช้ในช่วงยางน้อยๆ อย่างช่วงหน้าฝน เป็นต้น แต่ภายในปีนี้จะปรับปรุงเป็นเตาระบบใหม่ทั้งหมด
แต่ปัจจุบันปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวได้ถูกกำจัดออกไปแล้ว ด้วย เตาอบยางแผ่นรมควันแบบประหยัดพลังงาน” ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
คุณสมบัติของเตาดังกล่าวมีดังนี้
 1.ความปลอดภัยในการใช้เตา เพราะมีระบบป้องกันเพลิง
2.ลดการใช้เชื้อเพลิงได้มากถึง 35%
3.ยางแผ่นรมควันมีคุณภาพดีขึ้น สีสม่ำเสมอ ไม่ไหม้
4.สามารถย่นระยะเวลาในการรมยางจากเดิมต้องใช้เวลา 5 วัน ลดลงเหลือเพียง 4 วัน
5.เมื่อมีเวลามากขึ้นก็ช่วยให้สหกรณ์สามารถเปิดรับสมาชิกเข้ามาใช้บริการได้มากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งก็คือการเพิ่มกำลังการผลิตนั่นเอง
ภายในเตารมควัน ควันจะกระจายทั่วทั้งเตา ขณะเดียวกันก็มีแผงควบคุมอุณหภูมิในห้องไม่ให้ร้อนเกิดไป ยางจึงมีสีสม่ำเสมอ เป็นยางแผ่นรมควันคุณภาพ
ยางเศรษฐกิจลงพื้นที่ จ.ตราด ไปดูเจ้าเตารมควันไฮเทคตัวนี้ จากการใช้ของกลุ่มสัจจะพัฒนายาง ซึ่งเป็นโมเดลแห่งความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกร ทดแทนรูปแบบสหกรณ์ที่เคยล้มเหลวมาแล้วในอดีต วันนี้พวกเขามีเครื่องมือสร้างความเข็มแข็งจากกลุ่มสัจจะ ที่ยืนยันว่าดีกว่าสหกรณ์ และเทคนิคการผลิตยางที่ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ ขณะเดียวกันก็ลดต้นทุนได้อีกด้วย 
ติดตามเนื้อหาได้ในนิตยสารยางเศรษฐกิจ เดือนกันยนยน วางแผงแล้ววันนี้ฃ

มนตรี แพทย์นุเคราะห์ อดีตผู้บริหารสหกรณ์บ้านเขาหมากเดิม และผู้บริหารกลุ่มสัจจะพัฒนายางบ้านเขาหมากปัจจุบัน เขาผ่านการล้มเหลวของการบริหารในรูปของสหกรณ์ สะท้อนว่าระบบเดิมมีหลายขั้นตอนที่ทำให้การทำงานล่าช้า กฎบางข้อไม่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ต่างจากการบริหารแบบปัจจุบันที่สามารถตัดสินใจได้รวดเร็ว เขาสรุปง่ายๆ ว่ารูปแบบนี้เป็นแบบสหกรณ์ แต่การตัดสินใจทำอย่างเอกชน และที่สำคัญคนที่จะเข้ามาบริหารต้องมี “จิตอาสา” 

แกนนำกลุ่มสัจจะพัฒนาสวนยางบ้านท้ายวัง


Random Posts

randomposts