์News

์News

ปรับกลยุทธ์ โครงการ 15,000 ล.บ. รับมือสถานการณ์ยูโรโซน รมช.กษ. เร่งระดมทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้อง หวัง หาทางออกช่วยรักษาเสถียรภาพราคายางภายในประเทศ

ปรับกลยุทธ์ โครงการ 15,000 ล.บ. รับมือสถานการณ์ยูโรโซน รมช.กษ. เร่งระดมทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้อง หวัง หาทางออกช่วยรักษาเสถียรภาพราคายางภายในประเทศ


______________
สถานการณ์ยูโรโซน ยังส่งผลกระทบกับราคายางไทย รมช.กษ. หวังโครงการ 15,000 ล.บ.ทางออกช่วยรักษาเสถียรภาพราคายางภายในประเทศได้ดีที่สุด หลังหารือกลุ่มผู้นำเกษตรกรชาวสวนยางเห็นพ้องให้ อ.ส.ย.รับซื้อยางแผ่นดิบสูงกว่าราคาตลาดกลางเฉลี่ย 3 ตลาด (จ.นครศรีฯ    จ.สุราษฎร์ฯ และ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา) กิโลละ 3 บาท หากราคาดิ่งลง ยังคงยืนราคาเดิมตลอดทั้งสัปดาห์
          เมื่อเย็นวาน รมช.กษ.ได้ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ประกอบด้วย นายวิทย์ประทักษ์ใจ (ผอ.สกย.) นายชนะชัย เปล่งศิริวัฒน์ (ผอ.อ.ส.ย.) และ นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ (กรรมการ     ก.ส.ย.) พร้อมด้วย ตัวแทนสถาบันเกษตรกร นำโดย นายบุญส่ง นับทอง นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย นายทรงศักดิ์ ประจงจัด นายกสมาคมชาวสวนยาง จ.เลย นายสังเวิน ทวดห้อย ประธานเครือข่ายสหกรณ์ชาวสวนยาง จ.จันทบุรี เพื่อหาแนวทางการบริหารโครงการรักษาเสถียรภาพราคายาง

          นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยถึงสถานการณ์ราคายางพาราขณะนี้ว่า มีการขยับตัวลดลงติดต่อกันมา 2-3 สัปดาห์แล้ว  จึงได้มีการหารือกับคณะกรรมการบริหารโครงการ 15,000 ล้าน ผู้ประกอบการ เกษตรกร และสถาบันเกษตรกร ว่าขณะนี้ในการดำเนินการตามโครงการ 15,000 ล้านนั้น ได้พยายามขับเคลื่อนและขยายการดำเนินงานของโครงการ จากการให้เฉพาะสถาบันเกษตรกรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลเข้าร่วมโครงการกู้เงินกับทาง ธ.ก.ส.ในวงเงิน 15,000 ล้าน แต่ขณะนี้ได้ขยายโดยใช้มติที่ประชุมคณะกรรมการโครงการให้วิสาหกิจชุมชน สมาคมชาวสวนยาง และกลุ่มเกษตรกรของ สกย.  สามารถที่จะเข้าร่วมโครงการได้ คำว่าเข้าร่วมโครงการ หมายถึง ตามกฎหมายของ ธ.ก.ส. ที่ระบุว่า องค์กรที่จะกู้ได้ต้องเป็นนิติบุคคล เพราะฉะนั้นเมื่อวิสาหกิจชุมชน สมาคมชาวสวนยาง และกลุ่มเกษตรกรของ สกย.  เหล่านี้ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลจึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับวงเงินสินเชื่อ แต่สามารถที่จะนำยางของสมาชิกมาขายให้กับทางโครงการได้ และสำหรับเรื่องของกลไกราคานั้น จะนำเอาราคาของตลาดกลางเฉลี่ย 3 ตลาด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานีและหาดใหญ่เป็นตัวตั้ง แล้วจึงบวกราคาซื้อในโครงการไปอีก 3 บาท ทั้งการรับ
 ซื้อยางแผ่นดิบชั้น 3 และยางแผ่นรมควัน  ซึ่งในสัปดาห์หน้าก็จะยืนราคานี้อันเป็นราคานำตลาด ถ้าหากว่าในสัปดาห์หน้าราคาตลาดกลางดันตัวสูงขึ้น ราคาโครงการของยางทั้งสองประเภทก็จะขยับตัวหนีขึ้นไปให้ได้ส่วนต่างกิโลกรัมละ 3 บาท แต่ถ้าราคาของตลาดกลางปรับตัวลดลง เราก็ยังคงยืนอยู่ที่ราคาประกาศ ณ  วันนี้ และจะยืนอย่างนี้ไปทั้งสัปดาห์ ตัวเลขจะอยู่ที่ประมาณ 91 บาทกว่า สำหรับยางแผ่นดิบ ชั้น 3 และประมาณ 94 บาทกว่าสำหรับยางแผ่นรมควัน
            รมช.กษ.กล่าวทิ้งท้ายว่า จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายยาง

แห่งชาติ ในวันที่ 6 ก.ค. 2555 นี้ เพื่อพิจารณามาตรการอื่นๆ เพิ่มเติมตาม

สถานการณ์ต่อไป

______________
สถานการณ์ยูโรโซน ยังส่งผลกระทบกับราคายางไทย รมช.กษ. หวังโครงการ 15,000 ล.บ.ทางออกช่วยรักษาเสถียรภาพราคายางภายในประเทศได้ดีที่สุด หลังหารือกลุ่มผู้นำเกษตรกรชาวสวนยางเห็นพ้องให้ อ.ส.ย.รับซื้อยางแผ่นดิบสูงกว่าราคาตลาดกลางเฉลี่ย 3 ตลาด (จ.นครศรีฯ    จ.สุราษฎร์ฯ และ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา) กิโลละ 3 บาท หากราคาดิ่งลง ยังคงยืนราคาเดิมตลอดทั้งสัปดาห์
          เมื่อเย็นวาน รมช.กษ.ได้ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับยางพารา ประกอบด้วย นายวิทย์ประทักษ์ใจ (ผอ.สกย.) นายชนะชัย เปล่งศิริวัฒน์ (ผอ.อ.ส.ย.) และ นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ (กรรมการ     ก.ส.ย.) พร้อมด้วย ตัวแทนสถาบันเกษตรกร นำโดย นายบุญส่ง นับทอง นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย นายทรงศักดิ์ ประจงจัด นายกสมาคมชาวสวนยาง จ.เลย นายสังเวิน ทวดห้อย ประธานเครือข่ายสหกรณ์ชาวสวนยาง จ.จันทบุรี เพื่อหาแนวทางการบริหารโครงการรักษาเสถียรภาพราคายาง

          นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยถึงสถานการณ์ราคายางพาราขณะนี้ว่า มีการขยับตัวลดลงติดต่อกันมา 2-3 สัปดาห์แล้ว  จึงได้มีการหารือกับคณะกรรมการบริหารโครงการ 15,000 ล้าน ผู้ประกอบการ เกษตรกร และสถาบันเกษตรกร ว่าขณะนี้ในการดำเนินการตามโครงการ 15,000 ล้านนั้น ได้พยายามขับเคลื่อนและขยายการดำเนินงานของโครงการ จากการให้เฉพาะสถาบันเกษตรกรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลเข้าร่วมโครงการกู้เงินกับทาง ธ.ก.ส.ในวงเงิน 15,000 ล้าน แต่ขณะนี้ได้ขยายโดยใช้มติที่ประชุมคณะกรรมการโครงการให้วิสาหกิจชุมชน สมาคมชาวสวนยาง และกลุ่มเกษตรกรของ สกย.  สามารถที่จะเข้าร่วมโครงการได้ คำว่าเข้าร่วมโครงการ หมายถึง ตามกฎหมายของ ธ.ก.ส. ที่ระบุว่า องค์กรที่จะกู้ได้ต้องเป็นนิติบุคคล เพราะฉะนั้นเมื่อวิสาหกิจชุมชน สมาคมชาวสวนยาง และกลุ่มเกษตรกรของ สกย.  เหล่านี้ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลจึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับวงเงินสินเชื่อ แต่สามารถที่จะนำยางของสมาชิกมาขายให้กับทางโครงการได้ และสำหรับเรื่องของกลไกราคานั้น จะนำเอาราคาของตลาดกลางเฉลี่ย 3 ตลาด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานีและหาดใหญ่เป็นตัวตั้ง แล้วจึงบวกราคาซื้อในโครงการไปอีก 3 บาท ทั้งการรับ
 ซื้อยางแผ่นดิบชั้น 3 และยางแผ่นรมควัน  ซึ่งในสัปดาห์หน้าก็จะยืนราคานี้อันเป็นราคานำตลาด ถ้าหากว่าในสัปดาห์หน้าราคาตลาดกลางดันตัวสูงขึ้น ราคาโครงการของยางทั้งสองประเภทก็จะขยับตัวหนีขึ้นไปให้ได้ส่วนต่างกิโลกรัมละ 3 บาท แต่ถ้าราคาของตลาดกลางปรับตัวลดลง เราก็ยังคงยืนอยู่ที่ราคาประกาศ ณ  วันนี้ และจะยืนอย่างนี้ไปทั้งสัปดาห์ ตัวเลขจะอยู่ที่ประมาณ 91 บาทกว่า สำหรับยางแผ่นดิบ ชั้น 3 และประมาณ 94 บาทกว่าสำหรับยางแผ่นรมควัน
            รมช.กษ.กล่าวทิ้งท้ายว่า จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายยาง

แห่งชาติ ในวันที่ 6 ก.ค. 2555 นี้ เพื่อพิจารณามาตรการอื่นๆ เพิ่มเติมตาม

สถานการณ์ต่อไป

แปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง งานท้าทาย ชาวสวนยาง...

แปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง งานท้าทาย ชาวสวนยาง...


________________________________
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
(ยางเศรษฐกิจ ฉบับ 15/2555 มิถุนายน 55 หน้า 22-27)
            เห็นตัวเลขคร่าวๆ แล้วถึงกับอึ้ง...???
            เชื่อหรือไม่ว่าประเทศนี้ผลิตยางพาราปีละกว่า 3,569,033 ตัน
            จำนวนดังกล่าวส่งออกรวม 2,952,381 ตัน มากเป็นอันดับ 1 ของโลก
            มูลค่า 383,318.60 ล้านบาท (ปี 2554)...!!!
            คิดเป็นปริมาณยาง 90% ของการผลิต
            ส่วนยางอีก 486,745 ตัน หรือ 14% ใช้ในประเทศ
            แต่ตัวเลขที่ไม่น่าเชื่อคือ...???
ยางที่ใช้ในประเทศเมื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ กลับส่งออกต่างประเทศมีมูลค่ารวมมากถึง 252,969.8 ล้านบาท (ปี 2554)
            เท่ากับว่ามูลค่ายางแปรรูปเพียง 14% แต่กลับมีมูลค่าใกล้เคียงกับยางดิบๆ 84%...!!!
            มูลค่าทางเศรษฐกิจของยางดิบ และแปรรูปผลิตภัณฑ์รวมทั้ง 2 ส่วนประมาณ 636,288.4 ล้านบาท
            ยังไม่รวมเข้ากับมูลค่าอุตสาหกรรมไม้ยาง อีก 178,604 ล้านบาท/ปี (ตัวเลขจากสมาคมธุรกิจไม้ยางแห่งประเทศไทย)
คำถามคือ ถ้าประเทศนี้เพิ่มสัดส่วนการแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์อีกสัก 10-20% มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางไม่ต่ำกว่า 6-7 แสนล้านบาท
            ทว่าหลายทศวรรษปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยางของไทยกลับเติบโตเฉพาะในส่วนของธุรกิจ “ต้นน้ำ” คือ การปลูกและแปรรูปเป็นวัตถุดิบขั้นพื้นฐาน คือ น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ และยางก้อนถ้วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานของเกษตรกรชาวสวนยางกว่า 6 ล้านคนทั่วประเทศ
            ขณะที่บริษัทผู้ซื้อหรือบริษัมส่งออกจะทำหน้าที่ในการแปรรูปเบื้องต้นเป็น น้ำยางข้น ยางแผ่นรมควัน  ยางแท่ง และยางคอมปาวด์ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นธุรกิจ “กลางน้ำ”
            ส่วนธุรกิจแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ อย่าง ยางรถยนต์ เป็นต้น คือธุรกิจ “ปลายน้ำ” ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต และเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงที่สุด ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมต่างประเทศ อย่าง จีน อเมริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น
            ถ้าเป็นเช่นนี้เท่ากับว่าประเทศไทยคือ ผู้ผลิตและส่งออกยางที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมยางมากที่สุด แต่ตามตัวเลขที่ฟ้องอยู่คือ มูลค่าน้อยกว่าธุรกิจแปรรูปหลายเท่าตัว เพราะยางเพียงแค่ 14% สามารถเพิ่มมูลค่าได้เทียบเท่ากับยางธรรมชาติ
            ขณะที่ยางของไทยต้องเผชิญกับราคาที่ผันผวน โดยเฉพาะเมื่อราคายางต้องผูกติดกับกระแสการลงทุนในเศรษฐกิจโลกอย่างที่เป็นอยู่นี้

 ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแนวคิดในการส่งเสริมให้ประเทศไทยลงทุนการแปรรูปมากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกยางให้มากกว่าเดิม โดยอาศัยจุดแข็งที่มีวัตถุดิบปริมาณมาก
แต่กลับมีจุดอ่อนเรื่องงานแปรรูปขั้นสูง...!!!
            คำถามอีกข้อคือเหตุใดเกษตรกรไทยสามารถผลิตยางขั้นต้นน้ำได้ เช่น น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ และยางแผ่นรมควัน เป็นต้น แต่ไม่สามารถผลิตยางขั้นกลางน้ำ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่ายางในช่วงที่เกิดวิกฤติราคายางตกต่ำ โดยเฉพาะสถาบันเกษตรกรที่มีการรวมตัวกันอย่างเป็นรูปธรรม อย่าง สหกรณ์ กลุ่ม เป็นต้น
            ธุรกิจแปรรูปขั้นน้ำที่ว่าคือ ยางแท่ง ยางคอมปาวด์ และน้ำยางข้น เป็นต้น
            ทั้งๆ ที่ก็เห็นตัวเลขชัดเจนแล้วว่ามีโอกาสที่ดีกว่า...!!!
            เพราะวันนี้ประเทศไทยขยายแต่พื้นที่ปลูกเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต ซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มมูลค่าการส่งออก หากแต่การเพิ่มมูลค่าส่งออกโดยไม่เพิ่มพื้นที่ปลูก มีโอกาสเป็นไปได้สูง โดยการส่งเสริมเกษตรกรแปรรูปยางขั้น “กลางน้ำ”
            ถามต่อว่างานเหล่านี้สถาบันเกษตรกรทำได้ไหม...???
            แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
            จำได้ว่าโครงการของรัฐที่ให้ความสำคัญการเพิ่มมูลค่ายางอย่างมาก โดยเฉพาะยุทศาสตร์ยางพารา 2552-2556 ภายในยุทศาสตร์ เขียนไว้ค่อนข้างชัดว่าส่งเสริมการแปรรูปยางเพื่อเพิ่มมูลค่ายาง
            ยิ่งล่าสุดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยเตรียมผลักดันยุทธศาสตร์ยางพาราไทย เพิ่มมูลค่าการส่งออกยาง 1 ล้านล้านบาท ภายในปี 2556 นี้ ผ่านวิสัยทัศน์ของ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ คนปัจจุบัน โดยมีแผนระยะสั้นและระยะยาว
ในระยะสั้น จะดำเนินการดึงราคาจำหน่ายยางจากปัจจุบันราคากิโลกรัมละ 106.94 บาท เพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 132 บาท ก็สามารถเพิ่มราคายางแผ่นดิบให้สูงขึ้น
จากนั้นจะเพิ่มการผลิตยางแผ่นรมควันจากปีละ 300,000 ล้านบาท เป็นปีละ 400,000 ล้านบาท ส่วนอีก 100,000 ล้านบาท มาจากการนำยางมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในประเทศ เช่น การทำถนน เป็นต้น
เมื่อคำนวณจากมูลค่าที่มีอยู่คือ 670,000-700,000 ล้านบาท ผนวกกับส่วนที่เพิ่มอีก 300,000 ล้านบาท เป้าหมาย 1 ล้านล้านบาท
ทว่าการเพิ่มมูลค่ายางดังกล่าว เกษตรกรไม่ได้รับประโยชน์เท่าใดนัก เพราะเป็นแผนระยะสั้น และไม่ใช่เครื่องย้ำยันความยั่งยืนด้านราคาแต่อย่างใด
แนวทางที่มีการมองและวางยุทธศาสตร์มานาน แต่ไม่เคยสำเร็จ คือ การส่งเสริมสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางขั้น “กลางน้ำ” และ “ปลายน้ำ” ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าอย่างแท้จริงให้กับเกษตรกร และยังเป็นการเพิ่มมูลค่ามวลรวมของยางพาราอีกด้วย
ตัวอย่างที่มองเห็นเป็นรูปธรรมคือ สถาบันเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง และหัวก้าวหน้าเดินเครื่องแปรรูปยางขึ้นกลางน้ำ อย่าง ยางแท่ง STR 20 และ ยางคอมปาวด์ เป็นต้น
ยางเศรษฐกิจส่งทีมงานลงไปเจาะลึกการแปรรูปยางของสถาบันเกษตรกร 3 แห่ง ผลิตยางแท่ง STR 20 ยางคอมปาวด์ และผลิตภัณฑ์ยางในโรงสี
น่าสงสัยว่าเส้นทางการเดินทางของสถาบันเกษตรกรเหล่านี้เป็นอย่างไร เพราะต้องยอมรับว่านี่คือ “งานยาก” ของเกษตรกรที่ถนัดการผลิตต้นน้ำ เมื่อต้องยกระดับสูกลางน้ำ ซึ่งมีผู้แข่งขันใหญ่และแข็งแรงกว่า ยิ่งเมื่อดูเส้นทาง “หิน” อย่างการตลาด ผลิตแล้วจะนำไปขายที่ไหน และจะต่อสู่แข่งขันกับรายใหญ่อย่างไร...???
โดยเฉพาะประเด็นร้อนๆ ว่าภาครัฐวันนี้ให้ความสำคัญเรื่องการส่งเสริมให้เกษตรกรแปรรูปยางเพื่อเพิ่มมูลค่ามากน้อยแค่ไหน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมจะเป็นแนวทางแก้สถาบันเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่ต้องการยกระดับความสามารถของตัวเอง




ติดตามรายละเอียดเรื่อง
1.สหกรณ์ฯ เขาซก ผลิตยางแท่ง STR 20 ปีละ 12,000 ต้น กำไร 53 ล้านบาท
2. ยางคอมปาวด์แปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ ส่งใน/นอก ผลงานชุมนุมสหกรณ์อุตสาหกรรมยางพาราภาคใต้
3. แบจำลองกระบวนการผลิตยางแท่ง STR 20

________________________________
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
(ยางเศรษฐกิจ ฉบับ 15/2555 มิถุนายน 55 หน้า 22-27)
            เห็นตัวเลขคร่าวๆ แล้วถึงกับอึ้ง...???
            เชื่อหรือไม่ว่าประเทศนี้ผลิตยางพาราปีละกว่า 3,569,033 ตัน
            จำนวนดังกล่าวส่งออกรวม 2,952,381 ตัน มากเป็นอันดับ 1 ของโลก
            มูลค่า 383,318.60 ล้านบาท (ปี 2554)...!!!
            คิดเป็นปริมาณยาง 90% ของการผลิต
            ส่วนยางอีก 486,745 ตัน หรือ 14% ใช้ในประเทศ
            แต่ตัวเลขที่ไม่น่าเชื่อคือ...???
ยางที่ใช้ในประเทศเมื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ กลับส่งออกต่างประเทศมีมูลค่ารวมมากถึง 252,969.8 ล้านบาท (ปี 2554)
            เท่ากับว่ามูลค่ายางแปรรูปเพียง 14% แต่กลับมีมูลค่าใกล้เคียงกับยางดิบๆ 84%...!!!
            มูลค่าทางเศรษฐกิจของยางดิบ และแปรรูปผลิตภัณฑ์รวมทั้ง 2 ส่วนประมาณ 636,288.4 ล้านบาท
            ยังไม่รวมเข้ากับมูลค่าอุตสาหกรรมไม้ยาง อีก 178,604 ล้านบาท/ปี (ตัวเลขจากสมาคมธุรกิจไม้ยางแห่งประเทศไทย)
คำถามคือ ถ้าประเทศนี้เพิ่มสัดส่วนการแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์อีกสัก 10-20% มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางไม่ต่ำกว่า 6-7 แสนล้านบาท
            ทว่าหลายทศวรรษปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยางของไทยกลับเติบโตเฉพาะในส่วนของธุรกิจ “ต้นน้ำ” คือ การปลูกและแปรรูปเป็นวัตถุดิบขั้นพื้นฐาน คือ น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ และยางก้อนถ้วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานของเกษตรกรชาวสวนยางกว่า 6 ล้านคนทั่วประเทศ
            ขณะที่บริษัทผู้ซื้อหรือบริษัมส่งออกจะทำหน้าที่ในการแปรรูปเบื้องต้นเป็น น้ำยางข้น ยางแผ่นรมควัน  ยางแท่ง และยางคอมปาวด์ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นธุรกิจ “กลางน้ำ”
            ส่วนธุรกิจแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ อย่าง ยางรถยนต์ เป็นต้น คือธุรกิจ “ปลายน้ำ” ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต และเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงที่สุด ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมต่างประเทศ อย่าง จีน อเมริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น
            ถ้าเป็นเช่นนี้เท่ากับว่าประเทศไทยคือ ผู้ผลิตและส่งออกยางที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมยางมากที่สุด แต่ตามตัวเลขที่ฟ้องอยู่คือ มูลค่าน้อยกว่าธุรกิจแปรรูปหลายเท่าตัว เพราะยางเพียงแค่ 14% สามารถเพิ่มมูลค่าได้เทียบเท่ากับยางธรรมชาติ
            ขณะที่ยางของไทยต้องเผชิญกับราคาที่ผันผวน โดยเฉพาะเมื่อราคายางต้องผูกติดกับกระแสการลงทุนในเศรษฐกิจโลกอย่างที่เป็นอยู่นี้

 ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแนวคิดในการส่งเสริมให้ประเทศไทยลงทุนการแปรรูปมากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกยางให้มากกว่าเดิม โดยอาศัยจุดแข็งที่มีวัตถุดิบปริมาณมาก
แต่กลับมีจุดอ่อนเรื่องงานแปรรูปขั้นสูง...!!!
            คำถามอีกข้อคือเหตุใดเกษตรกรไทยสามารถผลิตยางขั้นต้นน้ำได้ เช่น น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ และยางแผ่นรมควัน เป็นต้น แต่ไม่สามารถผลิตยางขั้นกลางน้ำ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่ายางในช่วงที่เกิดวิกฤติราคายางตกต่ำ โดยเฉพาะสถาบันเกษตรกรที่มีการรวมตัวกันอย่างเป็นรูปธรรม อย่าง สหกรณ์ กลุ่ม เป็นต้น
            ธุรกิจแปรรูปขั้นน้ำที่ว่าคือ ยางแท่ง ยางคอมปาวด์ และน้ำยางข้น เป็นต้น
            ทั้งๆ ที่ก็เห็นตัวเลขชัดเจนแล้วว่ามีโอกาสที่ดีกว่า...!!!
            เพราะวันนี้ประเทศไทยขยายแต่พื้นที่ปลูกเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต ซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มมูลค่าการส่งออก หากแต่การเพิ่มมูลค่าส่งออกโดยไม่เพิ่มพื้นที่ปลูก มีโอกาสเป็นไปได้สูง โดยการส่งเสริมเกษตรกรแปรรูปยางขั้น “กลางน้ำ”
            ถามต่อว่างานเหล่านี้สถาบันเกษตรกรทำได้ไหม...???
            แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
            จำได้ว่าโครงการของรัฐที่ให้ความสำคัญการเพิ่มมูลค่ายางอย่างมาก โดยเฉพาะยุทศาสตร์ยางพารา 2552-2556 ภายในยุทศาสตร์ เขียนไว้ค่อนข้างชัดว่าส่งเสริมการแปรรูปยางเพื่อเพิ่มมูลค่ายาง
            ยิ่งล่าสุดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยเตรียมผลักดันยุทธศาสตร์ยางพาราไทย เพิ่มมูลค่าการส่งออกยาง 1 ล้านล้านบาท ภายในปี 2556 นี้ ผ่านวิสัยทัศน์ของ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ คนปัจจุบัน โดยมีแผนระยะสั้นและระยะยาว
ในระยะสั้น จะดำเนินการดึงราคาจำหน่ายยางจากปัจจุบันราคากิโลกรัมละ 106.94 บาท เพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 132 บาท ก็สามารถเพิ่มราคายางแผ่นดิบให้สูงขึ้น
จากนั้นจะเพิ่มการผลิตยางแผ่นรมควันจากปีละ 300,000 ล้านบาท เป็นปีละ 400,000 ล้านบาท ส่วนอีก 100,000 ล้านบาท มาจากการนำยางมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในประเทศ เช่น การทำถนน เป็นต้น
เมื่อคำนวณจากมูลค่าที่มีอยู่คือ 670,000-700,000 ล้านบาท ผนวกกับส่วนที่เพิ่มอีก 300,000 ล้านบาท เป้าหมาย 1 ล้านล้านบาท
ทว่าการเพิ่มมูลค่ายางดังกล่าว เกษตรกรไม่ได้รับประโยชน์เท่าใดนัก เพราะเป็นแผนระยะสั้น และไม่ใช่เครื่องย้ำยันความยั่งยืนด้านราคาแต่อย่างใด
แนวทางที่มีการมองและวางยุทธศาสตร์มานาน แต่ไม่เคยสำเร็จ คือ การส่งเสริมสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางขั้น “กลางน้ำ” และ “ปลายน้ำ” ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าอย่างแท้จริงให้กับเกษตรกร และยังเป็นการเพิ่มมูลค่ามวลรวมของยางพาราอีกด้วย
ตัวอย่างที่มองเห็นเป็นรูปธรรมคือ สถาบันเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง และหัวก้าวหน้าเดินเครื่องแปรรูปยางขึ้นกลางน้ำ อย่าง ยางแท่ง STR 20 และ ยางคอมปาวด์ เป็นต้น
ยางเศรษฐกิจส่งทีมงานลงไปเจาะลึกการแปรรูปยางของสถาบันเกษตรกร 3 แห่ง ผลิตยางแท่ง STR 20 ยางคอมปาวด์ และผลิตภัณฑ์ยางในโรงสี
น่าสงสัยว่าเส้นทางการเดินทางของสถาบันเกษตรกรเหล่านี้เป็นอย่างไร เพราะต้องยอมรับว่านี่คือ “งานยาก” ของเกษตรกรที่ถนัดการผลิตต้นน้ำ เมื่อต้องยกระดับสูกลางน้ำ ซึ่งมีผู้แข่งขันใหญ่และแข็งแรงกว่า ยิ่งเมื่อดูเส้นทาง “หิน” อย่างการตลาด ผลิตแล้วจะนำไปขายที่ไหน และจะต่อสู่แข่งขันกับรายใหญ่อย่างไร...???
โดยเฉพาะประเด็นร้อนๆ ว่าภาครัฐวันนี้ให้ความสำคัญเรื่องการส่งเสริมให้เกษตรกรแปรรูปยางเพื่อเพิ่มมูลค่ามากน้อยแค่ไหน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมจะเป็นแนวทางแก้สถาบันเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่ต้องการยกระดับความสามารถของตัวเอง




ติดตามรายละเอียดเรื่อง
1.สหกรณ์ฯ เขาซก ผลิตยางแท่ง STR 20 ปีละ 12,000 ต้น กำไร 53 ล้านบาท
2. ยางคอมปาวด์แปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ ส่งใน/นอก ผลงานชุมนุมสหกรณ์อุตสาหกรรมยางพาราภาคใต้
3. แบจำลองกระบวนการผลิตยางแท่ง STR 20

ยางเศรษฐกิจ ฉบับ 16/2555 ประจำเดือนกรกฎาคม 2555

ยางเศรษฐกิจ ฉบับ 16/2555 ประจำเดือนกรกฎาคม 2555

บอร์ด สกย. คืนเงินเซส 286 ล้านบาท

บอร์ด สกย. คืนเงินเซส 286 ล้านบาท



เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุม ก.ส.ย. ได้อนุมัติจ่ายเงินสงเคราะห์ (Cess) คืนผู้ส่งออกยางเพิ่มอีกจำนวน 23 ราย คิดเป็นเงินสงเคราะห์ที่ต้องจ่ายคืนมูลค่า 286,526,474.78 บาท ปริมาณยาง 79,590,687.44  กก. พร้อมเร่งตรวจสอบอีก 46 ราย เพื่อขออนุมัติครั้งต่อไป
          นางพรทิพย์  ลีระพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เผยว่า หลังจากที่มีการปรับอัตราการจัดเก็บเงินสงเคราะห์ (Cess) เป็น 5 ระดับ โดยกำหนดให้ผู้ส่งยางออกที่ได้ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไปต่างประเทศก่อนวันที่ 4 มิ.ย.53  และผู้ส่งออกยางที่ได้ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยซึ่งมีกำหนดส่งมอบสินค้าจนถึงวันที่ 31  ม.ค.54 
          รวมถึงผู้ส่งออกยางที่มียางในสต๊อกตามที่ สกย.ตรวจสอบระหว่างวันที่ 20–30 ก.ย.53 แต่ยังไม่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ส.ค.53 และได้มีการส่งยางออกนอกราชอาณาจักรจริง จะได้รับการพิจารณาให้สิทธิชำระเงินสงเคราะห์ (Cess) ในอัตราเดิม โดย สกย.ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบเอกสารหลักฐานในการพิจารณาให้สิทธิในการชำระเงินสงเคราะห์ในอัตราเดิมแก่ผู้ส่งออกยาง ดังกล่าว ปรากฏว่ามีผู้ส่งยางออกทั้งหมด 123 ราย แต่เข้าหลักเกณฑ์ การพิจารณาฯ เบื้องต้นเพียง 116 ราย ซึ่งในจำนวนนี้ได้ส่งเอกสารเพื่อขอรับสิทธิ 101 ราย ปริมาณยาง 509,406.645 ตัน  คิดเป็นเงินสงเคราะห์ที่ต้องจ่ายคืน 1,833.864 ล้านบาท  
          แต่เมื่อ สกย. ดำเนินการตรวจสอบเอกสารหลักฐานตามหลักเกณฑ์โดยละเอียด มีเอกสารที่เข้าหลักเกณฑ์ฯ เพียง 99 ราย ปริมาณยาง 420,576.308 ตัน คิดเป็นเงินสงเคราะห์ที่ต้องจ่ายคืน 1,514.075 ล้านบาท ในจำนวนนี้ คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง (ก.ส.ย.) ได้อนุมัติให้จ่ายเงินสงเคราะห์คืนแก่ผู้ส่งยางออกไปแล้ว 4 ครั้ง คิดเป็นปริมาณยาง 140,614.941 ตัน เป็นเงินสงเคราะห์ที่จ่ายคืน 506.214 ล้านบาท จึงยังคงเหลือปริมาณยาง 279,961.367 ตัน เป็นเงินสงเคราะห์ที่ต้องจ่ายคืนอีกจำนวน 1,007.816 ล้านบาท
          ในคราวการประชุมบอร์ดของ สกย.ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 29 พ.ค.55 มีมติเห็นชอบให้จ่ายเงินสงเคราะห์ (Cess) คืนแก่ผู้ส่งออกยางส่วนที่เหลือดังกล่าว ซึ่งผ่านการตรวจสอบหลักฐานโดยละเอียด พบว่า มีปริมาณยางอีก 79,590,687.44  กก. คิดเป็นเงินสงเคราะห์ที่สามารถจ่ายคืนได้เป็นเงิน 286,526,474.78 บาท  สำหรับเอกสารหลักฐานของผู้ส่งยางออกที่เหลืออีก 46 ราย  สกย. จะเร่งรัดตรวจสอบให้แล้วเสร็จเพื่อนำเสนอขออนุมัติ ก.ส.ย.ต่อไป นางพรทิพย์ กล่าวทิ้งท้าย
            นอกจากนี้ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธาน ก.ส.ย. ได้กล่าวย้ำว่า
          “การจ่ายเงินคืนเป็นจำนวนมาก และมีทั้งผู้ได้รับ และไม่ได้รับเงินคืน  สมควรมีการตรวจสอบโดยละเอียด  เพื่อให้มั่นใจในความถูกต้อง จึงมีนโยบายและมอบหมายให้ สกย. โดยคณะทำงานฯ ได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานส่วนที่เหลืออีกครั้ง ก่อนนำเสนอ ก.ส.ย. พิจารณา” นายณัฐวุฒิ กล่าว


เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุม ก.ส.ย. ได้อนุมัติจ่ายเงินสงเคราะห์ (Cess) คืนผู้ส่งออกยางเพิ่มอีกจำนวน 23 ราย คิดเป็นเงินสงเคราะห์ที่ต้องจ่ายคืนมูลค่า 286,526,474.78 บาท ปริมาณยาง 79,590,687.44  กก. พร้อมเร่งตรวจสอบอีก 46 ราย เพื่อขออนุมัติครั้งต่อไป
          นางพรทิพย์  ลีระพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เผยว่า หลังจากที่มีการปรับอัตราการจัดเก็บเงินสงเคราะห์ (Cess) เป็น 5 ระดับ โดยกำหนดให้ผู้ส่งยางออกที่ได้ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไปต่างประเทศก่อนวันที่ 4 มิ.ย.53  และผู้ส่งออกยางที่ได้ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยซึ่งมีกำหนดส่งมอบสินค้าจนถึงวันที่ 31  ม.ค.54 
          รวมถึงผู้ส่งออกยางที่มียางในสต๊อกตามที่ สกย.ตรวจสอบระหว่างวันที่ 20–30 ก.ย.53 แต่ยังไม่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ส.ค.53 และได้มีการส่งยางออกนอกราชอาณาจักรจริง จะได้รับการพิจารณาให้สิทธิชำระเงินสงเคราะห์ (Cess) ในอัตราเดิม โดย สกย.ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบเอกสารหลักฐานในการพิจารณาให้สิทธิในการชำระเงินสงเคราะห์ในอัตราเดิมแก่ผู้ส่งออกยาง ดังกล่าว ปรากฏว่ามีผู้ส่งยางออกทั้งหมด 123 ราย แต่เข้าหลักเกณฑ์ การพิจารณาฯ เบื้องต้นเพียง 116 ราย ซึ่งในจำนวนนี้ได้ส่งเอกสารเพื่อขอรับสิทธิ 101 ราย ปริมาณยาง 509,406.645 ตัน  คิดเป็นเงินสงเคราะห์ที่ต้องจ่ายคืน 1,833.864 ล้านบาท  
          แต่เมื่อ สกย. ดำเนินการตรวจสอบเอกสารหลักฐานตามหลักเกณฑ์โดยละเอียด มีเอกสารที่เข้าหลักเกณฑ์ฯ เพียง 99 ราย ปริมาณยาง 420,576.308 ตัน คิดเป็นเงินสงเคราะห์ที่ต้องจ่ายคืน 1,514.075 ล้านบาท ในจำนวนนี้ คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง (ก.ส.ย.) ได้อนุมัติให้จ่ายเงินสงเคราะห์คืนแก่ผู้ส่งยางออกไปแล้ว 4 ครั้ง คิดเป็นปริมาณยาง 140,614.941 ตัน เป็นเงินสงเคราะห์ที่จ่ายคืน 506.214 ล้านบาท จึงยังคงเหลือปริมาณยาง 279,961.367 ตัน เป็นเงินสงเคราะห์ที่ต้องจ่ายคืนอีกจำนวน 1,007.816 ล้านบาท
          ในคราวการประชุมบอร์ดของ สกย.ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 29 พ.ค.55 มีมติเห็นชอบให้จ่ายเงินสงเคราะห์ (Cess) คืนแก่ผู้ส่งออกยางส่วนที่เหลือดังกล่าว ซึ่งผ่านการตรวจสอบหลักฐานโดยละเอียด พบว่า มีปริมาณยางอีก 79,590,687.44  กก. คิดเป็นเงินสงเคราะห์ที่สามารถจ่ายคืนได้เป็นเงิน 286,526,474.78 บาท  สำหรับเอกสารหลักฐานของผู้ส่งยางออกที่เหลืออีก 46 ราย  สกย. จะเร่งรัดตรวจสอบให้แล้วเสร็จเพื่อนำเสนอขออนุมัติ ก.ส.ย.ต่อไป นางพรทิพย์ กล่าวทิ้งท้าย
            นอกจากนี้ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธาน ก.ส.ย. ได้กล่าวย้ำว่า
          “การจ่ายเงินคืนเป็นจำนวนมาก และมีทั้งผู้ได้รับ และไม่ได้รับเงินคืน  สมควรมีการตรวจสอบโดยละเอียด  เพื่อให้มั่นใจในความถูกต้อง จึงมีนโยบายและมอบหมายให้ สกย. โดยคณะทำงานฯ ได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานส่วนที่เหลืออีกครั้ง ก่อนนำเสนอ ก.ส.ย. พิจารณา” นายณัฐวุฒิ กล่าว

ชาวสวนยาง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี เปลี่ยนสับปะรด เป็นสวนยาง

ชาวสวนยาง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี เปลี่ยนสับปะรด เป็นสวนยาง

_______________________________________________________
ส่วนหนึ่งของชาวสวนยางมือใหม่ของ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี พวกเขาเริ่มต้นปลูกยางเมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว บางรายจึงได้เก็บเกี่ยวผลผลิตนำไปขายสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ที่เหลือกำลังจะเปิดกรีดเร็วๆ นี้ และมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดการรวมกลุ่มในอนาคต
ชาวสวนยาง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี เปลี่ยนสับปะรด เป็นสวนยาง
        เตรียมตั้งกลุ่มรวมยาง
เรื่อง : พิมพ์ใจ พิสุทธิ์จริยานันท์

            ระยะทางจากห่างจากเมืองหลวงของประเทศ 162 กิโลเมตร ที่นี่คือ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี พื้นที่ตรงนี้เป็นแหล่งใหม่ของสวนยางพาราใกล้กรุงแห่งหนึ่ง เกษตรกรที่เริ่มปลูกคือ “ชาวสวนยางมือใหม่” ทั้งสิ้น
ต้นทุนเพียงอย่างเดียวที่มีคือ ความเป็นเกษตรกรชาวไร่เท่านั้น
พืชเศรษฐกิจทำเงินเบอร์ 1 ยาวนานอย่างสับปะรด เกษตรกรที่นี่มีความช่ำชองเหมือนอยู่ในลมหายใจ
แต่สำหรับยางแล้ว คือ “คนแปลกหน้า”
แน่นอนว่าการปลูกยางจึงเป็นไปอย่างทุลักทุเล ความผิดพลาดจึงมากกว่าถูก
 เห็นได้จากเกษตรกรที่เริ่มต้นปลูกยางเมื่อปี 2547 ต้องเจอกับต้นยางตาย จนต้องปลูกซ่อมกันถึง 4 ครั้ง
            เพราะภัยแล้ง และขาดแคลนองค์ความรู้เรื่องการปลูกยาง เป็นต้น
สับปะรดเป็นทั้งเกราะป้องกันความแห้งแล้งให้กับสวนยาง
ขณะเดียวกันเมื่อมันหมดอายุจะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยพืชสด
ให้กับต้นยาง ขณะเดียวกันผลผลิตของมันก็ช่วยทำเงิน
ให้กับเจ้าของสวนในห้วงยามที่ยางยังไม่มีผลผลิต
            วิชาเดียวที่สามารถรักษาชีวิตของสวนยางให้อยู่รอดจนสามารถเปิดกรีดได้เมื่อ 2 ปีที่แล้วคือ การปลูกพืชแซมยางด้วย “สับปะรด”
            พืชไร่ที่พวกเขามีความถนัดตัวนี้ เป็น “มิตร” กับต้นยางได้อย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งๆ ที่น่าจะเป็น “ศัตรู” แย่งชิงอาหารมากกว่า
            แต่สับปะรดเป็นทั้งเกราะป้องกันความแห้งแล้ง และอาหารของต้นยางได้นานถึง 4 ปี
            สำคัญที่สุดคือมันเป็นเครื่องผลิตเงินให้กับเจ้าของสวนยางในห้วงยามที่ต้นยางยังไม่มีผลผลิต
             ชาว อ.บ้านคา เข้ามีวิธีการปลูก และดูแลสวนยางกันอย่างไร ติดตามได้บรรทัดถัดไป
           
กาญจนา ศิริจรรยาพงศ์ เป็นหนึ่งในเจ้าของสวนยางใน อ.บ้านคา เธอค่อยๆ สลัดตัวเองจากชาวไร่สับปะรด 100 ไร่ ด้วยการเปลี่ยนตัวเองเป็นชาวสวนปลูกยางเมื่อปี 2547
สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ต้องเปลี่ยนพืชปลูกคือ ภาวะราคาสับปะรดตกต่ำอย่างหนักในช่วงนั้น ทำให้เธอและครอบครัวต้องทบทวนอาชีพของตัวเอง
ก่อนจะได้ข้อมูลจากญาติที่ทำสวนยางอยู่ทางใต้ว่า ทำยางดีที่สุด...!!!
“เห็นทางใต้ทำกันแล้วรวย ก็อยากจะรวยอย่างเขาบ้าง” กาญจนาให้เหตุผลง่ายๆ ตามประสาของเกษตรกรที่อยากรวยด้วยกันทุกคน
            เธอจึงเริ่มศึกษาเรื่องการปลูกยางเบื้องต้นจากการถามญาติเป็นหลัก ส่วนพื้นที่สันนิษฐานเอาเองว่า น่าจะปลูกได้...???
 เพราะพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขา มีปัญหาภัยแล้งบ้างตามสภาพของพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม “แต่เราก็จะปลูกยางช่วงต้นฝน”
สวนยางอายุ 3-4 ปี ของกาญจนา ปลูกสับปะรดแซม
            กาญจนาเริ่มต้นปลูกยางพันธุ์ RRIM 600 ซึ่งนำมาจาก จ.ตรัง ต้นละ 13 บาท จำนวน 30 ไร่ ระยะปลูกยาง 7x3 เมตร
            เธอบอกว่าต้นยางปีแรกต้นยางก็โตใช้ได้ แม้จะไม่มีการให้น้ำเลย อาศัยฝนฟ้าตามฤดูกาลเท่านั้น แต่ก็ถูกไฟไหม้เสียหายไป 10 ไร่
หลังจากนั้น เธอปลูกเพิ่ม 2 แปลง อีกกว่า 70 ไร่ อายุ 7 ปี และ 3-4 ปี


ปลูกสับปะรดแซมสวนยางผลผลิตไร่ละ 2 ตัน
การปลูกพืชแซมสวนยางกาญจนาทำไปพร้อมๆ กับการปลูกยาง เธอบอกว่า พอวัดระยะปลูกเสร็จก็เอาหน่อสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียลงปลูกเลย หรือจะปลูกสับปะรดก่อนแล้วปลูกยางทีหลังก็ได้ แต่ต้องทำแนวปลูกยางไว้ก็ได้เช่นกัน
            การดูแลสวนยางในช่วงปีแรกๆ เธอยอมรับว่าต้องพึ่งใบบุญสับปะรดเป็นหลัก อาหารที่ต้นยางได้มาจากสับปะรดเป็นหลัก
“เวลาให้ปุ๋ยสับปะรดก็จะหว่านใส่ต้นยางด้วย” สูตรปุ๋ยหลักๆ ที่ใช้ใส่สับปะรด คือ 21-0-0 และ 15-15-15
            ก่อนที่เธอจะบอกข้อดีของการปลูกสับปะรดแซมสวนยางว่ายางจะโตดีกว่าปลูกยางอย่างเดียว
 “ถ้าปลูกยางอย่างเดียวไม่แซมสับปะรด ดูแลยาก บางแปลงที่ปลูกยางอย่างเดียว ต้นยางจะโตช้า แกร็นไม่โต แต่ถ้าปลูกสับปะรดหญ้าจะไม่ขึ้นเยอะมาก และสับปะรดยังเป็นตัวเก็บน้ำ เก็บความชื้นหน้าดินได้ในหน้าแล้ง ยางที่ปลูกสับปะรดต้นจึงโตไวกว่าไม่ปลูก”
            นอกจากนั้นแล้ว สับปะรดยังให้ผลผลิตประมาณ 2-4 ตัน/ไร่ ขึ้นอยู่ที่การดูแลของเจ้าของ ส่วนรายได้ขึ้นอยู่กับราคาในช่วงนั้น แต่ก็ถือว่ามีรายได้เพียงพอในช่วงที่ยางยังกรีดไม่ได้
            สับปะรดที่ปลูกแซมสวนยางจะอยู่ได้ถึง 4 ปี ต้นสับปะรดก็จะเริ่มโทรม ผลผลิตน้อย เพราะต้นยางก็เริ่มโตจนเงาบังต้นสับปะรด ถึงเวลานั้นก็แค่ไถปั่นต้นสับปะรดทิ้งให้เป็นปุ๋ยพืชสดในสวนยาง หรือไม่ฉีดปุ๋ย อามิ อามิ ให้ย่อยสลายกลายเป็นอินทรีย์บำรุงดินและเป็นอาหารสูตรอร่อยของต้นยาง
    นอกจากปุ๋ยเคมีที่ใส่ต้นยางเป็นหลักแล้ว ยังมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อย่าง ขี้ไก่แกลบ เพื่อบำรุงดิน และยังเป็นการลดต้นทุนในช่วงที่ปุ๋ยราคาแพงอีกด้วย
            เมื่อยางเข้าปีที่ 4 กาญจนาก็จึงดูแลสวนยางอย่างจริงจัง โดยการใส่ปุ๋ยตามเอกสารที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ
            แต่ปัญหาช่วงแรกๆ ที่เกิดขึ้นกับสวนยางคือ ต้นยางตายจำนวนมาก ส่วนหนึ่งมาจากภัยแล้ง การดูแลสับปะรดเป็นหลัก ต้นยางเป็นรอง และถูกตัวตุ่นกินทำลาย จนต้องปลูกซ่อมใหม่ถึง 3-4 ครั้ง ต้นยางบางต้นจึงต้นเล็ก โตไม่ทันต้นใหญ่     
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสวนยางของกาญจนาทั้งหมดน่าจะมาจากบ่อปัญหาเดียวคือ การไม่มีความรู้เรื่องการปลูกยางที่ดีพอ เพราะเธอต้องเรียนรู้และศึกษาตามประสบการณ์ของชาวไร่สับปะรดเป็นหลัก
จนเมื่อต้นยางอายุ 5 ปี จึงเริ่มมีเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอบ้านคา เข้ามาสำรวจ และพบว่ามีเกษตรกรจำนวนมากที่เริ่มปลูกยางจนใกล้ให้น้ำยาง จึงมีการจัดพาเกษตรกรไปอบรมดูงานที่ อ.นาบอน จ.นครศรีธรรมราช
             เมื่อต้นยางอายุ 7 ปี เธอจึงเริ่มต้นเปิดหน้ายางครั้งแรก เมื่อปลายปีที่ 53 โดยได้คนกรีดส่งมาจากภาคใต้ (แบ่งรายได้ 60 : 40) แบ่งหน้ากรีด 3 ส่วน กรีดวันเว้นวัน เพาะยางยังอายุน้อย
 เจ้าของสวนเล่าย้อนว่า “ช่วงแรกๆ ทำขี้ยางอยู่ 7 มีด ช่วงนั้นต้องรีบทำยางแผ่นเพราะราคายางสูงถึง 179 บาท/กก. ตอนนั้นดีใจมาก”
            ยางแผ่นที่ผลิตได้ถูกนำไปขายที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ที่นั่นมีสหกรณ์ยางซื้อขายผ่านระบบประมูล (อ่านสกู๊ป ยาง 1,000 ล้าน/ปี ขับเคลื่อนเศรษฐกิจทองผาภูมิ ฉบับ 7/2554)
“ถ้าไม่ไปที่นั่นก็ต้องไปชุมพร แต่ตอนนี้ที่ สามร้อยยอดก็มีตลาดประมูลแล้ว”
   นอกจากปุ๋ยเคมีที่ใส่ต้นยางเป็นหลักแล้ว ยังมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อย่าง ขี้ไก่แกลบ
 เพื่อบำรุงดิน และยังเป็นการลดต้นทุนในช่วงที่ปุ๋ยราคาแพงอีกด้วย
           
            ขณะเดียวกันก็เริ่มมีเจ้าหน้าที่จากสำนักกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จ.กาญจนบุรี เข้ามาดูพื้นที่และให้ความรู้ อย่างการอบรมกรีดยาง เป็นต้น
กาญจนาให้ข้อมูลว่า สวนยางแปลงแรกพื้นที่ 20 กว่าไร่ ถ้าน้ำยางออกดีๆ ทำยางแผ่นดิบได้ 30 แผ่น/วัน ขึ้นอยู่กับอากาศถ้าลมแรงก็ได้ต้องเพราะยางแห้งไว
            ส่วนการขนส่งยางไปทองผาภูมิแม้จะมีระยะทางกว่า 226 กิโลเมตร แต่อาศัยการรวมยางกับเกษตรกรในพื้นที่ อ.บ้านคา 3-4 รายขนขึ้นรถ 6 ล้อไปขายที่ทองผาภูมิ
“ครั้งล่าสุดรวมไปขายกันเกือบ 7 ตัน”
            อนาคตหากมีการเปิดกรีดยางของเกษตรกรในพื้นที่มากขึ้น จะมีการรวมกลุ่มกันรวบรวมยาง โดยปัจจุบัน สกย.กาญจนบุรี ได้เข้ามาเป็นพี่เลี้ยง ในฐานะที่ จ.ราชบุรีเป็นหนึ่งในพื้นที่รับผิดชอบ และได้รับการประกาศเป็นพื้นที่สงเสริมปลูกยาง
            “สกย.เขาบอกว่าถ้ารวมได้ปริมาณมากจะมีเจ้าหน้าที่มาซื้อถึงที่นี่ และจะมีการรวมกลุ่มกันรวมยาง”
            เมื่อถามถึงเรื่องรายได้ เจ้าของสวนยาง 100 ไร่ ปัจจุบันเปิดกรีดแล้วกว่า 30 ไร่ เผยว่า รายได้เป็นที่น่าพอใจ แม้จะบ่นอุบว่าปุ๋ยแพงไปสักนิด แต่ก็ถือว่าตอนนี้พออยู่ได้  
แต่ความเปลี่ยนแปลงหนึ่งที่เธอสังเกตได้หลังในพื้นที่เริ่มมีการปลูกยาง และต้นยางเริ่มใหญ่ให้ผลผลิตคือ ปลูกยางฝนตกบ่อยขึ้น
            ณัฐกานต์ เย็นกาย เจ้าของสวนยาง 45 ไร่ ใน ต. โป่งกระทิง อ.บ้านคา ต้นยางอายุประมาณ 7 ปี แต่ต้นยางยังไม่พร้อมเปิดกรีด เพราะต้นยางยังใหญ่ไม่ได้ขนาด  
สวนยางพื้นที่ 30 ไร่ แปลงแรกของกาญจนา แต่ถูกไฟไหม้เสียหายไปกว่า 10 ไร่
ปัจจุบันเปิดกรีดได้แล้ว เธอบอกว่าสวนยางแปลงนี้เปิดกรีดต่ำไปหน่อย
 เนื่องจากตอนนั้นไม่มีความรู้เลย ซึ่งก็เป็นครูอย่างดีให้กับยางแปลงอื่นๆ
เธอเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนก็ปลูกสับปะรดเป็นหลัก แต่เมื่อเห็นเพื่อนบ้านปลูกยาง ประกอบกับราคายางเริ่มสูง รัฐบาลส่งเสริมให้ปลูกในหลายพื้นที่ จึงปลูก
“ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่ดี” ณัฐกานต์ เชื่ออย่างนั้น  
           


          อรอนงค์  ศิริจรรยาพงศ์ .เจ้าของสวนยาง 50 ไร่ กรีดไปแล้ว 10 ไร่  ที่เหลือเป็นยางอายุ 3-4
            เธอบอกว่าปลูกยางที่บ้านคน น่าจะทำได้ดี เพราะเกษตรกรตัวอย่างที่เปิดกรีดมานาน ได้ผลดีเป็นตัวอย่างอยู่แล้ว และรายได้ก็ยังดีกว่าการปลูกสับปะรด
            “ใหม่ๆ ก็ต้องเหนื่อยหน่อยกว่าจะได้น้ำยาง 7-8 ปี มีแต่ลงทุน และไม่มีเงินจากที่อื่นเลยเป็นเงินทุนตัวเองลงไป ตายก็ปลูกซ่อมใหม่ เมื่อก่อนอากาศร้อนไม่มีฝน แต่พอได้น้ำยางแล้วก็ชื่นใจ”
           
นาฏยา สุขสมัย มีสวนยาง 100 กว่าไร่ เปิดกรีดแล้ว 300 ต้น น้ำยางที่ได้นำมาผลิตเป็นยางแผ่นดิบนำไปขาย อ.ทองผาภูมิทุกๆ 1 เดือนครึ่ง  
ปีแรกเธอให้ข้อมูลว่าเปิดกรีดได้ 40 มีด กรีด 2 วันเว้น 1 วัน ได้ยางแผ่นดิบเกือบ 2,000 แผ่น  
            “อนาคตจะปลูกยางอย่างเดียว น่าจะดีตอนที่เราแก่ โครงการจะปลูกอีกเป็น 100 ไร่ แก่เราดูแลได้เพราะเราไม่ต้องทำเอง ยางได้เรื่อย รายได้ต่อเนื่อง”
ศุภสิทธิ์ ณ ถลาง เจ้าของสวนยาง 30 ไร่ อายุยางเข้าปีที่ 6  และยังมีสวนผลไม้สวนผสม เช่น ส้มโอ ขนุน มะม่วง กระท้อน มะขามเทศ ลำไย  40 ไร่ ผลไม้บางตัวสู้โรคแมลงไม่ได้ และปัญหาแรงงานก็โค่นทิ้ง อย่าง ลำไย และมะขามเทศ แล้วปลูกยางแทน
ส่วนแปลงที่ปลูก 30 ไร่ เดิมเป็นพืชไร่ ข้าวโพด แต่เปลี่ยนมาปลูกยาง
            “ทำยางน่าจะดีกว่า แรงงานไม่ต้องจ่ายเป็นรายวัน มีการแบ่งสัดส่วนเมื่อมีรายได้ การดูแลไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องห่อผล ค่าแรงงานก็สูง”




_______________________________________________________
ส่วนหนึ่งของชาวสวนยางมือใหม่ของ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี พวกเขาเริ่มต้นปลูกยางเมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว บางรายจึงได้เก็บเกี่ยวผลผลิตนำไปขายสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ที่เหลือกำลังจะเปิดกรีดเร็วๆ นี้ และมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดการรวมกลุ่มในอนาคต
ชาวสวนยาง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี เปลี่ยนสับปะรด เป็นสวนยาง
        เตรียมตั้งกลุ่มรวมยาง
เรื่อง : พิมพ์ใจ พิสุทธิ์จริยานันท์

            ระยะทางจากห่างจากเมืองหลวงของประเทศ 162 กิโลเมตร ที่นี่คือ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี พื้นที่ตรงนี้เป็นแหล่งใหม่ของสวนยางพาราใกล้กรุงแห่งหนึ่ง เกษตรกรที่เริ่มปลูกคือ “ชาวสวนยางมือใหม่” ทั้งสิ้น
ต้นทุนเพียงอย่างเดียวที่มีคือ ความเป็นเกษตรกรชาวไร่เท่านั้น
พืชเศรษฐกิจทำเงินเบอร์ 1 ยาวนานอย่างสับปะรด เกษตรกรที่นี่มีความช่ำชองเหมือนอยู่ในลมหายใจ
แต่สำหรับยางแล้ว คือ “คนแปลกหน้า”
แน่นอนว่าการปลูกยางจึงเป็นไปอย่างทุลักทุเล ความผิดพลาดจึงมากกว่าถูก
 เห็นได้จากเกษตรกรที่เริ่มต้นปลูกยางเมื่อปี 2547 ต้องเจอกับต้นยางตาย จนต้องปลูกซ่อมกันถึง 4 ครั้ง
            เพราะภัยแล้ง และขาดแคลนองค์ความรู้เรื่องการปลูกยาง เป็นต้น
สับปะรดเป็นทั้งเกราะป้องกันความแห้งแล้งให้กับสวนยาง
ขณะเดียวกันเมื่อมันหมดอายุจะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยพืชสด
ให้กับต้นยาง ขณะเดียวกันผลผลิตของมันก็ช่วยทำเงิน
ให้กับเจ้าของสวนในห้วงยามที่ยางยังไม่มีผลผลิต
            วิชาเดียวที่สามารถรักษาชีวิตของสวนยางให้อยู่รอดจนสามารถเปิดกรีดได้เมื่อ 2 ปีที่แล้วคือ การปลูกพืชแซมยางด้วย “สับปะรด”
            พืชไร่ที่พวกเขามีความถนัดตัวนี้ เป็น “มิตร” กับต้นยางได้อย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งๆ ที่น่าจะเป็น “ศัตรู” แย่งชิงอาหารมากกว่า
            แต่สับปะรดเป็นทั้งเกราะป้องกันความแห้งแล้ง และอาหารของต้นยางได้นานถึง 4 ปี
            สำคัญที่สุดคือมันเป็นเครื่องผลิตเงินให้กับเจ้าของสวนยางในห้วงยามที่ต้นยางยังไม่มีผลผลิต
             ชาว อ.บ้านคา เข้ามีวิธีการปลูก และดูแลสวนยางกันอย่างไร ติดตามได้บรรทัดถัดไป
           
กาญจนา ศิริจรรยาพงศ์ เป็นหนึ่งในเจ้าของสวนยางใน อ.บ้านคา เธอค่อยๆ สลัดตัวเองจากชาวไร่สับปะรด 100 ไร่ ด้วยการเปลี่ยนตัวเองเป็นชาวสวนปลูกยางเมื่อปี 2547
สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ต้องเปลี่ยนพืชปลูกคือ ภาวะราคาสับปะรดตกต่ำอย่างหนักในช่วงนั้น ทำให้เธอและครอบครัวต้องทบทวนอาชีพของตัวเอง
ก่อนจะได้ข้อมูลจากญาติที่ทำสวนยางอยู่ทางใต้ว่า ทำยางดีที่สุด...!!!
“เห็นทางใต้ทำกันแล้วรวย ก็อยากจะรวยอย่างเขาบ้าง” กาญจนาให้เหตุผลง่ายๆ ตามประสาของเกษตรกรที่อยากรวยด้วยกันทุกคน
            เธอจึงเริ่มศึกษาเรื่องการปลูกยางเบื้องต้นจากการถามญาติเป็นหลัก ส่วนพื้นที่สันนิษฐานเอาเองว่า น่าจะปลูกได้...???
 เพราะพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขา มีปัญหาภัยแล้งบ้างตามสภาพของพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม “แต่เราก็จะปลูกยางช่วงต้นฝน”
สวนยางอายุ 3-4 ปี ของกาญจนา ปลูกสับปะรดแซม
            กาญจนาเริ่มต้นปลูกยางพันธุ์ RRIM 600 ซึ่งนำมาจาก จ.ตรัง ต้นละ 13 บาท จำนวน 30 ไร่ ระยะปลูกยาง 7x3 เมตร
            เธอบอกว่าต้นยางปีแรกต้นยางก็โตใช้ได้ แม้จะไม่มีการให้น้ำเลย อาศัยฝนฟ้าตามฤดูกาลเท่านั้น แต่ก็ถูกไฟไหม้เสียหายไป 10 ไร่
หลังจากนั้น เธอปลูกเพิ่ม 2 แปลง อีกกว่า 70 ไร่ อายุ 7 ปี และ 3-4 ปี


ปลูกสับปะรดแซมสวนยางผลผลิตไร่ละ 2 ตัน
การปลูกพืชแซมสวนยางกาญจนาทำไปพร้อมๆ กับการปลูกยาง เธอบอกว่า พอวัดระยะปลูกเสร็จก็เอาหน่อสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียลงปลูกเลย หรือจะปลูกสับปะรดก่อนแล้วปลูกยางทีหลังก็ได้ แต่ต้องทำแนวปลูกยางไว้ก็ได้เช่นกัน
            การดูแลสวนยางในช่วงปีแรกๆ เธอยอมรับว่าต้องพึ่งใบบุญสับปะรดเป็นหลัก อาหารที่ต้นยางได้มาจากสับปะรดเป็นหลัก
“เวลาให้ปุ๋ยสับปะรดก็จะหว่านใส่ต้นยางด้วย” สูตรปุ๋ยหลักๆ ที่ใช้ใส่สับปะรด คือ 21-0-0 และ 15-15-15
            ก่อนที่เธอจะบอกข้อดีของการปลูกสับปะรดแซมสวนยางว่ายางจะโตดีกว่าปลูกยางอย่างเดียว
 “ถ้าปลูกยางอย่างเดียวไม่แซมสับปะรด ดูแลยาก บางแปลงที่ปลูกยางอย่างเดียว ต้นยางจะโตช้า แกร็นไม่โต แต่ถ้าปลูกสับปะรดหญ้าจะไม่ขึ้นเยอะมาก และสับปะรดยังเป็นตัวเก็บน้ำ เก็บความชื้นหน้าดินได้ในหน้าแล้ง ยางที่ปลูกสับปะรดต้นจึงโตไวกว่าไม่ปลูก”
            นอกจากนั้นแล้ว สับปะรดยังให้ผลผลิตประมาณ 2-4 ตัน/ไร่ ขึ้นอยู่ที่การดูแลของเจ้าของ ส่วนรายได้ขึ้นอยู่กับราคาในช่วงนั้น แต่ก็ถือว่ามีรายได้เพียงพอในช่วงที่ยางยังกรีดไม่ได้
            สับปะรดที่ปลูกแซมสวนยางจะอยู่ได้ถึง 4 ปี ต้นสับปะรดก็จะเริ่มโทรม ผลผลิตน้อย เพราะต้นยางก็เริ่มโตจนเงาบังต้นสับปะรด ถึงเวลานั้นก็แค่ไถปั่นต้นสับปะรดทิ้งให้เป็นปุ๋ยพืชสดในสวนยาง หรือไม่ฉีดปุ๋ย อามิ อามิ ให้ย่อยสลายกลายเป็นอินทรีย์บำรุงดินและเป็นอาหารสูตรอร่อยของต้นยาง
    นอกจากปุ๋ยเคมีที่ใส่ต้นยางเป็นหลักแล้ว ยังมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อย่าง ขี้ไก่แกลบ เพื่อบำรุงดิน และยังเป็นการลดต้นทุนในช่วงที่ปุ๋ยราคาแพงอีกด้วย
            เมื่อยางเข้าปีที่ 4 กาญจนาก็จึงดูแลสวนยางอย่างจริงจัง โดยการใส่ปุ๋ยตามเอกสารที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ
            แต่ปัญหาช่วงแรกๆ ที่เกิดขึ้นกับสวนยางคือ ต้นยางตายจำนวนมาก ส่วนหนึ่งมาจากภัยแล้ง การดูแลสับปะรดเป็นหลัก ต้นยางเป็นรอง และถูกตัวตุ่นกินทำลาย จนต้องปลูกซ่อมใหม่ถึง 3-4 ครั้ง ต้นยางบางต้นจึงต้นเล็ก โตไม่ทันต้นใหญ่     
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสวนยางของกาญจนาทั้งหมดน่าจะมาจากบ่อปัญหาเดียวคือ การไม่มีความรู้เรื่องการปลูกยางที่ดีพอ เพราะเธอต้องเรียนรู้และศึกษาตามประสบการณ์ของชาวไร่สับปะรดเป็นหลัก
จนเมื่อต้นยางอายุ 5 ปี จึงเริ่มมีเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอบ้านคา เข้ามาสำรวจ และพบว่ามีเกษตรกรจำนวนมากที่เริ่มปลูกยางจนใกล้ให้น้ำยาง จึงมีการจัดพาเกษตรกรไปอบรมดูงานที่ อ.นาบอน จ.นครศรีธรรมราช
             เมื่อต้นยางอายุ 7 ปี เธอจึงเริ่มต้นเปิดหน้ายางครั้งแรก เมื่อปลายปีที่ 53 โดยได้คนกรีดส่งมาจากภาคใต้ (แบ่งรายได้ 60 : 40) แบ่งหน้ากรีด 3 ส่วน กรีดวันเว้นวัน เพาะยางยังอายุน้อย
 เจ้าของสวนเล่าย้อนว่า “ช่วงแรกๆ ทำขี้ยางอยู่ 7 มีด ช่วงนั้นต้องรีบทำยางแผ่นเพราะราคายางสูงถึง 179 บาท/กก. ตอนนั้นดีใจมาก”
            ยางแผ่นที่ผลิตได้ถูกนำไปขายที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ที่นั่นมีสหกรณ์ยางซื้อขายผ่านระบบประมูล (อ่านสกู๊ป ยาง 1,000 ล้าน/ปี ขับเคลื่อนเศรษฐกิจทองผาภูมิ ฉบับ 7/2554)
“ถ้าไม่ไปที่นั่นก็ต้องไปชุมพร แต่ตอนนี้ที่ สามร้อยยอดก็มีตลาดประมูลแล้ว”
   นอกจากปุ๋ยเคมีที่ใส่ต้นยางเป็นหลักแล้ว ยังมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อย่าง ขี้ไก่แกลบ
 เพื่อบำรุงดิน และยังเป็นการลดต้นทุนในช่วงที่ปุ๋ยราคาแพงอีกด้วย
           
            ขณะเดียวกันก็เริ่มมีเจ้าหน้าที่จากสำนักกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จ.กาญจนบุรี เข้ามาดูพื้นที่และให้ความรู้ อย่างการอบรมกรีดยาง เป็นต้น
กาญจนาให้ข้อมูลว่า สวนยางแปลงแรกพื้นที่ 20 กว่าไร่ ถ้าน้ำยางออกดีๆ ทำยางแผ่นดิบได้ 30 แผ่น/วัน ขึ้นอยู่กับอากาศถ้าลมแรงก็ได้ต้องเพราะยางแห้งไว
            ส่วนการขนส่งยางไปทองผาภูมิแม้จะมีระยะทางกว่า 226 กิโลเมตร แต่อาศัยการรวมยางกับเกษตรกรในพื้นที่ อ.บ้านคา 3-4 รายขนขึ้นรถ 6 ล้อไปขายที่ทองผาภูมิ
“ครั้งล่าสุดรวมไปขายกันเกือบ 7 ตัน”
            อนาคตหากมีการเปิดกรีดยางของเกษตรกรในพื้นที่มากขึ้น จะมีการรวมกลุ่มกันรวบรวมยาง โดยปัจจุบัน สกย.กาญจนบุรี ได้เข้ามาเป็นพี่เลี้ยง ในฐานะที่ จ.ราชบุรีเป็นหนึ่งในพื้นที่รับผิดชอบ และได้รับการประกาศเป็นพื้นที่สงเสริมปลูกยาง
            “สกย.เขาบอกว่าถ้ารวมได้ปริมาณมากจะมีเจ้าหน้าที่มาซื้อถึงที่นี่ และจะมีการรวมกลุ่มกันรวมยาง”
            เมื่อถามถึงเรื่องรายได้ เจ้าของสวนยาง 100 ไร่ ปัจจุบันเปิดกรีดแล้วกว่า 30 ไร่ เผยว่า รายได้เป็นที่น่าพอใจ แม้จะบ่นอุบว่าปุ๋ยแพงไปสักนิด แต่ก็ถือว่าตอนนี้พออยู่ได้  
แต่ความเปลี่ยนแปลงหนึ่งที่เธอสังเกตได้หลังในพื้นที่เริ่มมีการปลูกยาง และต้นยางเริ่มใหญ่ให้ผลผลิตคือ ปลูกยางฝนตกบ่อยขึ้น
            ณัฐกานต์ เย็นกาย เจ้าของสวนยาง 45 ไร่ ใน ต. โป่งกระทิง อ.บ้านคา ต้นยางอายุประมาณ 7 ปี แต่ต้นยางยังไม่พร้อมเปิดกรีด เพราะต้นยางยังใหญ่ไม่ได้ขนาด  
สวนยางพื้นที่ 30 ไร่ แปลงแรกของกาญจนา แต่ถูกไฟไหม้เสียหายไปกว่า 10 ไร่
ปัจจุบันเปิดกรีดได้แล้ว เธอบอกว่าสวนยางแปลงนี้เปิดกรีดต่ำไปหน่อย
 เนื่องจากตอนนั้นไม่มีความรู้เลย ซึ่งก็เป็นครูอย่างดีให้กับยางแปลงอื่นๆ
เธอเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนก็ปลูกสับปะรดเป็นหลัก แต่เมื่อเห็นเพื่อนบ้านปลูกยาง ประกอบกับราคายางเริ่มสูง รัฐบาลส่งเสริมให้ปลูกในหลายพื้นที่ จึงปลูก
“ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่ดี” ณัฐกานต์ เชื่ออย่างนั้น  
           


          อรอนงค์  ศิริจรรยาพงศ์ .เจ้าของสวนยาง 50 ไร่ กรีดไปแล้ว 10 ไร่  ที่เหลือเป็นยางอายุ 3-4
            เธอบอกว่าปลูกยางที่บ้านคน น่าจะทำได้ดี เพราะเกษตรกรตัวอย่างที่เปิดกรีดมานาน ได้ผลดีเป็นตัวอย่างอยู่แล้ว และรายได้ก็ยังดีกว่าการปลูกสับปะรด
            “ใหม่ๆ ก็ต้องเหนื่อยหน่อยกว่าจะได้น้ำยาง 7-8 ปี มีแต่ลงทุน และไม่มีเงินจากที่อื่นเลยเป็นเงินทุนตัวเองลงไป ตายก็ปลูกซ่อมใหม่ เมื่อก่อนอากาศร้อนไม่มีฝน แต่พอได้น้ำยางแล้วก็ชื่นใจ”
           
นาฏยา สุขสมัย มีสวนยาง 100 กว่าไร่ เปิดกรีดแล้ว 300 ต้น น้ำยางที่ได้นำมาผลิตเป็นยางแผ่นดิบนำไปขาย อ.ทองผาภูมิทุกๆ 1 เดือนครึ่ง  
ปีแรกเธอให้ข้อมูลว่าเปิดกรีดได้ 40 มีด กรีด 2 วันเว้น 1 วัน ได้ยางแผ่นดิบเกือบ 2,000 แผ่น  
            “อนาคตจะปลูกยางอย่างเดียว น่าจะดีตอนที่เราแก่ โครงการจะปลูกอีกเป็น 100 ไร่ แก่เราดูแลได้เพราะเราไม่ต้องทำเอง ยางได้เรื่อย รายได้ต่อเนื่อง”
ศุภสิทธิ์ ณ ถลาง เจ้าของสวนยาง 30 ไร่ อายุยางเข้าปีที่ 6  และยังมีสวนผลไม้สวนผสม เช่น ส้มโอ ขนุน มะม่วง กระท้อน มะขามเทศ ลำไย  40 ไร่ ผลไม้บางตัวสู้โรคแมลงไม่ได้ และปัญหาแรงงานก็โค่นทิ้ง อย่าง ลำไย และมะขามเทศ แล้วปลูกยางแทน
ส่วนแปลงที่ปลูก 30 ไร่ เดิมเป็นพืชไร่ ข้าวโพด แต่เปลี่ยนมาปลูกยาง
            “ทำยางน่าจะดีกว่า แรงงานไม่ต้องจ่ายเป็นรายวัน มีการแบ่งสัดส่วนเมื่อมีรายได้ การดูแลไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องห่อผล ค่าแรงงานก็สูง”




Random Posts

randomposts