์News

์News

ยาง KT 311 HOT ทั่วประเทศ ลุงขำ เตือนระวังผู้แอบอ้าง...!!!(ชมคลิป)

ยาง KT 311 HOT ทั่วประเทศ ลุงขำ เตือนระวังผู้แอบอ้าง...!!!(ชมคลิป)


ยาง KT.311 (PB.) หรือพันธุ์ยางนายขำตรัง สายพันธุ์สุดฮ็อตของ นายขำ นุชิตศิริภัทรา เซียนยางจาก จ.ตรัง หลังจากลุงขำนำยางพันธุ์นี้มาจากประเทศมาเลเซียเมื่อกว่า 32 ปีที่แล้ว ก่อนจะผ่านการปลูกมาอย่างยาวนานใน จ.ตรัง 
พร้อมคุณสมบัติพิเศษ โตไว ใหญ่เร็ว ปลูกเพียง 5 ปี ก็เปิดกรีดได้ ขณะที่ปริมาณน้ำยางมากกว่า 500 กก./ไร่/ปีขึ้นไป อีกทั้งยังเป็นพันธุ์ที่มีความต้านทานโรคไฟท็อปเธอร่า
ที่สำคัญยางพันธุ์นี้ยังผ่านการจดทะเบียนจากศูนย์วิจัยยาง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี 2524

คุณสมบัติของยางพันธุ์ KT.311 ผ่านการการันตีโดยการปลูกของเกษตรทั่วประเทศ เพราะตลอด 32 ปีที่ผ่านมามีเกษตรกรนำไปปลูกทั่วทุกภูมิภาค 

โดยเฉพาะ จ.เลย มาเกษตรกรหัวก้าวหน้านำไปปลูกกว่า 15 ปี พร้อมยืนยันผลผลิตมากกว่ายางพันธุ์ RRIM.600 ที่นิยมปลูกกันทั่วประเทศถึง 2 เท่า

แต่ปรากฏว่าเมื่อยางพันธุ์ของลุงขำดังและได้รับความนิยมสูง ที่ผ่านมาปรากฏว่ามีผู้แอบอ้างขายพันธุ์ยาง KT.311 จำนวนมาก

 ล่าสุดมีผู้ลงโฆษณาในเว็บไซต์อ้างนำเข้ายาง KT.311 จากมาเลเซียหลายหมื่นต้น และมีผู้หลงเชื่อจำนวนมาก ซึ่งไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเป็นยางนายขำจริงหรือไป...???

เรื่องนี้ได้ส่งผลความเสียหายมายังลุงขำ เจ้าของสายพันธุ์ จนต้องออกโรง


ชี้แจง และแจ้งเตือนอย่าได้หลงเชื่อเป็นอันขาด ของแท้ต้องมีใบเสร็จจากลุงขำเท่านั้น และขอยืนยันว่าไม่มีสาขา ไม่มีตัวแทน รายละเอียดดูได้จากคลิปลุงขำตัวจริงเสียงจริง




ยาง KT.311 (PB.) หรือพันธุ์ยางนายขำตรัง สายพันธุ์สุดฮ็อตของ นายขำ นุชิตศิริภัทรา เซียนยางจาก จ.ตรัง หลังจากลุงขำนำยางพันธุ์นี้มาจากประเทศมาเลเซียเมื่อกว่า 32 ปีที่แล้ว ก่อนจะผ่านการปลูกมาอย่างยาวนานใน จ.ตรัง 
พร้อมคุณสมบัติพิเศษ โตไว ใหญ่เร็ว ปลูกเพียง 5 ปี ก็เปิดกรีดได้ ขณะที่ปริมาณน้ำยางมากกว่า 500 กก./ไร่/ปีขึ้นไป อีกทั้งยังเป็นพันธุ์ที่มีความต้านทานโรคไฟท็อปเธอร่า
ที่สำคัญยางพันธุ์นี้ยังผ่านการจดทะเบียนจากศูนย์วิจัยยาง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี 2524

คุณสมบัติของยางพันธุ์ KT.311 ผ่านการการันตีโดยการปลูกของเกษตรทั่วประเทศ เพราะตลอด 32 ปีที่ผ่านมามีเกษตรกรนำไปปลูกทั่วทุกภูมิภาค 

โดยเฉพาะ จ.เลย มาเกษตรกรหัวก้าวหน้านำไปปลูกกว่า 15 ปี พร้อมยืนยันผลผลิตมากกว่ายางพันธุ์ RRIM.600 ที่นิยมปลูกกันทั่วประเทศถึง 2 เท่า

แต่ปรากฏว่าเมื่อยางพันธุ์ของลุงขำดังและได้รับความนิยมสูง ที่ผ่านมาปรากฏว่ามีผู้แอบอ้างขายพันธุ์ยาง KT.311 จำนวนมาก

 ล่าสุดมีผู้ลงโฆษณาในเว็บไซต์อ้างนำเข้ายาง KT.311 จากมาเลเซียหลายหมื่นต้น และมีผู้หลงเชื่อจำนวนมาก ซึ่งไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเป็นยางนายขำจริงหรือไป...???

เรื่องนี้ได้ส่งผลความเสียหายมายังลุงขำ เจ้าของสายพันธุ์ จนต้องออกโรง


ชี้แจง และแจ้งเตือนอย่าได้หลงเชื่อเป็นอันขาด ของแท้ต้องมีใบเสร็จจากลุงขำเท่านั้น และขอยืนยันว่าไม่มีสาขา ไม่มีตัวแทน รายละเอียดดูได้จากคลิปลุงขำตัวจริงเสียงจริง



ชาวพัทลุง ทำสวนยางด้วยฮอร์โมนเอทธิลีน และติดหมวกกันฝน เพิ่มน้ำยางสองทาง กำไรทวีคูณ

ชาวพัทลุง ทำสวนยางด้วยฮอร์โมนเอทธิลีน และติดหมวกกันฝน เพิ่มน้ำยางสองทาง กำไรทวีคูณ


เรื่อง : สุขศานต์ อริยรังสฤษฏิ์
ปกติการติดตั้งเอทธิลีนแล้วก็เป็นการเพิ่มพูนน้ำยางหลายเท่าตัวแล้ว แต่อย่างที่รู้ๆ ว่าภาคใต้มีอุปสรรคเรื่องฝน เป็นก้างขวางอยู่ ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือติดร่มกันฝนซะเลย จึงไม่หวั่นกรีดยางได้แม้วันฝนตก สามารถกรีดยางได้ครบเดือนละ 11-12 วัน
          ทำสวนยาง 8 ไร่ ได้เงินวันละหมื่น เชื่อหรือไม่...???
            ถ้าเป็นก่อนหน้านี้ ผู้เขียนคงไม่มีทางเชื่ออย่างแน่นอน
            เพราะสวนยางแค่ 8 ไร่ ได้วันละ 2-3 พันบาทก็ถือว่าเก่งแล้ว แต่นี่กลับไปเป็นหมื่น...!!!
            แต่สุดท้ายผู้เขียนก็ต้องเชื่อ สามารถทำได้จริงแล้ว โดยอาศัยการใช้ “ฮอร์โมนเอทธิลีน” หรือที่ชาวสวนยางพูดติดปากว่า “ยางอัดแก๊ส” นั่นเอง
            เทคนิคที่ว่านี้คือการเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้หลายเท่าตัว โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ปลูกเลย สวนยาง 8 ไร่ จากได้เงินวันละพัน กลายเป็นวันละหมื่น
            มิหนำซ้ำงานยังเบาว่าการทำสวนยางปกติอีกด้วย คือกรีดยางเพียง 10-11 วัน/เดือนเท่านั้น
            นี่เท่ากับว่าพื้นที่ปลูกยาง 8 ไร่ แต่สามารถเพิ่มผลผลิตได้เท่ากับยางหลายสิบไร่ และยังทำงานน้อยลง
ขณะเดียวกันกลยุทธ์การเพิ่มผลผลิตในสวนยางยังไม่หมดเพียงเท่านั้น ถ้าสวนยางที่ติดแก๊ส แล้วติดตั้งหมวกกันฝนต้นยาง สามารถกรีดยางได้แม้วันฝนตก เป็นการเพิ่มวันกรีด/ปีมากขึ้นจะสามารถเพิ่มผลผลิตยางได้เพิ่มขึ้นแค่ไหน...???

            เรื่องราวของการเพิ่มผลผลิตแบบควบคู่ทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นอย่างไร ผู้เขียนมาคำตอบ...

สวนยางแค่ 8 ไร่ แต่ได้เงินหมื่น/วัน
วิทยา ขาวเผือก เกษตรกรชาวสวนยางขนานแท้ แห่ง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง เขาเริ่มต้นปลูกสร้างสวนยางยางพันธุ์ RRIM 600 พื้นที่เพียงแค่ 8 ไร่เลี้ยงครอบครัว
“ได้เงินเช้าละพัน” วิทยาเอ่ยสำเนียงปักษ์ใต้แท้ๆ ซึ่งผลตอบแทนเพียงเท่านี้ก็ถือว่าเพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว เดือนหนึ่งก็น่าจะได้ 20,000 – 30,000 บาท ก็ถือว่าพอสมน้ำสมเนื้อกับพื้นที่ 8 ไร่
แต่เมื่อต้นยางเข้าสู่วัยชรา เขาเริ่มเห็นอาการผิดปกติของต้นยางที่เป็น “เครื่องพิมพ์แบงค์” มากว่า 20 ปี เพราะมันเริ่มให้น้ำยางลดลง...!!!
วิทยา ขาวเผือก เกษตรกรชาวสวนยางขนานแท้ แห่ง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง เขาเริ่มต้นใช้เอทธิลีนมาแล้วประมาณ 3 ปี บนเนื้อที่เพียงแค่ 8 ไร่ แต่มีรายได้หลักหมื่นบาท/วันกรีด เดือนๆ หนึ่งก็เป็นแสนบาท อย่างน้ำยางที่อยู่ข้างๆ ตัวนั้นเต็มถังมากจากยาง 11  ต้นเท่านั้น

แต่ด้วยเพราะเขาอยู่ในย่านสวนยางที่มีการใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนกันอย่างแพร่หลาย เขาจึงตัดสินใจไม่ยากที่จะใช้เทคนิคนี้มาช่วยเพิ่มผลผลิตที่กำลังลดลงในสวย
“สวนยางแถวนี้ทำกันมาเป็นสิบปีแล้ว ผมก็เห็นผลงานของมันแล้วว่าดี” วิทยาให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
แต่ต้องยอมรับว่ายางอัดแก๊สค่าใช้จ่ายไม่น้อยเลย เพราะขนาดสวนเล็กของเขา ใช้เงินมากถึง 3-4 หมื่นบาท เท่ากับรายได้สวนยาง 1 เดือนเต็มๆ
“สูงแต่มันได้คุ้ม” เขาบอกอย่างนั้น
ฮอร์โมนเอทธิลีนที่วิทยาใช้ในช่วงเริ่มแรกอุปกรณ์เป็นแบบกระเปาะหรือฝาครอบ ซึ่งให้น้ำยางเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก แต่ติดอยู่ปัญหาเดียวคือ อุปกรณ์เสียเร็ว โดยเฉพาะอาการรั่ว ต้องลงทุนซื้อตัวใหม่ๆ หรือไม่ก็ต้องลงทุนซ่อม และยังต้องใช้เจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญ
เขาใช้อยู่ประมาณ 6 เดือนเต็ม จนเมื่อมีอุปกรณ์ชนิดใหม่เข้ามาแนะนำ มีลักษณะเป็น “ตัวตอก” ประกอบด้วยตัวหัวจ่าย ถุงเก็บฮอร์โมน และสายเติมฮอร์โมน ลักษณะพิเศษของอุปกรณ์ประเภทนี้คือ ติดตั้งได้ง่าย เพียงแค่ตอกจัวหัวจ่ายเข้ากับเปลือกยางเท่านั้น ที่สำคัญคือ วิทยาสามารถติดตั้งได้เอง โดยไม่ต้องเสียเงินจ้างผู้เชี่ยวชาญมาติดเลย
อุปกรณ์อัดฮอร์โมนเอทธิลีน ชนิด “ตัวตอน” ที่ผ่านการพัฒนารูปทรงและคุณภาพ จนทนทาน และมีประสิทธิภาพสูง ความกลัวของเกษตรกรอย่างหนึ่งคือ หัวจ่ายที่ตอกเข้ากับต้นยางจะทำลายเนื้อไม้หรือไม่ แต่ความเป็นจริงตอกเข้าไปเพียงไม่กี่ ม.ม.เท่านั้น อยู่แค่เปลือกยางไม่ถึงเนื้อไม้

สวนยาง 8 ไร่ ใช้เวลาเพียง 2-3 ชั่วโมงก็ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว
คุณสมบัติพิเศษที่สำคัญของอุปกรณ์ยี่ห้อที่วิทยาใช้คือ ทนทาน และมีการรับประกันความเสียหายอุปกรณ์ ถึง 5 ปี
“ลงทุนทีเดียวเสร็จเรื่อง”
            เมื่อสอบถามถึงเรื่องต้นทุนอุปกรณ์ฮอร์โมนเพิ่มน้ำยาง สามารถทำได้ 2 รูป แบบ คือ ซื้ออุปกรณ์มาติดตั้งเอง ค่าอุปกรณ์ 55 บาท/ชุด
อีกรูปแบบคือ จ้างตัวแทนของบริษัทมาติดตั้งให้ ซึ่งจะรวมอุปกรณ์จ่ายฮอร์โมน ถังรองน้ำยาง ลวดแขวนถังนะยาง และลิ้นรองน้ำยาง ทั้งหมดตัวแทนจะติดตั้งพร้อมสรรพ รวมทั้งการตั้งหน้ายางด้วย เพียงแค่เจ้าของสวนถือมีดกรีดยางมาเล่มเดียวก็ทำงานได้เลย ต้นทุนประมาณ 75บาท/ต้น
ความแตกต่างของการสวนยางปกติ กับสวนยางอัดแก๊ส คือ รูปแบบการกรีด คือ หน้ายางแคบลง เพียงแค่ 4 นิ้ว และกรีดขึ้นบน 1 วันเว้น 2 วัน เพียงแต่ต้องเติมฮอร์โมนทุกๆ 10 วัน ต้นฮอร์โมนเฉลี่ยต้นละไม่เกิน 1 บาท
ต่างจากระบบการกรีดปกติที่ต้องแบ่งเป็น 3 หน้า และกรีดแบบ 2 วันเว้น 1 วัน
ถามว่าถ้าเปลี่ยนระบบการกรีดจะทำให้น้ำยางเพิ่มขึ้นได้เหรอ...???
วิทยาบอกว่าน้ำยางเพิ่มขึ้นจริงๆ เพราะตัวฮอร์โมนเอทธิลีน ที่ติดตั้งอยู่ห่างจากหน้ายางประมาณ 2 นิ้ว จะเป็นตัวกระตุ้นให้น้ำยางไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง ดูได้จากปริมาณน้ำยางที่ได้ต่อวัน เช้าแรกหลังจากอัดฮอร์โมนเกือบเต็มถังน้ำยางขนาด 3 ลิตร
หลักการกรีดยางแบบยางอัดแก๊สคือการเปิดกรีดยางหน้าสั้น เพียงแค่ นิ้ว และกรีดแบบขึ้นบน ทำให้ประหยัดหน้ายาง/ปีได้มากโข แต่ไม่มีผลต่อการให้น้ำยางแต่อย่างใด ในภาพเช้าแรกหลังอัดแก๊ส น้ำยางเกือบเต็มถ้วย ลิตร


ข้อดีของระบบกรีดยางแบบยางอัดแก๊สอันดับแรกที่เห็นชัดๆ คือ ใช้หน้ายางน้อยลง กว้างเพียงแค่ 4 นิ้วเท่านั้น และยังกรีดไม่ถี่เพียง 1 วันเว้น 2 วัน เท่ากับปีๆ หนึ่งสูญเสียหน้ายางน้อยมาก 1 ต้นอาจจะแบ่งหน้ายางได้ถึง 8 ส่วน เท่ากับว่าเป็นการยืดอายุต้นยางได้อีกเป็นสิบปีทีเดียว
ผลดีที่สำคัญที่สุดคือ มีสวนยางเท่าเดิม ทำงานน้อยลง แต่รายได้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว จากการกรีดยาง 2 วัน หยุด 1 วัน หรือ 20-22 วัน/เดือน ก็เหลือเพียง 1 วัน เว้น 2 วัน หรือเดือนละประมาณ 10-11 วันเท่านั้น
วิทยาบอกว่ายางอัดแก๊สเพิ่มน้ำยาง รายได้เพิ่ม รายละเอียดเป็นอย่างไร ลองพิสูจน์ซิว่าจริงหรือเปล่า
เขาให้ข้อมูลว่า ปกติสวนยาง 8 ไร่ ได้น้ำยางไม่ถึง 5 แกลลอน/วันกรีด แต่หลังจากเปลี่ยนทำยางอัดแก๊สได้น้ำเพิ่มมากกว่า 10 แกลลอน
“น้ำยางออกดี เปอร์เซ็นต์น้ำยางดี น้ำยางก็ได้มากกว่า”
            เมื่อถามว่าการที่น้ำยางออกมาเยอะๆ อย่างนี้ไม่กลัวจะมีผลกระทบต่อต้นยางหรือ...??? วิทยาบอกว่า เขาทำสวนยางอัดแก๊สมาแล้วกว่า 3 ปี ยังไม่มีปัญหากับต้นยางเลย ในทางกลับกัน ยังให้ข้อมูลตรงกันข้ามว่า ต้นยางกลับขยายตัวเร็ว ทำให้ต้นยางโตสมบูรณ์ขึ้น ทั้งๆ ที่เป็นยางแก่อายุ 20 ปี จุดสังเกตง่ายอีกตัวคือ หน้ายางฟื้นเร็ว ใบต้นยางก็เขียวสมบูรณ์ดี 
            “ใช้ฮอร์โมนมา 3 ปี แล้ว น้ำยางยังออกดี น้ำยางสูง ยิ่งปีนี้ได้น้ำยางมากกว่าปีที่ผ่านมา” เจ้าของสวนยางอัดแก๊สเผย
            ทั้งนี้การใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนในสวนยาง เป็นเทคนิคการกระตุ้นให้น้ำยางไหลมามากเป็นพิเศษ ดังนั้นการดูแลจึงต้องมีความพิเศษตาม อย่างแรกคือ การปรับพฤติกรรมการให้ปุ๋ย จากปกติใส่ปีละ 2 ครั้ง ก็เปลี่ยนมาแบ่งใส่ 3 ครั้ง/ปี หรือ ทุก 3 เดือน “ปุ๋ยก็ไม่ได้ใช้เพิ่มขึ้น แต่ใช้เท่าเดิม แต่แบ่งใส่ถี่ขึ้น”
            อีกทั้งระบบการกรีด 1 วันเว้น 2 วัน ยังเป็นการพักต้นยางไม่ให้ทำงานหนักจนเกินไป หากกรีดถี่กว่านี้ต้นยางอาจจะโทรมไว
            ส่วนปัญหาเรื่องผลกระทบจากเอทธิลีนที่อาจจะได้รับผลกระทบกับเนื้อไม้ยาง โดยเฉพาะแผลจากการตอกหัวจ่ายเข้ากับเปลือกยาง วิทยาบอกว่าไม่มีปัญหาเพราะย่านนี้เขาใช้กันมานานแล้ว ตัดขายกันไปก็เยอะ แผลที่ตอกก็ไม่ได้เข้าเนื้อไม้ เจาะแค่เปลือก
“มันไม่มีปัญหา ไม่กลัว”
            วิทยายังบอกในตอนท้ายอีกว่า อุปกรณ์ที่ใช้อัดฮอร์โมน ตอนปิดหน้ายางยังถอดขายมือ 2 ได้อีกด้วย มีชาวสวนยางใกล้เคียงมาขอซื้อไปใช้ เพราะไม่ค่อยมีทุน ราคาประมาณ 30 บาท ซื้อมาละ 55 ขาย เท่ากับว่าเขาลงทุนเพียงครึ่งเดียว
            “อยากให้เพื่อเกษตรกรลองใช้ เขาพรรค์นี้มันต้องลอง ไม่ลองไม่รู้” เจ้าของสวนยาง 8 ไร่ ใน อ.เขาชัยสน จ.พังลุงชักชวน

ในพื้นที่ จ.พัทลุง รู้กิตติศัพท์กันดีว่า เป็นพื้นที่ที่นิยมติดเอทธิลีนในสวนยางกันมาเป็น 10 ปี แล้ว เพราะเห็นผลจริง และขยายอย่างต่อเนื่อง เมื่อคนหนึ่งใช้ ญาติๆ ก็จะใช้ตามและเกิดการบอกต่อ ส่วนการติดร่มแม้จะเพิ่มเข้ามาทำตลาดร่วม แต่เติบโต เกษตรกรนิยมใช้มากขึ้


ใช้ฮอร์โมนเอทธิลีน และหมวกกันฝนในสวนยาง กำไรเพิ่มหลายต่อ
        จาก อ.เขาชัยสน ผู้เดียวเดินทางลงต่อมายัง อ.ป่าบอน ใน จ.พัทลุง เพื่อมาดูการทำสวนยางเอทธิลีนของชาวสวนที่นี่ แต่ถ้าจะมาดูแค่การทำยางเอทธิลีนอย่างเดียวก็ดูจะซ้ำซ้อน ไม่ต่างจากสวนของวิทยา
            แต่ว่าที่นี่มีข้อมูลน่าสวนใจแน่นอน ไม่อย่างนั้นคงไม่มา...???
            ความพิเศษของสวนยางที่ อ.ป่าบอน คือ มีชาวสวนยางทำสวนยางติดแก๊สเพิ่มผลผลิตน้ำยาง ควบคู่กับการติดหมวกกันฝนนั่นเอง
            ปกติยางติดแก๊สน้ำยางและเงินก็ได้เพิ่มหลายเท่าแล้ว แต่นี่ยังมีการติดร่มกันฝน ทำให้สามารถกรีดยางได้แม้วันที่ฝนตก เท่ากับได้น้ำยางเพิ่มขึ้นอีกหลายๆ เท่าตัว
            สวนยางที่ผู้เขียนกำลังกล่าวถึงคือสวนยางของ สุจิตรา จงรัตน์  เจ้าของสวนยางพันธุ์ RRIM 600 จำนวน 20 ไร่ ซึ่งเธอบอกว่าต้นยังไม่ค่อยเต็มพื้นที่นัก
            เจ้าของสวนยางรายนี้ตัดสินใจใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนเมื่อ  2 ปีที่แล้ว ด้วยเหตุผลพื้นฐานคือ ปริมาณน้ำยางไหลออกมาน้อยลง นำมาขายได้เงินไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในครอบครัว โดยเฉพาะภาระหนักอึ้งกับหนี้ ธ.ก.ส. ล้านกว่าบาท อีกทั้งต้นยางก็ชราภาพมากแล้ว เพราะอายุกว่า 20 ปี
สุจิตรา จงรัตน์  เจ้าของสวนยางพันธุ์ RRIM 600 จำนวน 20 ไร่ แม้ต้นยางจะไม่เต็มพื้นที่นัก แต่เธอก็กล้าลงทุนติดเอทธิลีน และร่มกันฝนพร้อมกัน แม้จะลงทุนสูงถึงต้นละกว่า 120 บาท แต่เธอยืนยันว่า “คุ้ม” เพิ่มทั้งน้ำยางและวันกรีด  
            

“น้ำยางที่ได้กับเงินที่ได้รับไม่พอต่อค่าใช้จ่าย 20 ไร่ ได้น้ำยางแค่ 100 กว่าโล จนมาปรึกษากับลูกว่าจะทำยังไงดี โค่นปลูกใหม่ดีมั้ย” เธอเกือบตัดสินใจอย่างนั้น หวังนำเงินก้อนสุดท้ายจากการขายไม้ยางมาพยุงครอบครัวชั่วคราว ก่อนที่จะเปลี่ยนความคิดได้ทัน
 “เห็นว่ามีสวนยางหลายแปลงที่เขาอัดแก๊สกัน แล้วได้น้ำยางดี ทั้งๆ ที่ต้นยางอายุเยอะ จึงสนใจไปดูตัวอย่างเขา และให้เขาเข้ามาดูที่สวนว่าทำได้มั้ย พอเขามาดูเราก็บอกให้เขาทำให้เลย เพราะจริงๆ ตอนนั้นเราก็ตัดสินใจไว้แล้วว่าน่าจะลองดู”
            แต่เธอก็ต้องยอมกัดฟันหาเงินก้อนหนึ่งเพื่อลงทุนติดตั้งอุปกรณ์ 20 ไร่ ปริมาณต้นยาง 1,000 กว่าต้น ใช้เงินไปกว่า 70,000 กว่าบาท
“แต่คุ้ม พอติดแล้วน้ำยางเพิ่มสูงขึ้นเป็น 20 กว่าแกลลอน/วัน” เมื่อคำนวณเป็นน้ำหนักน้ำยาง 1 แกลลอนน้ำหนักประมาณ 40 ลิตร น้ำยางที่เธอได้ประมาณ 700-800 กิโลกรัม/วัน ขายเป็นน้ำยางสดได้เงิน 30,000 – 40,000 บาท/วันกรีด
            แต่เส้นทางการกอบโกยเงินมักจะไม่ราบลื่น เพราะมีอุปสรรค์เสมอ นั่นคือ ปัญหาเรื่องฝนโดยในช่วงที่เธอเริ่มทำสวนยางติดแก๊ส ปริมาณฝนสูงมากกว่าหลายๆ ปีที่ผ่านมา แม้กระทั่งหน้าร้อนหน้าแล้วฝนก็ยังตกไม่ขาย นั่นเท่ากับว่ารายได้ถูกตัดตอนไปด้วย
            ก่อนที่ตัวแทนจำหน่ายที่ติดตั้งอุปกรณ์เอทธิลีน เข้ามาแนะนำให้ติดหมวกกันฝนต้นยาง ซึ่งจะทำให้สามารถกรีดยางได้แม้วันที่ฝนตก
            “ตอนหลังเจอฝนตกติดต่อกันมากจนไม่สามารถกรีดยางได้ บางทีเราตัดยางแล้วฝนเทลงมา น้ำยางก็เสียอีก น้ำยางไหลตามน้ำเต็มหน้ายางเลย ขาวโพลนเลย ทำให้รายได้หายไปอีก พอเขามาแนะนำให้ติดร่มกันฝน จึงตัดสินใจติดตั้งเลย เพราะจะทำให้กรีดยางได้ตามปกติ แม้วันที่ฝนตก ติดเมื่อเดือน มกราคม ปีนี้ เพราะหน้าฝนเราเสียเวลาอยู่เปล่าๆ รายได้ก็ไม่มี” สุจิตราเล่าถึงอุปสรรคการกรีดยางหน้าฝน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ต้องลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่กับสวนยางอีกครั้ง
            “รวมค่าติดตั้งต้นละ 55 บาท ลงทุนไปอีก 5-6 หมื่นบาท แต่มันแก้ปัญหาได้ 100%”  
การทำยางอัดฮอร์โมนเอทธิลีน เป็นที่ร่ำรือว่าแม้จะได้น้ำยางเยอะก็จริง แต่เปอร์เซ็นต์น้ำยางอาจจะลดลง แต่ในความเป็นจริงที่เกษตรกรผู้ใช้จริงสะท้อนบอกว่าลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เมื่อเทียบกับน้ำยางที่ได้รับแล้ว คุ้มเกินคุ้ม
แต่เท่ากับว่าเป็นการเพิ่มผลผลิตน้ำยาง 2 ต่อ จากการอัดแก๊สเพิ่มน้ำยาง ซึ่งได้มากอยู่แล้ว เมื่อติดหมวกกันฝนเข้าไปอีก ก็จะเพิ่มวันกรีดได้ในหน้าฝน
            หมวกกันฝนที่เธอพูดถึง ผลิตจากพลาสติกหนาเกรดเดียวกับที่ใช้ทำถังรองน้ำยาง ด้วยขนาดหมวกที่กว่าจึงป้องกันน้ำฝนที่จะไหลจากต้นมาหน้ายาง และถ้วยยางได้
“ปกติสวนยางเม็ดฝนจะไม่ได้สาดกระหน่ำแต่อย่างใด เพราะใบยางจะบดบังอยู่แล้ว มีเพียงน้ำที่ไหลมาตามต้นยางเท่านั้น เมื่อเราใช้ร่มกางบริเวณหน้ายางซะ ก็แก้ปัญหาได้เกือบ 100% เธอพูดถึงประสิทธิภาพของหมวกกันฝนหลังจากลองใช้มาแล้วหลายเดือน
ลักษณะพิเศษของร่วมตัวนี้นอกจากจะหนา มีขนาดใหญ่แล้ว ยังติดตั้งง่าย เพียงแค่นำหมวกคล้องเข้ากับต้นยางเหนือรอยกรีด จากนั้นใช้ลวดผูกรัดเข้ากับต้นยาง จากนั้นใช้กาวชนิดพิเศษทาบริเวณขอบหมวกกับผิดต้นยางเพื่อป้องกันน้ำไม่ให้ไหลผ่าน กาวชนิดนี้สามารถยืดหยุ่นได้ในช่วงแดดออก พอฝนตกมันจะแข็งตัว เหมือนเป็นการล็อกตัวร่มกับต้นยางให้แน่นจนน้ำไม่สามารถเข้าได้
            “หมวกนี่เขารับประกัน 5 ปี ถ้าพังก่อน 5 ปี เขาเปลี่ยนให้”
          ส่วนข้อมูลเรื่องการลงทุนเธอแจ้งว่าราคาอันละ 54 บาทรวมค่าติดตั้ง ถ้าซื้อมาติดเองจะถูกกว่านี้ รวมเป็นเงินลงทุนติดหมวกยางประมาณ 50,000-60,000 บาท “ถ้ารวมติดแก๊สกับหมวกค่าใช้จ่ายต้นหนึ่งก็ไม่เกิน 120 บาท” เจ้าของสวนบอก
            สวนยาง 20 ไร่ ของสุจิตราจึงสามารถกรีดได้ตามคิวเดือนละ 10-11 วัน ทุกเดือน แม้ช่วงหน้าฝนก็ตาม
สวนยางติดเอทธิลีน และร่มกันฝนของสุจิตรา แม้อายุต้นยางจะชราภาพมากแล้ว แต่ก็ยังสามารถกรีดได้ในหน้าสูง เมื่อหน้าสูงหมด ก็ยังสามารถลงกลับมากรีดหน้าปกติได้ ว่ากันว่าถ้าดูแลรักษาดีๆ อยู่ได้มากกว่า 50 ปี
            
“เป็นหนี้ ธ.ก.ส. ล้านกว่า ตอนนี้ยังใช้ไม่หมด แต่ก็พอคล่องตัวมากขึ้น มีเงินทยอยส่งหนี้และมีเงินใช้จ่าย ลองคิดดูเมื่อก่อนได้ยางวันละ 100 กว่าโล เมื่อก่อนอาทิตย์หนึ่งได้ 3,000 บาท ไหนจะส่งลูกเรียน ส่งธนาคาร แต่เดียวนี้ 3 เช้า หักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วได้ 30,000 บาท ยังมีรายได้จากการเก็บขี้ยางที่ติดอยู่ในถ้วยยางขาย 3 เช้าก็ได้เงินมากกว่า 5,000 บาทแล้ว แต่ถ้าช่วงยางราคาแพงจะได้มากกว่านี้อีก” เธอพูดด้วยน้ำเสียงมีความสุข
            เจ้าของยางแห่งนี่เป็นอีกรายที่บอกว่าไม่กังวลเรื่องผลกระทบกับต้นยาง เพราะมีการดูแลจัดการสวนยางที่ดี ตามข้อกำหนดของการทำสวนยางติดแก๊ส นั่นคือ ใส่ปุ๋ยตามที่บริษัทผู้จำหน่ายเอทธิลีนแนะนำ คือ ใส่ปุ๋ยปีละ 3 ครั้ง ซึ่งไม่ได้เป็นการเพิ่มปริมาณปุ๋ยแต่อย่างใด แต่ยังใช้ปุ๋ยเท่าเดิมแต่แบ่งใส่ถี่ขึ้น โดยเธอเลือกใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมี (อินทรีย์ 70 เคมี 30) ใส่ 3 เดือน/ครั้ง วิธีการคำนวณง่ายๆ หากปีหนึ่งใส่ปุ๋ย 30 กระสอบ ก็เอา 30 กระสอบ นั่นแหละมาหาร 3 ส่วน หรือ ต้นหนึ่งห้ามเกินปุ๋ยเกินครึ่งกิโลกรัม
“ดูต้นยางแล้ว เขาว่ายังกรีดได้อีกหลายปี” เธอพูดตามที่ผู้เชี่ยวชาญบอก
            เธอบอกว่าหลังจากเธอนำร่องติดแก๊สเอทธิลีน และหมวกกันฝน จนประสบความสำเร็จด้านรายได้ บรรดาญาติพี่น้องของเธอจึงแห่ทำตามกันทั้งครอบครัว
            ภายหลังการลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำสวนยางแบบใช้ฮอร์โมนเอทธิลีน ควบคู่กับหมวกยาง ทำให้เห็นกลยุทธ์การเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ปลูกเลย เพียงแค่ทำสวนยางเท่าเดิมนั่นแหละ แต่ใช้เทคนิคพิเศษเพิ่มน้ำยางเป็นเท่าตัว
            ลองคิดดูสิว่าถ้าสวนยางในประเทศไทยหันมาใช้เทคนิคดังกล่าวนี้ ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาลขนาดไหน โดยเฉพาะสวนยางขนาดเล็ก
            แต่อย่างไรก็ตามการติดฮอร์โมนเอทธิลีนมีข้อจำกัดหลายอย่างที่ผู้ติดตั้งจำเป็นต้องศึกษา วิเคราะห์อย่างถีถ้วน และต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำอย่างเคร่งครัด (อ่านเรื่อง “ฮอร์โมนเอทธิลีน ทางลัดสู่เศรษฐีสวนยาง เพิ่มผลผลิต 3-5 เท่า” ยางเศรษฐกิจ ฉบับ 2/2554 ประกอบ)

อาคม ดิษฐสุวรรณ์  แห่ง “ร้านอาคมการเกษตร” ตัวแทนจำหน่าย “ฮีเวีย 3 ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการทำยางติดแก๊สประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 10 ปี ปัจจุบันเป็นผู้ติดตั้งรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของภาคใต้ เขาบอกว่าขณะนี้มีรายชื่อลูกค้าที่ใช้บริการอาคมการเกษตรประมาณ 3,000 รายชื่อ อยู่ในโซนภาคใต้เป็นหลัก
เขายังบอกว่าปัจจุบันอุปกรณ์สำหรับอัดแก๊สที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ แบบตัวตอก เพราะติดตั้งง่าย เกษตรกรสามารถทำได้เอง โดยเฉพาะยี่ห้อที่เขาเป็นตัวแทนอยู่ เพราะมีการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบัน ตัวหัวจ่ายฮอร์โมนหนาและทนทานขึ้น และพัฒนาเป็น 6 เหลี่ยมทำให้กระชับแข็งแรง ทนขึ้นกว่าเดิม ลิ้นหัวจ่ายไม่ขึ้นสนิม ส่วนถุงเก็บฮอร์โมนก็หนาขึ้นเช่นกัน ถุงรับประกัน 1 ปี วาล์วเติมฮอร์โมนก็ทำได้สะดวก
ส่วนหมวกยาง “ฮีเวียแคป” เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ผลิตเพื่อตอบสนองลูกค้ากลุ่มฮอร์โมน ซึ่งเป็นยางต้นใหญ่ จึงมีขนาดใหญ่ กำลังได้รับความนิยมมากในภาคใต้ เพราะปริมาณฝนค่อนข้างเยอะ ขณะเดียวกันกำลังจะดีไซน์หมวกรุ่นใหม่ให้เล็กลงสำหรับยางหนุ่มสาว

ประวิช แก้วพยศ ตัวแทนจำหน่ายฮอร์โมนเอทธิลีน “ฮีเวีย 3 และ หมวกยาง “ฮีเวียแคป” ร้าน “น้องวิช” รับผิดชอบพื้นที่ อ.ป่าบอน และ อ.ปากพยูน
บริการติดตั้งฮอร์โมนและหมวกยาง ทั้ง 2 ตัว ราคาติดตั้งไม่เกิน 120 บาท/ต้น จัดการให้หมดทุกอย่าง ตั้งแต่ ติดตั้งอุปกรณ์ หมวก ถังน้ำยาง ลวดแขวน ลิ้น และตั้งหน้ายาง ลูกค้าถือมีดมาเล่มเดียวรอกรีดเท่านั้น
ขณะเดียวกันยังมีบริการรับจ้างกรีดยางด้วย เรียกว่าเป็นการทำแบบครบวงจร
ประวิชบอกว่า มีชาวสวนยางในพื้นที่ติดหมวกยางร่วมกับการใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนกันแล้วไม่ต่ำกว่า 300 ไร่แล้ว และมีแนวโน้มต้องการติดสูงขึ้น เพราะเห็นผลแล้วว่าป้องกันได้จริง และฝนก็มีแนวโน้มว่ามากขึ้นทุกปี
ขรรค์ชัย เส้งมี เจ้าของสวนยางพันธุ์ PB 255ติดเอทธิลีน  14 ไร่ ในพื้นที่ อ.ปากพยูน จ.พัทลุง แม้ต้นยางจะอายุ 20 กว่าปีแล้ว แต่น้ำยางยังออกดีและมากกว่าปกติหลายเท่าตัว ได้น้ำยางเช้าละประมาณ 21 แกลลอน หรือ 700-800 กิโล และยังมีญาติพี่น้องที่ทำสวนยางติดเอทธิลีนรวมกว่า 100 ไร่

ขอขอบคุณ
            บริษัท ฮีเวีย เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด
            20/82 หมู่ 2 ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา 90000
            วุฒิชัย พิชัยยุทธ์ 08-1543-2955
            อาคม ดิษฐสุวรรณ์ 08-1798-4060
            ประวิช แก้วพยศ โทรศัพท์ 08-0599-1840
สุจิตรา จงรัตน์  โทรศัพท์ 08-9001-1074
วิทยา ขาวเผือก


เรื่อง : สุขศานต์ อริยรังสฤษฏิ์
ปกติการติดตั้งเอทธิลีนแล้วก็เป็นการเพิ่มพูนน้ำยางหลายเท่าตัวแล้ว แต่อย่างที่รู้ๆ ว่าภาคใต้มีอุปสรรคเรื่องฝน เป็นก้างขวางอยู่ ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือติดร่มกันฝนซะเลย จึงไม่หวั่นกรีดยางได้แม้วันฝนตก สามารถกรีดยางได้ครบเดือนละ 11-12 วัน
          ทำสวนยาง 8 ไร่ ได้เงินวันละหมื่น เชื่อหรือไม่...???
            ถ้าเป็นก่อนหน้านี้ ผู้เขียนคงไม่มีทางเชื่ออย่างแน่นอน
            เพราะสวนยางแค่ 8 ไร่ ได้วันละ 2-3 พันบาทก็ถือว่าเก่งแล้ว แต่นี่กลับไปเป็นหมื่น...!!!
            แต่สุดท้ายผู้เขียนก็ต้องเชื่อ สามารถทำได้จริงแล้ว โดยอาศัยการใช้ “ฮอร์โมนเอทธิลีน” หรือที่ชาวสวนยางพูดติดปากว่า “ยางอัดแก๊ส” นั่นเอง
            เทคนิคที่ว่านี้คือการเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้หลายเท่าตัว โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ปลูกเลย สวนยาง 8 ไร่ จากได้เงินวันละพัน กลายเป็นวันละหมื่น
            มิหนำซ้ำงานยังเบาว่าการทำสวนยางปกติอีกด้วย คือกรีดยางเพียง 10-11 วัน/เดือนเท่านั้น
            นี่เท่ากับว่าพื้นที่ปลูกยาง 8 ไร่ แต่สามารถเพิ่มผลผลิตได้เท่ากับยางหลายสิบไร่ และยังทำงานน้อยลง
ขณะเดียวกันกลยุทธ์การเพิ่มผลผลิตในสวนยางยังไม่หมดเพียงเท่านั้น ถ้าสวนยางที่ติดแก๊ส แล้วติดตั้งหมวกกันฝนต้นยาง สามารถกรีดยางได้แม้วันฝนตก เป็นการเพิ่มวันกรีด/ปีมากขึ้นจะสามารถเพิ่มผลผลิตยางได้เพิ่มขึ้นแค่ไหน...???

            เรื่องราวของการเพิ่มผลผลิตแบบควบคู่ทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นอย่างไร ผู้เขียนมาคำตอบ...

สวนยางแค่ 8 ไร่ แต่ได้เงินหมื่น/วัน
วิทยา ขาวเผือก เกษตรกรชาวสวนยางขนานแท้ แห่ง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง เขาเริ่มต้นปลูกสร้างสวนยางยางพันธุ์ RRIM 600 พื้นที่เพียงแค่ 8 ไร่เลี้ยงครอบครัว
“ได้เงินเช้าละพัน” วิทยาเอ่ยสำเนียงปักษ์ใต้แท้ๆ ซึ่งผลตอบแทนเพียงเท่านี้ก็ถือว่าเพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว เดือนหนึ่งก็น่าจะได้ 20,000 – 30,000 บาท ก็ถือว่าพอสมน้ำสมเนื้อกับพื้นที่ 8 ไร่
แต่เมื่อต้นยางเข้าสู่วัยชรา เขาเริ่มเห็นอาการผิดปกติของต้นยางที่เป็น “เครื่องพิมพ์แบงค์” มากว่า 20 ปี เพราะมันเริ่มให้น้ำยางลดลง...!!!
วิทยา ขาวเผือก เกษตรกรชาวสวนยางขนานแท้ แห่ง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง เขาเริ่มต้นใช้เอทธิลีนมาแล้วประมาณ 3 ปี บนเนื้อที่เพียงแค่ 8 ไร่ แต่มีรายได้หลักหมื่นบาท/วันกรีด เดือนๆ หนึ่งก็เป็นแสนบาท อย่างน้ำยางที่อยู่ข้างๆ ตัวนั้นเต็มถังมากจากยาง 11  ต้นเท่านั้น

แต่ด้วยเพราะเขาอยู่ในย่านสวนยางที่มีการใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนกันอย่างแพร่หลาย เขาจึงตัดสินใจไม่ยากที่จะใช้เทคนิคนี้มาช่วยเพิ่มผลผลิตที่กำลังลดลงในสวย
“สวนยางแถวนี้ทำกันมาเป็นสิบปีแล้ว ผมก็เห็นผลงานของมันแล้วว่าดี” วิทยาให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
แต่ต้องยอมรับว่ายางอัดแก๊สค่าใช้จ่ายไม่น้อยเลย เพราะขนาดสวนเล็กของเขา ใช้เงินมากถึง 3-4 หมื่นบาท เท่ากับรายได้สวนยาง 1 เดือนเต็มๆ
“สูงแต่มันได้คุ้ม” เขาบอกอย่างนั้น
ฮอร์โมนเอทธิลีนที่วิทยาใช้ในช่วงเริ่มแรกอุปกรณ์เป็นแบบกระเปาะหรือฝาครอบ ซึ่งให้น้ำยางเพิ่มขึ้นกว่าเดิมมาก แต่ติดอยู่ปัญหาเดียวคือ อุปกรณ์เสียเร็ว โดยเฉพาะอาการรั่ว ต้องลงทุนซื้อตัวใหม่ๆ หรือไม่ก็ต้องลงทุนซ่อม และยังต้องใช้เจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญ
เขาใช้อยู่ประมาณ 6 เดือนเต็ม จนเมื่อมีอุปกรณ์ชนิดใหม่เข้ามาแนะนำ มีลักษณะเป็น “ตัวตอก” ประกอบด้วยตัวหัวจ่าย ถุงเก็บฮอร์โมน และสายเติมฮอร์โมน ลักษณะพิเศษของอุปกรณ์ประเภทนี้คือ ติดตั้งได้ง่าย เพียงแค่ตอกจัวหัวจ่ายเข้ากับเปลือกยางเท่านั้น ที่สำคัญคือ วิทยาสามารถติดตั้งได้เอง โดยไม่ต้องเสียเงินจ้างผู้เชี่ยวชาญมาติดเลย
อุปกรณ์อัดฮอร์โมนเอทธิลีน ชนิด “ตัวตอน” ที่ผ่านการพัฒนารูปทรงและคุณภาพ จนทนทาน และมีประสิทธิภาพสูง ความกลัวของเกษตรกรอย่างหนึ่งคือ หัวจ่ายที่ตอกเข้ากับต้นยางจะทำลายเนื้อไม้หรือไม่ แต่ความเป็นจริงตอกเข้าไปเพียงไม่กี่ ม.ม.เท่านั้น อยู่แค่เปลือกยางไม่ถึงเนื้อไม้

สวนยาง 8 ไร่ ใช้เวลาเพียง 2-3 ชั่วโมงก็ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว
คุณสมบัติพิเศษที่สำคัญของอุปกรณ์ยี่ห้อที่วิทยาใช้คือ ทนทาน และมีการรับประกันความเสียหายอุปกรณ์ ถึง 5 ปี
“ลงทุนทีเดียวเสร็จเรื่อง”
            เมื่อสอบถามถึงเรื่องต้นทุนอุปกรณ์ฮอร์โมนเพิ่มน้ำยาง สามารถทำได้ 2 รูป แบบ คือ ซื้ออุปกรณ์มาติดตั้งเอง ค่าอุปกรณ์ 55 บาท/ชุด
อีกรูปแบบคือ จ้างตัวแทนของบริษัทมาติดตั้งให้ ซึ่งจะรวมอุปกรณ์จ่ายฮอร์โมน ถังรองน้ำยาง ลวดแขวนถังนะยาง และลิ้นรองน้ำยาง ทั้งหมดตัวแทนจะติดตั้งพร้อมสรรพ รวมทั้งการตั้งหน้ายางด้วย เพียงแค่เจ้าของสวนถือมีดกรีดยางมาเล่มเดียวก็ทำงานได้เลย ต้นทุนประมาณ 75บาท/ต้น
ความแตกต่างของการสวนยางปกติ กับสวนยางอัดแก๊ส คือ รูปแบบการกรีด คือ หน้ายางแคบลง เพียงแค่ 4 นิ้ว และกรีดขึ้นบน 1 วันเว้น 2 วัน เพียงแต่ต้องเติมฮอร์โมนทุกๆ 10 วัน ต้นฮอร์โมนเฉลี่ยต้นละไม่เกิน 1 บาท
ต่างจากระบบการกรีดปกติที่ต้องแบ่งเป็น 3 หน้า และกรีดแบบ 2 วันเว้น 1 วัน
ถามว่าถ้าเปลี่ยนระบบการกรีดจะทำให้น้ำยางเพิ่มขึ้นได้เหรอ...???
วิทยาบอกว่าน้ำยางเพิ่มขึ้นจริงๆ เพราะตัวฮอร์โมนเอทธิลีน ที่ติดตั้งอยู่ห่างจากหน้ายางประมาณ 2 นิ้ว จะเป็นตัวกระตุ้นให้น้ำยางไหลออกมาอย่างต่อเนื่อง ดูได้จากปริมาณน้ำยางที่ได้ต่อวัน เช้าแรกหลังจากอัดฮอร์โมนเกือบเต็มถังน้ำยางขนาด 3 ลิตร
หลักการกรีดยางแบบยางอัดแก๊สคือการเปิดกรีดยางหน้าสั้น เพียงแค่ นิ้ว และกรีดแบบขึ้นบน ทำให้ประหยัดหน้ายาง/ปีได้มากโข แต่ไม่มีผลต่อการให้น้ำยางแต่อย่างใด ในภาพเช้าแรกหลังอัดแก๊ส น้ำยางเกือบเต็มถ้วย ลิตร


ข้อดีของระบบกรีดยางแบบยางอัดแก๊สอันดับแรกที่เห็นชัดๆ คือ ใช้หน้ายางน้อยลง กว้างเพียงแค่ 4 นิ้วเท่านั้น และยังกรีดไม่ถี่เพียง 1 วันเว้น 2 วัน เท่ากับปีๆ หนึ่งสูญเสียหน้ายางน้อยมาก 1 ต้นอาจจะแบ่งหน้ายางได้ถึง 8 ส่วน เท่ากับว่าเป็นการยืดอายุต้นยางได้อีกเป็นสิบปีทีเดียว
ผลดีที่สำคัญที่สุดคือ มีสวนยางเท่าเดิม ทำงานน้อยลง แต่รายได้เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว จากการกรีดยาง 2 วัน หยุด 1 วัน หรือ 20-22 วัน/เดือน ก็เหลือเพียง 1 วัน เว้น 2 วัน หรือเดือนละประมาณ 10-11 วันเท่านั้น
วิทยาบอกว่ายางอัดแก๊สเพิ่มน้ำยาง รายได้เพิ่ม รายละเอียดเป็นอย่างไร ลองพิสูจน์ซิว่าจริงหรือเปล่า
เขาให้ข้อมูลว่า ปกติสวนยาง 8 ไร่ ได้น้ำยางไม่ถึง 5 แกลลอน/วันกรีด แต่หลังจากเปลี่ยนทำยางอัดแก๊สได้น้ำเพิ่มมากกว่า 10 แกลลอน
“น้ำยางออกดี เปอร์เซ็นต์น้ำยางดี น้ำยางก็ได้มากกว่า”
            เมื่อถามว่าการที่น้ำยางออกมาเยอะๆ อย่างนี้ไม่กลัวจะมีผลกระทบต่อต้นยางหรือ...??? วิทยาบอกว่า เขาทำสวนยางอัดแก๊สมาแล้วกว่า 3 ปี ยังไม่มีปัญหากับต้นยางเลย ในทางกลับกัน ยังให้ข้อมูลตรงกันข้ามว่า ต้นยางกลับขยายตัวเร็ว ทำให้ต้นยางโตสมบูรณ์ขึ้น ทั้งๆ ที่เป็นยางแก่อายุ 20 ปี จุดสังเกตง่ายอีกตัวคือ หน้ายางฟื้นเร็ว ใบต้นยางก็เขียวสมบูรณ์ดี 
            “ใช้ฮอร์โมนมา 3 ปี แล้ว น้ำยางยังออกดี น้ำยางสูง ยิ่งปีนี้ได้น้ำยางมากกว่าปีที่ผ่านมา” เจ้าของสวนยางอัดแก๊สเผย
            ทั้งนี้การใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนในสวนยาง เป็นเทคนิคการกระตุ้นให้น้ำยางไหลมามากเป็นพิเศษ ดังนั้นการดูแลจึงต้องมีความพิเศษตาม อย่างแรกคือ การปรับพฤติกรรมการให้ปุ๋ย จากปกติใส่ปีละ 2 ครั้ง ก็เปลี่ยนมาแบ่งใส่ 3 ครั้ง/ปี หรือ ทุก 3 เดือน “ปุ๋ยก็ไม่ได้ใช้เพิ่มขึ้น แต่ใช้เท่าเดิม แต่แบ่งใส่ถี่ขึ้น”
            อีกทั้งระบบการกรีด 1 วันเว้น 2 วัน ยังเป็นการพักต้นยางไม่ให้ทำงานหนักจนเกินไป หากกรีดถี่กว่านี้ต้นยางอาจจะโทรมไว
            ส่วนปัญหาเรื่องผลกระทบจากเอทธิลีนที่อาจจะได้รับผลกระทบกับเนื้อไม้ยาง โดยเฉพาะแผลจากการตอกหัวจ่ายเข้ากับเปลือกยาง วิทยาบอกว่าไม่มีปัญหาเพราะย่านนี้เขาใช้กันมานานแล้ว ตัดขายกันไปก็เยอะ แผลที่ตอกก็ไม่ได้เข้าเนื้อไม้ เจาะแค่เปลือก
“มันไม่มีปัญหา ไม่กลัว”
            วิทยายังบอกในตอนท้ายอีกว่า อุปกรณ์ที่ใช้อัดฮอร์โมน ตอนปิดหน้ายางยังถอดขายมือ 2 ได้อีกด้วย มีชาวสวนยางใกล้เคียงมาขอซื้อไปใช้ เพราะไม่ค่อยมีทุน ราคาประมาณ 30 บาท ซื้อมาละ 55 ขาย เท่ากับว่าเขาลงทุนเพียงครึ่งเดียว
            “อยากให้เพื่อเกษตรกรลองใช้ เขาพรรค์นี้มันต้องลอง ไม่ลองไม่รู้” เจ้าของสวนยาง 8 ไร่ ใน อ.เขาชัยสน จ.พังลุงชักชวน

ในพื้นที่ จ.พัทลุง รู้กิตติศัพท์กันดีว่า เป็นพื้นที่ที่นิยมติดเอทธิลีนในสวนยางกันมาเป็น 10 ปี แล้ว เพราะเห็นผลจริง และขยายอย่างต่อเนื่อง เมื่อคนหนึ่งใช้ ญาติๆ ก็จะใช้ตามและเกิดการบอกต่อ ส่วนการติดร่มแม้จะเพิ่มเข้ามาทำตลาดร่วม แต่เติบโต เกษตรกรนิยมใช้มากขึ้


ใช้ฮอร์โมนเอทธิลีน และหมวกกันฝนในสวนยาง กำไรเพิ่มหลายต่อ
        จาก อ.เขาชัยสน ผู้เดียวเดินทางลงต่อมายัง อ.ป่าบอน ใน จ.พัทลุง เพื่อมาดูการทำสวนยางเอทธิลีนของชาวสวนที่นี่ แต่ถ้าจะมาดูแค่การทำยางเอทธิลีนอย่างเดียวก็ดูจะซ้ำซ้อน ไม่ต่างจากสวนของวิทยา
            แต่ว่าที่นี่มีข้อมูลน่าสวนใจแน่นอน ไม่อย่างนั้นคงไม่มา...???
            ความพิเศษของสวนยางที่ อ.ป่าบอน คือ มีชาวสวนยางทำสวนยางติดแก๊สเพิ่มผลผลิตน้ำยาง ควบคู่กับการติดหมวกกันฝนนั่นเอง
            ปกติยางติดแก๊สน้ำยางและเงินก็ได้เพิ่มหลายเท่าแล้ว แต่นี่ยังมีการติดร่มกันฝน ทำให้สามารถกรีดยางได้แม้วันที่ฝนตก เท่ากับได้น้ำยางเพิ่มขึ้นอีกหลายๆ เท่าตัว
            สวนยางที่ผู้เขียนกำลังกล่าวถึงคือสวนยางของ สุจิตรา จงรัตน์  เจ้าของสวนยางพันธุ์ RRIM 600 จำนวน 20 ไร่ ซึ่งเธอบอกว่าต้นยังไม่ค่อยเต็มพื้นที่นัก
            เจ้าของสวนยางรายนี้ตัดสินใจใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนเมื่อ  2 ปีที่แล้ว ด้วยเหตุผลพื้นฐานคือ ปริมาณน้ำยางไหลออกมาน้อยลง นำมาขายได้เงินไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในครอบครัว โดยเฉพาะภาระหนักอึ้งกับหนี้ ธ.ก.ส. ล้านกว่าบาท อีกทั้งต้นยางก็ชราภาพมากแล้ว เพราะอายุกว่า 20 ปี
สุจิตรา จงรัตน์  เจ้าของสวนยางพันธุ์ RRIM 600 จำนวน 20 ไร่ แม้ต้นยางจะไม่เต็มพื้นที่นัก แต่เธอก็กล้าลงทุนติดเอทธิลีน และร่มกันฝนพร้อมกัน แม้จะลงทุนสูงถึงต้นละกว่า 120 บาท แต่เธอยืนยันว่า “คุ้ม” เพิ่มทั้งน้ำยางและวันกรีด  
            

“น้ำยางที่ได้กับเงินที่ได้รับไม่พอต่อค่าใช้จ่าย 20 ไร่ ได้น้ำยางแค่ 100 กว่าโล จนมาปรึกษากับลูกว่าจะทำยังไงดี โค่นปลูกใหม่ดีมั้ย” เธอเกือบตัดสินใจอย่างนั้น หวังนำเงินก้อนสุดท้ายจากการขายไม้ยางมาพยุงครอบครัวชั่วคราว ก่อนที่จะเปลี่ยนความคิดได้ทัน
 “เห็นว่ามีสวนยางหลายแปลงที่เขาอัดแก๊สกัน แล้วได้น้ำยางดี ทั้งๆ ที่ต้นยางอายุเยอะ จึงสนใจไปดูตัวอย่างเขา และให้เขาเข้ามาดูที่สวนว่าทำได้มั้ย พอเขามาดูเราก็บอกให้เขาทำให้เลย เพราะจริงๆ ตอนนั้นเราก็ตัดสินใจไว้แล้วว่าน่าจะลองดู”
            แต่เธอก็ต้องยอมกัดฟันหาเงินก้อนหนึ่งเพื่อลงทุนติดตั้งอุปกรณ์ 20 ไร่ ปริมาณต้นยาง 1,000 กว่าต้น ใช้เงินไปกว่า 70,000 กว่าบาท
“แต่คุ้ม พอติดแล้วน้ำยางเพิ่มสูงขึ้นเป็น 20 กว่าแกลลอน/วัน” เมื่อคำนวณเป็นน้ำหนักน้ำยาง 1 แกลลอนน้ำหนักประมาณ 40 ลิตร น้ำยางที่เธอได้ประมาณ 700-800 กิโลกรัม/วัน ขายเป็นน้ำยางสดได้เงิน 30,000 – 40,000 บาท/วันกรีด
            แต่เส้นทางการกอบโกยเงินมักจะไม่ราบลื่น เพราะมีอุปสรรค์เสมอ นั่นคือ ปัญหาเรื่องฝนโดยในช่วงที่เธอเริ่มทำสวนยางติดแก๊ส ปริมาณฝนสูงมากกว่าหลายๆ ปีที่ผ่านมา แม้กระทั่งหน้าร้อนหน้าแล้วฝนก็ยังตกไม่ขาย นั่นเท่ากับว่ารายได้ถูกตัดตอนไปด้วย
            ก่อนที่ตัวแทนจำหน่ายที่ติดตั้งอุปกรณ์เอทธิลีน เข้ามาแนะนำให้ติดหมวกกันฝนต้นยาง ซึ่งจะทำให้สามารถกรีดยางได้แม้วันที่ฝนตก
            “ตอนหลังเจอฝนตกติดต่อกันมากจนไม่สามารถกรีดยางได้ บางทีเราตัดยางแล้วฝนเทลงมา น้ำยางก็เสียอีก น้ำยางไหลตามน้ำเต็มหน้ายางเลย ขาวโพลนเลย ทำให้รายได้หายไปอีก พอเขามาแนะนำให้ติดร่มกันฝน จึงตัดสินใจติดตั้งเลย เพราะจะทำให้กรีดยางได้ตามปกติ แม้วันที่ฝนตก ติดเมื่อเดือน มกราคม ปีนี้ เพราะหน้าฝนเราเสียเวลาอยู่เปล่าๆ รายได้ก็ไม่มี” สุจิตราเล่าถึงอุปสรรคการกรีดยางหน้าฝน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ต้องลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่กับสวนยางอีกครั้ง
            “รวมค่าติดตั้งต้นละ 55 บาท ลงทุนไปอีก 5-6 หมื่นบาท แต่มันแก้ปัญหาได้ 100%”  
การทำยางอัดฮอร์โมนเอทธิลีน เป็นที่ร่ำรือว่าแม้จะได้น้ำยางเยอะก็จริง แต่เปอร์เซ็นต์น้ำยางอาจจะลดลง แต่ในความเป็นจริงที่เกษตรกรผู้ใช้จริงสะท้อนบอกว่าลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เมื่อเทียบกับน้ำยางที่ได้รับแล้ว คุ้มเกินคุ้ม
แต่เท่ากับว่าเป็นการเพิ่มผลผลิตน้ำยาง 2 ต่อ จากการอัดแก๊สเพิ่มน้ำยาง ซึ่งได้มากอยู่แล้ว เมื่อติดหมวกกันฝนเข้าไปอีก ก็จะเพิ่มวันกรีดได้ในหน้าฝน
            หมวกกันฝนที่เธอพูดถึง ผลิตจากพลาสติกหนาเกรดเดียวกับที่ใช้ทำถังรองน้ำยาง ด้วยขนาดหมวกที่กว่าจึงป้องกันน้ำฝนที่จะไหลจากต้นมาหน้ายาง และถ้วยยางได้
“ปกติสวนยางเม็ดฝนจะไม่ได้สาดกระหน่ำแต่อย่างใด เพราะใบยางจะบดบังอยู่แล้ว มีเพียงน้ำที่ไหลมาตามต้นยางเท่านั้น เมื่อเราใช้ร่มกางบริเวณหน้ายางซะ ก็แก้ปัญหาได้เกือบ 100% เธอพูดถึงประสิทธิภาพของหมวกกันฝนหลังจากลองใช้มาแล้วหลายเดือน
ลักษณะพิเศษของร่วมตัวนี้นอกจากจะหนา มีขนาดใหญ่แล้ว ยังติดตั้งง่าย เพียงแค่นำหมวกคล้องเข้ากับต้นยางเหนือรอยกรีด จากนั้นใช้ลวดผูกรัดเข้ากับต้นยาง จากนั้นใช้กาวชนิดพิเศษทาบริเวณขอบหมวกกับผิดต้นยางเพื่อป้องกันน้ำไม่ให้ไหลผ่าน กาวชนิดนี้สามารถยืดหยุ่นได้ในช่วงแดดออก พอฝนตกมันจะแข็งตัว เหมือนเป็นการล็อกตัวร่มกับต้นยางให้แน่นจนน้ำไม่สามารถเข้าได้
            “หมวกนี่เขารับประกัน 5 ปี ถ้าพังก่อน 5 ปี เขาเปลี่ยนให้”
          ส่วนข้อมูลเรื่องการลงทุนเธอแจ้งว่าราคาอันละ 54 บาทรวมค่าติดตั้ง ถ้าซื้อมาติดเองจะถูกกว่านี้ รวมเป็นเงินลงทุนติดหมวกยางประมาณ 50,000-60,000 บาท “ถ้ารวมติดแก๊สกับหมวกค่าใช้จ่ายต้นหนึ่งก็ไม่เกิน 120 บาท” เจ้าของสวนบอก
            สวนยาง 20 ไร่ ของสุจิตราจึงสามารถกรีดได้ตามคิวเดือนละ 10-11 วัน ทุกเดือน แม้ช่วงหน้าฝนก็ตาม
สวนยางติดเอทธิลีน และร่มกันฝนของสุจิตรา แม้อายุต้นยางจะชราภาพมากแล้ว แต่ก็ยังสามารถกรีดได้ในหน้าสูง เมื่อหน้าสูงหมด ก็ยังสามารถลงกลับมากรีดหน้าปกติได้ ว่ากันว่าถ้าดูแลรักษาดีๆ อยู่ได้มากกว่า 50 ปี
            
“เป็นหนี้ ธ.ก.ส. ล้านกว่า ตอนนี้ยังใช้ไม่หมด แต่ก็พอคล่องตัวมากขึ้น มีเงินทยอยส่งหนี้และมีเงินใช้จ่าย ลองคิดดูเมื่อก่อนได้ยางวันละ 100 กว่าโล เมื่อก่อนอาทิตย์หนึ่งได้ 3,000 บาท ไหนจะส่งลูกเรียน ส่งธนาคาร แต่เดียวนี้ 3 เช้า หักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วได้ 30,000 บาท ยังมีรายได้จากการเก็บขี้ยางที่ติดอยู่ในถ้วยยางขาย 3 เช้าก็ได้เงินมากกว่า 5,000 บาทแล้ว แต่ถ้าช่วงยางราคาแพงจะได้มากกว่านี้อีก” เธอพูดด้วยน้ำเสียงมีความสุข
            เจ้าของยางแห่งนี่เป็นอีกรายที่บอกว่าไม่กังวลเรื่องผลกระทบกับต้นยาง เพราะมีการดูแลจัดการสวนยางที่ดี ตามข้อกำหนดของการทำสวนยางติดแก๊ส นั่นคือ ใส่ปุ๋ยตามที่บริษัทผู้จำหน่ายเอทธิลีนแนะนำ คือ ใส่ปุ๋ยปีละ 3 ครั้ง ซึ่งไม่ได้เป็นการเพิ่มปริมาณปุ๋ยแต่อย่างใด แต่ยังใช้ปุ๋ยเท่าเดิมแต่แบ่งใส่ถี่ขึ้น โดยเธอเลือกใส่ปุ๋ยอินทรีย์เคมี (อินทรีย์ 70 เคมี 30) ใส่ 3 เดือน/ครั้ง วิธีการคำนวณง่ายๆ หากปีหนึ่งใส่ปุ๋ย 30 กระสอบ ก็เอา 30 กระสอบ นั่นแหละมาหาร 3 ส่วน หรือ ต้นหนึ่งห้ามเกินปุ๋ยเกินครึ่งกิโลกรัม
“ดูต้นยางแล้ว เขาว่ายังกรีดได้อีกหลายปี” เธอพูดตามที่ผู้เชี่ยวชาญบอก
            เธอบอกว่าหลังจากเธอนำร่องติดแก๊สเอทธิลีน และหมวกกันฝน จนประสบความสำเร็จด้านรายได้ บรรดาญาติพี่น้องของเธอจึงแห่ทำตามกันทั้งครอบครัว
            ภายหลังการลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำสวนยางแบบใช้ฮอร์โมนเอทธิลีน ควบคู่กับหมวกยาง ทำให้เห็นกลยุทธ์การเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่ปลูกเลย เพียงแค่ทำสวนยางเท่าเดิมนั่นแหละ แต่ใช้เทคนิคพิเศษเพิ่มน้ำยางเป็นเท่าตัว
            ลองคิดดูสิว่าถ้าสวนยางในประเทศไทยหันมาใช้เทคนิคดังกล่าวนี้ ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาลขนาดไหน โดยเฉพาะสวนยางขนาดเล็ก
            แต่อย่างไรก็ตามการติดฮอร์โมนเอทธิลีนมีข้อจำกัดหลายอย่างที่ผู้ติดตั้งจำเป็นต้องศึกษา วิเคราะห์อย่างถีถ้วน และต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำอย่างเคร่งครัด (อ่านเรื่อง “ฮอร์โมนเอทธิลีน ทางลัดสู่เศรษฐีสวนยาง เพิ่มผลผลิต 3-5 เท่า” ยางเศรษฐกิจ ฉบับ 2/2554 ประกอบ)

อาคม ดิษฐสุวรรณ์  แห่ง “ร้านอาคมการเกษตร” ตัวแทนจำหน่าย “ฮีเวีย 3 ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการทำยางติดแก๊สประสบการณ์ไม่ต่ำกว่า 10 ปี ปัจจุบันเป็นผู้ติดตั้งรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของภาคใต้ เขาบอกว่าขณะนี้มีรายชื่อลูกค้าที่ใช้บริการอาคมการเกษตรประมาณ 3,000 รายชื่อ อยู่ในโซนภาคใต้เป็นหลัก
เขายังบอกว่าปัจจุบันอุปกรณ์สำหรับอัดแก๊สที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ แบบตัวตอก เพราะติดตั้งง่าย เกษตรกรสามารถทำได้เอง โดยเฉพาะยี่ห้อที่เขาเป็นตัวแทนอยู่ เพราะมีการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบัน ตัวหัวจ่ายฮอร์โมนหนาและทนทานขึ้น และพัฒนาเป็น 6 เหลี่ยมทำให้กระชับแข็งแรง ทนขึ้นกว่าเดิม ลิ้นหัวจ่ายไม่ขึ้นสนิม ส่วนถุงเก็บฮอร์โมนก็หนาขึ้นเช่นกัน ถุงรับประกัน 1 ปี วาล์วเติมฮอร์โมนก็ทำได้สะดวก
ส่วนหมวกยาง “ฮีเวียแคป” เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ผลิตเพื่อตอบสนองลูกค้ากลุ่มฮอร์โมน ซึ่งเป็นยางต้นใหญ่ จึงมีขนาดใหญ่ กำลังได้รับความนิยมมากในภาคใต้ เพราะปริมาณฝนค่อนข้างเยอะ ขณะเดียวกันกำลังจะดีไซน์หมวกรุ่นใหม่ให้เล็กลงสำหรับยางหนุ่มสาว

ประวิช แก้วพยศ ตัวแทนจำหน่ายฮอร์โมนเอทธิลีน “ฮีเวีย 3 และ หมวกยาง “ฮีเวียแคป” ร้าน “น้องวิช” รับผิดชอบพื้นที่ อ.ป่าบอน และ อ.ปากพยูน
บริการติดตั้งฮอร์โมนและหมวกยาง ทั้ง 2 ตัว ราคาติดตั้งไม่เกิน 120 บาท/ต้น จัดการให้หมดทุกอย่าง ตั้งแต่ ติดตั้งอุปกรณ์ หมวก ถังน้ำยาง ลวดแขวน ลิ้น และตั้งหน้ายาง ลูกค้าถือมีดมาเล่มเดียวรอกรีดเท่านั้น
ขณะเดียวกันยังมีบริการรับจ้างกรีดยางด้วย เรียกว่าเป็นการทำแบบครบวงจร
ประวิชบอกว่า มีชาวสวนยางในพื้นที่ติดหมวกยางร่วมกับการใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนกันแล้วไม่ต่ำกว่า 300 ไร่แล้ว และมีแนวโน้มต้องการติดสูงขึ้น เพราะเห็นผลแล้วว่าป้องกันได้จริง และฝนก็มีแนวโน้มว่ามากขึ้นทุกปี
ขรรค์ชัย เส้งมี เจ้าของสวนยางพันธุ์ PB 255ติดเอทธิลีน  14 ไร่ ในพื้นที่ อ.ปากพยูน จ.พัทลุง แม้ต้นยางจะอายุ 20 กว่าปีแล้ว แต่น้ำยางยังออกดีและมากกว่าปกติหลายเท่าตัว ได้น้ำยางเช้าละประมาณ 21 แกลลอน หรือ 700-800 กิโล และยังมีญาติพี่น้องที่ทำสวนยางติดเอทธิลีนรวมกว่า 100 ไร่

ขอขอบคุณ
            บริษัท ฮีเวีย เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด
            20/82 หมู่ 2 ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา 90000
            วุฒิชัย พิชัยยุทธ์ 08-1543-2955
            อาคม ดิษฐสุวรรณ์ 08-1798-4060
            ประวิช แก้วพยศ โทรศัพท์ 08-0599-1840
สุจิตรา จงรัตน์  โทรศัพท์ 08-9001-1074
วิทยา ขาวเผือก

เดินหน้าเร่งหาข้อสรุปแก้ไขปัญหายางพาราราคาตกต่ำ

เดินหน้าเร่งหาข้อสรุปแก้ไขปัญหายางพาราราคาตกต่ำ



นายอุทัย  สอนหลักทรัพย์  ประธานกรรมการที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังจากการเข้าประชุมคณะกรรมการสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่  28  มิถุนายน  2555 ณ โรงแรมรอยอลซิตี้ กรุงเทพฯ  ว่าการประชุมครั้งนี้ได้มีประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ประธานเครือข่ายชาวสวนยางครบวงจรแห่งประเทศไทย สภาเกษตรกร จังหวัดสงขลา เข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาราคายางพารา ซึ่งตกต่ำโดยสรุปผลการประชุมดังนี้
เสนอให้รัฐบาลประกันราคายาง ไม่ต่ำกว่า กก. ละ 100 บาท ถ้าราคาเกิน 100 บาท/กก. ให้ซื้อนำจนกว่าจะมีราคา กก.ละ 120 บาท จึงให้ปล่อยเป็นไปตามกลไกของตลาดให้คณะกรรมการนโยบายธรรมชาติ (กนย.) ตั้งคณะทำงานบริหารโครงการขึ้นมาคณะหนึ่งเพื่อมอบหมายให้องค์การสวนยาง (อสย.)เป็นผู้กู้เงินจากสถาบันการเงินของรัฐเพื่อนำมาแทรกแซงราคายางตามข้อ (1) ให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) รับซื้อตามจุดตลาดของ สกย. ทุกจุดตามข้อตกลงที่ กนย. กำหนดให้ อสย. จัดซื้อตามตลาดกลางยางพาราของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร
การซื้อแทรกแซงยางในครั้งนี้คณะกรรมการบริหารโครงการจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจในการซื้อ-ขายยาง โดยให้ อสย. ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการ ถ้าเกิดปัญหาขาดทุนรัฐบาลจะต้องหาเงินมาชดเชยให้ พรบ.การยางที่กำลังอยู่ในวาระ 2 ของสภาผู้แทนราษฏร ซึ่งเป็นการบริหารการเงิน CESS ที่หักมาจากเกษตรกรชาวสวนยาง กก.ละ 5 บาท (ในการส่งออก) ที่ประชุมมีความเห็นว่าคณะกรรมการนโยบายจะต้องมีเกษตรกรไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งรัฐบาลควรเพิ่มมูลค่ายางโดยสนับสนุนให้มีการแปรรูปทำผลิตภัณฑ์โดยให้เกษตรกรชาวสวนยางทำอุตสาหกรรม โดยทำผลิตภัณฑ์ยางที่ง่ายๆ โดยรัฐบาลสนับสนุนเงินทุน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาราคายางในระยะยาว
ในการทำยุทธศาสตร์ยาง (Road Map) ซึ่งประเทศมาเลเซียได้รับมอบจาก AEC ให้เป็นผู้ร่างทั้งๆ ที่ประเทศไทยมียางเป็นอันดับหนึ่งของโลก รัฐบาลควรที่จะต้องส่งผู้แทนภาครัฐ-เอกชน-เกษตรกร เข้าไปร่วมเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ของประเทศ
รัฐบาลควรที่จะต้องเร่งรัดโครงการยางพารา 800,000 ไร่ ให้แก่ผู้ที่ลงทะเบียนไว้และรอการอนุมัติของรัฐบาลมาตั้งแต่ปี 2553 โดยสูญเสียโอกาส รอรัฐบาลมา 3 ปีแล้ว แต่โครงการนี้ไม่ได้รับความสนใจจากรัฐบาล โดยขอให้รีบทบทวนโครงการนี้อย่างเร่งด่วน
นายอุทัย ได้กล่าวว่าเพิ่มเติมในที่ประชุมครั้งนี้ว่าผลจากข้อหารือดังกล่าวจะได้นำเสนอต่อครม.เร็วๆ นี้ นอกจากนี้ได้มีการพูดถึงโครงสร้างยางพาราว่ายางพาราเป็นพืชเดียวในประเทศไทยที่มีการเก็บเงิน CESS กิโลกรัมละ 5 บาท ตามพรบ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง 2503 เพื่อพึ่งพาตนเองโดยโค่นยางเก่าปลูกแทนยางใหม่ และมีส่วนที่ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายการบริหารงานทุกคนใน สกย. 10%  และอีก 5%  เพื่อสนับสนุนสถาบันวิจัยยางวิจัย ซึ่งทุกพืชพึ่งงบประมาณจากรัฐบาล โดยเฉพาะข้าวรัฐสนับสนุนทุกอย่างแม้แต่ราคาประกัน
ดังนั้นรัฐบาลควรที่จะหันมาดูแลยางซึ่งทำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับหนึ่งของสินค้าเกษตร ไม่ควรปล่อยให้มีปัญหาเรื่องราคาเช่นนี้ อีกประการหนึ่งถ้าการเสนอของสมาคมฯ ในครั้งนี้รัฐไม่รีบเข้ามาแก้ไขปัญหาจะตามมาอีก ก็คือปัญหากรณี FATF ที่ขึ้นบัญชีดำของประเทศไทย ซึ่งกระทบต่อการส่งออกยางเป็นอย่างมาก ถ้ารัฐไม่รีบแก้ไข และจะตามมาด้วยวิกฤตของยูโรโซน ซึ่งกำลังกระทบหลายประเทศ และจะลุกลามมาถึงประเทศไทย ยางพาราก็จะมีปัญหาเรื่องราคาถ้าไม่รีบแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะส่งผลกระทบอย่างแน่นอน













นายอุทัย  สอนหลักทรัพย์  ประธานกรรมการที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังจากการเข้าประชุมคณะกรรมการสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่  28  มิถุนายน  2555 ณ โรงแรมรอยอลซิตี้ กรุงเทพฯ  ว่าการประชุมครั้งนี้ได้มีประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย ประธานเครือข่ายชาวสวนยางครบวงจรแห่งประเทศไทย สภาเกษตรกร จังหวัดสงขลา เข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาราคายางพารา ซึ่งตกต่ำโดยสรุปผลการประชุมดังนี้
เสนอให้รัฐบาลประกันราคายาง ไม่ต่ำกว่า กก. ละ 100 บาท ถ้าราคาเกิน 100 บาท/กก. ให้ซื้อนำจนกว่าจะมีราคา กก.ละ 120 บาท จึงให้ปล่อยเป็นไปตามกลไกของตลาดให้คณะกรรมการนโยบายธรรมชาติ (กนย.) ตั้งคณะทำงานบริหารโครงการขึ้นมาคณะหนึ่งเพื่อมอบหมายให้องค์การสวนยาง (อสย.)เป็นผู้กู้เงินจากสถาบันการเงินของรัฐเพื่อนำมาแทรกแซงราคายางตามข้อ (1) ให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) รับซื้อตามจุดตลาดของ สกย. ทุกจุดตามข้อตกลงที่ กนย. กำหนดให้ อสย. จัดซื้อตามตลาดกลางยางพาราของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร
การซื้อแทรกแซงยางในครั้งนี้คณะกรรมการบริหารโครงการจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจในการซื้อ-ขายยาง โดยให้ อสย. ปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการ ถ้าเกิดปัญหาขาดทุนรัฐบาลจะต้องหาเงินมาชดเชยให้ พรบ.การยางที่กำลังอยู่ในวาระ 2 ของสภาผู้แทนราษฏร ซึ่งเป็นการบริหารการเงิน CESS ที่หักมาจากเกษตรกรชาวสวนยาง กก.ละ 5 บาท (ในการส่งออก) ที่ประชุมมีความเห็นว่าคณะกรรมการนโยบายจะต้องมีเกษตรกรไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งรัฐบาลควรเพิ่มมูลค่ายางโดยสนับสนุนให้มีการแปรรูปทำผลิตภัณฑ์โดยให้เกษตรกรชาวสวนยางทำอุตสาหกรรม โดยทำผลิตภัณฑ์ยางที่ง่ายๆ โดยรัฐบาลสนับสนุนเงินทุน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาราคายางในระยะยาว
ในการทำยุทธศาสตร์ยาง (Road Map) ซึ่งประเทศมาเลเซียได้รับมอบจาก AEC ให้เป็นผู้ร่างทั้งๆ ที่ประเทศไทยมียางเป็นอันดับหนึ่งของโลก รัฐบาลควรที่จะต้องส่งผู้แทนภาครัฐ-เอกชน-เกษตรกร เข้าไปร่วมเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ของประเทศ
รัฐบาลควรที่จะต้องเร่งรัดโครงการยางพารา 800,000 ไร่ ให้แก่ผู้ที่ลงทะเบียนไว้และรอการอนุมัติของรัฐบาลมาตั้งแต่ปี 2553 โดยสูญเสียโอกาส รอรัฐบาลมา 3 ปีแล้ว แต่โครงการนี้ไม่ได้รับความสนใจจากรัฐบาล โดยขอให้รีบทบทวนโครงการนี้อย่างเร่งด่วน
นายอุทัย ได้กล่าวว่าเพิ่มเติมในที่ประชุมครั้งนี้ว่าผลจากข้อหารือดังกล่าวจะได้นำเสนอต่อครม.เร็วๆ นี้ นอกจากนี้ได้มีการพูดถึงโครงสร้างยางพาราว่ายางพาราเป็นพืชเดียวในประเทศไทยที่มีการเก็บเงิน CESS กิโลกรัมละ 5 บาท ตามพรบ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง 2503 เพื่อพึ่งพาตนเองโดยโค่นยางเก่าปลูกแทนยางใหม่ และมีส่วนที่ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายการบริหารงานทุกคนใน สกย. 10%  และอีก 5%  เพื่อสนับสนุนสถาบันวิจัยยางวิจัย ซึ่งทุกพืชพึ่งงบประมาณจากรัฐบาล โดยเฉพาะข้าวรัฐสนับสนุนทุกอย่างแม้แต่ราคาประกัน
ดังนั้นรัฐบาลควรที่จะหันมาดูแลยางซึ่งทำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับหนึ่งของสินค้าเกษตร ไม่ควรปล่อยให้มีปัญหาเรื่องราคาเช่นนี้ อีกประการหนึ่งถ้าการเสนอของสมาคมฯ ในครั้งนี้รัฐไม่รีบเข้ามาแก้ไขปัญหาจะตามมาอีก ก็คือปัญหากรณี FATF ที่ขึ้นบัญชีดำของประเทศไทย ซึ่งกระทบต่อการส่งออกยางเป็นอย่างมาก ถ้ารัฐไม่รีบแก้ไข และจะตามมาด้วยวิกฤตของยูโรโซน ซึ่งกำลังกระทบหลายประเทศ และจะลุกลามมาถึงประเทศไทย ยางพาราก็จะมีปัญหาเรื่องราคาถ้าไม่รีบแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะส่งผลกระทบอย่างแน่นอน











สป. เปิดเวทีเตรียมความพร้อมด้านมาตรการเชิงรุก-เชิงรับ (AEC)

สป. เปิดเวทีเตรียมความพร้อมด้านมาตรการเชิงรุก-เชิงรับ (AEC)



สป. เปิดเวทีเตรียมความพร้อมด้านมาตรการเชิงรุก-เชิงรับ สำหรับสินค้าเกษตร (ยางพารา) เพื่อเตรียมพร้อมนำเสนอครม.เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
 นายอุทัย  สอนหลักทรัพย์   ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงินการคลัง  สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  เปิดเผยภายหลังจากกการเป็นประธานจัดงาน  การสัมมนา  มาตรการเชิงรุก-เชิงรับ สำหรับสินค้าเกษตร (ยางพารา)เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี ๒๕๕๘ 
โดยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมให้เกียรติในการเปิด เมื่อ  วันศุกร์ที่  ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๕เวลา ๑๐.๑๕ – ๑๑.๐๐ น.ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๓ สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ว่า  ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย และเป็นผู้ผลิตส่งออกอันดับหนึ่งของโลก ตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ ทำรายได้เข้าประเทศประมาณ ๖๗๘,000 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีผู้มีความรู้ ความชำนาญในการผลิตยางพารา มีประชาชนเกี่ยวข้องกับยางพาราไม่น้อยกว่า ๖ ล้านคน
 ดังนั้น การใดๆ ที่มีผลกระทบต่อการผลิตการค้ายางพาราย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ และประชาชนจำนวนมาก คณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การคลัง เห็นถึงความสำคัญของสินค้ายางพาราทั้งระบบการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ จึงได้ยกประเด็นมาศึกษานโยบายเกี่ยวกับมาตรการเชิงรุก-เชิงรับสำหรับสินค้าเกษตร (ยางพารา) เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี ๒๕๕๘  
ทั้งนี้การจัดสัมมนาดังกล่าวได้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอการศึกษา วิเคราะห์ผลกระทบและมาตรการในการดำเนินการ   รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างให้เกิดความตระหนัก ตื่นตัวในการเตรียมพร้อมเพื่อกำหนดมาตรการในการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น  และเป็นการสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างเกษตรกรผู้ประกอบการยาง อุตสาหกรรมยาง ผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการในการจัดสัมมนา  ซึ่งคาดว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการสัมมนาในครั้งนี้ คือ  นอกจากผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลจากการศึกษาและสามารถนำไปประกอบการวางแผนเพื่อรองรับผล กระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต   และรับทราบผลกระทบที่เกิดจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อสินค้าเกษตรยางพาราว่ามีความได้เปรียบในการแข่งขันเพิ่มขึ้นหรือน้อยลงอย่างไร 
รวมทั้งได้แนวทางและมาตรการในการปรับตัวเพื่อให้ภาคการเกษตรไทยสามารถดำรงสถานภาพการแข่งขันได้ไม่น้อยกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแล้ว   ภาคการเกษตรของไทยได้รับประโยชน์จากการค้าสินค้าเกษตรยางพารากับประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียนเพิ่มขึ้น และยังเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันสินค้าเกษตรยางพาราไทยในเวทีการค้าโลก เมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเริ่มมีบทบาทอย่างเต็มที่ในปี  ๒๕๕๘   อีกด้วย
ทั้งนี้จากการที่อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดี บนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน
 ปัจจุบันอาเซียนประกอบด้วยประเทศสมาชิก  ๑๐  ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม สหราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหพันธรัฐมาเลเซีย สหภาพพม่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์  สาธารณรัฐสิงคโปร์  ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 
 จากที่ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปมากทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ทำให้อาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ มากมาย เช่น โรคระบาด การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ พิบัติภัยธรรมชาติ เช่น สึนามิ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน ความเสี่ยงที่อาเซียนอาจจะไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่นๆโดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด เป็นต้น
 อาเซียนจึงต้องปรับตัวเพื่อให้รับมือกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นให้ได้  ประกอบกับ    เดือนตุลาคม ๒๕๔๖ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี ๒ เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEN Community) คือ การให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี ๒๕๖๓ และต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปี ๒๕๕๘ โดยจะเป็นประชาคมที่ประกอบด้วย ๓ เสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันคือ  ๑ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน  ๒ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ ๓ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
อุทัย สอนหลักทรัพย์
“ในมุมมองของผมคิดว่า ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการเป็นประชาคมอาเซียนมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัว กล่าวคือหากประเทศไทยสามารถปรับทันได้ก่อน เรียนรู้ที่จะใช้โอกาสจากสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ก่อน ย่อมสร้างความได้เปรียบให้กับประเทศของเรา ในทางกลับกันหากเรายังไม่ทราบ หรือไม่รู้และไม่พร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อเราอย่างหลีกหนีไม่พ้น โดยที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม 
หากไม่มีการศึกษาวิเคราะห์เพื่อกำหนดมาตรการในการพัฒนาด้านการเกษตรที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ เราอาจเป็นฝ่ายเสียประโยชน์จากการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน เมื่อได้เห็นถึงปัญหาด้านการเกษตรซึ่งอาจจะเสียเปรียบจึงได้นำมาตรการเชิงรุก  เชิงรับเพื่อนำเสนอการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อสินค้าเกษตร(ยางพารา) เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางพาราเป็นอันดับ1ของโลกมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ มีพื้นที่ปลูกยางพารา ประมาณ ๑๗ ล้านไร่  ได้ผลผลิต ๓.๓ ล้านตันต่อปี  ทำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละ ๖๗๘,๐๐๐  ล้านบาท  ซึ่งถือเป็นสินค้าเกษตรที่ทำรายได้เป็นอันดับ ๑ จึงนับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก จึงควรที่จะเร่งหามาตรการเชิงรุก-เชิงรับดังกล่าว






สป. เปิดเวทีเตรียมความพร้อมด้านมาตรการเชิงรุก-เชิงรับ สำหรับสินค้าเกษตร (ยางพารา) เพื่อเตรียมพร้อมนำเสนอครม.เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
 นายอุทัย  สอนหลักทรัพย์   ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงินการคลัง  สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  เปิดเผยภายหลังจากกการเป็นประธานจัดงาน  การสัมมนา  มาตรการเชิงรุก-เชิงรับ สำหรับสินค้าเกษตร (ยางพารา)เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี ๒๕๕๘ 
โดยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมให้เกียรติในการเปิด เมื่อ  วันศุกร์ที่  ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๕เวลา ๑๐.๑๕ – ๑๑.๐๐ น.ณ ห้องประชุม ๑ ชั้น ๓ สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ว่า  ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย และเป็นผู้ผลิตส่งออกอันดับหนึ่งของโลก ตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ ทำรายได้เข้าประเทศประมาณ ๖๗๘,000 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทยนั้นเป็นประเทศที่มีผู้มีความรู้ ความชำนาญในการผลิตยางพารา มีประชาชนเกี่ยวข้องกับยางพาราไม่น้อยกว่า ๖ ล้านคน
 ดังนั้น การใดๆ ที่มีผลกระทบต่อการผลิตการค้ายางพาราย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ และประชาชนจำนวนมาก คณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การคลัง เห็นถึงความสำคัญของสินค้ายางพาราทั้งระบบการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ จึงได้ยกประเด็นมาศึกษานโยบายเกี่ยวกับมาตรการเชิงรุก-เชิงรับสำหรับสินค้าเกษตร (ยางพารา) เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี ๒๕๕๘  
ทั้งนี้การจัดสัมมนาดังกล่าวได้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอการศึกษา วิเคราะห์ผลกระทบและมาตรการในการดำเนินการ   รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างให้เกิดความตระหนัก ตื่นตัวในการเตรียมพร้อมเพื่อกำหนดมาตรการในการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น  และเป็นการสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างเกษตรกรผู้ประกอบการยาง อุตสาหกรรมยาง ผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการในการจัดสัมมนา  ซึ่งคาดว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการสัมมนาในครั้งนี้ คือ  นอกจากผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลจากการศึกษาและสามารถนำไปประกอบการวางแผนเพื่อรองรับผล กระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต   และรับทราบผลกระทบที่เกิดจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อสินค้าเกษตรยางพาราว่ามีความได้เปรียบในการแข่งขันเพิ่มขึ้นหรือน้อยลงอย่างไร 
รวมทั้งได้แนวทางและมาตรการในการปรับตัวเพื่อให้ภาคการเกษตรไทยสามารถดำรงสถานภาพการแข่งขันได้ไม่น้อยกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันแล้ว   ภาคการเกษตรของไทยได้รับประโยชน์จากการค้าสินค้าเกษตรยางพารากับประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียนเพิ่มขึ้น และยังเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันสินค้าเกษตรยางพาราไทยในเวทีการค้าโลก เมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเริ่มมีบทบาทอย่างเต็มที่ในปี  ๒๕๕๘   อีกด้วย
ทั้งนี้จากการที่อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงปลอดภัยทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดี บนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน
 ปัจจุบันอาเซียนประกอบด้วยประเทศสมาชิก  ๑๐  ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม สหราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหพันธรัฐมาเลเซีย สหภาพพม่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์  สาธารณรัฐสิงคโปร์  ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 
 จากที่ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปมากทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ทำให้อาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ มากมาย เช่น โรคระบาด การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ พิบัติภัยธรรมชาติ เช่น สึนามิ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน ความเสี่ยงที่อาเซียนอาจจะไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่นๆโดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด เป็นต้น
 อาเซียนจึงต้องปรับตัวเพื่อให้รับมือกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นให้ได้  ประกอบกับ    เดือนตุลาคม ๒๕๔๖ ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี ๒ เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEN Community) คือ การให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี ๒๕๖๓ และต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นำประเทศอาเซียนตกลงที่จะเร่งรัดกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปี ๒๕๕๘ โดยจะเป็นประชาคมที่ประกอบด้วย ๓ เสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันคือ  ๑ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน  ๒ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ ๓ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
อุทัย สอนหลักทรัพย์
“ในมุมมองของผมคิดว่า ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการเป็นประชาคมอาเซียนมากน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัว กล่าวคือหากประเทศไทยสามารถปรับทันได้ก่อน เรียนรู้ที่จะใช้โอกาสจากสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ก่อน ย่อมสร้างความได้เปรียบให้กับประเทศของเรา ในทางกลับกันหากเรายังไม่ทราบ หรือไม่รู้และไม่พร้อมที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อเราอย่างหลีกหนีไม่พ้น โดยที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม 
หากไม่มีการศึกษาวิเคราะห์เพื่อกำหนดมาตรการในการพัฒนาด้านการเกษตรที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ เราอาจเป็นฝ่ายเสียประโยชน์จากการเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน เมื่อได้เห็นถึงปัญหาด้านการเกษตรซึ่งอาจจะเสียเปรียบจึงได้นำมาตรการเชิงรุก  เชิงรับเพื่อนำเสนอการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อสินค้าเกษตร(ยางพารา) เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางพาราเป็นอันดับ1ของโลกมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ มีพื้นที่ปลูกยางพารา ประมาณ ๑๗ ล้านไร่  ได้ผลผลิต ๓.๓ ล้านตันต่อปี  ทำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละ ๖๗๘,๐๐๐  ล้านบาท  ซึ่งถือเป็นสินค้าเกษตรที่ทำรายได้เป็นอันดับ ๑ จึงนับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก จึงควรที่จะเร่งหามาตรการเชิงรุก-เชิงรับดังกล่าว




Random Posts

randomposts