์News

์News

แปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง งานท้าทาย ชาวสวนยาง...


________________________________
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
(ยางเศรษฐกิจ ฉบับ 15/2555 มิถุนายน 55 หน้า 22-27)
            เห็นตัวเลขคร่าวๆ แล้วถึงกับอึ้ง...???
            เชื่อหรือไม่ว่าประเทศนี้ผลิตยางพาราปีละกว่า 3,569,033 ตัน
            จำนวนดังกล่าวส่งออกรวม 2,952,381 ตัน มากเป็นอันดับ 1 ของโลก
            มูลค่า 383,318.60 ล้านบาท (ปี 2554)...!!!
            คิดเป็นปริมาณยาง 90% ของการผลิต
            ส่วนยางอีก 486,745 ตัน หรือ 14% ใช้ในประเทศ
            แต่ตัวเลขที่ไม่น่าเชื่อคือ...???
ยางที่ใช้ในประเทศเมื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ กลับส่งออกต่างประเทศมีมูลค่ารวมมากถึง 252,969.8 ล้านบาท (ปี 2554)
            เท่ากับว่ามูลค่ายางแปรรูปเพียง 14% แต่กลับมีมูลค่าใกล้เคียงกับยางดิบๆ 84%...!!!
            มูลค่าทางเศรษฐกิจของยางดิบ และแปรรูปผลิตภัณฑ์รวมทั้ง 2 ส่วนประมาณ 636,288.4 ล้านบาท
            ยังไม่รวมเข้ากับมูลค่าอุตสาหกรรมไม้ยาง อีก 178,604 ล้านบาท/ปี (ตัวเลขจากสมาคมธุรกิจไม้ยางแห่งประเทศไทย)
คำถามคือ ถ้าประเทศนี้เพิ่มสัดส่วนการแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์อีกสัก 10-20% มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางไม่ต่ำกว่า 6-7 แสนล้านบาท
            ทว่าหลายทศวรรษปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยางของไทยกลับเติบโตเฉพาะในส่วนของธุรกิจ “ต้นน้ำ” คือ การปลูกและแปรรูปเป็นวัตถุดิบขั้นพื้นฐาน คือ น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ และยางก้อนถ้วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานของเกษตรกรชาวสวนยางกว่า 6 ล้านคนทั่วประเทศ
            ขณะที่บริษัทผู้ซื้อหรือบริษัมส่งออกจะทำหน้าที่ในการแปรรูปเบื้องต้นเป็น น้ำยางข้น ยางแผ่นรมควัน  ยางแท่ง และยางคอมปาวด์ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นธุรกิจ “กลางน้ำ”
            ส่วนธุรกิจแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ อย่าง ยางรถยนต์ เป็นต้น คือธุรกิจ “ปลายน้ำ” ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต และเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงที่สุด ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมต่างประเทศ อย่าง จีน อเมริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น
            ถ้าเป็นเช่นนี้เท่ากับว่าประเทศไทยคือ ผู้ผลิตและส่งออกยางที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมยางมากที่สุด แต่ตามตัวเลขที่ฟ้องอยู่คือ มูลค่าน้อยกว่าธุรกิจแปรรูปหลายเท่าตัว เพราะยางเพียงแค่ 14% สามารถเพิ่มมูลค่าได้เทียบเท่ากับยางธรรมชาติ
            ขณะที่ยางของไทยต้องเผชิญกับราคาที่ผันผวน โดยเฉพาะเมื่อราคายางต้องผูกติดกับกระแสการลงทุนในเศรษฐกิจโลกอย่างที่เป็นอยู่นี้

 ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแนวคิดในการส่งเสริมให้ประเทศไทยลงทุนการแปรรูปมากขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกยางให้มากกว่าเดิม โดยอาศัยจุดแข็งที่มีวัตถุดิบปริมาณมาก
แต่กลับมีจุดอ่อนเรื่องงานแปรรูปขั้นสูง...!!!
            คำถามอีกข้อคือเหตุใดเกษตรกรไทยสามารถผลิตยางขั้นต้นน้ำได้ เช่น น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ และยางแผ่นรมควัน เป็นต้น แต่ไม่สามารถผลิตยางขั้นกลางน้ำ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่ายางในช่วงที่เกิดวิกฤติราคายางตกต่ำ โดยเฉพาะสถาบันเกษตรกรที่มีการรวมตัวกันอย่างเป็นรูปธรรม อย่าง สหกรณ์ กลุ่ม เป็นต้น
            ธุรกิจแปรรูปขั้นน้ำที่ว่าคือ ยางแท่ง ยางคอมปาวด์ และน้ำยางข้น เป็นต้น
            ทั้งๆ ที่ก็เห็นตัวเลขชัดเจนแล้วว่ามีโอกาสที่ดีกว่า...!!!
            เพราะวันนี้ประเทศไทยขยายแต่พื้นที่ปลูกเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิต ซึ่งจะมีผลต่อการเพิ่มมูลค่าการส่งออก หากแต่การเพิ่มมูลค่าส่งออกโดยไม่เพิ่มพื้นที่ปลูก มีโอกาสเป็นไปได้สูง โดยการส่งเสริมเกษตรกรแปรรูปยางขั้น “กลางน้ำ”
            ถามต่อว่างานเหล่านี้สถาบันเกษตรกรทำได้ไหม...???
            แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
            จำได้ว่าโครงการของรัฐที่ให้ความสำคัญการเพิ่มมูลค่ายางอย่างมาก โดยเฉพาะยุทศาสตร์ยางพารา 2552-2556 ภายในยุทศาสตร์ เขียนไว้ค่อนข้างชัดว่าส่งเสริมการแปรรูปยางเพื่อเพิ่มมูลค่ายาง
            ยิ่งล่าสุดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยเตรียมผลักดันยุทธศาสตร์ยางพาราไทย เพิ่มมูลค่าการส่งออกยาง 1 ล้านล้านบาท ภายในปี 2556 นี้ ผ่านวิสัยทัศน์ของ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ คนปัจจุบัน โดยมีแผนระยะสั้นและระยะยาว
ในระยะสั้น จะดำเนินการดึงราคาจำหน่ายยางจากปัจจุบันราคากิโลกรัมละ 106.94 บาท เพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 132 บาท ก็สามารถเพิ่มราคายางแผ่นดิบให้สูงขึ้น
จากนั้นจะเพิ่มการผลิตยางแผ่นรมควันจากปีละ 300,000 ล้านบาท เป็นปีละ 400,000 ล้านบาท ส่วนอีก 100,000 ล้านบาท มาจากการนำยางมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในประเทศ เช่น การทำถนน เป็นต้น
เมื่อคำนวณจากมูลค่าที่มีอยู่คือ 670,000-700,000 ล้านบาท ผนวกกับส่วนที่เพิ่มอีก 300,000 ล้านบาท เป้าหมาย 1 ล้านล้านบาท
ทว่าการเพิ่มมูลค่ายางดังกล่าว เกษตรกรไม่ได้รับประโยชน์เท่าใดนัก เพราะเป็นแผนระยะสั้น และไม่ใช่เครื่องย้ำยันความยั่งยืนด้านราคาแต่อย่างใด
แนวทางที่มีการมองและวางยุทธศาสตร์มานาน แต่ไม่เคยสำเร็จ คือ การส่งเสริมสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางขั้น “กลางน้ำ” และ “ปลายน้ำ” ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าอย่างแท้จริงให้กับเกษตรกร และยังเป็นการเพิ่มมูลค่ามวลรวมของยางพาราอีกด้วย
ตัวอย่างที่มองเห็นเป็นรูปธรรมคือ สถาบันเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง และหัวก้าวหน้าเดินเครื่องแปรรูปยางขึ้นกลางน้ำ อย่าง ยางแท่ง STR 20 และ ยางคอมปาวด์ เป็นต้น
ยางเศรษฐกิจส่งทีมงานลงไปเจาะลึกการแปรรูปยางของสถาบันเกษตรกร 3 แห่ง ผลิตยางแท่ง STR 20 ยางคอมปาวด์ และผลิตภัณฑ์ยางในโรงสี
น่าสงสัยว่าเส้นทางการเดินทางของสถาบันเกษตรกรเหล่านี้เป็นอย่างไร เพราะต้องยอมรับว่านี่คือ “งานยาก” ของเกษตรกรที่ถนัดการผลิตต้นน้ำ เมื่อต้องยกระดับสูกลางน้ำ ซึ่งมีผู้แข่งขันใหญ่และแข็งแรงกว่า ยิ่งเมื่อดูเส้นทาง “หิน” อย่างการตลาด ผลิตแล้วจะนำไปขายที่ไหน และจะต่อสู่แข่งขันกับรายใหญ่อย่างไร...???
โดยเฉพาะประเด็นร้อนๆ ว่าภาครัฐวันนี้ให้ความสำคัญเรื่องการส่งเสริมให้เกษตรกรแปรรูปยางเพื่อเพิ่มมูลค่ามากน้อยแค่ไหน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมจะเป็นแนวทางแก้สถาบันเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่ต้องการยกระดับความสามารถของตัวเอง




ติดตามรายละเอียดเรื่อง
1.สหกรณ์ฯ เขาซก ผลิตยางแท่ง STR 20 ปีละ 12,000 ต้น กำไร 53 ล้านบาท
2. ยางคอมปาวด์แปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ ส่งใน/นอก ผลงานชุมนุมสหกรณ์อุตสาหกรรมยางพาราภาคใต้
3. แบจำลองกระบวนการผลิตยางแท่ง STR 20

ไม่มีความคิดเห็น

Random Posts

randomposts