์News

์News

สวนยาง อ.บ้านคา 200 ไร่ เจอปัญหาแล้งยาว ยางเล็กเสี่ยง แต่ยางใหญ่รุ่ง

สวนยาง อ.บ้านคา 200 ไร่ เจอปัญหาแล้งยาว ยางเล็กเสี่ยง แต่ยางใหญ่รุ่ง


สวนยาง อ.บ้านคา 200 ไร่
เจอปัญหาแล้งยาว ยางเล็กเสี่ยง แต่ยางใหญ่รุ่ง

                       เรื่องแล้งมีปัญหามาก ชนะ ดีสกุล ผู้จัดการสวนยาง 200 ไร่ ในพื้นที่ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี หลุดปากออกมาระหว่างที่ทีมงานยางเศรษฐกิจลงพื้นที่สอบถามปัญหาและอุปสรรคของการปลูกยางในพื้นที่ อ.บ้านคา
            หนักใจปัญหาเรื่องนี้มาก เพราะที่นี่มันไม่เหมือนทางใต้ฝนแล้งที 2-3 เดือน แปลงนอกยางเพิ่งปลูกใหม่ร้อนๆ 150 ไร่ มันเป็นดินทราย ถ้าฝนไม่ตกอาจจะเสียหายเยอะน่าจะเป็นพันต้น และกล้าชุดนี้ก็แพงด้วยต้นละ 45 บาท
            อย่างไรก็ตามการทำสวนยางในพื้นที่ดังกล่าวก็ไม่ได้แล้งรุนแรงจนถึงขนาดปลูกยางไม่ได้เลย เพราะหากมีการให้น้ำยางเล็กในช่วงหน้าแล้งก็สามารถปลูกยางได้ประสบความสำเร็จ และสวนยางอีก 50 ไร่ ที่ปลูกเมื่อ 7-8 ปีที่แล้วก็เป็นเครื่องยืนยันได้
            ชุดแรกผมปลูกก่อน 40 ไร่ ตอนนี้เปิดกรีดแล้วเมื่อไม่กี่เดือนนี้เอง น้ำยางถือว่าพอใช้เพราะยังเป็นยางเพิ่งเปิดกรีดใหม่และต้องทำขี้ยางก่อน
            สวนยาง 50 ไร่ เกือบทั้งหมดเป็นยางพันธุ์ RRIM 600 และมีพันธุ์ RRIT251 ปลูกทดสอบอยู่จำนวนหนึ่ง อายุต้นยางอยู่ระหว่าง 5-7 ปี เพราะการปลูกเป็นการทยอยปลูกยางจึงอายุไม่เท่ากัน แต่เฉลี่ยยางอายุ 5-6 ปี มีพื้นที่มากที่สุด
            แต่ชนะให้ข้อสังเกตว่าต้นยางที่ปลูกตามแนวชายเขาต้นค่อนข้างสมบูรณ์ อาจเป็นเพราะดินมีลักษณะดินปนทรายที่ยังไม่เคยทำพืชเกษตรมาก่อน ซึ่งคาดว่าประมาณปี 55-56 น่าจะเปิดกรีดยางได้เต็มพื้นที่
            ตอนนี้ต้นยางเพิ่ง แตกใบอ่อน แต่พอใบแก่เปิดกรีดรอบนี้จะเริ่มทำยางแผ่นแล้วเพราะเตรียมเครื่องจักร โรงเรือน ไว้หมดแล้ว
            เมื่อถามย้อนกลับไปเมื่อครั้งตัดสินใจมาปลูกยางในพื้นที่นี้ ชนะบอกว่ามันใกล้กรุงเทพสะดวกต่อการเดินทางมาดูแล
            ปลูกยางถ้าเจ้าของไม่มีเวลาดูแลไม่ควรทำนะ โอกาสขาดทุนสูง หากปล่อยทิ้งจนต้นแกร็นแล้วค่อยบำรุงทำยังไงก็ไม่โต ยิ่งถ้าหญ้าท่วมสูงยากจะฟื้นฟู ทำอย่างไรก็เอาไม่อยู่ ไม้ก็ขายไม่ได้ เจ๊งสถานเดียว ชนะบอกหัวใจสำคัญของการทำสวนยาง
            สภาพดินของสวนยางแห่งนี้เป็นดินปนทรายและดินเหนียว มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้นาน อีกทั้งยังมีสระน้ำขนาด 5 ไร่ สำรองไว้ให้ต้นยางในช่วงหน้าแล้ง ระยะการปลูก คือ 3x7 เมตร แต่มีบางแปลงที่ต้นค่อนข้างห่างเพราะปลูกในสวนมะม่วงช่วงแรกๆ ช่วงยางเล็กยังมีการปลูกสับปะรดแซมเพราะเป็นพืชคลุมดินรักษาความชื้นได้ดีและใบยังมีกาบใบที่เก็บกักน้ำได้ดี ซากสับปะรดยังเป็นอินทรีย์ชั้นดีอีกด้วย
            เมื่อยางโต 3-4 ปี ก็ต้องโละสับปะรดทิ้ง ปล่อยให้ซากย่อยสลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ไป ยางโตดีทีเดียว
            ด้านการดูแลสวนยางหลักๆ คือ การใส่ปุ๋ย ก่อนหน้านี้สวนยางแห่งนี้เลือกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-12 เน้นการบำรุงต้น ซึ่งเป็นสูตรที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำสวนยางพื้นที่ใหม่ แต่ปีนี้เขาเตรียมสูตร 15-15-15 เพื่อใส่ช่วงหน้าฝนนี้เพื่อบำรุงทุกส่วนของต้น
            วิธีการใส่ทำแบบขุดหลุมฝังช่องกลางระหว่างต้นหลุมละประมาณครึ่งกิโล/ครั้ง ใส่ปีละ 2 ครั้ง เหตุที่ต้องขุดหลุมฝังปุ๋ยเป็นเพราะฝนจะไม่ชะล้างปุ๋ย
            แต่ปีนี้กะจะใส่ 3 ครั้ง ปริมาณน้อยลงแต่ถี่ขึ้น เพราะพยากรณ์อากาศบอกว่าปีนี้ฝนจะมาเร็วและกำลังสั่งปุ๋ยอินทรีย์มาใส่เพื่อบำรุงดินอีก 3 ตัน
            ชนะยังสะท้อนว่าต้นทุนปุ๋ยถือเป็นตัวหลักเฉพาะค่าปุ๋ยอย่างเดียวก็ตกปีละ 360,000 บาท แต่ก็จำเป็นต้องลงทุน เพราะหากขาดการใส่ปุ๋ยอย่างต่อเนื่องต้นยางจะไม่โต หรือถ้าใส่ผิดวิธีอย่างการหว่านรอบต้นความคุ้มค่าของปุ๋ยที่ต้นยางจะได้รับก็ลดน้อยลง
            ผมไปอบรมเรื่องยางพาราบ่อยเพราะมีเจ้าหน้าที่สกย.มาจัดอบรมอย่างต่อเนื่อง
            ทั้งนี้เพราะพื้นที่ จ.ราชบุรี โดยเฉพาะ อ.บ้านคา อ.สวนผึ้ง และ อ.จอมบึง ได้ถูกประกาศเป็นพื้นที่ส่งเสริมปลูกยางและอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของสกย. .กาญจนบุรี
            มีหลายคนมองว่าการที่ อ.บ้านคา มีฝนน้อยกว่าทางภาคใต้จะเป็นข้อได้เปรียบเรื่องวันกรีดมากกว่า ปริมาณน้ำยางเฉลี่ยอาจจะเท่าหรือมากกว่าภาคใต้นั้น ชนะซึ่งก็เป็นคนใต้เช่นกันกลับมองว่ามันไม่ใช่ข้อดีเพราะการกรีดยางอย่างไรก็ต้องกรีด 2 วัน เว้น 1 วัน ฝนน้อยวันกรีดมากกว่าก็จริงแต่ฝนน้อยก็ทำให้น้ำยางน่าจะน้อยกว่าเพราะขาดน้ำ ดังนั้นการกรีดจึงต้องวางระบบและบำรุงต้นยางให้ดี
            เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของอาชีพสวนยาง คือ ตลาด เพราะตอนนี้ตลาดที่ใกล้ที่สุด และมีเกษตรกรนำไปขายกันแล้ว คือ สหกรณ์กองทุนสวนยางทองผาภูมิ จำกัด ซึ่งเป็นตลาดขายระบบประมูลจึงได้ราคาสูงกว่าการขายผ่านพ่อค้าท้องถิ่นแม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มีก็ตาม
            ต่อไปราชบุรีก็น่าจะมีการรวมกลุ่มกันขายหรือมีพ่อค้ามาเปิดร้านรับซื้อ ผมเองก็ยังวางโครงการจะเปิดร้านรับซื้อยาง ดังนั้นเรื่องแหล่งขายยางไม่น่าจะใช่ปัญหาของ จ.ราชบุรี
            เมื่อเจาะลึกลงไปถึงที่ดิน ชนะเปิดเผยว่าเป็นที่ดิน ภบท.5 ซื้อมาเมื่อ 10 ปีก่อน ราคาไร่ละไม่ถึง 20,000 บาท แต่ปัจจุบันราคาสูง 40,000-50,000 บาท แล้ว
            ช่วงยางราคาแพง 3-4 ปีมานี้ คนนอกพื้นที่มาซื้อปลูกยางกันมากแต่คนในพื้นที่ยังปลูกสับปะรดกันเป็นหลัก แต่คนที่ทำสับปะรดแล้วอยู่ตัวก็มีหันมาปลูกยางบ้าง
            จากการสำรวจและเก็บข้อมูลสวนยางของชนะพบจุดอ่อนสำคัญของสภาพพื้นที่ตัวสำคัญ คือ ปัญหาแล้งยาวในบางปีซึ่งจะส่งผลตรงกับต้นยางโดยเฉพาะยางเล็ก ผู้ปลูกจึงต้องเตรียมป้องกันปัญหาเรื่องนี้ด้วย โดยต้องสร้างแหล่งน้ำเพื่อให้ต้นยางหน้าแล้ง แต่ถ้าต้นยางอายุ 3 ปีขึ้นไป ชนะบอกว่าพ้นขีดอันตรายไม่น่าเป็นห่วง
            ผมคิดว่าต่อไปบ้านคาน่าจะดีถ้ามียางระดับแสนไร่ ฝนน่าจะดีขึ้น ป่ายางจะเรียกความชุ่มชื้น ดูอีสานซิเดี๋ยวนี้ฝนเริ่มตกมากขึ้นเพราะมีพื้นที่ปลูกยางมากขึ้น เขามองว่าสวนยางก็มีคุณสมบัติไม่      ต่างอะไรกับป่านั่นเอง
ขอขอบคุณ
ชนะ ดีสกุล
67/2 หมู่ 3 .บ้านคา อ.บ้านคา จ.ราชบุรี
โทรศัพท์ 08-7043-0068

สวนยาง อ.บ้านคา 200 ไร่
เจอปัญหาแล้งยาว ยางเล็กเสี่ยง แต่ยางใหญ่รุ่ง

                       เรื่องแล้งมีปัญหามาก ชนะ ดีสกุล ผู้จัดการสวนยาง 200 ไร่ ในพื้นที่ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี หลุดปากออกมาระหว่างที่ทีมงานยางเศรษฐกิจลงพื้นที่สอบถามปัญหาและอุปสรรคของการปลูกยางในพื้นที่ อ.บ้านคา
            หนักใจปัญหาเรื่องนี้มาก เพราะที่นี่มันไม่เหมือนทางใต้ฝนแล้งที 2-3 เดือน แปลงนอกยางเพิ่งปลูกใหม่ร้อนๆ 150 ไร่ มันเป็นดินทราย ถ้าฝนไม่ตกอาจจะเสียหายเยอะน่าจะเป็นพันต้น และกล้าชุดนี้ก็แพงด้วยต้นละ 45 บาท
            อย่างไรก็ตามการทำสวนยางในพื้นที่ดังกล่าวก็ไม่ได้แล้งรุนแรงจนถึงขนาดปลูกยางไม่ได้เลย เพราะหากมีการให้น้ำยางเล็กในช่วงหน้าแล้งก็สามารถปลูกยางได้ประสบความสำเร็จ และสวนยางอีก 50 ไร่ ที่ปลูกเมื่อ 7-8 ปีที่แล้วก็เป็นเครื่องยืนยันได้
            ชุดแรกผมปลูกก่อน 40 ไร่ ตอนนี้เปิดกรีดแล้วเมื่อไม่กี่เดือนนี้เอง น้ำยางถือว่าพอใช้เพราะยังเป็นยางเพิ่งเปิดกรีดใหม่และต้องทำขี้ยางก่อน
            สวนยาง 50 ไร่ เกือบทั้งหมดเป็นยางพันธุ์ RRIM 600 และมีพันธุ์ RRIT251 ปลูกทดสอบอยู่จำนวนหนึ่ง อายุต้นยางอยู่ระหว่าง 5-7 ปี เพราะการปลูกเป็นการทยอยปลูกยางจึงอายุไม่เท่ากัน แต่เฉลี่ยยางอายุ 5-6 ปี มีพื้นที่มากที่สุด
            แต่ชนะให้ข้อสังเกตว่าต้นยางที่ปลูกตามแนวชายเขาต้นค่อนข้างสมบูรณ์ อาจเป็นเพราะดินมีลักษณะดินปนทรายที่ยังไม่เคยทำพืชเกษตรมาก่อน ซึ่งคาดว่าประมาณปี 55-56 น่าจะเปิดกรีดยางได้เต็มพื้นที่
            ตอนนี้ต้นยางเพิ่ง แตกใบอ่อน แต่พอใบแก่เปิดกรีดรอบนี้จะเริ่มทำยางแผ่นแล้วเพราะเตรียมเครื่องจักร โรงเรือน ไว้หมดแล้ว
            เมื่อถามย้อนกลับไปเมื่อครั้งตัดสินใจมาปลูกยางในพื้นที่นี้ ชนะบอกว่ามันใกล้กรุงเทพสะดวกต่อการเดินทางมาดูแล
            ปลูกยางถ้าเจ้าของไม่มีเวลาดูแลไม่ควรทำนะ โอกาสขาดทุนสูง หากปล่อยทิ้งจนต้นแกร็นแล้วค่อยบำรุงทำยังไงก็ไม่โต ยิ่งถ้าหญ้าท่วมสูงยากจะฟื้นฟู ทำอย่างไรก็เอาไม่อยู่ ไม้ก็ขายไม่ได้ เจ๊งสถานเดียว ชนะบอกหัวใจสำคัญของการทำสวนยาง
            สภาพดินของสวนยางแห่งนี้เป็นดินปนทรายและดินเหนียว มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้นาน อีกทั้งยังมีสระน้ำขนาด 5 ไร่ สำรองไว้ให้ต้นยางในช่วงหน้าแล้ง ระยะการปลูก คือ 3x7 เมตร แต่มีบางแปลงที่ต้นค่อนข้างห่างเพราะปลูกในสวนมะม่วงช่วงแรกๆ ช่วงยางเล็กยังมีการปลูกสับปะรดแซมเพราะเป็นพืชคลุมดินรักษาความชื้นได้ดีและใบยังมีกาบใบที่เก็บกักน้ำได้ดี ซากสับปะรดยังเป็นอินทรีย์ชั้นดีอีกด้วย
            เมื่อยางโต 3-4 ปี ก็ต้องโละสับปะรดทิ้ง ปล่อยให้ซากย่อยสลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ไป ยางโตดีทีเดียว
            ด้านการดูแลสวนยางหลักๆ คือ การใส่ปุ๋ย ก่อนหน้านี้สวนยางแห่งนี้เลือกใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 20-10-12 เน้นการบำรุงต้น ซึ่งเป็นสูตรที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำสวนยางพื้นที่ใหม่ แต่ปีนี้เขาเตรียมสูตร 15-15-15 เพื่อใส่ช่วงหน้าฝนนี้เพื่อบำรุงทุกส่วนของต้น
            วิธีการใส่ทำแบบขุดหลุมฝังช่องกลางระหว่างต้นหลุมละประมาณครึ่งกิโล/ครั้ง ใส่ปีละ 2 ครั้ง เหตุที่ต้องขุดหลุมฝังปุ๋ยเป็นเพราะฝนจะไม่ชะล้างปุ๋ย
            แต่ปีนี้กะจะใส่ 3 ครั้ง ปริมาณน้อยลงแต่ถี่ขึ้น เพราะพยากรณ์อากาศบอกว่าปีนี้ฝนจะมาเร็วและกำลังสั่งปุ๋ยอินทรีย์มาใส่เพื่อบำรุงดินอีก 3 ตัน
            ชนะยังสะท้อนว่าต้นทุนปุ๋ยถือเป็นตัวหลักเฉพาะค่าปุ๋ยอย่างเดียวก็ตกปีละ 360,000 บาท แต่ก็จำเป็นต้องลงทุน เพราะหากขาดการใส่ปุ๋ยอย่างต่อเนื่องต้นยางจะไม่โต หรือถ้าใส่ผิดวิธีอย่างการหว่านรอบต้นความคุ้มค่าของปุ๋ยที่ต้นยางจะได้รับก็ลดน้อยลง
            ผมไปอบรมเรื่องยางพาราบ่อยเพราะมีเจ้าหน้าที่สกย.มาจัดอบรมอย่างต่อเนื่อง
            ทั้งนี้เพราะพื้นที่ จ.ราชบุรี โดยเฉพาะ อ.บ้านคา อ.สวนผึ้ง และ อ.จอมบึง ได้ถูกประกาศเป็นพื้นที่ส่งเสริมปลูกยางและอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของสกย. .กาญจนบุรี
            มีหลายคนมองว่าการที่ อ.บ้านคา มีฝนน้อยกว่าทางภาคใต้จะเป็นข้อได้เปรียบเรื่องวันกรีดมากกว่า ปริมาณน้ำยางเฉลี่ยอาจจะเท่าหรือมากกว่าภาคใต้นั้น ชนะซึ่งก็เป็นคนใต้เช่นกันกลับมองว่ามันไม่ใช่ข้อดีเพราะการกรีดยางอย่างไรก็ต้องกรีด 2 วัน เว้น 1 วัน ฝนน้อยวันกรีดมากกว่าก็จริงแต่ฝนน้อยก็ทำให้น้ำยางน่าจะน้อยกว่าเพราะขาดน้ำ ดังนั้นการกรีดจึงต้องวางระบบและบำรุงต้นยางให้ดี
            เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของอาชีพสวนยาง คือ ตลาด เพราะตอนนี้ตลาดที่ใกล้ที่สุด และมีเกษตรกรนำไปขายกันแล้ว คือ สหกรณ์กองทุนสวนยางทองผาภูมิ จำกัด ซึ่งเป็นตลาดขายระบบประมูลจึงได้ราคาสูงกว่าการขายผ่านพ่อค้าท้องถิ่นแม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มีก็ตาม
            ต่อไปราชบุรีก็น่าจะมีการรวมกลุ่มกันขายหรือมีพ่อค้ามาเปิดร้านรับซื้อ ผมเองก็ยังวางโครงการจะเปิดร้านรับซื้อยาง ดังนั้นเรื่องแหล่งขายยางไม่น่าจะใช่ปัญหาของ จ.ราชบุรี
            เมื่อเจาะลึกลงไปถึงที่ดิน ชนะเปิดเผยว่าเป็นที่ดิน ภบท.5 ซื้อมาเมื่อ 10 ปีก่อน ราคาไร่ละไม่ถึง 20,000 บาท แต่ปัจจุบันราคาสูง 40,000-50,000 บาท แล้ว
            ช่วงยางราคาแพง 3-4 ปีมานี้ คนนอกพื้นที่มาซื้อปลูกยางกันมากแต่คนในพื้นที่ยังปลูกสับปะรดกันเป็นหลัก แต่คนที่ทำสับปะรดแล้วอยู่ตัวก็มีหันมาปลูกยางบ้าง
            จากการสำรวจและเก็บข้อมูลสวนยางของชนะพบจุดอ่อนสำคัญของสภาพพื้นที่ตัวสำคัญ คือ ปัญหาแล้งยาวในบางปีซึ่งจะส่งผลตรงกับต้นยางโดยเฉพาะยางเล็ก ผู้ปลูกจึงต้องเตรียมป้องกันปัญหาเรื่องนี้ด้วย โดยต้องสร้างแหล่งน้ำเพื่อให้ต้นยางหน้าแล้ง แต่ถ้าต้นยางอายุ 3 ปีขึ้นไป ชนะบอกว่าพ้นขีดอันตรายไม่น่าเป็นห่วง
            ผมคิดว่าต่อไปบ้านคาน่าจะดีถ้ามียางระดับแสนไร่ ฝนน่าจะดีขึ้น ป่ายางจะเรียกความชุ่มชื้น ดูอีสานซิเดี๋ยวนี้ฝนเริ่มตกมากขึ้นเพราะมีพื้นที่ปลูกยางมากขึ้น เขามองว่าสวนยางก็มีคุณสมบัติไม่      ต่างอะไรกับป่านั่นเอง
ขอขอบคุณ
ชนะ ดีสกุล
67/2 หมู่ 3 .บ้านคา อ.บ้านคา จ.ราชบุรี
โทรศัพท์ 08-7043-0068

Random Posts

randomposts